ผู้ทำบัญชี

7 หน้าที่ CPD ขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชีไม่เสียง?

Click to rate this post!
[Total: 155 Average: 5]

หน้าที่ของผู้ทําบัญชี

ผู้ทําบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม

หน้าที่ของผู้ทำ บัญชี

  1. จัดทำบัญชีเพื่อแสดง
  2. ลงรายการบัญชีเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือคำแปรรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยไว้
  3. เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

ผู้ทําบัญชี

ผู้ทำบัญชี บุคคลต่อไปนี้

  1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
    • ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
    • สมุห์บัญชี
    • หัวหน้าแผนกบัญชี
    • ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว
  2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
    • หัวหน้าสำนักงานกรณีที่เป็นสำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
    • ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีเป็นสำนักงานที่จัดตั้งในรูป คณะบุคคล
    • กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงาน ที่จัดตั้งในรูปนิติบุคคล
  3. บุคคลธรรมดา ที่ประกอบวิชาชีพรับจ้างทำบัญชีอิสระ กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
  4. ผู้ช่วยผู้ ทำบัญชี กรณีที่ “ผู้ ทำบัญชี” รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
  5. บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม 1.1-1.4 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี

    • มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
    • มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ ทำบัญชีได้
    • มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำ บัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
    • ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือ กฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
    • คุณวุฒิการศึกษาของผู้ ทำบัญชีที่สามารถรับทำบัญชีได้ ดังนี้
        • ก.วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
            • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
            • บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
        • ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
            • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่ 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
            • บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
            • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
            • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี

  1. แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี พร้อมด้วยหลักฐานตามที่กำหนดต่ออธิบดี ตามแบบ ส.บช. 5 และ ส.บช.5-1
    ภายใน 60 วัน นับจาก
      • (1) วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (10 สิงหาคม 2544) กรณีทำบัญชีอยู่แล้ว
        (2) วันเริ่มทำบัญชี
        (3) วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้ทำ บัญชี
  2. เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ รอบสามปี
  3. ต้องรับทำบัญชีไม่เกินปีละ 100 ราย หากเกินจะต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับ ผู้ทำ บัญชีอย่างน้อย 1 คน ในทุก ๆ 100 ราย ที่เกิน 100 รายแรก เศษของ 100 ถ้าเกินกว่า 50 ให้นับ เป็น 100

ผู้ทำบัญชี ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข

    • ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
    • แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี
    • กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
    • กรณีที่มีการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ต้องแจ้งการยกเลิก ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการยกเลิก
    • กรณีที่ยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแล้วและขอกลับมาแจ้ง รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบ จำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิก แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง และแจ้ง การขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
    • ผู้ทำ บัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชีและสถานภาพการเป็น สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนา ธุรกิจการค้าพร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี – 3 –
    • ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี ปฏิทิน ซึ่งจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด
    • แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) หลังการท ากิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ บัญชี แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน และต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้ ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการท ากิจกรรมในแต่ละครั้ง
    • ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีให้กับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน ไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม

“ผู้ทำ บัญชี” เป็นเพียงจำกัดความของวิชาชีพ ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ “ผู้ ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจจะยังไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี และเช่นกัน “นักบัญชี” เป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำ บัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า “ผู้ทำ บัญชี” และ “นักบัญชี” เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน โดยส่วนหนึ่งที่ผู้ทำ บัญชี และนักบัญชี มีเหมือนกันคืออุปนิสัยและคุณสมบัติ

ดังนี้

  1. ซื่อสัตย์มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลานักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
  2. ขยัน อดทนรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
  3. ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วนในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
  4. มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
  5. สร้างแรงกดดันให้ตนเองในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
  6. กล้านำเสนอแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
  7. ทบทวนตนเองทุกปีตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
  8. รู้จักการเปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลานักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ

ผู้ทำบัญชี รับทำบัญชีได้ไม่เกินกี่รายต่อปีปฏิทิน

สนใจบริการ >>> รับทำบัญชี ยื่นภาษี บริษัท ปังปอน จำกัด

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com