TA ผู้สอบบัญชี 4 ต่าง ภาษีอากร CPA คุณสมบัติ

TA
Click to rate this post!
[Total: 7370 Average: 5]

TA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

สอบ cpa คือ
สอบ cpa คือ

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร คือ (Tax Auditing) บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และเสนอรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากร พร้อมกับ งบการเงินและแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

ผู้สอบบัญชี TA CPA

  1. 1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งตรวจสอบและ รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (เพียงประเภทเดียว) 
  2. 2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี (ซึ่งตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก) ต้องปฏิบัติงานและรายงานเช่นเดียวกับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในบทนี้ให้หมายรวมถึงผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กด้วย

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก คุณสมบัติ คือ มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต

ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. 1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทุกประเภท (รวมถึงกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร) และ
  2. 2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

หน้าที่และความรับผิดชอบ

หน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบให้ครบถ้วน ดังนี้

  1. รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จากผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างตรงไปตรงมา หากกิจการไม่ยินยอมปรับปรุงให้ถูกต้องหรือมีข้อยกเว้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้อง รายงานข้อยกเว้นดังกล่าว
  2. การแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งแจ้ง ล่วงหน้าตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับ งานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  3. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าซึ่งได้แจ้ง ไว้แล้ว ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัด จากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  4. การเสียภาษีของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเสียภาษีของตนเองให้ ถูกต้องครบถ้วน อย่าหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

cpa เงินเดือน ตามปริมาณงาน และความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คุณสมบัติ

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ตก่ำว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชีซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองเทียบเท่าไม่ต่ำกว่าปริญญาดังกล่าว
  2. มีอายุไม่ต่ำว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
  3. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชี ในประเทศนั้นได้
  4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าอาจ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
  6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือน ไม่สมประกอบ
  7. ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
  8. ต้องผ่านการทดสอบความรู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ขอบเขตเนื้อหาวิชาที่สอบ

  1. 1. วิชาการบัญชี
    1. ทดสอบความรู้การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน โดยครอบคลุมในเรื่องกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย การบัญชีต้นทุนผลิตสินค้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) ที่สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศใช้ในปัจจุบั
  2. 2. วิชาการสอบบัญชี
    1. ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศใช้ในปัจจุบัน และตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานและการรายงานสำหรับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร โดยครอบคลุมถึงหลักฐานการสอบบัญชี และวิธีการรวบรวมหลักฐาน หลักพื้นฐานของการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ ในการตรวจสอบบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ แนวการตรวจสอบ การสอบทานและการควบคุม งานสอบบัญชี จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
  3. 3. วิชาความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
    1. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ (๑) ประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หน้าที่เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่งภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การจัดทำรายงานและบัญชีพิเศษตามประมวลรัษฎากร รวมถึงประกาศเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ ประกาศและคำสั่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

การขอขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต

ที่ผ่านการทาสอบทุกวิชา จะต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอาการตามแบบ (บภ.02) ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมต่ออธิบดีกรมสรรพากร ใบอนุญาติเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรให้ใช้แบบที่อธิบดีกรรมสรรพากรกำหนดและให้มีอายุ 5 ปี

จรรยาบรรณผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA CPA
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA CPA

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้ในคําสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545 เรื่อง กําหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

  1. 1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เช่น
    • ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
    • ไม่รับงานในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลาง โดยมีผลประโยชน์หรือ ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลำเอียง
    • ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือ ชื่อรับรองไว้ในรายงาน
    • ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
  2. 2. ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น
    • ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพการงาน ใบรับ
    • ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้
    • ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุม การปฏิบัติงานตรวจสอบ
    • สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป เป็นต้น
  3. 3. จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี เช่น
    • ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ ทราบโดยวิธีใดสำหรับกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการตรวจสอบและรับรองบัญชี อันเป็นเหตุให้กิจการนั้น ได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย
    • ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น
  4. 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ เช่น
    • ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
    • ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น เป็นต้น
  5. 5. จรรยาบรรณทั่วไป เช่น
    • ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับ กฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่น
    • ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็น ว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นต้น

หลักการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

  1. จัดทำและจัดเก็บแนวทางการสอบบัญชี
  2. จัดทำและจัดเก็บกระดาษทำการ
  3. เน้นการทาสอบคสามถูกต้องของงบการเงินรและบัญชี
  4. กระทบยอดทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี
  5. เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  6. ทดสอบรายการในแบบแจ้งข้อความ
  7. ชี้แจ้งข้อเท็จจริงและส่งมอบแนวทางการสอบบัญชีและกระดาษทำการ

ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA

TA CPA ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
TA CPA ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ความแตกต่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. การขึ้นทะเบียนต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราช บัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547
2. สิทธิในการปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่น เดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและ
รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก
4. การรายงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชีจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษี อากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

การใช้เทคนิคการโยกย้ายร่างกายและการออกกำลังกาย (Movement and Exercise) ในชีวิตประจำวัน

Active exercise คือ Passive ROM exercise ท่า Active exercise ท่า Passive ROM exercise คือ passive exercise ผู้ป่วยติดเตียง การออกกําลังกายแบบ passive exercise Active ROM exercise คือ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ สามารถป้องกันโรคอะไร
มงคง 38 ประการ การ์ตูน

มงคล 38 ชีวิต ประการ คือ สูตร ความหมาย เกิดขึ้น

มงคล ชีวิต 38 ประการ มงคล 38 คือ มงคล 38 หมาย ถึง มงคลสูตร คำ ฉันท์ 38 ประการ
กฎหมายนิติบุคคล

นิติบุคคล กฎหมาย 2 ภาษี ตามกฎหมายแพ่ง พาณิชย์

นิติบุคคล คือ สรุปสาระสำคัญ มาทำความรู้จักกับ “นิติบุคคล” การจดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร ลักษณะนี้จะเป็นจัดตั้งธุรกิจใหม่นาม “นิติบุคคล” ซึ่งจะแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กฎหมายนิติบุคคล เรื่องภาษีที่ควรรู้..กับกฎหมายภาษีอากรสำหรับธุรกิจ ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ใครคือนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ปก เน็ตเวิร์กเพื่อการเรียนรู้

สร้างเครือข่าย มีส่วนร่วม พัฒนาคุณภาพ การศึกษา

การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เครือข่ายการศึกษา มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการสร้างเครือข่าย การสร้างและพัฒนาเครือข่าย ตัวอย่าง การสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายชุมชน การสร้างเครือข่ายในโรงเรียน
ปป

การวางแผนการเงินสำหรับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลและพัฒนาความสามารถเสริมในธุรกิจ

การ ลงทุน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มี ด้าน การจัดการการเงิน สรุป การจัดการการเงิน pdf การวางแผนทางการเงิน มีอะไรบ้าง การวางแผนการเงินส่วนบุคคล pdf การวางแผนการเงินส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง หน้าที่ของการจัดการทางการเงิน การบริหารการเงินของธุรกิจ
งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสด 5 ประโยชน์ กระแสเงินสดทางอ้อม

งบกระแสเงินสด cashflow คือ ประเภทของวิธีการจัดทำงบกระแสเงินสด ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด สรุป วิธีทํา งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด excel งบกระแสเงินสด มีอะไรบ้าง ตัวอย่างงบกระแสเงินสดบริษัท ตัวอย่างงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด ทางอ้อม โจทย์งบกระแสเงินสด พร้อมเฉลย งบกระแสเงินสด คือ
อาหารไทย

อาหารคาว 9 ชนิด ยอดนิยม ไทย อะไรบ้าง หรุ่ม ของ

อาหารไทยมีอะไรบ้าง อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง เมนูอาหารไทยยอดฮิต 20อาหารไทย อาหารไทยง่ายๆ อาหารไทย10ชนิด อาหารไทยโบราณ อาหารไทยมีอะไรบ้าง อาหารไทย 100 เมนู เมนูอาหารไทย แซ่ บ ๆ
อาชีพต่างๆ

50 อาชีพ ต่างๆ รวม ทั้งหมด มีอะไรบ้าง !

อาชีพสุจริต 100 อาชีพ อาชีพต่างๆในปัจจุบัน อาชีพต่างๆที่น่าสนใจ 100 อาชีพมีอะไรบ้าง อาชีพต่างๆของคนไทย อาชีพทั้งหมดในโลก อาชีพสุจริต 50 อาชีพ อาชีพ20อาชีพ

Leave a Comment

Scroll to Top