Startup

7 ธุรกิจ Startup สำเร็จง่ายเส้นทางลัดที่ไม่มีใครบอกคุณ?

Click to rate this post!
[Total: 166 Average: 5]

ธุรกิจ startup

ธุรกิจ startup
ธุรกิจ startup

เจาะลึกแนวคิดธุรกิจ start up ธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังมาแรง

startup

เชื่อว่าหลายคนคงมีความสับสนว่าธุรกิจ Start Up นั้นก็คือธุรกิจ SME ใช่ไหม ก็ต้องบอกตรงนี้เลยว่ามีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด เพราะธุรกิจ SME จะเป็นธุรกิจรายย่อยที่มองกลุ่มลูกค้าเจาะจงโดยจะเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ที่คนไทยทำ และไม่ได้เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่กับธรุกิจ Start Up จะเป็นการสร้างและพัฒนาธุรกิจโดยมีการดำเนินการผ่านทางด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งธุรกิจทั้งสองแบบนี้จะออกมาเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง ให้บริการเฉพาะทางโดยจะมีกลุ่มธุรกิจหลากหลายกลุ่ม ซึ่งต้องยอมรับว่าเทรนโลกปัจจุบันและอนาคตสำหรับการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนให้ความสนใจกับธุรกิจ Start Up วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับธุรกิจนี้ให้มากขึ้น

ธุรกิจ startup คืออะไร

ธุรกิจที่สร้างขึ้น หรือเกิดขึ้นมาใหม่ โดยธุรกิจ startup จะมีลักษณะของธุรกิจที่ผสมผสานรองรับด้านเทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซด์ แอปพริเคชัน โดยจะมีมุมมองส่วนใหญ่ธุรกิจ Start Up จะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนและมีโอกาสเติบโตในอนาคต และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด สร้างเป้นธุรกิจที่ลอกเลียนแบบกันได้ง่าย สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย

ตัวอย่างธุรกิจ startup ต่างประเทศที่โด่งดังคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่น Google , Facebook

หลักการตั้งธุรกิจ startup

เป็นความจริงที่ว่าเราสามารถตั้งธุรกิจ Start Up ขึ้นมาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนมาก หรือจะไม่มีเงินทุนเลยก็ตาม เพราะหลักการตั้งธุรกิจ startup ก็ไม่ต่างอะไรกับการขายไอเดีย ขายความฝันให้คนมาซื้อนั้นเอง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการระดมเงินทุนจากนักลงทุน ซึ่งจะสามารถได้รับแหล่งเงินทุนได้มากมายเพื่อพัฒนาต่อยอดด้านธุรกิจ Start Up ต่อไปได้นั้นเอง นักลงทุนจะมองว่าธุรกิจ Start Up นี้จะสามารถเติบโตได้จริงไหม? และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้หรือไม่? ซึ่งการลงทุนกับธุรกิจ Start Up ก็จะมีส่วนแบ่งด้านรายได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. นักลงทุนแบบ Angel Investor คือนักลงทุนที่เริ่มลงทุนตั้งแต่เริ่มตั้งต้นเห็นธุรกิจ Start Up นั้นขึ้นมา โดยมองทิศทางอนาคตว่าสามารถเกิดประโยชน์ ต้องมีความกล้าได้กล้าเสียระดับนึง เพราะยังไม่เคยเห็นการทำงานระยะยาวเท่าไรนักกับธุรกิจตัวนั้น
  2. นักลงทุนแบบ Venture capital คือนักลงทุนที่กล้าทุ่มเม็ดเงินมหาศาล โดยสามารถให้วงเงินได้มากถึงร้อยล้านเลยทีเดียว ซึ่งจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่เห็นผลประกอบการมาสักพักแล้วจึงเข้ามาลงทุนและลงทีละมาก ๆ

แนวคิดธุรกิจ startup ที่น่าสนใจ ปัจจุบัน อนาคต

แนวคิดธุรกิจ-startup-ที่น่าสนใจ
แนวคิดธุรกิจ-startup-ที่น่าสนใจ

สถานการณ์ธุรกิจ startup ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ต้องบอกเลยว่าขณะนี้นักลงทุน หรือผู้บริโภคมีความกลัวเรื่องการลงทุนค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดไม่ค่อยเติบโตได้ดีเท่าไรนัก หรือจะเรียกว่าดิ่งไปเลยก็ได้ ซึ่งหลายธุรกิจที่ไม่ได้ปรับตัว หรืออยู่ไม่ได้เลยก็มีจำนวนมาก แน่นอนว่าธุรกิจ Start Up เองก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งคุณก็ต้องมาดูว่าเป็น Start Up กลุ่มไหนบ้าง ไม่สามารถเหมารวมได้ เนื่องจากมีจำนวนหลายกลุ่ม ซึ่งธุรกิจ Start Up ที่เติบโตได้เป็นอย่างดีก็จะเป็นพวกธุรกิจด้านการเงิน แม้ว่าจะไม่ได้เติบโตแบบพุ่งกระโดด แต่ทิศทางและแนวโน้มไปได้ดี เพราะนักลงทุนหลายคนหันมาลงทุนกันมากขึ้น อาจจะด้วยปัจจัยความผันผวนของสถานการณ์โลก ทำให้นักลงทุนอยากกระจายความเสี่ยงนั้นเอง ส่วนธุรกิจ Start Up ด้านการขนส่งก็ยังเติบโตแบบกลาง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ดีมากเท่าไรนัก ซึ่งนักลงทุนก็กระจายลงทุนให้ Start Up เหล่านั้นด้วย เพราะบางส่วนยังคงเชื่อถือแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคต

start up

การเยียวยาวิกฤตของภาครัฐบาลเองก็ต้องบอกว่าเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ภาครัฐฯ เองก็ยังไม่ได้มีการส่งเสริมธุรกิจ Start Up ให้เติบโตได้ดีเท่าที่ควร นโยบายควรกระตุ้นการใช้บริการ Start Up ก็จะทำให้แนวโน้มอนาคตธุรกิจ Start Up ของไทยไปได้สวย นอกจากนี้ยังมีภาคธุรกิจอีกหลายชนิดที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเมือง ส่งผลลบให้ภารคธุรกิจ Start Up ตัน และเติบโตได้ช้าด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามหากพูดถึงขอบเขตการทำธุรกิจ startup ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าควรจะเป็นไปในทิศทางอย่างไรจึงจะดีที่สุดนั้นคงจะนำมาจำกัดได้ค่อนข้างยาก ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นการชี้ชวนให้ลงทุนจนเกินไป ต้องบอกเลยว่าธุรกิจที่คนจำเป็นต้องกินต้องใช้เพื่อการดำรงได้ในแต่ละวันมีความสำคัญอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งหลายคนสามารถกลายมาเป็นนักลงทุนเองได้ แทนที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start Up เอง ซึ่งการจัดตั้งหรือสร้างธุรกิจตอนนี้ ไม่มีว่าจะเป็นการระดมทุน หรือทำอะไรก็ตามในสถานการณ์ที่มีความผันผวนทำให้ผู้บริโภคนั้นยังขากความเชื่อถือที่จะจับจ่ายใช้สอยอยู่มาก โจทย์ที่จะตั้งจึงต้องล้อกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาวิกฤตฯ ได้

ตัวอย่างธุรกิจ Start Up ปัจจุบันที่น่าสนใจ เติบโตพุ่งสวนทางกับวิกฤตการณ์โลกก็ได้แก่ Food Delivery ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Ookbee, Wongnai, Grab, Foodpanda, Line man เป็นต้น หรือจะเป็น Netflix ที่คนเลือกเสพความบันเทิงอยู่บ้านแทนที่จะออกไปด้านนอก เป็นต้น

สรุปได้ว่ากระแสธุรกิจ Start Up ปัจจุบันยังคงต้องมองไปเป็นกลุ่ม ๆ ว่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไรกันบ้าง ทำให้แม้ว่าคนจะสนใจทำธุรกิจ Start Up แต่ยังถือว่าต้องรอเวลาเติบโตกันไปอีกสักพักเลยทีเดียวที่จะสามารถกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง แต่แนวโน้มของนักลงทุน และนักธุรกิจก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจ Start Up ถือว่าเป็นเทรนธุรกิจในโลกอนาคตนั้นเอง

แนวทางการเติบโตธุรกิจ startup ที่น่าสนใจในโลกอนาคต

สำหรับหัวข้อที่น่าจับตามองให้ขณะนี้ก็หนีไม่พ้น เทรนที่กำลังจะเดินขึ้นในโลกอนาคต สืบเนื่องมาจากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ ทำให้หลายธุรกิจเล็ก กลาง พากันพังย่อยยับไม่เป็นท่า ธุรกิจไม่กี่อย่างที่อยู่ได้ และเติบโตขึ้นอย่างสวนทาง ทั้งนี้ต้องยอมรับเลยว่า จากวิกฤตครั้งนี้หรือไม่ว่าจะครั้งไหน แนวทางการใช้ชีวิตภายหลังสถานการณ์เหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไป การเติบโตอะไรที่จะอยู่รอดได้ในโลกอนาคต อะไรบ้างที่จะกลายมาเป็นความปกติรูปแบบใหม่ที่ผู้คนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญ นี่คือโจทย์ของมวลมนุษยชาติที่ต้องตกตะกอนให้ได้เสียก่อนจะกลายเป็นฝุ่นที่พังยับเหมือน ๆ หลายธุรกิจขณะนี้นั้นเอง

ฟังแล้วก็อาจจะตกใจ แต่ต้องบอกก่อนเลยว่าแนวคิดธุรกิจ startup เป็นอีกหนึ่งแนวทางธุรกิจที่คนให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบันและจะส่งผลหรือแนวทางการปรับตัวธุรกิจปัจจุบันในอนาคตอีกด้วย เพราะการพัฒนาที่มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงของวิถีชีวิตใหม่ ทำให้คนมองถึงความสะดวก ปลอดภัยที่มาพร้อมกับเร็วกันมากขึ้น

มุมมองการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ (หลังหมดวิกฤต COVID)

  • หลังวิกฤตฯ COVID-19 ผู้บริโภคจะเริ่มมีความเชื่อมั่นด้านการลงทุน ตลาดจะทยอยฟื้นตัว และการบริโภคจะเริ่มกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว อาหาร สถานบันเทิง เป็นต้น
  • แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจเริ่มมีบทบาทเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้เราเคยชิน คุ้นเคยกับการ WFH และการประชุมทางไกลผ่านโปรแกรมวีดีโอคอลเพื่อการประชุมโดยเฉพาะ
  • การส่งข้อมูล และเก็บข้อมุลเอกสาร Cloud จะช่วยให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการเก็บเอกสารหรือแบกเอกสารไปมาหลายที่ ทำเอกสารแจกหลายชุด
  • พฤติกรรมการซื้อของของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปจากเดิมสิ้นเชิง หันมา Shopping ออนไลน์ ทำให้ธุรกิจเล็ก-ใหญ่ โลกของอุตสาหกรรมจะอยู่บนโลกออนไลน์ ธุรกิจที่จเกิดหรือเติบโตทั้งหมดเพื่อให้บริการตอบสนองผู้บริโภคได้ควรจะเป็นรูปแบบ Start Up ที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการให้บริการ แม้แต่ธุรกิจรายย่อย SME ธุรกิจอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมก็ต้องปรับตัว
  • มีแนวคิดมุมมองเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพที่มากขึ้น สิบเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ทำให้ลุกลามด้านการปฏิวัติด้วยกระบวนการทางชีวภาพไปอุตสาหกรรมด้านอื่นด้วย เช่น เกษตร พลังงาน และวัสดุ
  • ผู้คนให้ความสำคัญเรื่องการลงทุน การเงิน การเงินที่สามารถทำกำไรได้เอง (Passive Income) เพื่อสามารถมีเงินก้อนเพิ่มขึ้นแม้ยามเกิดวิกฤตฯ รวมทั้งโครงสร้างพอร์ตการลงทุนจะเปลี่ยนไป คนจะมองเรื่องการเติบโตของธุรกิจในโลกอนาคตมากขึ้น
  • ประเทศและผู้คนทั่วไปกันมาส่งเสริมการสร้างความมั่งคงทางสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลพิษ เนื่องจากปัจจุบันมีการทำลาย รวมทั้งหลายอุตสาหกรรมถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่ผ่านการทำกรรมวิธีทิ้งที่สะอาดเพียงพอ ส่งผลให้โลกในอนาคตจะมีไมโครพลาสติกในทะเล รวมทั้งน้ำจืด และมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ จำนวนมากส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการอยู่อาศัยกันเป็นทอด ๆ ทำให้พลังงานสีเขียวจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น

สรุปได้ว่า Start Up ที่ดีและยั่งยืนควรจะต้องล้อไปกับแนวคิดที่จะเติบโตในโลกอนาคตนี้ด้วยเช่นกัน หากธุรกิจไม่มีการพัฒนา ไม่มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกอนาคต หรือไม่มีการปรับตัวแล้วล่ะก็ เตรียมตัวดับได้เลย อนาคตที่จะมีคู่แข่งจำนวนมากในตลาด และธุรกิจที่คาดการณ์อนาคตได้ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสถานการณ์ได้ดีที่สุดเท่านั้น ที่จะผู้อยู่รอดได้นั้นเอง

ธุรกิจ Startup ที่ประสบความสําเร็จในไทย ปี 2020

ธุรกิจ-StartธุรกิจStartupที่ประสบความสําเร็จในไทยปี2020up-ที่ประสบความสําเร็จในไทย-ปี-2020
ธุรกิจStartupที่ประสบความสําเร็จในไทยปี2020

นับเป็นปีที่หฤโหดกันอีกหนึ่งปีสำหรับปี 2020 ที่ต้องเผชิญกับสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงจากพิษของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ที่ทั่วโลกต้องรับมือ ทั้งนี้เรามาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง ที่ไม่ย่อท้อวิกฤตดังกล่าว รวมต่อสู่ฝ่าฟัน ขอระดมทุนจนรอด ถือได้ว่าเป็นธุรกิจ Startup ที่ประสบความสําเร็จในไทยที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งจะมีธุรกิจอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย

  1. FINNOMENA

FINNOMENA จากบริษัท Fintech เป็นแนวคิดทำธุรกิจด้านการเงินการลงทุนที่มาแรงอีกตัวหนึ่ง ถึงเป็นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนไทยได้ลงทุนและบริการจัดการด้านสินทรัพย์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งแอพฯ ยังให้ข้อมูลความรู้การลงทุน และเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ มีFinancial Advisor ที่คอยให้คำแนะนำ ได้อีกด้วย ยิ่งสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ยอดมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) พุ่งสูงถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ตั้งเป้ายอดมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) 90,000 ล้านบาท ภายในปี 2023ปัจจุบันมีผู้สมัครใช้งานอยู่ที่ 120,000 ราย

  1. Freshket

แนวคิดทำธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารและของสด เสมือนตลาดสดออนไลน์ โดยจะเป็นคนกลางระหว่าง Supplier และผู้ซื้อออนไลน์ได้เลย โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งจาก TaniHub อินโดนีเซีย แนวคิดการมุ่งพัฒนาสู่การเป็น enabler สำหรับ supply chain ของอุตสาหกรรมอาหาร แม้ว่าจะดูเป็นแนวคิดที่น่าจะไปได้สวย แต่จากหลาย ๆ สถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ Freshket ประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยการ ระดมทุนได้ 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในรอบ Series A ได้สำเร็จจาก Openspace, ECG-Research , Innospace, Pamitra Wineka และ Ivan Sustiawan

  1. HungryHub

แนวคิดทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารอีกแล้ว ซึ่งจะเป็นการดีลร้านอาหารต่าง ๆ นับเป็นการปรับตัวยามวิกฤตที่เห็นได้ชัด ซึ่งก็ให้บริการแบบ food delivery ส่งอาหารถึงบ้าน จุดเด่นของ HungryHub อาจจะเป็นดีลเด็ดของร้านอาหารดัง ๆ มากมายที่แวะเวียนมาให้เลือกโปรโมชั่นดีอย่างต่อเนื่อง ช่วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถไปต่อได้ โดยจะมีค่าคอมมิชชั่น 14-20% ของยอดขายเท่านั้น นับว่าต่ำว่าคู่แข่งด้าน food delivery เจ้าอื่น ๆ อย่างมาก การเติบโตยังไม่สูงมาก แต่ก็น่าจับตามองมากเลยทีเดียว

  1. ChomCHOB

แนวคิดทำธุรกิจด้านการเงินโดยจะเป็นแอพฯ ที่รวบรวมแต้มจากบัตรเครดิต รวมทั้งบัตรที่สะสมคะแนนต่าง ๆ เอาไว้ เรียกได้ว่า แอพฯ ช่วยจำนั้นเอง เชื่อว่าหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการได้แต้ม ยอดสะสมจากตรงนั้นที ตรงนี้ทีจะต้องถูกใจสิ่งนี้อย่างแน่นอน ซึ่งจากวิกฤต COVID-19 ทำให้ธุรกิจนี้ก็ทรุดเช่นกัน แต่ก็ฮึบขึ้นมาได้ ด้วยการระดมทุนได้มากถึง 50 ล้านบาทในรอบ Series A โดยมี Invent เป็น lead investor และมี 500 TukTuks, SIX networks รวมทั้งนักลงทุนรายอื่นร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน

  1. Ricult

Ricult อ่านว่า รีคัลท์ เป็นแนวคิดทำธุรกิจด้านการเกษตรกรรม มีรูปแบบแพลตฟอร์ม Agri-Tech โดยภายในแอพฯ จะเทคโนโลยี Machine Learning นำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร ช่วยเกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์ม ช่วยเพิ่มผลผลิต รวมทั้งเพิ่มรายได้ สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีฐานลูกค้าเกษตรกรผู้ใช้งาน Ricult มากกว่า 3 แสนคน และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะถึง 4 ล้านคนใน 3 ปี ทั้งนี้สำหรับปี 2020 Ricult สามารถระดมทุนได้ 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐนำโดย Bualuang Ventures และ Krungsri Finnovate

4 ธุรกิจ start up ต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก

แน่นอนว่ากว่าจะมาเป็นธุรกิจ Start Up ที่มาเป็นกระแสได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เราจึงนำเอาธุรกิจ Start Up ที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกมาให้ได้ดูกัน

  1. Uber

มีมูลค่ามากถึง 68,000 ล้านเหรียญ ซึ่ง Uber เป็นแอปพริเคชันที่เราคุ้นเคยชื่อเป็นอย่างดี มีลักษณะเป็น Ridesharing ปัจจุบัน Uber มีการให้บริการมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลกแล้ว

  1. Didi Chuxing

มีมูลค่ามากถึง 56,000 ล้านเหรียญ ซึ่ง Didi Chuxing เรียกว่าเป็นแอปพริเคชันเรียกรถแท็กซี่ของจีน ผู้ก่อตั้งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นอดีตเซลล์ขายโฆษณาระดับผู้จัดการของ Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba นี่เอง

  1. Xiaomi

มีมูลค่ามากถึง 46,000 ล้านเหรียญ เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินแบรนด์นี้ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มาจากจีน แปลได้ว่า เมล็ดข้าวน้อย ผู้ก่อตั้งคือ Lei Jun เป็นอดีต CEO ของ Kingsoft โดยมีแนวคิดว่าสินค้าที่ดีไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไปมีการซื้อขายด้วยช่องทางออนไลน์เพื่อความประหยัด

  1. Airbnb

มีมูลค่ามากถึง 31,000 ล้านเหรียญ โดยเป็นลักษณะธุรกิจที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยการแชร์ที่พักที่นิยมและโด่งดังไปทั่วโลก โดยผู้ใช้บริการที่เดินทางทั่วโลกไม่จำเป็นต้องใช้บริการพักในโรงแรมเสมอไป ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มมาจากการที่ผู้ก่อนซึ่งก็คือ Brian และ Joe อยากหาเงินมาจ่ายค่าห้องของตนเอง ก็เลยผุดไอเดียแชร์ห้องเช่าตัวเอง ต่อมาก็ให้ Nathan มาช่วยในการเขียนเว็บไซด์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ Airbnb มากกว่า 150 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน

รายชื่อบริษัท start up ในไทยที่น่าจับตามอง

สำหรับเรียกได้ว่าธุรกิจ Start up ที่น่าจับตามองในฝั่งของบ้านเราเอง นับว่ามีด้วยกันหลากหลายตัวด้วยกัน ซึ่งแห่ขายไอเดียกันแบบล้นลามมากมาย ทำให้รวบรวมรายชื่อบริษัท start up ในไทยทั้งหมดมาคงไม่ได้ เอาเป็นว่าดึงตัวธุรกิจที่น่าสนใจขึ้นมาให้ได้ดูกันจะดีกว่า

  1. “Greensery” ถุงเพาะชำจากยางพารา
  2. “Meat Avatar” เนื้อเทียมมังสวิรัติ
  3. “Local Alike” แพลตฟอร์มท่องเที่ยวเพื่อชุมชน
  4. “ทองหล่อ” ช่างเสริมสวย Delivery
  5. “ฟังใจ” ชุมชนออนไลน์ของคนรักเสียงเพลง
  6. “Saturday School” สุดยอดโรงเรียนนอกหลักสูตร
  7. “Inskru” สังคมออนไลน์ของครูรุ่นใหม่

สรุป

กล่าวได้ว่าธุรกิจ Start Up เป็นธุรกิจที่ใคร ๆ ก็เริ่มทำได้ เพียงแค่คุณมีไอเดียที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง แม้ไม่มีทุนก็สามารถทำได้ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจนี้ ก็ต้องมีไอเดียจากนั้นเริ่มการจัดตั้งทีมงานขึ้นมา โดยจะต้องคำนึงถึง Pain Point ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่อยากทำแต่ต้องคิดให้รอบคอบ สร้างโจทย์และตอบคำถามเหล่านั้น แก้ปัญหาให้คนอื่นได้ ผสมผสานกับการมีเทคโนโลยีก็จะช่วยให้ธุรกิจ Start Up ที่คุณจะทำนั้นเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อได้แล้วล่ะก็เริ่มลงมือได้เลย หาระดมทุน จัดการงาน และดำเนินการภาคส่วนอื่น ๆ ต่อไป

อย่าปล่อยให้ความฝันเป็นแค่ความฝัน เพราะสิ่งที่คุณฝันอาจจะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงในโลกนี้ได้

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com