Plagiarism คือ 7 การคัดลอก ผลงานทางวิชาการ

plagiarism
Click to rate this post!
[Total: 2218 Average: 5]

plagiarism

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ คงเป็นช่วงที่เพื่อนข้าราชการหลายท่านจะต้องเตรียมตัวเพื่อการเขียนผลงานเพื่อใช้ประกอบการประเมินเลื่อนระดับ ดังนั้นในฐานะผู้เขียนซึ่ง เป็นบรรณารักษ์จึงขอเล่าเกร็ดความรู้สําหรับผู้ที่กําลัง จะต้องเขียนผลงาน หรืองานทางวิชาการต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับความสําคัญในการเขียนรายการอ้างอิง (Reference) เพราะหากท่านไม่สนใจแล้วท่านอาจมีโอกาสเข้าข่าย plagiarism ได้

การลักลอกผลงาน การคัดลอกผลงาน การโจรกรรม ทางวิชาการ

plagiarism มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคํา เช่น การลักลอกผลงาน การคัดลอกผลงาน การโจรกรรม ทางวิชาการ การโจรกรรมทางวรรณกรรม การขโมยผลงาน และการลอกเลียนผลงาน เป็นต้น สําหรับบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ คําว่า plagiarism ตรง ๆ โดยไม่แปล

การใช้ผลงานหรือแนวคิดของบุคคลอื่นเพื่อทําให้ดูเหมือนเป็นงานของตนเอง

ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้กล่าว สรุปไว้ว่า “plagiarismหมายถึง การใช้ผลงานหรือแนวคิดของบุคคลอื่นเพื่อทําให้ดูเหมือนเป็นงานของตนเอง” (มานิตย์ จุมปา, ๒๕๕๖ : ๙๘) ซึ่ง Plagiarism นี้บางครั้งเกิดด้วยความตั้งใจ และหลายครั้งเกิดจากความไม่ตั้งใจแต่ขาดความระมัดระวังในเรื่องของการอ้างอิงให้ถูกต้อง ทั้งนี้

คัดลอกเกิน ๑,๐๐๐ คํา หรือ ร้อยละ ๑๐

ในบางกรณีอาจถึงขั้นเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้สร้างผลงานวรรณกรรมต้นฉบับซึ่งผิดกฎหมายด้วย หากคัดลอกเกิน ๑,๐๐๐ คํา หรือ ร้อยละ ๑๐ ของผลงานขึ้นอยู่กับจํานวนใดน้อยกว่ากัน ดังนั้นถ้าจําเป็นต้องคัดลอก มากกว่านี้ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน (ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข, ๒๕๕๖)

รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ ดังนี้ (บุษบา มาตระกูล, ๒๕๕๑ : ๘-๙)

  1. Copy and Paste P l a g i a r i s m (การคัดลอก-แปะ) คือ การนําข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ใส่เครื่องหมายคําพูด และเขียนอ้างอิง
  2. Word Switch P l a g i a r i s m (การเปลี่ยนคํา) คือ การนําข้อความต้นฉบับมาเปลี่ยนบางคําโดยไม่ใส่เครื่องหมาย คําพูดและเขียนอ้างอิง 
  3. Metaphor P l a g i a r i s m (การอุปมา) คือ การนําคําอุปมาของต้นฉบับมาใช้ โดยไม่ได้อุปมาเป็นอย่างอื่น โดยไม่อ้างอิง
  4. Style P l a g i a r i s m (สํานวน) นําข้อความต้นฉบับผู้อื่นมาใช้โดยเรียงประโยคใหม่อันแสดงถึงรูปแบบสํานวนเดิม
  5. Idea P l a g i a r i s m (ความคิด) คือ การนําทฤษฎีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ วิจารณ์ ถึงความรู้ทั่วไป หากมีผู้อื่นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีนั้นแล้วต้องอ้างอิง หากไม่อ้างอิงจะเป็น P l a g i a r i s m ดังนั้นอาจเลี่ยงได้โดยเขียนด้วยทฤษฎีอื่น 
  6. การกระทําอื่นๆ ที่ถือเป็น P l a g i a r i s m เช่น การส่งผลงานชิ้นเดียวกันไปยังสํานักพิมพ์ ๒ แห่ง หรือลอกผลงานตัวเอง (Self P l a g i a r i s m) การส่งผลงานที่ทําร่วมกับผู้อื่นไป เผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม การลอก การบ้าน การใช้บทความจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่อ้างอิง การนําคํากล่าว สุนทรพจน์ สถิติ ภาพ กราฟ ผู้อื่นไปใช้โดย ไม่อ้างอิง

การกระทําที่เข้าข่าย P l a g i a r i s m

การกระทําที่เข้าข่าย P l a g i a r i s m นี้มีมานานแล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครสนใจเอาความกับผู้กระทําผิดเช่นนี้นัก แม้จะเป็นการกระทําที่นับว่าผิดศีลธรรมและจรรยาบรรณก็ตาม จนกระทั่งพบการกระทําในลักษณะ P l a g i a r i s m นี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะในวงการวรรณกรรม ธุรกิจ เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ และการศึกษา อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เจริญก้าวหน้าเอื้ออํานวยให้

การคัดลอก ต่าง ๆ สามารถกระทําได้โดยง่ายและรวดเร็ว จึงยิ่งทําให้ P l a g i a r i s m  แพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักเรียน นักศึกษา ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าสารสนเทศต่าง ๆ โดยนํามาใช้ตัดแปะข้อความของคนอื่นในผลงานของตัวเองโดยไม่มีการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า Cyber-P l a g i a r i s m  อันเป็นความมักง่ายและคาดว่าอาจารย์ผู้สอน จะจับไม่ได้ การกระทําดังกล่าวเกิดขึ้นมากในแวดวงมหาวิทยาลัยจึงทําให้สถาบันและองค์กรต่าง ๆ จําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือสําหรับใช้ตรวจจับ P l a g i a r i s m ของเหล่านักเรียน นักศึกษา เมือผู้เขียนได้ไปสัมมนาทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา จะมีหน่วยงานต่าง ๆ มานําเสนอ โปรแกรมตรวจจับ P l a g i a r i s m อยู่เสมอ

ซึ่งโปรแกรมและฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันมากในการตรวจจับ P l a g i a r i s m ได้แก่ Deja vu, eTBLAST (ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข, ๒๕๕๑), Viper (นฤตย์ นิ่มสมบุญ, ๒๕๕๗), Turnitin และ DupliChecker ส่วนของไทยมี CopyCat และ Anti-Koppae (แอนตี้ ก็อปแปะ) โดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) รวมทั้ง อักขราวิสุทธิ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทคนิคหลีกเลี่ยงการกระทํา Plagiarism

เทคนิคหลีกเลี่ยงการกระทํา Plagiarism (บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕) (ต้องอ่าน! สุดยอดเทคนิคเขียนงานหลีกเลี่ยง P  l  a  g i a r i s m, ๒๕๕๕)

๑. ค้นคว้าจากหลาย ๆ แหล่ง อ่านให้เข้าใจถ่อง แท้ และเขียนผลงานด้วยสํานวนตัวเอง

๒. จดบันทึกย่อทุกครั้งที่อ่านข้อมูล และกํากับแหล่งอ้างอิงทุกครั้ง

๓. เขียนผลงานด้วยภาษาตนเองไม่นําคําของคน อื่นมาใช้ โดยทิ้งเวลาหลังจากอ่านข้อมูลต่าง ๆ สักพักจึง เขียนงานตัวเองจะช่วยให้สํานวนที่เขียนเป็นภาษาของเรา เองอย่างแท้จริง

๔. เขียนโดยใช้วิธีถอดความ หรือ การสรุปสาระสําคัญแทนการคัดลอก และเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง

๕. หากจําเป็นต้องนําข้อความนั้นมาอ้างอิง ควรเขียนอ้างอิงให้ชัดเจน และใส่เครื่องหมายคําพูดตรงข้อความที่คัดลอก

ควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง

ปัจจุบันสังคมวิชาการของไทยหันมาให้ ความสําคัญกับ P l a g i a r i s m เพิ่มขึ้น หากท่านกําลังทําผลงานวิชาการใด ๆ อยู่ก็ควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง จะได้ไม่เข้าข่ายผู้กระทําการ P l a g i a r i s m ผู้เขียนขอแนะนําเพิ่มเติมว่าระบบการเขียนอ้างอิงนั้นมีหลายแบบซึ่งแตกต่างกันไป บางระบบต่างกันแค่เพียงการใช้เครื่องหมาย

ดังนั้น ควรศึกษาให้ดีและยึดระบบการอ้างอิงที่สถาบันหรือหน่วยงานที่ท่านจะต้องเสนอผลงานชิ้นนั้นเป็นผู้กําหนดให้ใช้เท่านั้น ไม่ควรใช้ความเคยชินแล้วใช้ระบบการอ้างอิงอื่นตามแบบสถาบันอื่นที่ท่านเคยเรียน หรือเคยเสนอผลงานมาก่อน เพราะอาจทําให้ผลงานท่านไม่ผ่านเกณฑ์ของแต่ละแห่งได้

 

ที่มา:http://www2.feu.ac.th/acad/llrc/AAP/download/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20Plagiarism%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.pdf

strategy

กลยุทธ์ 3 ข้อ ธุรกิจ วางแผน ระดับองค์กร อะไร

กลยุทธ์ กลยุทธ์ คือ แผน กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ ทางการ ตลาด คือ กลยุทธ์ CSR คือ อะไร กลยุทธ์ การ ตลาด คือ กลยุทธ์ seo คือ กลยุทธ์ synergy คือ กลยุทธ์ ป่า ล้อม เมือง คือ กลยุทธ์ 4p คือ กลยุทธ์ imc คือ กลยุทธ์ differentiation คือ กลยุทธ์ ต้นทุน ต่ำ คือ กลยุทธ์ white ocean strategy คือ กลยุทธ์ 7ps คือ กลยุทธ์ 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ 3c คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 3r คือ กลยุทธ์ tows matrix คือ กลยุทธ์ การ ตลาด สมัยใหม่ ยุค 3.0 คือ อะไร กลยุทธ์ CSV คือ กลยุทธ์ blue ocean คือ กลยุทธ์ 5c คือ
ปก การสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า

การสร้าง ส่งเสริมความสัมพันธ์กับ ลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ตัวอย่าง กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 4 ขั้นตอน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า kfc กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ

Leave a Comment

Scroll to Top