OEM

5 OEM สิ่ง ย่อมาจากสินค้าอะไร ผลิตแบรนด์ที่ไม่มีใครบอก?

Click to rate this post!
[Total: 170 Average: 5]

oem คือ

oem คือ
oem คือ

OEM คือ? และ ODM คือ?

มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและการสร้างแบรนด์ เพื่อการสร้างธุรกิจของตนเองให้แข็งแกร่งขึ้น สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ ที่มีไอเดีย มีทุนทรัพย์จำกัด แต่มีความปรารถนาต้องการเป็นเจ้าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จัดจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด จึงเกิด ธุรกิจ oem และ odm ขึ้น

  • OEM ย่อมาจาก  Origianl Equipment Manufacturer
  • OEM แปลว่า ผู้ทำหน้าที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง

ลักษณะของโรงงานที่รับผลิต oem สินค้าแบบนี้

โดยโรงงานรับจ้างผลิตoem จะมีสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนดไว้บ้างแล้ว จะทำการติดชื่อแบรนด์ หรือไม่ติดชื่อสินค้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

ดังนั้น เรียกได้ๆ ก็คือ  oem หมายถึง การทำตามสั่งของลูกค้า ภายใต้ประเภทสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่โรงงานผลิตอยู่ การผลิตสินค้า ภายใต้การ อนุญาต โดยเจ้าของ brand สินค้า คุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์จะเป็น “ของแท้” แต่แค่ไม่ได้ติด “ยี่ห้อหรือแบรนด์สินค้า” บริษัทหรือโรงงานประเภทการผลิตมากมาย ที่ทำหน้าที่รับจ้างผลิตสินค้า หรือชิ้นส่วน ให้กับบริษัทยี่ห้อดังๆ

งาน OEM คือ
งาน OEM คือ

สินค้า oem คือ โรงงานมีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอยู่แล้ว และรับจ้างผลิต oem ให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ของลูกค้าที่มีอยู่แล้ว

งาน oem คือ ในลักษณะนี้ ลูกค้ามีแบรนด์ที่แข็งแรงแล้วในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อะไร หรือแม้แต่อะไหล่รถยี่ห้อดัง สมาร์ทโฟน ก็อาจจะพึ่งโรงงานประเภทนี้ โรงงานประเภทนี้ ผู้จ้างผลิตสินค้ามักจะมีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง

oem product  สร้างความน่าเชื่อถือได้ในเรื่องของคุณภาพที่แบรนด์ดังไว้วางใจ ทำให้สินค้า oem ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากบนฉลากของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จะระบุ สถานที่ผลิตและจัดจำหน่ายด้วยทุกครั้ง ทำให้ผู้บริโภคและผู้อุปโภคที่เป็นลูกค้าประจำ จะสามารถทราบแหล่งที่มาของสินค้า ว่า  oem คือ การใช้กระบวนการผลิตของโรงงาน oem ตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า โรงงานประเภทนี้นั้นมักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้าง oem แบรนด์ของตนเองแต่เน้นการผลิตให้กับแบรนด์ให้กับอื่น ๆ ที่ต้องการรับผลิต oem ในจำนวนน้อย หรือไม่มีโรงงานเป็นของตนเองนั่นเอง

  • Original Equipment Manufacturer คือ เรียกง่ายๆ รับจ้างผลิต รับผลิตสินค้าเนื่องจาก Manufacturer คือ ผู้ผลิต
  • Equipment  คือ  อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องประกอบ,  การติดตั้งเครื่องมือเครื่องประกอบ, จัดหาเครื่องประกอบ, จัดหามาให้, จัดให้มี, เตรียม, บรรจุ

Oem สามารถเป็นทั้งโรงงานที่มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนก R&D หรือ Research and Developmen : แผนกวิจัยและพัฒนา เช่น Oem อาหาร รับผลิตสินค้าอาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง มีการคิดค้น ทำวิจัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพและจุดเด่นที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่เดิมในท้องตลาด การคิดพัฒนานั้น มีการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพ และเป็นสูตรที่ลงตัว มีมาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีความพร้อมในการให้บริการครบวงจร อย่างที่โรงงานผลิตสินค้าอาหารเสริมครบวงจร นิยมทำกัน กล่าวคือ นอกจากผลิตสินค้าให้ด้วยแล้ว ยังรับผลิตสินค้าออกแบบทั้งโลโก้ ฉลากสินค้า อีกทั้งจัดหาบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะและสวยงาม ทันสมัยเป็นที่ยอมรับและถูกใจในท้องตลาด

โดยโรงงานรับผลิตหรือที่ได้ถูกจ้างผลิตสินค้า จะทำหน้าที่ประสานงานติดตอเรื่องการทำผลิตภัณฑ์จดทะเบียน อย. กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำให้การจ้างผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ เป็นในลักษณะครบวงจร อย่างโรงงานรับจ้างผลิตอาหาร ก็ทำหน้าที่ ตั้งแต่รับผลิตอาหาร จนถึงการบรรจุภัณฑ์ เพื่อลูกค้าที่มาใช้บริการ ได้ทำผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ต่อยอดเพื่อการสร้างแบรนด์จนได้ความสะดวก และได้สินค้ารวดเร็ว มีเอกลักษณ์ตรงตามที่ลูกค้าตรงการ

oem vs odm
oem vs odm

OBM คืออะไร

OBM หรือ Original Brand Manufacturer คือ การผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานรับจ้างผลิตอาหาร สามารถพัฒนาได้เต็มที่ เพื่อรับจ้างผลิตอาหารเสริม รวมถึงสินค้าและจำหน่ายในปริมาณที่มาก โดยเน้นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นหลักก่อน แต่อาจมีผู้อื่นมาให้ผลิตได้เช่นกัน

ผลิตภัณฑ์คืออะไร

มุ่งเน้น ผลิตแต่สินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง อยากผลิตสินค้าขาย แต่แบรนด์ยังแข็งแรงไม่มากพอ แต่ต้องการกำลังผลิตจำนวนมาก ซึ่งมีความชัดเจนในเรื่องของสินค้าคือสิ่งไหนการเลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามแบบโรงงานเองก็จะสามารถ ลดต้นทุนในการผลิตไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ยกตัวอย่าง  โรงงานรับผลิตอาหารสำเร็จรูป  นอกจากนี้ OBM เหมาะสมกับธุรกิจประเภทที่เน้นการรับสร้างแบรนด์อาหาร สู่การการรับสร้างแบรนด์อาหาร และการรับทำแบรนด์ให้กับสินค้าโรงงานตามสเปคต่างๆตามที่ผลิต

รู้จัก OEM ODM OBM

  1. 1. OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer

หมายถึง ผู้รับจ้างผลิตสินค้าขายให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง ลักษณะสินค้าที่มีคุณภาพ เนื่องจากการรับผลิตแบรนด์ให้กับลูกค้า ต้องระบุสถานที่ผลิตในฉลาก หรือบางรายอาจระบุรูปโรงงานไปเลยก็มี แต่จะมีความแตกต่างกันตรงยี่ห้อและแบรนด์สินค้า เป็นไปตามความประสงค์ของผู้อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลแต่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง หากใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก

  1. 2. ODM ย่อมาจาก Original Design Manufacturer

หมายถึง ผู้รับจ้างรับทำแบรนด์ที่ออกแบบและผลิตสินค้าจากโรงงานให้กับบริษัทที่จะไปขายเป็นแบรนด์ของตัวเอง

แบรนด์ Brand คือ ตราสินค้า สิ่งที่จะสามารถ ออกแบบ หรือการสร้าง ให้ออกมาในรูปแบบสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์ สินค้า การบริการอาจจะเป็นชื่อ เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นภาพลักษณ์และมุมมองความคิดที่ลูกค้ามีต่อบริษัท หรือ สินค้าและผลิตภัณฑ์ แบรนด์เป็นความรู้สึกที่ถูกสื่อสารผ่าน ชื่อ คำศัพท์ การออกแบบ

วิธีทำแบรนด์สินค้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตนของสิ่งสิ่งนั้นๆ เป็นเสมือนการสื่อสารความเป็นตัวตนของสิ่งเหล่านั้น เพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ สินค้า การบริการ สู่ภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า

กรณีตัวอย่างศึกษาที่เห็นชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุดของในเรื่อง Brand Design คือ บริษัท Apple ด้วยตราสินค้าคือ รูปสัญลักษณ์ ที่เป็นแอ็ปเปิ้ลที่โดนถูกกัด โดยที่รูปแบรนด์เป็นรูปสัญลักษณ์และบ่งบอกเอกลักษณะความหมายของคำว่า Apple บ่งบอกความเป็นตัวตนของบริษัท ใช้เทคนิคเรื่องของการสื่อความหมาย เรื่อง Brand คืออะไร โดยสื่อออกมาผ่านทางการสื่อสารทางการตลาด แสดงให้เห็นถึง ผู้ผลิตคือได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา ล้วนแล้วแต่เป็นยี่ห้อสินค้าที่เป็นลักษณะผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทันสมัย รูปผลิตภัณฑ์หรูหรา ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกฟังชั่น โดยแอ็ปเปิ้ลได้สร้างกระแสของคำว่า แบรนด์ คือ การวางโครงสร้างของจุดเด่น สร้างการจดจำให้กับลูกค้าและจุดประสงค์ของบริษัทได้ชัดเจนมากที่สุด กลายไปสู่เอกลักษณ์ของบริษัทโดยนิยามลูกค้าการรันตีให้เลย

  1. 3. OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturer

หมายถึง ผู้ขายสินค้าที่ผลิตโดยผู้อื่นภายใต้แบรนด์ของตัวเอง อาจจะสร้างความต่างในเรื่องของการช่วยลดต้นทุน มีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถผลิตได้ในจำนวนมากๆ เช่นการสร้างแบรนด์อาหารในปริมาณมากๆ สามารถปรับกลยุทธ์ในการผลิต แต่ต้องผลิต ออกแบบ และทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต ย้ายฐานการผลิตยาก และต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างโรงงาน

ในยุคที่นักธุรกิจหน้าใหม่เกิดได้ง่ายขึ้น ความหมายของโรงงาน จะไม่ใช่แค่การผลิตสินค้า สร้างผลิตภัณฑ์แต่เพียงเฉพาะแบรนด์ของตนเองแล้วเท่านั้น เนื่องจากกลยุทธ์ทางการตลาดที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยของสังคมแห่งยุคไอทีโลกาภิวัฒน์ ทำให้จุดประสงค์ของการสร้างแบรนด์สินค้า ไม่ใช่แค่รับผลิตOrder แปลว่า แค่เฉพาะแต่สินค้าและผลิตภัณฑ์บริษัทตนเองเท่านั้น เนื่องจากการได้รับความนิยมนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อน เนื่องจากพร้อมรองรับงานความต่างอย่างพร้อมสรรพ เพียงแค่นักธุรกิจหน้าใหม่มีเงินทุน มีไอเดียอยากเป็นเจ้าของแบรนด์ ก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้สมใจ โดยเป็นไปในลักษณะของการจ้างผลิตจากโรงงานที่รับผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบของลักษณะที่ค่อนข้างครบวงจร เรียกได้ว่าอาจะเป็นประเภทธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยก็มี

จึงส่งผลทำให้ คำว่า Brand แปลว่า ต้องเกิดการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้นพร้อมๆ กับสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของตัวเองไปในตัว ในรูปแบบการทำงาน การขายสินค้า การทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดโดยใช้กลยุทธ์การจัดทำแผนทางการตลาดที่มากกว่าคำว่า 4P

รู้จักคำว่า  4P  (Marketing Mix) หมายถึง ส่วนผสมทางการตลาด ทฤษฎีการวางแผนการตลาด การผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการบริการ การสร้างแบรนด์ โดยแบ่งโรงงาน ธุรกิจ จะนิยมนำมาวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางของกิจการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน วางแผนให้แต่ละส่วนมีความสอดคล้อง สู่การมีแนวทางเดียวกัน ครั้งแรกที่คิดออกมาอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ สามารถปรับไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้ส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับกิจการ โรงงานและธุรกิจ หรือแบรนด์สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย 4 ส่วน (4P) ได้แก่

  • Product คือ สินค้าหรือบริการที่เราสามารถเสนอให้ลูกค้า เน้นการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าจนกลายเป็นการจดจำและการซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง
  • Price คือ ราคา การตั้งราคาเป็นสิ่งสำคัญมาก เน้นราคาที่ไม่แพง สมเหตุสมผลกับสิ่งที่ขาย อาจให้กลยุทธ์ลงท้ายด้วยเลข 9, ซื้อ1 แถม 1, ลดครึ่งราคา
  • Place คือ สถานที่จัดจำหน่าย เน้นการทำการตลาดออนไลน์สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายที่เว็บไซต์, Facebook Fanpage หรือมีหน้าร้าน และการขายสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ การขนส่งถึงที่ สามารถเข้าร่วมกับแอพพิเคชั่นต่างได้มากมาย
  • Promotion คือ กิจกรรมทางการตลาดที่สร้างการรับรู้ให้ลูกค้าเกิดการซื้อ อย่าง การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การแจกใบปลิว การติดโปสเตอร์ การลดแลกแจกแถม เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เกิดความต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในส่วนของกิจการ ธุรกิจ และโรงงานที่รับผลิตนั้น จะต้องเข้าใจและเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีผู้ที่ต้องการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ มากกว่าผู้อุปโภคและผู้บริโภค เนื่องจากกำลังทางการซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย

ทำให้ในสายของธุรกิจการผลิตอย่างโรงงานต่างๆ ต้องเกิดการเรียนรู้สู่การต่อยอดธุรกิจสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับแบรนด์อื่นๆ ตามแนวทาง OEM, ODM, OBM ถึงแม้ว่าคำทั้งสามคำนี้ มีความต่างกัน แต่สามารถนำมาประยุกต์ในธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้ ความมั่นคงของกิจการหรือโรงงานได้อย่างยั่งยืนในสภาพของเศรษฐกิจที่ต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความอยู่รอดของกิจการ

แหล่งอ้างอิง :

kr.ac.th/el/02/surang/04.html
facebook.com/Kruaeykruaey/posts/987297031658319/
nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlnes055/Index4.html
esarntech.ac.th/system/images/working/zStartUpd/about7.html
codesanook.com/advantages-of-object-relational-mapping-orm
xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/4p/