Digital Transformation

5 ธุรกิจ Digital Transformation วิธีนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณ?

Click to rate this post!
[Total: 147 Average: 5]

Digital Transformation

Digital Transformation เทคโนโลยีธุรกิจในยุคดิจิทัล

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญให้การดำเนินธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความท้าทายให้กับผู้ประกอบการไม่น้อย Digital Transformation จึงคำที่เป็นที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง เราในฐานะผู้ประกอบการ SME ควรปรับตัวอย่างไรในยุค 4.0 บทความนี้มีคำตอบ

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจและส่งต่อคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค ไม่เพียงแต่ภาคการปฏิบัติการที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เท่านั้น แต่สิ่งนี้รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมที่องค์กรและบุคลากรทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานตำแหน่งล่างสุดจะต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวไปสู่ยุค 4.0 นี้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กรสามารถแข่งขันในยุคที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดได้

3 วิธีมุ่งหน้าสู่การทำ Digital Transformation มีอะไรบ้าง

เปลี่ยนแปลง Customer Experience ของผู้บริโภค

เมื่อทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยคำว่า “ดิจิทัล” การเข้าถึงผู้บริโภคก็เช่นกัน เริ่มจากการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ผู้บริโภค นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม พื้นที่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ มาให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการซื้อสินค้า ความต้องการ ความสนใจ เทรนด์ โปรโมชั่น และราคา เพื่อกำหนดกลยุทธ์การทำ CRM สร้างความพึงพอใจและแรงจูงใจในการซื้อสินค้าตามความชอบของแต่ละคน รวมถึงการนำเอาอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น iPad, Tablet มาใช้เพื่อมาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ VDO หรือ การทำรายการผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น การสื่อสารกับผู้บริโภค และ Customer touch points ก็เป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันจะสังเกตุได้ชัดเจนมากว่า แบรนด์ต่างๆ จะมีช่องทางการออนไลน์ใหม่ๆ เช่น Facebook, Line, Twitter, Instagram, Application, และอีกมากมาย เพื่อการบริการที่รวดเร็ว ฉับไว

เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ

ถึงแม้ว่าการสร้างประสบการณ์ที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลจะเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน และสร้างระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน ช่วยให้บริษัทได้รับผลประโยชน์มากมาย บุคลากรสามารถมุ่งเน้นการทำงานด้านการสร้างกลยุทธ์ ผ่านนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าปฏิบัติการและทำงานซ้ำๆ เดิมๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงาน และ Knowledge sharing ให้บุคลากรจากหลากหลายแผนกได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนในออฟฟิศ หรือทำงานจากที่ใดบนโลกก็ตาม มากไปกว่านั้นการวัดผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผลิตก็ดีจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจ Insights ของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภค และความต้องการแบบลึกซึ้ง ทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นไปตามข้อมูลแบบ Real time ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดคะเน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ และตอบสนองวิสัยทัศน์ของบริษัทได้มากขึ้น

เปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล

ธุรกิจไม่เพียงแต่จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานในแต่ละภาคส่วนเท่านั้น แต่จะต้องกำหนดแบบแผนการทำงานภายในบริษัท ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล และ Digital globalization ต้องบอกก่อนว่านี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง วิธีที่นำเทคโนโลยีมาใช้งาน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Big C เริ่มมีบริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และจัดส่งไปที่บ้าน หรือ Garmin ที่พัฒนาสายรัดข้อมือที่มี GPS และสามารถติดตามผลการออกกำลังกายได้ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยทั้งความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายว่าคุณต้องการจะนำพาธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางใด

Digital Transformation สำคัญต่อธุรกิจ SME อย่างไร

โลกเปลี่ยนไปแล้ว ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีมีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในชีวิต สังเกตุได้จากพฤติธรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทั้งการซื้อของ การทำธุรกรรมการเงิน การใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และอีกมากมาย เมื่อนึกย้อนกลับไปเมื่อก่อน หากคุณต้องการจะซื้อของสักชิ้น จะต้องขับรถเพื่อไปที่ร้านหรือห้างสรรพสินค้า เดินเลือกซื้อสินค้า และชำระเงินด้วยเงินสด แต่ปัจจุบันนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็สามารถซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดาย เพียงเข้า Google เพื่อค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากนั้นจะพบว่ามีสินค้ามากมายให้คุณเลือก ชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต จากนั้นสินค้าจะมาถึงให้ถึงหน้าบ้าน หรือแม้แต่ธุรกรรมทางการเงิน จากเมื่อก่อนหากต้องการโอนเงินไปยังผู้อื่น หรือขอเอกสารรับรองสถานภาพทางการเงิน (Statement) ต้องไปดำเนินการที่ธนาคาร หรือผ่านตู้ ATM เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น K-Mobile Banking เป็นต้น ดังนั้นหากธุรกิจไม่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย จะแข่งขันอยู่ในตลาดได้ยาก หากคุณไม่เปลี่ยน วันนึงก็จะมีคู่แข่ง หรือบริษัทใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาททางธุรกิจแทน มากไปกว่านั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบุคลากรก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและควรทำอย่างต่อเนื่อง บริษัทจำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ด้วย

ธุรกิจที่ทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จ

Netflix

เปลี่ยนจากผู้ส่ง DVDs ทางไปรษณีย์ เป็นผู้นำในการให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทนต์ และปัจจุบันก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในการผลิต Origital Content

Adobe

ก้าวข้ามจาก Core ธุรกิจหลักเดิมที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์เอกสารและการสร้างสรรค์ เปลี่ยนมาเป็นผู้นำในการให้บริการด้าน Digital Experiences, Marketing, แพลตฟอร์ม Commerce และ Analytics ด้วยโมเดลแบบบอกรับสมาชิก (Subscription) ผ่านบริการในรูปแบบ คลาวด์ คอมพิงติ่ง (Cloud Computing)

Amazon

บริการคลาวด์ Amazon Web Services (AWS) กลายเป็นธุรกิจหลักของ Amazon ที่สามารถสร้างกำไรอย่างมหาศาล โดย Amazon ยังได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ของตัวเองที่ประกอบไปด้วยสินค้าและบริการต่างๆ อีกมากมาย

Tencent

เปลี่ยนจากธุรกิจ Online Messenger และ Video Game เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สื่อและบันเทิง, ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle), คลาวด์ คอมพิงติ่ง (Cloud Computing) และ เทคโนโลยีด้านการเงิน (FinTech)

Microsoft

เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจเป็น cloud-based platform-as-a-service จากเดิมที่ขายสินค้า, ลิขสิทธิ์ (Licensees/IP) และอุปกรณ์ต่างๆ

Alibaba

เปลี่ยนจากธุรกิจอินเตอร์เน็ตอีคอมเมิร์ซและค้าปลีก มาเป็นผู้นำธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ให้บริการที่หลากหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ

Ørsted

เปลี่ยนจากธุรกิจสำรวจและผลิตก๊าซและน้ำมัน เป็นผู้นำธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากทุ่งกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Intuit

เปลี่ยนจากธุรกิจผู้ให้บริการเอกสารออนไลน์สำหรับธุรกิจ มาเป็นผู้สร้างระบบนิเวศน์ด้านบริการทางการเงินให้ธุรกิจโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)

Ping An

เปลี่ยนจากบริษัทประกันและผู้ให้บริการทางการเงิน เป็นบริษัทเทคโนโลยีบนคลาวด์ที่ให้บริการเกี่ยวกับ FinTech และบริการทางการแพทย์และสุขภาพด้วย AI

DBS

เปลี่ยนจากธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินแบบดั้งเดิม เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลกด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในธนาคารด้วยแนวคิด “The Future of Banking” และนโยบาย “27,000-person startup” ที่เป็นวิสัยทัศน์ในการปลูกฝังวัฒนธรรมแบบสตาร์ทอัพให้กับพนักงานทั้ง 27,000 คน

A.O. Smith

เปลี่ยนจากธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นผู้นำด้าน Water Technology ของโลก

Neste

เปลี่ยนจากธุรกิจน้ำมันและก๊าซ เป็นผู้นำในธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพของโลก

Siemens

ในปี 2014 ได้ประกาศ Vision 2020 ที่เปลี่ยนจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและอุตสาหกรรม หันมามุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้า (Electrification), เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) และระบบดิจิทัล (Digitalization)

Schneider

เปลี่ยนจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเครื่องจักร สู่การเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติด้วยแพลตฟอร์ม IoT แบบเปิด (Open IoT platform)

Cisco

เปลี่ยนจากผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการด้านเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำด้านการให้บริการ Digital IT solutions

Ecolab

เปลี่ยนจากผู้ให้บริการทำความสะอาดพรมในโรงแรม เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับ ความสะอาด สุขอนามัย การจัดการคุณภาพน้ำและพลังงาน

Fujifilm

เปลี่ยนจากธุรกิจการถ่ายภาพ เป็นผู้นำด้านธุรกิจสุขภาพและการถ่ายภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging)

AIA

เปลี่ยนจากธุรกิจประกันสุขภาพ เป็นผู้นำด้านธุรกิจ Wellness และ Prevention ด้วยการสร้างสรรค์โครงการ AIA Vitality

Dell

เปลี่ยนจากธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับธุรกิจ

Philips

เปลี่ยนธุรกิจหลักจากเดิมที่มีหลากหลายธุรกิจ ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่าง เป็นผู้นำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Healthcare Technology Company)

ที่มา:คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com