CSR

CSR คือ 6 ยกตัวอย่าง ประโยชน์ ประเภทของ

Click to rate this post!
[Total: 22 Average: 5]

CSR คือ

  • CSR (Corporate Social Responsibility) คือ การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม
  • CSV (Creating Shared Value) คือ การสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม

CSR ย่อมาจาก 

Corporate Social Responsibility

  • Corporate หมายถึง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายคน หรือหน่วยหลายหน่วย
  • Social หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่และกว้างขวางในปัจจุบัน
  • Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ,ภาระ,ภาระหน้าที่,สิ่งที่รับผิดชอบ,สิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ องค์กรหรือหน่วยงาน จัดกิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

CSR ในปัจจุบันคืออะไร ?

  • European Commission Green Paper CSR เป็นแนวคิดที่ บริษัทจะบูรณาการ งานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกิจการของประเทศ และการปฏิสัมพันธ์ ของผู้เกี่ยวข้อง ( Stakeholder) โดยสมัครใจ”
  • UNCTAD CSR คือการที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องและมีผลกระทบเชิงบวกต่อความต้องการและเป้าหมาย ของสังคม”
  •  World Business Council on Sustainable Development CSR คือคำมั่นของบริษัทที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยทำงานร่วมกับลูกจ้างและครอบครัวของพวกเขา ชุมชน และสังคมโดยกว้าง เพื่อจะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคมโดยรวม”

ISO

“C S R เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม   โดยมุ่งที่การ ให้ ประโยชน์กับ คน ชุมชน และสังคม นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผล ทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

กรณีศึกษาด้าน CSR ในประเทศไทย

เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย ณ ปี 2548 นี้ คำว่า C S R ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับคนไทย เพราะเพิ่งจะเข้ามาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง โดยหลายๆ องค์กร ทำเพื่อแสดงความเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล ในขณะที่อีกหลายๆ องค์กร ทำเพราะถูกบีบจากกำแพงทางเศรษฐกิจโลกที่บริษัทต่างชาติจะดำเนินธุรกิจกับบริษัทที่มาตรฐานด้านแรงงาน สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อมฯ เท่านั้น จึงทำให้บริษัทไทยโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก จำเป็นต้องพัฒนาแนวคิดการทำ C S R เข้ามาใช้ในบริษัทของตน

ซึ่งถึงแม้ว่าการทำ C S R จะเป็นเรื่องใหม่ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่บริษัท และองค์กรด้านการพัฒนาหลายองค์กรที่เป็นผู้บุกเบิกริเริ่มทำ C S R ก็มีไม่น้อย ดังนั้นในส่วนนี้ จะขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมจากหลายๆ สถาบัน เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำ C S R ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน

Creating Shared Value

สร้าง “คุณค่า” เหนือ “คุณค่า”

ไมเคิล อี. พอตเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขันและเป็นผู้นำกฎการแข่งขันมาเชื่อมโยงกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (C  SR) ที่เคยเสนอแนวคิด triple bottom line ที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่ความยั่งยืนย่อมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังยอมรับว่า “triple bottom line อาจจะเป็นได้แค่แรงบันดาลใจ แต่ creating shared value (CSV) กำลังพยายามสร้างวิธีการที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มให้แก่สังคมและผู้ถือหุ้นได้จริง”

“แนวคิด CSV จะก้าวข้ามไปอีกขั้น คือการที่องค์กรธุรกิจมุ่งมั่นดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้”

ตัวอย่างเช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา ได้จัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร วิธีการคิดง่ายๆ ในการจัดซื้อ ก็คือให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ต่ำที่สุด ซึ่งสำหรับแนวคิดแบบ CSV จะบอกว่า ก้าวข้ามไปอีกขั้น ลองหันมาถามว่า เราจะสามารถทำงานร่วมกันกับเกษตรกรเหล่านั้นได้อย่างไร ช่วยเหลือพวกเขาปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มพูนผลิตผล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ”

ประเด็นที่น่าสนใจสําหรับ หัวข้อ Corporate Social Responsibility (C S R)

1.จากคุณลักษณะที่สําคัญของ C S R 6 ประการ ได้แก่

  1. ต้องมีใบอนุญาตให้ดําเนินการ
  2. เป็นการลงทุนระยะยาว
  3. เป็นพาหนะในการบรรลุเป้าประสงค์และชื่อเสียง
  4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้องค์กรพ้นจากการโจมตี
  5. เป็นเศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์
  6. เป็นการขัดกันของถ้อยคํา

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรทั้ง

  • ในระยะสั้นและระยะยาว
  • ทั้งในแบบที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และ
  • ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. ความรับผิดชอบต่อสังคมสร้างความวางไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความไว้วางใจเป็นรากฐานสําคัญในการทําธุรกิจ  

  1. ถ้าลูกค้าไว้ใจบริษัท ลูกค้าก็จะใช้สินค้าและบริการด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์องค์กรสามารถวางตําแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ได้อย่างที่ต้องการ โดยมีกิจกรรมซีเอสอาร์เป็นตัวช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือมากขึ้น  นอกจากนี้ภาพพจน์ขององค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมก็จะมีความแข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่ง
  2. องค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะทําให้พนักงานที่ทํางานอยู่เห็นถึงความจริงใจขององค์กรที่มีต่อสังคม ไม่หน้าไหว้หลังหลอก พนักงานก็มีความสบายใจในการที่จะทําหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และมีความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกหนึ่งขององค์กร ทําให้องค์กรสามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถร่วมงานได้ง่ายขึ้น และทําให้ต้นทุนขององค์กรลดลง
  3. ในแง่ของผู้ถือหุ้น นักลงทุนหรือเจ้าของกิจการ ซีเอสอาร์จะทําให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพ และมีส่วนล้ํามูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่มีซีเอสอาร์ ซึ่งเรียกกันเฉพาะว่า SRI (Socially Responsible Investment) นั้น มีมูลค่าเกินสองล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสที่องค์กรสามารถเข้าถึง แหล่งทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทําให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มที่ต่ํากว่าเกณฑ์ปกติของตลาด 

4. ประเด็นสังคม (Social  Issue) คือ ประเด็นที่เป็นเหตุ (Cause) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะสุดท้ายจะก็กลายเป็นปัญหาสังคมซึ่งมี มากมากแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและสังคม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาอย่างนาวนาน ประเด็นทางสังคมที่ได้รับความสนใจสําหรับ กิจกรรม C S R ได้แก่

  1. ภาวะโลกร้อน
  2. พลังงานทางเลือก
  3. สิ่งแวดล้อม
  4. สังคมผู้สูงวัย
  5. แรงงาน
  6. คอร์รัปชัน
  7. ความยากจน
  8. ชีววิทยาศาสตร์

5. การแบ่ง C S R ตามทรัพยากร เป็นการแบ่งโดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ขององค์กร ดังนี้ 

  1.  ซีเอสอาร์ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์กร (Corporate-Driven C S R): เป็นการดําเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก 
  2.  ซีเอสอาร์ที่ขับเคลื่อนด้วยสังคม (Social-Driven C S R):   เป็นการดําเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก  

6. การแบ่ง C S R ตามรูปแบบ การแบ่งลักษณะนี้เป็นการแบ่งซีเอสอาร์ตามรูปแบบของการทําซีเอสอาร์

  1. ซีเอสอาร์เชิงตอบสนอง (Responsive CSR)
  2. ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR)
  3. ซีเอสอาร์เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR)

7.สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้ออกแนวปฏิบัติทางด้านซีเอสอาร์ชื่อ “เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม” โดยได้แบ่งแนวปฏิบัติในเรื่องซีเอสอาร์ได้เป็น 8 หัวข้อ ดังนี้

  1. การกํากับดูแลกิจการที่ดี 
  2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  3. การเคารพสิทธิมนุษย์ชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 
  5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
  6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  7. นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดําเนินความรับผิดชอบต่อสังคม  
  8. การจัดทํารายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

8. จริยธรรมธุรกิจ คือหลักการและมาตรฐานที่เป็นแนวทางพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในโลกธุรกิจ 

ระดับของจริยธรรม  ประเด็นทางด้านจริยธรรมหรือศีลธรรมสามารถมองแยกได้เป็น  5 ระดับ คือ 

  • ระดับปักเจกบุคคล (Individual Level) 
  • องค์กร (Organizational Level)
  • สมาคม (Association Level)
  • ในสังคม (Societal Level)
  • ระหว่างประเทศ (International Level)  

9. หน้าที่ของผู้นําเชิงกลยุทธ์ จากความหมายของภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ สามารถกําหนดหน้าที่ของผู้นําเชิงกลยุทธ์ได้ เป็น 4 ประการคือ (Vision, Social Architecture, Trust and Alignment : ViSTA)

  • การกําหนดวิสัยทัศน์
  • การออกแบบสถาปัตยกรรมสังคม
  • การสร้างความไว้วางใจ
  • การสร้างแนวร่วม 

10. C S R เชิงกลยุทธ์ การตัดสินใจทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมีแนวทางแบ่งความรับผิดชอบต่อสังคมออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ

  1. แนวทางการขัดขวาง (Obstructionist Approach)
  2. แนวทางการตั้งรับ (Defensive Approach)
  3. แนวทางการปรับตัว (Accommodative Approach)
  4. แนวทางเชิงรุก (Proactive Approach)  

11. ไทยประกันชีวิต  สร้างแบรนด์ด้วย C S R บนปรัชญาแบบตะวันออก

“ไทยประกันชีวิต” ได้พยายามสร้างมาตรฐานในการดําเนินธุรกิจให้เป็นที่ได้รับความไว้วางใจ แต่รวมถึงความต่างของแบรนด์ ชูความเป็นไทย เพราะอาจจะถือได้ว่า “ความเป็นไทย” ที่เป็นจุดแข็งและสร้างความแตกต่างให้กับบริษัทที่ทําให้เกิดความใกล้ชิดและผูกพันระหว่างผู้บริ โภคและแบรนด์มากยิ่งขึ้น  ภายใต้ปรัชญาการดําเนินธุรกิจ “บริษัทคนไทย เพื่อคนไทย” 

 

เนื่องจาก “เมื่อก่อนธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ขายตรงไม่ได้เพราะคนไม่มีความเชื่อถือ  และไม่มีความศรัธทาต่อเจ้าของธุรกิจที่เป็นคนไทย  หรือบริษัทที่เป็นคนไทยด้วยกัน  เพราะภาพคน ขายประกันสมัยก่อนคือ bad guy หรือคนที่หลอกลวง ดังนั้นการแก้ในเรื่องนี้ จึงต้องทําควบคู่ไปกับการสร้างความไว้วางใจ” 

 

ภาพที่ปรากฎในช่วงที่ผ่านมาในการสร้างแบรนด์ของไทยประกันชีวิตจึงเป็นการตอกย้ําจุดยืนการเป็นบริษัทของคนไทยที่ชูในเรื่องคุณค่าของความรักและคุณค่าของชีวิต

 

“Corporate Social Responsibility (C S R) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

 

ระดับของ CSR

 

ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

 

ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

 

ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

 

ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ C S R ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

 

ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง C S R ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม

 

ประเภทของ CSR

 

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

 

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ

หลักแนวคิดของ CSR

  1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
  2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
  6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
  7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
  8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

ที่มา:คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

จิตอาสา

โครงการ กิจกรรมจิตอาสา 20 ในชุมชน มีอะไรบ้าง

โครงการกิจกรรมจิตอาสา ตัวอย่างกิจกรรมจิตอาสา จิตอาสาออนไลน์ จิตอาสามีอะไรบ้าง จิตอาสา10ข้อ กิจกรรมจิตอาสาในชุมชน กิจกรรมจิตอาสา ประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา ฟรี กิจกรรมจิตอาสา 65 กิจกรรมจิตอาสา 2565 ฟรี

สมุทัยและนิโรธสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในชีวิตหรือไม่?

อริยสัจ 4 ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน อริยสัจ 4 คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ขั้นค้นหาสาเหตุสมุทัยของหลักอริยสัจ 4 ตรงกับขั้นใดของการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักอริยสัจ 4 เป็นหลักธรรม แห่งการแก้ปัญหาชีวิต อย่างไร อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างไร นิโรธคือ อริยสัจ 4 สอนให้แก้ปัญหาอย่างไร ออนไลน์
อคติ-4

อคติ 4 คือ ลำเอียง คติธรรมความรัก หลง โทสาคติ

อคติ 4 อคติ คือ คติธรรมความรัก รัก หรือ หลง ความรัก คือ ความหลง คือ อคติ 4 ประการ อคติ 4 คือ คุณธรรม ข้อ ใด ความหมายที่ครอบคลุมของอคติ อคติ 4 มี อะไร บ้าง อคติ หมายถึง คน อคติ ฉันทาคติ โทสาคติ ปัจจัยที่ก่อเกิดความโกรธหรือชิงชังในคัมภีร์ปริวาร โมหาคติ ภยาคติ แนวทางการละอคติ 4
Portfolio

พอร์ตโฟลิโอ 7 ตัวอย่าง แฟ้มสะสมผลงาน โปรแกรม

Portfolio ตัวอย่าง โปรแกรมทํา PORTFOLIO มีอะไรบ้าง ดาวน์โหลด ได้ที่ไหน PORTFOLIO มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง ประวัติส่วนตัว เข้ามหาลัยทั้งเล่ม 10 หน้า ประวัติส่วนตัว portfolio ผู้ที่นิยมใช้ Portfolio ดังนี้ ประโยชน์ของ Portfolio Portfolio ที่ดีเป็นอย่างไร ใน portfolio มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง ดังนี้ portfolio ตัวอย่าง โปรแกรมทํา portfolio ดาวน์โหลด เว็บทําพอร์ต มีดังนี้ ส่วนประกอบของ portfolio
ใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จรับเงิน 7 ตัวอย่าง ที่ถูกต้อง วิธีเขียน

ใบเสร็จรับเงิน การออก ใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง สรรพากร บุคคลธรรมดา ออกบิลเงินสด ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน ภาษาอังกฤษ ใบเสร็จ ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด ใบเสร็จรับเงิน บุคคลธรรมดา excel
ลงทะเบียนคนจน

ลงทะเบียนคนจน 5 สมัคร วันไหน บัตรสวัสดิการ

ลงทะเบียนคนจน มาตรการเยียวยา มาตรการเพื่อเยียวยาเพื่อผู้สมัครลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ผู้ที่มีสิทธิลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ขั้นตอนการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจนรอบใหม่ ขั้นตอนลงทะเบียนคนจน /บัตรคนจน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

เคล็ดลับการเงิน 7 ผลิตภัณฑ์ทาง การเงิน

ผลิตภัณฑ์ทาง การเงิน Ttb ปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อ TMB ไม่มี หลักทรัพย์ ราคา กลาง ทหารไทย ธน ชาต Ttb banking จอง คิว ที่ ที่ บี Tmb นิติบุคคล บริษัท ทหารไทย ธน ชาต จํา กัด มหาชน
เลขโรมัน

เลขโรมันวันเกิด แปลง ฟ้อน 1-1000000

เลขโรมันวันเกิด เลขโรมัน แปลง เลขโรมันฟ้อน เลขโรมัน 1-1000000 เลขโรมัน 2565 เลขโรมัน 0-1000 เลขโรมัน 0-10000 เลขโรมัน 2005

Leave a Comment

Scroll to Top