CMS

3 CMS ย่อมาจาก ประเภทหมายถึงอะไรบ้างเพิ่งเปิดเผย?

Click to rate this post!
[Total: 163 Average: 5]

CMS คือ

ระบบจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ Content Management System

ความหมายของ Content Management System (CMS) เริ่มต้นจากอินเทอร์เน็ตได้ก่อกําเนิดขึ้นมา โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ทําได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้นและการพัฒนาของภาษาหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นมามากเช่นกัน ตลอดจนมีการแข่งขันกันพัฒนาซอฟท์แวร์ด้านต่างๆ พร้อมทั้งเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นหากกล่าวถึงในอดีต ภาษา HTML เป็นภาษายอดนิยมที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจหรือเว็บไซต์ขึ้นมา ต่อมามีการพัฒนาภาษาในการสร้างเว็บไซต์เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย และภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งจนมาถึงปัจจุบันก็คือภาษา PHP

เนื่องจากภาษา PHP มีความสามารถในการทํางานสูง สามารถดาว์นโหลดมาใช้งานได้ฟรีและมีตัวอย่างให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งสิ่งนี้เองก็เป็นต้นกําเนิดของการทําเว็บไซต์แนวใหม่ที่เรียกว่า Content Management System CMS ย่อมาจากคําว่า Content Management System เป็นระบบที่นํามาช่วยในการสร้าง

และบริหารจัดการเว็บไซต์แบบสําเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตนเองโดยที่ตัว CMS มีโปรแกรมประยุกต์ พร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมาย อาทิเช่น ระบบจัดการบทความและข่าวสาร (News and Article) ระบบจัดการบทวิจารณ์

(Review) ระบบจัดการสมาชิก (Member) ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) ระบบจัดการไฟล์ ดาวน์โหลด (Download) ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner) ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติ ความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น

และผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ (Module) อาทิ กระดานสนทนา (Forum) ห้องสนทนาออนไลน์ (Chatroom) แบบส่งอีเมล (Form mail) เข้าไปได้ในภายหลังจากการติดตั้งระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ หรือ Content Management System ใช้คําย่อว่า CMS คือ ระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบเนื้อหาเว็บไซต์

และส่งเสริมการทํางานในหมู่คณะให้สามารถสร้างเอกสารหรือเนื้อหาสาระอื่นๆ บนเว็บไซต์ได้ CMS เป็นระบบที่พัฒนาคิดค้นเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และการบริหาร(Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

กําลังคน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนําภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆ มาใช้ เพื่อให้วิธีการทํางานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ (แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเวอร์ (เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ เช่น MySQL ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มากมาย เช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke,Mambo, eNvolution, MD-Pro, XOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal, Joomla เป็นต้น

ความโดดเด่นของ CMS

มีเมนูผู้ควบคุมระบบ (Administration Panel) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทํางานต่างๆ ภายในเว็บไซต์ ทําให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นการจัดการหรือทํางานผ่านรูปแบบเว็บ (Web Interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า (Portal Systems) ตัวอย่างการทํางาน ได้แก่ การนําเสนอบทความ (Articles/Content) เว็บไดเรคทอรี (Web Directory) การเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ (News) หัวข้อข่าว (Headline) รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather) หัวข้อข่าวสารที่น่าสนใจ (Informations) ถาม/ตอบปัญหา (FAQs) ห้องสนทนาออนไลน์ (Chat Room) กระดานสนทนา (Forum) การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด (Downloads) แบบสอบถาม (Polls) ข้อมูลสถิติต่างๆ (Statistics) ธีมให้ใช้มากมาย (Lot of themes) การจัดการธีมสําหรับสมาชิก (Themes manager for registered users) แสดงหน้ายอดฮิต (Top page) นับสถิติผู้เข้าชมด้วยตัวนับ (Access stats page with counter) การแก้ไขสมาชิกและผู้ควบคุมระบบ (User and authors edit) และส่วนอื่นๆ อีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นํามาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและ
ประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

หลักการทํางานของ CMS

หลักการทํางานของ CMS ระบบจัดการแบ่งแยกการทํางานระหว่างเนื้อหา (Content) ออกจากการออกแบบ (Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ในแม่แบบ (Templates/ Themes) ในขณะที่เนื้อหาถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการเรียกใช้งานจะมีการทํางานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาจะประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น

cms system

ส่วนประกอบของ CMS

– แม่แบบ (Templates/Theme) เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์ (Look&feel) มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์
– ภาษาสคริปต์หรือภาษา HTML หรือภาษา php หรือภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในการควบคุมการทํางานทั้งหมดของระบบ
– ฐานข้อมูล สําหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและการแสดงผลของเว็บไซต์ประเภทของ CMS
– เว็บบล็อก (Weblog) – เป็น CMS ใช้สําหรับการจดบันทึกหรือเขียนบันทึกเผยแพร่ส่วนบุคคล วี บล็อก(Weblog) หรือ เว็บ-ล็อก (web log) นิยมเรียกกันว่า Blogs (บล็อก) คําว่า Weblog มาจาก Web (เว็บ) และ log (ปูม,บันทึก) นํามารวมกัน หมายถึง บันทึกบนเว็บ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนที่ชอบเขียนบันทึกหรือสร้างบล็อก (Blogger) ปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมายทั้งแบบให้บริการฟรีและเสียค่าใช้จ่าย Weblog เป็นเว็บประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการแสดงผลและใช้งานง่าย มีลักษณะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวคนสร้างบล็อก (Blogger หรือ Weblogger) บรรยายเหตุการณ์ส่วนตัวหรือความรู้ผ่านทางเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ความในใจ ชีวิตในครอบครัว เหตุการณ์ประทับใจในชีวิต เป็นต้น
– อีคอมเมิร์ช (e-Commerce) – เป็น C.M.S. ใช้สําหรับทําร้านค้า Online มีความสามารถใช้ในการซื้อขายสินค้า สามารถเพิ่ม/ลดรายการสินค้า ราคา สามารถซื้อขายสินค้าผ่านหน้าร้านได้ ซึ่งกําลังได้รับความิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
– อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) – เป็น C.M.S. ใช้สําหรับการทําสื่อการเรียนการสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (CAI on Web) ทําเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสําหรับนักเรียน ครูอาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สร้างแบบทดสอบต่างๆ ได้ ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก
– กระดานข่าว (Forums) – เป็น C.M.S. ใช้สําหรับถามตอบปัญหาหรือสร้างเป็นชุมชนต่างๆ โดยมีการแบ่งเป็นหัวข้อหรือหมวดหมู่ต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม ซึ่งส่วนใหญ่กระดานข่าวนี้จะติดตั้งพร้อมกับ C.M.S. ประเภทอื่นเข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถติดตั้งใช้งานกระดานข่าวอย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน
– กรุ๊ปแวร์ (Groupware)
– เป็น C.M.S. ใช้สําหรับการทํางานในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน มีความรวดเร็วในการทํางาน สามารถช่วยเหลือกันได้ ทํางานเป็นทีมและควบคุมการทํางานได้ โดยทํางานผ่านระบบเน็ตเวิร์คหรืออีเมลหรือระบบเว็บออนไลน์ ซึ่งการติดต่อสื่อสารสามารถติดต่อได้เป็นกลุ่มหรือเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคลก็ได้ พร้อมทั้งข้อมูลที่ต้องการแจ้งใช้เป็นรูปภาพข้อความ เสียงหรืออื่นๆ ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของ Groupware C.M.S. จะมีความสามารถทําได้หรือไม่
– อัลบั้มภาพ (Image Galleries)
– เป็น C.M.S. ใช้สําหรับจัดการอัลบั้มภาพหรือทําเป็น Galleries มีฟังก์ชันใช้งานโดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของภาพ สามารถกําหนดขนาดภาพหรือขนาดไฟล์ หรือย่อขยายภาพตามที่กําหนดได้หรือทําเป็น Thumbnail
– พอร์ททัล (Portals) – เป็น C.M.S. ใช้เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์ ทํางานได้ด้วยระบบของตนเอง และสามารถนํา C.M.S. ประเภทอื่นๆ ติดตั้งเพิ่มเติมหรือเข้ามารวมเพิ่มได้ด้วย
– วิกิ (Wiki)
– เป็น C.M.S. ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มเติมและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย เหมือนกับ การเขียนบทความร่วมกัน วิกินําเสนอเนื้อหาสาระทางด้านสารานุกรมหรือแหล่งความรู้จํานวนมากๆ โดย เป็นการระดมความเห็นหรือความรู้จากหลายๆ คนมาใช้งาน ตัวอย่างเช่น http://th.wikipedia.org
การเลือกใช้ C.M.S.
– ใช้ C.M.S. ให้เหมาะสมกับงาน ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ C.M.S. ให้เหมาะสมกับงานที่จะนํามาใช้งาน เช่น ต้องการใช้งานเพื่อซื้อขายสินค้าควรเลือกใช้งาน C.M.S. ประเภทอีคอมเมิร์ช (e-Commerce)หรือ ต้องการใช้งานเพื่อสื่อการเรียนการสอนควรเลือกใช้งาน C.M.S. ประเภทอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็นต้น
– ความยากง่ายในการใช้งาน ควรเลือกใช้ C.M.S. ที่มีความง่ายในการติดตั้งไม่ยุ่งยากและซับซ้อน มีส่วนการทํางานของผู้ใช้งานทั่วไป เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User Friendly) สามารถใช้งานได้อย่างง่าย เช่น การแก้ไขประวัติส่วนตัว การสร้าง/แก้ไข/ลบบทความ เป็นต้น มีส่วนการทํางานของผู้ดูแลระบบที่ใช้ง่าย เช่น ระบบการจัดการสมาชิก ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด ระบบจัดการป้ายโฆษณาเป็นต้น
– ความยืดหยุ่นในการพัฒนา ควรเลือกใช้ C.M.S. ที่ผู้ใช้งานสามารถนําไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้งานต่อได้หรือต่อยอดการพัฒนาได้
– ความสามารถในการทํางาน C.M.S. ที่เลือกใช้งานสามารถทํางานด้านการจัดการเนิ้อหาได้อย่างง่ายดายไม่ซับซ้อน สามารถนําไฟล์มัลติมีเดียมาใช้งานได้ เช่น ไฟล์วีดิทัศน์ (*.avi, *.mov, *.rm,*.wmv เป็นต้น หรือสามารถกระจายข่าวสารได้ (RSS Feeds)
– ความปลอดภัย ควรเลือกใช้ C.M.S. ที่มีความบกพร่องของระบบน้อยที่สุดหรือหากมีความบกพร่องของระบบก็ควรมีตัวแก้ไขหรือซ่อมแซม (Patch/FIx)
– ระบบปฏิบัติการ ควรเลือกใช้ C.M.S. ที่สามารถติดตั้งได้ทุกระบบปฏิบัติการ เช่น ติดตั้งลงบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือลีนุกซ์หรือยูนิกซ์ได้ โดยไม่จําเป็นต้องแก้ไขซอร์สโค้ดหรือแก้ไขโปรแกรมหรือดัดแปลงโปรแกรม
– ราคา ควรเลือกใช้ C.M.S. ที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ไม่มีค่าเขียนโปรแกรม เช่น โอเพ่นซอร์ส (Opensource)

ลําดับการดําเนินงานของเนื้อหา

C.M.S. มีลําดับการดําเนินงานของเนื้อหาซึ่งประกอบด้วย
– การนําเนื้อหาเข้าสู่ระบบ (Ingestion/Creation) เป็นขั้นตอนการเตรียมสร้างเนื้อหาที่ต้อง
มีการวางแผน ซึ่งเว็บไซต์หรือเนื้อหาเป็นอย่างไร เกี่ยวกับอะไร เน้นไปในด้านใด กลุ่มคนแบบไหนที่
เข้ามาใช้งานเว็บ เมื่อได้เนื้อหาหรือเป้าหมายของเว็บแล้ว ทําให้การรวบรวมเนื้อหาและจัดทําเข้าสู่ระบบ
– การตรวจสอบเนื้อหา (Staging/Approval) เป็นขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหาว่าถูกต้องหรือ
ไม่ ตรงกับความต้องการหรือไม่ จัดหมวดหมู่เป็นอย่างไร มีคําผิดหรือไม่ รวมไปถึงทดสอบการใช้งาน
ระบบ C.M.S ด้วยว่ามีพร้อมใช้งานและแสดงเนื้อหาได้ถูกต้อง
– การเผยแพร่ (Delivery/Publishing) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จัดทํา เนื่องจากต้องทําให้ผู้ใช้
งานอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ รู้จักเว็บไซต์ที่จัดตั้งขึ้นมา ต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์หรือ Domain ก่อน
พร้อมทั้งหาพื้นที่ใช้งานหรือโฮส (Hosting) โดยส่วนมากแล้วบริษัทที่รับทําจะทําควบคู่กันไปเลย ซึ่งใน
ขั้นตอนนี้ผู้ใช้งานควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบว่า การใช้งานเป็นอย่างไร มีข้อกําหนดอะไรบ้าง เพื่อ
ที่จะให้ได้ข้อมูลในการจัดทํา เนื่องจากถ้าไม่ใช้ Host ของตนเองก็ต้องไปเช่าพื้นที่ที่มีบริการอยู่มากมาย
ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

cms content

วงจรชีวิตของเนื้อหา

วงจรชีวิตของเนื้อหาภายใน C.M.S. ประกอบด้วย
– การจัดโครงสร้างหรือการจัดหมวดหมู่ (Organization) เป็นการจัดประเภทให้แก่เนื้อหาสาระความรู้ว่าเป็นประเภทใด มีโครงสร้างแบบใด เป็นการกําหนด Schema ให้กับเนื้อหาว่าต้องมีองค์ประกอบเช่นใด
– ลําดับขั้นดําเนินงาน (Workflow) เป็นกฎเกณฑ์หรือนโยบาย การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระของเจ้าของหรือผู้เขียน ของผู้เผยแพร่และของผู้ร่วมมือ เป็นลําดับขั้นตอนของการผ่านร่างของเนื้อหาก่อนที่จะออกเผยแพร่สู่สาธารณะ
– การสร้างเนื้อหา (Creation) เป็นการนําเข้าข้อมูล เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหวภาพยนตร์ เสียง ไฟล์มัลติมีเดียและอื่นๆ รวบรวมให้อยู่ในเนื้อหาสาระที่ต้องการ
– การจัดเก็บ (Repository) เป็นการจัดเก็บเนื้อหาต่างๆ เป็นไฟล์ มีการบันทึกลงฐานข้อมูลการบันทึกลงสื่อ เพื่อให้คงอยู่ไว้ซึ่งข้อมูลภายในระบบ พร้อมทั้งเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา
– การกําหนดเวอร์ชัน (Versioning) เป็นการควบคุมการเปลี่ยนแปลง โดยกําหนดให้มีหมายเลขการเปลี่ยนแปลงหรือการกําหนดวันที่เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บสํารองข้อมูลดังเดิมไว้ เผื่อทําการเรียกคืนข้อมูล หรือแก้ไขกลับ และเพื่อให้รู้ถึงสถานะการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล
– การเผยแพร่ (Publishing) เป็นการนําเนื้อหาสาระออกเผยแพร่สู่สาธารณะ ด้วยการจัดส่งไปยังตัวบุคคล การเผยแพร่ในที่สาธารณะ เป็นต้น
– การเก็บเอกสาร (Archives) คือการจัดเก็บเนื้อหาที่ถูกใช้งานแล้วหรือหมดอายุแล้ว โดยนํามาจัดเก็บ เพื่อนําไว้ใช้เป็นฐานความรู้ (Knowledge Base) หรือไว้ใช้เพื่อเตรียมนําเสนอใหม่การประยุกต์ใช้งาน C.M.S. ในด้านต่างๆ ระบบ C.M.S. สามารถนํามาประยุกต์ใช้งานได้หลายหน่วยงาน อาทิเช่น
– หน่วยงานสถาบันการศึกษา นํามาใช้ในการสร้างเว็บไซต์แนะนําหน่วยงาน ใช้ในการนิเทศก์นักศึกษาฝึกงาน ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ใช้เป็นระบบอินทราเน็ต เป็นต้น
– หน่วยงานทางธุรกิจ นํามาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจ ใช้ในการแนะนําสินค้าหรือซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
– หน่วยงานอื่นๆ นํามาใช้ในการสร้างเว็บไซต์หน่วยงานนั้นๆ ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน ใช้เป้นแหล่งแลกเปลี่ยนหรืแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ใช้งานด้วย C.M.S.

o มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.psu.ac.th
o สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://oas.psu.ac.th
o ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://oas.psu.ac.th/techno
o คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://dental.psu.ac.th
o คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.sat.psu.ac.th
o คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://eduit.pn.psu.ac.th/
o คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://huso.pn.psu.ac.th/
o ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.cc.psu.ac.th/
o จุมลาคอร์เนอร์ http://www.joomlacorner.com/
o ซีเอ็มเอ็สไทยแลนด์ http://www.cmsthailand.com

การจัดเตรียมก่อนติดตั้ง CMS

การติดตั้ง C.M.S. ทําได้ 2 รูปแบบคือ การจําลองเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เป็นเครื่อง Server เพื่อทดสอบการใช้งานและการติดตั้งไว้ที่ Server ที่มีการใช้งานจริง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จําลองติดตั้งใช้งานลงที่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ก่อน แล้วค่อยย้ายไปไว้ที่ Server ที่มีการใช้งานจริง โปรแกรมที่ใช้สําหรับจําลองเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)เป็นเซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย
o Apache Web Server ทําหน้าที่เป็น Web Server
o MySQL Database Server ทําหน้าที่เป็นฐานข้อมูลให้กับ C.M.S.
o PHP Script Language เพื่อใช้ในการทํางานด้วยภาษา PHP
o phpMyAdmin Database Manager ทําหน้าที่จัดการฐานข้อมูล
ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ลงไปพร้อมกัน อาทิเช่น AppServ,
xampp, WMServer Tools เป็นต้น¹

ที่มา:https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/download/254/201

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com