ปก cloud-computing

4 Cloud Computing ระบบ คลาวด์อะไร Dropbox ทำได้อย่างเจ๋ง!

Click to rate this post!
[Total: 155 Average: 5]

cloud computing คือ

 

cloud computing คือ

cloud computing คืออะไร? ทำความเข้าใจอย่างง่ายและครอบคลุม

                ในโลกของเทคโนโลยี เรื่องระบบออนไลน์หรือการใช้ระบบปฏิบัติในโลกของเสมือนจริงนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปเสียแล้ว โดยที่ผู้ใช้งานทั้งหลายอาจจะรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อเราพูดว่า “cloud computing” หลายคนอาจจะนึกไปถึงเรื่องเทคโนโลยีที่มีความไกลตัวหลาย ๆ ประเภท ซึ่งจริง ๆ แล้วรูปแบบของคลาวด์คอมพิวติ้งนั้นเป็นบริการที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เราคิดเสียอีก

cloud computing คืออะไร

                cloud computing คือ รูปแบบของการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยให้คุณนึกภาพว่าคลาวด์ก็คือกลุ่มก้อนเมฆ เป็นการเปรียบเทียบการใช้งานแบบทั่วถึงทั่วโลกนั้นเอง ซึ่งรูปแบบของระบบคลาวด์ คือ เทคโนโลยีจากระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถให้บริการได้แบบออนไลน์ทุกรูปแบบ

คลาวด์คอมพิวติ้งจะเป็นตั้งแต่ชุดระบบปฏิบัติการทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ได้รับการทำงานร่วมกับเพื่อทำการประมวลผลเพื่อให้ผู้ใช้งานปลายทางได้ใช้บริการแบบออนไลน์ ลักษณะของระบบ cloud-computing ที่ได้ให้บริการ เช่น หน่วยประมวลผล, บริการซอฟต์แวร์, แอปพลิเคชัน,ระบบเซิร์ฟเวอร์, หน่วยจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น เรียกง่าย ๆ ว่า cloud-computing ก็คือการใช้งานจากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ มีทั้งแบบ ITไปจนถึง AI โดยทั่วไปจะใช้งานผ่านระบบ “อินเตอร์เน็ต” นั้นเอง หมายความว่าที่ไหนก็ตามที่มีอินเตอร์เน็ต ใช้งานระบบ cloud-computing ก็สามารถออนไลน์และไปให้บริการได้อย่างทั่วถึง มีบางคนเรียกว่าเป็นรูปแบบ cloud service คือ การให้บริการคลาวด์หรือการให้บริการแบบออนไลน์นั้นเอง

บริการคลาวด์ ต่างจาก ฮาร์ดไดรฟ์ของพีซี อย่างไร

                สมัยก่อนการจัดเก็บข้อมูลหรือการประมวลผลแบบเดิมจะมาจากเทคโนโลยีจาก PC ซึ่งจะให้รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลสำคัญทุกอย่างในฮาร์ดไดรฟ์ แต่เทคโนโลยีของระบบ cloud-computing หรือบริการคลาวด์ เป็นรูปแบบเสมือนจริงแทน เป็นการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์โดยจะมีผู้ดูแลระบปฏิบัติการให้ ซึ่งจะมีพื้นที่จัดเก็บได้แบบไม่ต้องเปลื้องพื้นที่ให้โลกความจริง เพราะนำข้อมูลไปจัดเก็บไว้บน cloud เปรียบเหมือนก้อนเมฆแทน

ข้อดีของ cloud technology คืออะไร

                ด้วยความที่ไม่ต้องเปลื้องพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหมือนสมัยก่อน เพราะข้อมูลสามารถจัดเก็บไว้บนก้อนเมฆ (ระบบคลาวด์) ก็ทำให้ไม่ต้องเปลื้องพื้นที่ในการจัดเก็บ และยังสามารถจัดการรูปแบบข้อมูลได้อย่างง่ายดายและมีอิสระได้มากขึ้น สะดวกต่อการสืบค้นหาให้มีความรวดเร็วได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในระบบบุคคลหรือในระดับองค์กรที่ใช้งานบริการคลาวด์ก็ตาม เรียกดูข้อมูลเมื่อไรก็สะดวก เพราะเพียงแค่ออนไลน์อินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่จำเป็นได้เป็นอย่างรวดเร็ว

cloud-computing ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญช่วยในการประหยัดต้นทุนในระดับภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะธุรกิจที่ใช้ cloud-computing จะเป็นการนำเทคโนโลยี cloud-computing มาช่วยลดพื้นที่ ลดจำนวนคน ลดความผิดพลาดการดูแล และไม่ต้องมีการจัดการเรื่องการบำรุงรักษา สามารถอัปเกรดเพิ่มเติมได้อยู่เรื่อย ๆ และทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำให้การปรับปรุง พัฒนามีรูปแบบเป็นสภาพคล่องได้ดีมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าคล่องตัวและเข้าถึงง่าย ส่งเสริมเรื่องการพัฒนาองค์กร พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ขอองค์กรได้ดี

เทคโนโลยีคลาวด์ หรือ cloud-computing เป็นความนิยมอย่างแพร่หลาย และเติบโตขึ้นทุกปี ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและมีการใช้งาน cloud-computing กันมากขึ้น ด้วยข้อดีต่าง ๆ แต่ก็อาจจะต้องอาศัยความรู้และคนที่มีความสามารถมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบเข้าช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

ประเภทของ cloud computing

การใช้งาน cloud-computing จะมีรูปแบบสำคัญขององค์ประกอบของระบบคลาวด์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท โดยประเภทของ cloud-computing มีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน

  1. Public cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบสาธารณะ โดยจะเป็นลักษณะการประมวลผลในระบบคลาวด์ที่เข้าถึงง่าย พบเห็นได้ทั่วไป เพราะเป็นสาธารณะ จะมีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ มีทั้งรูปแบบที่ให้บริการได้ผ่านทางแอปพริเคชันหรือบริการผ่านบราวเซอร์ เว็บไซด์ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เปิดให้ใช้บริการก็ต้องการข้อมูลหรือผลประโยชน์บางอย่างจากผู้ที่จะเข้ามาใช้งานด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง cloud-computing แบบ Public cloud เช่น Alibaba Cloud, Amazon Web Services, Google Cloud, Gmail เป็นต้น
  2. Private cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบส่วนตัว โดยจะให้บริการเฉพาะคนที่ต้องการเปิดใช้งาน my cloud ของเราเองเท่านั้น จึงทำให้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบส่วนตัว ทำให้อาจจะต้องสร้างหรือเปิดใช้งานเอง มักจะต้องมีการลงทุนเพื่อซื้อพื้นที่ในโลกเสมือนจริง ลักษณะของ ระบบ cloud นี้จะนิยมสร้างจากองค์กรที่ต้องการเป็นเจ้าของเอง สร้างเองใช้เองเพื่อให้มีความปลอดภัยสูง เพราะผลิตเอง มีส่วนป้องกันภายในไฟร์วอลล์แบบขององค์กรของ ซึ่งก็จะต้องมีทีมงานไอทีซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลระบบด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง cloud-computing แบบ Private cloud เช่น Microsoft Exchange แบบบริษัท ซึ่งจะมีการอนุญาตผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าถึงได้ด้วยการเชื่อมต่อแบบ VPN ที่มีความปลอดภัยขององค์กรเอง
  3. Hybrid Cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบผสมผสาน โดยการนำเอาจุดเด่นระหว่าง Public cloud และ Private cloud มาควบรวมกัน ซึ่งก็จะให้ประสิทธิภาพในด้านการทำงานให้มีความรวดเร็วเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนบางอย่าง แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความปลอดภัยที่สูงมากนัก และอีกเหตุผลที่เลือกใช้รูปแบบของ Hybrid Cloud เนื่องจากการใช้งาน Private Cloud เพียงอย่างเดียวจะมีต้นทุนสูงมากกว่า
  4. Multi-Cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบ Private Cloud และทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการ โดยอาจจะไม่ต้องดูแลระบบปฏิบัติการด้วยตนเอง จึงไม่ได้เป็นรูปแบบของ Private Cloud เสียทีเดียว เพราะมีผู้ให้บริการทำงานดูแลระบบให้ ซึ่งรูปแบบนี้จะไม่เรียกว่าเป็น Hybrid Cloud เพราะจะให้ความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เทคโนโลยี cloud-computing จะต้องดูความเหมาะสมของบุคคลและระบบองค์กรว่าเหมาะที่จะใช้รูปแบบใดมากกว่ากัน และที่สำคัญแม้ว่าจะเป็น private cloud ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถจัดเก็บข้อมูลและมีความปลอดภัยได้แบบ 100% ซึ่งธุรกิจที่ใช้ cloud-computing จะต้องพิจารณาจากความเหมาะสมและเลือกผู้ให้บริการหรือทีมงานไอทีที่มีความน่าเชื่อถือมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่มากพอสมควร

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง

  • Cloud-Computing คืออะไร?. สืบค้น 22 พ.ย. 2564. จากเว็บไซด์ https://www.lenovo.com/th/th/faqs/laptop-faqs/what-is-cloud-computing/
  • Cloud-Computing คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? และ มีข้อดีข้อเสีย อย่างไร ?. สืบค้น 22 พ.ย. 2564. จากเว็บไซด์ https://tips.thaiware.com/html

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com