4m
หมายถึง องค์ประกอบของ ทฤษฎี 4m คือ เป็นทฤษฎีการจัดการ เป็นหนึ่งในทฤษฎีการบริหารปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 m (4M in Production Process)
- คน Man
- เงิน Money
- วัตถุดิบ Material
- การบริหารจัดการ Management
หลักการ บริหาร 4m
ในการผลิตจะมีขั้นตอนควบคุมการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้ให้เกิดกับลูกค้า ดังนั้น ในกระบวนการผลิตจะเน้นเรื่องของความสามารถในการควบคุมการผลิต โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตมีคุณภาพที่ดี มีความสม่ำเสมอ สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ในบทความนี้จะพูดถึงการจัดการกับปัจจัยหรือตัวแปรในการผลิต
โดยทั่วไปแล้วมักจะให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยหลักที่สำคัญ 4 กลุ่มได้แก่ Man, Method, Material และ Machine หรือที่มักนิยมเรียกว่า 4M เพราะปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ รายละเอียดปัจจัยในแต่ละกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้
หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยมีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญ ๆ ทุกคนควรจะต้องรับรู้รับทราบ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันทำ รวมทั้งการใช้หลัก การบริหารแบบพี่น้อง มีปัญหาหรือเรื่องอะไรที่สำคัญ จะปรึกษาผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพของทุกคน ไม่มีการเข้มงวดมาก มีการให้รางวัลและพร้อมที่จะไม่ให้รางวัลแก่คนที่ไม่ดี มีอะไรก็จะพูดกันแบบตรงไปตรงมา ดูผู้อาวุโส เป็นต้นแบบ (Modeling)
ผู้บริหารระดับกลางจะต้อง ศึกษา Style การบริหารและวัฒนธรรมของหน่วยงานของตน เพราะ style การบริหารแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องปรับรูปแบบการบริหารของเราให้เข้ากับนายได้ วิธีการพูดหรือ approach กับนายบางคนก็มีลักษณะนิสัยการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาว่านายที่ทำงานด้วยเป็นอย่างไร culture เป็นอย่างไง
4m management หรือ 4m มีอะไรบ้าง
- แนวคิดทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ Man คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายและภายนอก เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด
- เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ การบริหารกำลังคน ต้องมีการพัฒนาคนด้านความรู้ ทักษะ และวางแผนการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับงานให้มากที่สุด
- money management คือ เงินทุน Money
- เงินหรือทุน ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งจากเงินทุนภายในและภายนอก ในทางธุรกิจเงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจทุกอย่างไม่สามารถดำเนินได้ดีหากขาดทุนในการดำเนินงานของทฤษฎีการบริหารจัดการ เมื่อทำธุรกิจทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงินทุน เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจและปัจจัยต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ทั้งในด้านค่าแรงคน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ การมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามหลักการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจ
- วัสดุ (Material) คือ วัสดุสิ่งของ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออุปกรณ์อื่นๆ
- มีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต่อมา เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยสิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้นต้องรู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสามารถมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด การบริหารวัสดุ ในการดำเนินงานว่าทำอย่างไรให้สิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือการใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด
- การบริหารจัดการ Management คือ การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกัน
- เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันการจัดการทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วยการใช้งานตามตำแหน่ง ตลอดจนการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งยังช่วยบริหารให้กับองค์กรต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าด้วย
การวิเคราะห์ 4m
ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) เรื่องของคน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลกับการผลิต และปัจจัยต่างๆ ก็จะมีความสำคัญมากน้อยตามลำดับความเหมาะสมในแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความสามารถ และการจัดการขององค์กรเหล่านั้นว่ามีการบริหารจัดการที่ดีหรือไม่
จากการที่ปัจจัย 4M มีความสำคัญจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ ดังนั้น บางครั้งจะเห็นว่า ทฤษฎี การบริหาร 4m เป็นกลยุทธ์ แนวคิดการบริหารจัดการเพิ่มลูกค้า รักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า เนื่องจากมีลูกค้าบางราย มักจะกำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยเหล่านี้ โดยเมื่อไหร่ที่ผู้ผลิตต้องการเปลี่ยนปัจจัยเหล่านี้จะต้องทำการแจ้งให้ลูกค้ารับทราบและให้เขาอนุมัติก่อน
อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) อาจเริ่มไม่เพียงพอสำหรับการที่องค์กรจะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายทางธุรกิจในด้านการผลิตหรือบริการได้ ผู้บริหารงานด้านธุรกิจในยุคปัจจุบันจึงพยายามหาวิธีสร้างความสมบูรณ์ในงานโดยเพิ่มปัจจัยที่สำคัญขึ้นอีก 4 ปัจจัย เพื่่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน
3m คือ
มักเป็นทฤษฎีคนไทยชอบใช้แค่ 3 M คือ คน (Man) เงิน (Money) และวัตถุดิบ (Material) ที่ไม่ค่อยได้ใช้ M อีกตัวคือ การบริหารจัดการ (Management) เพราะยามเศรษฐกิจดี จะเริ่มจาก money man material หรืออาจจะกลับไปมายังไงก็ได้
- man คือ เป็น people company นั่นคือ ธุรกิจต้องดำเนินไปด้วยคน ต้นทุนส่วนใหญ่ขององค์กรอยู่ที่เงินเดือน และสวัสดิการ ปรับตัว คนออกไม่รับเพิ่ม และโยกย้ายคนไปยังหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่ทำเงินมากขึ้น หรือหน่วยงานต้องการกำลังเสริมเพื่อเดินหน้าต่อสำหรับงานใหญ่ๆ อย่างหน่วยงาน ต่างประเทศ ของผมปีนี้น่าจะทำเงินได้มากขึ้น ก็ย้ายคนไปยังหน่วยงานนั้นๆ
- m money คือ เงิน คุณต้องมาพิจารณาทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายปีที่แล้วโดยจะต้องกลับมารีวิวใหม่ทั้งหมด ในเมื่อภาพไม่ได้เป็นตามที่วางแผนไว้ เงินเข้ามาลดลง จะทำอย่างไร จะสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้หรือไม่ ลองหันมองรอบๆ ตัว และต้องมาบริหารต้นทุนด้วย ต้องลงไปดูอย่างจริงจัง อะไรที่ลดได้รีบลด ประหยัดไว้ก่อน ก่อนจะต้องเฉือนเนื้อตัวเอง ธุรกิจใหม่ๆ หรือธุรกิจที่มีความเสี่ยง งดหรือเลื่อนออกไปก่อน
- M – Material หรือวัตถุดิบ หรือสิ่งที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ บริษัทที่ต้นทุนอยู่ที่ Material รีบทบทวน จะหาสิ่งที่ทดแทนกันได้ หรือ หาแหล่ง Material ใหม่ๆ ก็จงเร่ง หรือคิดจะไปต่อรองกับ Vendor หรือ Supplier ให้ช่วยกันยามเดือนร้อนให้ผ่านภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายแบบนี้ไปด้วยกันก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วนเช่นกัน
ซึ่งคนไทยมักจะลืมเรื่องการดึงเอา M – Management มาบริหารจัดการซึ่งเป็นวิธีคิดตาม ทฤษฎี 4m หรือ หลัก 4 m ที่ไม่ถูกต้องและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฟุ่มเฟือย
Management คือ อะไร
ตามการบริหารจัดการธุรกิจ Management ความหมายคือ การบริหารจัดการ หมายถึง การบริหารจัดการ คือการประสานงานและการบริหารหน้าที่ต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางอย่าง ประกอบไปด้วยการวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล และการควบคุมองค์กร โดยที่การบริหารจัดการครอบครัวขยายตัวของธุรกิจตั้งแต่การบริหารจัดการการเงิน การตลาด ทรัพยากรบุคคล กลยุทธ์ การผลิต การปฏิบัติการ และการบริการ
แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ
- ความรู้เชิงเทคนิคเฉพาะทาง (Technical Skills) ในแต่ละหน้าที่การงาน
- ผู้บริหารต้องสามารถเข้าใจงานที่ลูกน้องทำได้ เช่น หากอยากจะคุมทีมนักขายก็ต้องขายเป็น หากอยากจะคุณทีมโปรแกรมเมอร์ก็ต้องมีความรู้มาก่อน ความรู้ส่วนนี้จะทำให้ผู้บริหารสามารถช่วยเหลือพนักงานได้ และ ทำให้สามารถประเมินคุณภาพและระยะเวลาในการทำงานได้
- ความรู้เชิงภาพรวม (Conceptual Skills) ความสามารถในการมองภาพรวม (Big Picture)
- ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาในมุมมองที่คนทั่วไปมองไม่เห็น หลายคนเรียกสิ่งนี้ว่าความคิดสร้างสรรค์ บางคนอาจจะบอกว่าเป็นทักษะในการถามและแก้ปัญหาให้ตรงจุด หากพนักงานทั่วไปมีหน้าที่ทำงานประจำ ผู้บริหารก็คือคนที่มองภาพรวมของงานประจำออกและสามารถช่วยพัฒนากระบวนการหรือสร้างเป้าหมายทิศทางได้
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) การร่วมงานกับผู้อื่น
- ร่วมงานกับบุคคลภายนอกและทักษะในการคุมทีม ซึ่งทีมแต่ละทีม องค์กรแต่ละองค์กร อาจใช้วิธีการบริหารที่แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีอาจเป็นคนที่ทำงานกับคนได้หลากหลาย หรือถูกออกแบบมาเพื่อทำงานกับองค์กรแบบนี้เฉพาะทางเลยก็ได้
ทฤษฎี 4m ของใคร
POWER GAMES เป็น ทฤษฎีบริหาร 4M ในทรรศนะทฤษฏีการบริหาร ของ “Peter F.Drucke” (Management Tasksหรือ Management Responsibility)
ปัจจัย การบริหาร ตามหลักการ 4m
- Man = การบริหารกำลังคนจะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับงานให้ได้เกิดประโยชน์มากที่สุด
- Money = การบริหารเงิน จะจัดสรรเงินอย่างไรให้ใช้จ่ายต้นทุนน้อยที่สุด แต่ให้การใช้จำนวนเงินที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีประโยชน์สูงสุด
- Materials = การบริหารวัสดุในการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไรให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ไม่สูญสียทรัพยากรหรือของสิ้นเปลื้องให้น้อยที่สุด หรือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- Management = การจัดการ คือกระบวนการจัดการบริหาร ตลอดจนการควบคุมเพื่อให้การทำงานทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ภายใต้ทรัพยากรที่มีทั้งหมด
ทรัพยากรการจัดการ
“Worren G Bennis” ชี้ ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีการผลิต และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ขนาดขององค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมาก ขึ้น ระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้ทุกหน่วยขององค์การเจริญเติบโตได้ ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาทรัพยากรทางการจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้
- กำหนดเป้าหมาย (Goal Satin) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
- ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
- การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพ ที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
- ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมใน การดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
- แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ (Linking) ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกัน ซึ่งแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
การบริหารงาน คือ
ทฤษฎีทางการจัดการหลักการบริหารงานในองค์กร
การบริหาร การจัดการ หมายถึง การดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยทรัพยากรหรือปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อบริหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดการบริหารและการพัฒนาองค์การถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินงานให้เป็นผลสำเร็จ เช่นการใช้ ทฤษฎี 3m ใช้ทฤษฎีหลักการบริหาร 4m ในองค์กร และแนวคิดทฤษฎี 4m มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของผู้บริหาร
เนื่องจากผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ แต่จะเป็นผู้ใช้ศิลปะในการทำให้ผู้ปฏิบัติ ทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายตามที่ผู้บริหารตั้งใจ ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลาย ท้าทาย และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก จะต้องทำงานโดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ซับซ้อนตลอดเวลา ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ลักษณะงานบริหารจึงไม่แน่นอน เสี่ยงกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความหลากหลายต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะที่ท้าทาย ตามหลักทฤษฎี 5m man money machine material management เหล่านี้ ผู้บริหารก็ควรแสวงหาโอกาสและสร้างความได้เปรียบให้เกิดแก่องค์การ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส) โดยการมุ่งเน้นพัฒนาองค์การในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลแต่ให้พิจารณาที่ผลงานเป็นหลัก
ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การการ พัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และ ทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุด เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ ต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนา moneys ระบบเงิน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ขององค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์กรนั้นๆ
การบริหารจัดการคือ
กิจกรรมทางการบริหารจัดการผู้บริหาร คือ ผู้ทำให้งานต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จโดยอาศัยคนอื่นทำโดยมีระบบที่เกี่ยวข้องกับบริหาร 2 ระบบ คือ
- ระบบคน
- ระบบงาน
ปัญหาที่ตามมาที่ควรทราบ คือ กิจกรรมบริหารจัดการที่ผู้บริหารต้องทำจริงๆ คือ อะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมี 5 หน้าที่หลัก ตาม ทฤษฎีตัวอย่าง 4m หรือ 4m analysis ตัวอย่าง คือ
- P – Planning :การวางแผน ตลอดจนการจัดวางโครงสร้างของการทำงาน รวมไปถึงการวางแผนการล่วงหน้าเพื่อเตรียมการ ไปจนถึงการวางแผนทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ
- O – Organizing : การจัดองค์กร ตั้งแต่การกำหนดโครงสร้าง ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการกำหนดส่งงาน แบ่งงานทำอย่างเป็นระบบระเบียบ
- S – Staffing :การจัดการเกี่ยวกับบุคคลากรในองค์กร ตั้งแต่การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การจัดตำแหน่ง การพัฒนา
- D – Directing : การอำนวยการ ตั้งแต่หน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ ออกคำสั่ง ไปจนถึงการมอบหมายภารกิจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนภาวการณ์เป็นผู้นำ
- Co – Co-ordinating : การประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ให้การทำงานบรรลุเป้าหมายด้วยดี รวมไปถึงการประสานงานในแต่ละส่วนให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้การทำงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- R – Reporting : การรายงานการปฎิบัติงานตั้งแต่งานส่วนบุคคลไปจนถึงองค์กร เพื่อให้รู้ถึงการทำงานของฝ่ายต่างๆ และควบคุมให้ดำเนินไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และสามารถตรวจสอบตลอดจนประเมินผลได้
- B – Budgeting :การบริหารงบประมาณ ตั้งแต่การประเมินงบประมาณ การจัดทำบัญชี การตรวจสอบด้านการเงิน ไปจนถึงการนำงบประมาณมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ทรัพยากรในการบริหาร
การบริหารงานทุกอย่างจะต้องอาศัยทรัพยากรหรือปัจจัยทางการบริหารทั้งสิ้นทรัพยากรทางการบริหารนี้ ตอนแรกนักวิชาการทางการบริหาร ได้แบ่งออกได้เป็น 4 องค์ประกอบ
ที่เรียกติดปากว่า 4 M อันได้แก่ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และวิธีการบริหาร (Management) ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี จึงมีการเพิ่มปัจจัยทางการบริหารจาก 4 M เป็น 7 M
ปัจจุบันมีการแบ่งทรัพยากรเป็น 4 ประเภท คือ
- Human Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ อันได้แก่ ผู้บริหารพนักงานในระดับต่างๆ ซึ่งหมายถึง “คน” นี่เอง
- Financial Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านการเงิน อันได้แก่ เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ
- Physical Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านวัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ
- Information Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่กิจการใช้ในการบริหารงาน และใช้ในการตัดสินใจในการบริหาร
ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปัจจุบันการประกอบธุรกิจมีหลากหลายรูปแบบที่ไม่ใช่แค่เรื่องระบบโรงงานและอุตสาหกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน มีทั้งระบบการขายของออนไลน์ การขนส่ง แต่ถึงอย่างนั้นทรัพยากรบุคคลก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญกับการทำงานของทุกระบบและทุกองค์กรเสมอ ไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ตาม ซึ่งการจัดการ ตามหลักทฤษฎี 4 M นั้น จะมีความต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจหรือสไตล์ของแต่ละองค์กร
แต่ท้ายที่สุดแล้วทุกองค์กรต่างก็มีจุดประสงค์เงื่อนไขเดียวกัน นั่นก็คือต้องการขับเคลื่อนให้องค์กรเดินหน้าอย่างยอดเยี่ยมที่สุดและประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด ซึ่งการเลือกหลักการบริหารจัดการมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดและลักษณะองค์กร รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด คุ้มค่า นี่คือทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้มากเลยทีเดียว
แหล่งอ้างอิง :
https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/210-4m-in-production-process-4
th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/
http://www.softbizplus.com/general/717-management-good-performance
forexthai.in.th/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-3-m-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/105508
https://sites.google.com/site/sebsportclub/cpmpany/power-games
https://www.gotoknow.org/posts/357622
https://zeenake.weebly.com/35853634361936103619363636273634361935913634360935883640360336163634361436513609362935913588366035853619.html
th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/
th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-190215whatismanagement/
thaiwinner.com/what-is-management
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 25 กรกฎาคม 2022