ใบส่งของ

2 DELIVERY NOTE ใบส่งของตัวอย่างวิธีเขียนอย่างง่ายๆ?

Click to rate this post!
[Total: 234 Average: 5]

ใบส่งของ คือ

delivery note คือ
delivery note คือ

ใบส่งของ คือ Delivery note ) หรือ ใบส่งสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่ง (ผู้ขาย) ใช้เป็นหลักฐานในการส่งมอบสินค้า รายละเอียดภายในใบส่งสินค้าก็จะเป็นชนิดของสินค้า จำนวนของสินค้า ลักษณะของสินค้าที่ถูกส่งมอบ เอกสารใบส่งของมีความสำคัญมากเมื่อเกิดเหตุการณ์หรือข้อพิพาทระหว่างผู้ส่งของ และผู้รับของไม่ว่าจะเป็นจำนวนของสินค้าที่ไม่ถูกต้อง ลักษณะของสินค้าไม่เป็นไปตามที่ตกลงในใบส่งของ

ใบส่งของ ใช้ตอนไหน

ในทางบัญชี ต้องดูว่ากิจการมีการเคลื่อนย้ยขนถ่ายส่งสินค้าให้กับลูกค้าแล้วรึยัง หากยังก็จะไม่มีผลทางบัญชี ไม่จำเป็นต้องบันทึกบัญชี แต่เป็นการออกเอกสารให้กับลูกค้า ว่าจะมีการส่งของให้วันไหน ของจะถึงวันไหน

ส่วน เลขที่ วันที่ หรอืข้อความ ก็ไม่จำเป็นต้องตรงตามใบกำกับภาษีตามที่สรรพากรกำหนด เนื่องจากเอกสารใบนี้ ไม่สามารนำมาใช้ได้ในทางภาษีซื้อ และภาษีขายได้ และการออกเอกสารส่งของให้นั้น บางครั้ง ใบกำกับภาษีขาย ก็อาจจะรันเลขที่ หรือวันที่ไปก่อนหน้าที่ จะมีการนำส่งสินค้าจากใบสั่งซื้อนั้นเองนั้นเอง

เซ็นเอกสารในใบส่งของ
เซ็นรับเอกสาร

บันทึกบัญชีหรือไม่

โดยทั่วไป เป็นเอกสารชนิดเดียวกัน หากกิจการไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทำใบส่ง ของอาจไม่มีผลต่อกรมสรรพากรสักเท่าไร แต่มีผลแน่!! ต่อการดำเนินธุรกิจ อย่างเช่น

  • การขนย้ายสินค้าจากคลังหนึ่ง ไปอีกคลังหนึ่ง
  • เลื่อนย้ายจากคลัง ไปยังสถานที่ของลูกค้า
  • การตัดสต็อกสินค้า
  • การควบคุมภายในของกิจการ
  • การเบิกสินค้าตัวอย่าง เป็นต้น
ใบส่งของใช้ตอนไหน

แต่หากกิจการของท่านอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่หัวมีคำว่า “ใบส่งของ” แสดงอยู่ มีผลกับกรมสรรพากร โดยตรงแน่นอน เพราะการออกเอกสารที่มีคำว่า “ใบส่งของ” กำกับอยู่ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังที่เก็บ จึงต้องมีตัวภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง เพราะฉะนั้น การนำใบ ส่งของมาใช้ในกิจการ จึงต้องดูความสะดวกในการจัดทำบัญชี การทำงานของระบบภายในกิจการ หรือ การจัดทำภาษีของผู้ประกอบ ว่าควรใช้ ใบส่ง ของ คู่กับเองสารแบบใด เช่น

ตัวอย่าง ใบส่งของ

กรณีที่ 1 มีการตกลงซื้อสินค้า แต่สินค้ายังไม่มีพร้อมส่ง

ผู้ซื้อ ได้ทำการ โอนเงินเพื่อชำระ ไม่ว่าจะเต็มจำนวนหรือไม่เต็มจำนวน กิจการก็อาจออกใบกำกับภาษีพร้อมใบเสร็จรับเงิน และบันทึกบัญชีภาษีขาย เมื่อสินค้าพร้อมส่งค่อยออก ใบ ส่ง ของ ให้ผู้ซื้อเซ็นรับเพียงอย่างเดียวเพื่อเก็บเป็นหลักฐานก็ได้

กรณีที่ 2 กิจการได้ทำการตกลงขายสินค้าให้กับลูกค้าแล้ว

เมื่อมีการตกลงซื้อขายเป็นที่เรียบร้อยแน่นอน และมีการขนย้ายสินค้าไปยังสถานที่ของลูกค้า แต่ลูกค้ายงไม่ได้ชำระเงิน กรณีนี้ กิจการก็จำเป็นจะต้อง ออกเอกสารชื่อมีหัวว่า “ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี” ก็ได้ เนื่องจากมีการขนย้ายสินค้าออกจากคลังแล้ว ลูกค้าก็จะสามารถ ใช้สิทธิใบกำกับภาษีไปใช้ได้เลย เป็นต้น

เพิ่มเติม : แต่ทั้งนี้ประเด็นการออก ใบ ส่งของ ไม่ใช้ปัญหาหลัก แต่จะเป็นการออกใบกำกับภาษี เนื่องจาก ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย จะต้องนำสิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ หากมีข้อผิดพลาดในการใช้สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม สรรพากร ก็อาจตรวจสอบได้

 

ส่วนประกอบใบส่งของ

รายละเอียดที่ควรมี (Delivery note)

  1. รายละเอียดสำคัญของสินค้าที่จะต้องนำส่งอย่างจำนวนหน่วย ปริมาณ ลักษณะ คุณภาพ ตลอดจนมูลค่าของสินค้า
  2. ชื่อ และที่อยู่ของผู้รับของหรือสินค้า
  3. สถานที่ในการจัดส่ง
  4. ลายเซ็นจากผู้ที่ดำเนินการส่ง เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการดำเนินการจัดส่งจริง
  5. ลายเซ็นผู้รับ เพื่อยืนยันว่าสินค้าที่ถูกส่งมาตรงตามที่ได้ตกลง และได้นำมาส่งมอบจริง หลังจากมีผู้เซ็นรับใบก็จะถูกยืนยันว่ามีการส่ง และการรับของจริง

กฎหมายก็ยังไม่ได้กำหนด หรือ เข้ามาควบคุมการจัดทำ อย่างชัดเจน แต่ เอกสารขนิดนี้ก็มีผลต่อกฎหมาย หากเกิดมีคดีความก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้

ใบส่งของ

แบบฟอร์ม ส่งสินค้า Pdf

แบบฟอร์ม ส่งสินค้า Excel

แบบฟอร์ม ส่งสินค้า Word

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com