ลดหนี้

5 ฟอร์ม ใบลดหนี้ ส่งคืนสินค้าใบรับคืนมีตัวอย่างให้ง่ายๆ?

Click to rate this post!
[Total: 252 Average: 5]

ใบลดหนี้

ใบลดหนี้-คือ

ใบลดหนี้-คือ

ใบลดหนี้คือใบลดหนี้ ( Credit Note ) เป็น เอกสารที่ใช้ลดหนี้จากการ ซื้อ-ขาย สินค้าและบริการ ของผู้ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่า (จด vat) ใบลดหนี้ หากจะเข้าใจทั่ว ๆไป ก็คือการลดราคาลงจากเดิมที่ซื้อ ไว้อยู่แล้ว

ใบลดหนี้ใช้อย่างไร ? ใจความสำคัญของ ใบลดหนี้ จะต้องคำนึงถึง ภาษีเป็นหลัก เพราะ ใบลดหนี้ ต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย หาก ใบลดหนี้ ที่ได้รับมาไม่ถูกต้อง หรือ นำมาใช้โดยไม่จำเป็น ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะ ใบลดหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่งใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น

ใบลดหนี้ เป็นเอกสารที่ต้องจัดทำเมื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะต้องจัดทำเอกสารเพื่อใช้ประกอบการจ่ายภาษีและใช้บันทึกรายการบัญชี ดังนี้

เอกสารที่ใช้ประกอบการจ่ายภาษี และใช้บันทึกรายการบัญชี มีดังนี้

  1. ใบกำกับภาษี
  2. เอกสารที่ถือเป็นใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้
  3. รายงานภาษีขาย
  4. รายงายภาษีซื้อ
  5. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ใบลดหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษี เมื่อผู้ประกอบการได้ขายสินค้าและนำภาษีขายไปรวมคำนวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมามีการลดราคาเนื่องจากสินค้าชำรุดในระหกว่างขนส่ง สินค้าที่ส่งไปไม่ตรงตามจำนวน คำนวนราคาสินค้าผิดสูงไป หรือมีการรับคืนสินค้าและคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บไปแล้ว ใบลดหนี้นั้นให้ถือเป็นใบกำกับภาษีได้โดยผู้ขายต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนจากมูลค่าของสินค้าไปลดภาษีขายในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้นั้น

ตัวอย่างใบลดหนี้

ตามใบกำกับภาษีเดิม มูลค่าของสินค้าที่นำมาแสดง 1,500 บาท แต่มีเหตุให้ต้องออกใบลดหนี้ ทำให้มูลค่าของสินค้านั้นเหลือ 1,000 บาท

ตัวอย่างใบลดหนี้

ตัวอย่างใบลดหนี้

ใบลดหนี้-ภาษาอังกฤษ

ใบลดหนี้-ภาษาอังกฤษ

ใบลดหนี้ตัวอย่าง

ใบลดหนี้ตัวอย่าง

ใบลดหนี้เต็มจำนวน

ใบลดหนี้เต็มจำนวน

การออกใบลดหนี้ ไม่ควรเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และผู้ขายเองก็ไม่จำเป็นต้อง ออก ใบลดหนี้ เสมอไป ยังสามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นตามแต่ละนโยบายของบริษัทเช่นการส่งสินค้าไปให้ใหม่ หรือการเครดิต ไว้เพื่อเป็นการซื้อครั้งหน้า หรือที่ได้ตกลกกับลูกค้า แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากจำเป็นจริง ๆ ที่ต้องเลือกวิธีการออก ใบลดหนี้ ก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องควรออกเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การออกใบลดหนี้จะเกิดจากฝั่งผู้ขายเท่านั้น

 

ส่วนประกอบ และ วิธีการออกใบลดหนี้

ส่วนประกอบใบลดหนี้

รายละเอียดในใบลดหนี้

  1. มีคำว่า “ใบลดหนี้ ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
  2. มี ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ
  3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี
  5. เลขที่และเล่มที่ของใบกำกับภาษีเดิม
  6. มูลค่าของสินค้าหรือบริการ ที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว
  7. มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ
  8. ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง
  9. และจำนวนภาษีที่ “ลดลง” สำหรับส่วนต่างนั้น
  10. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออก “ใบลดหนี้”
  11. ข้อความอื่นตามที่อธิบดีกำหนด

ขั้นตอนการออกใบลดหนี้

  1. การออกใบลดหนี้ต้องออก 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีขายเดิมที่ต้องการลดหนี้ จะมากกว่า 1 ฉบับก็ได้
  2. ต้องมีรายการ ดังนี้
    • หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม เล่มที่ (หากต้องการลดจากใบกำกับภาษีเดิมหลายใบ)
    • มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น
  3. เขียนคำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้ หรือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารแนบใบลดหนี้อ้างถึงใบกำกับภาษีเป็นรายใบกำกับภาษีก็ได้
  4. ทั้งนี้ สามารถจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

ฝั่งผู้ออกใบลดหนี้

ผู้ประกอบการนำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยนำไปหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้

ฝั่งผู้รับใบลดหนี้

หากได้รับใบลดหนี้ในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบลดหนี้ ให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้

หมายเหตุ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบลดหนี้ โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามข้อ 3 มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร และ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับลดหนี้ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร

วิธีออกใบลดหนี้

วิธีออกใบลดหนี้

ผู้มีสิทธิออกใบลดหนี้ได้

  • เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
  • มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
  • ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
    • มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
    • มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
    • ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
    • ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย
    • ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้าเงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า
    • มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน
    • มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทำภายในเวลาอันสมควร
    • มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่องหรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
    • มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา

ออกใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิออก ข้อควรระวัง ในออกใบลดหนี้

  • ใบลดหนี้ ควรออกในเดือนภาษีที่มีการซื้อ-ขาย เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ให้ออกในเดือนถัดไปได้ (แล้วแต่คำส่งกรมสรรพากร)
  • เมื่อได้รับ ใบลดหนี้ แล้ว ต้องกลับไปคำนวณภาษีซื้อ-ภาษีขายใหม่ ในเดือนภาษีที่เกิดใบลดหนี้
  • บุคคลที่ออก ใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ภาษีตามจำนวนนั้น ๆ
  • ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิ ออก ใบลดหนี้ และ นำ ใบลดหนี้ มาใช้ในการทำคำนวณภาษีต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้อง

บันทึกบัญชีใบลดหนี้

บันทึกบัญชีใบลดหนี้

บันทึกบัญชีใบลดหนี้

บันทึกบัญชีใบลดหนี้

การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับ ใบลดหนี้ บัญชีที่เกี่ยวข้องก็ขึ้นอยู่กับ นโยบายที้ด้วย เช่น บัญชีสินค้าคงเหลือ สินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนขาย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ เป็นต้น ในตัวอย่างนี้ ขอยกการบันทึกบัญชีแบบ ตัวอย่างการออกใบลดหนี้ การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับใบลดหนี้ (บริษัทอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ตัวอย่าง

วันที่ 1.ม.ค.63 บริษัท เริ่มค้าขาย จัด ได้ทำการจัดซื้อสินค้า มูลค่า 10,000 บาท จาก บริษัท ค้าไม้สำเร็จรูป จำกัด ต่อมา บริษัท เริ่มค้าขาย จำกัด ได้ของไม่ตรงตามspecที่ต้องการ และสินค้าเกิดชำรุดเสียหายบางส่วน ต้องการคืนสินค้า เป็นมูลค่าจำนวน 500 บาท จึงติดต่อบริษัท นาย ค้าไม้สำเร็จรูป จำกัด และได้ขอสรุปว่าจะบริษัท ค้าไม้สำเร็จรูป จำกัด จะออกใบลดหนี้ให้ กับบริษัท เริ่มค้าขาย จำกัด  (กรณีบันทึกสินค้าแบบ Perpetual )

บันทึกบัญชี ดังนี้

Dr.รับคืนสินค้า                                                                               xxx.-

ภาษีขาย                                                                                   xxx.-

Cr.ลูกหนี้การค้า/(เงินสด)                                                                xxx.-

Dr.สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ                                                               xxx.-

Cr.ต้นทุนขาย                                                                                  xxx.-

ทั้งนี้การออกใบลดหนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย บางครั้งอาจเป็นการขายเชื่อ ซื้อเชื่อ และการตกลงเป็นอย่างอื่น เช่นการเพิ่มลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ไว้เพื่อเป็นการเครดิต การซื้อขายครั้งต่อไป เมื่อมีการซื้อขายครั้งหน้าก็อาจจะนำมาหักกลบลบหนี้ จำนวนหนี้กันก็ได้ แล้วแต่ตามที่ตกลงกับลูกค้า หรือนโยบายบริษัท นั้นเอง

ตัวอย่าง

กรณีซื้อสินค้า วันที๋ 1 ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 107,000 บาท เครดิต 15 วัน วันที่ 2 ส่งสินค้าคืนเนื่องจากไม่ตรงตามคำสั่งซื้ มูลค่า 10,000 บาท จ่ายชำระวันที่ 15 เรียบร้อย แต่ไม่ได้นำใบลดหนี้ในเดือน กพ มายื่นในเดือน มี.ค จึงต้องทำการยื่นแบบและเสียค่าปรับ และบันทึกบัญชีดังนี้

วันที่ 1/2/63
Dr. ต้นทุน 100,000
ภาษีซื้อ 7,000
Cr. เจ้าหนี้ 107,000
(ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ)

วันที่ 2/2/63
Dr. เจ้าหนี้ 10,700
Cr. ต้นทุน 10,000
ภาษีซื้อ 700
(ส่งคืนสินค้าเนื่องจากไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ)

วันที่ 15/2/63
Dr. เจ้าหนี้ 96,300
Cr. เงินสด 96,300
(จ่ายชำระค่าสินค้า)

วันที่ 10/4/63
Dr. ค่าเบี้ยปรับ 35
ค่าเงินเพิ่ม 10.50
Cr. เงินสด 45.50
(จ่ายค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มของใบลดหนี้เดือน กพ ที่ไม่ได้นำส่ง)

ใบลดหนี้ ใช้ได้กี่เดือน

ตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 80/2542 ข้อ 5 กำหนดให้ ใบลดหนี้ ได้รับเดือนไหนก็ต้องใช้เดือนนั้น เท่านั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้จากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนด้วยกัน เมื่อได้รับใบลดหนี้ในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบลดหนี้ ให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้

เช่น ฝั่งผู้ออกใบลดหนี้ ออกใบลดนี้ เดือน มกราคม ฝั่งผู้รับ เมื่อได้รับใบลดหนี้ในเดือน มกราคม ก็ต้องใช้ในดือน มกรคาคม หรือ อาจจะได้รับไม่เกิน กุมภาพันธ์ ก็ต้องใช้ในเดือน กุมภาพันธ์ เท่านั้น แต่หากได้รับ ใบลดหนี้ นานเกิดกว่าที่ฝั่งผู้ออก ใบลดหนี้ได้ออกให้ เช่น ผู้รับอาจได้รับ ในเดือน เมษายน พฤษภาคม หากสรรพากรตรวจก็ต้องพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าเกิดจากอะไร

ใบลดหนี้ ค่าบริการ หัก ณ ที่จ่าย

ตามข้อหารือ เลขที่หนังสือ กค 0702/5100 เมื่อ ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับงานบริการ มีการออกใบกำกับภาษี ผิด มียอดที่สูงไป และได้ออกใบลดหนี้ตาม สามารถทำได้ ตาม แนววินิจฉัย กรณีผู้ให้เช่ารถยนต์คำนวณค่าเช่าผิดพลาดสูงกว่าความเป็นจริงหากได้ออกใบกำกับภาษีและได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และ นำส่งแล้ว จึงเป็นกรณีที่มีเหตุการณ์ที่ผู้ให้เช่าหรือผู้ออกใบกำกับภาษีมีสิทธิออกใบลดหนี้ได้ตามมาตรา 82/10 (2) และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ นำมูลค่าของค่าเช่าที่ลดลงตามใบลดหนี้ไปหักออกจากค่าเช่าตามใบแจ้งหนี้ในเดือน ที่ต้องชำระค่าเช่าครั้งต่อไปแล้วคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าวจากยอดเงินตามจำนวนค่าเช่าที่ต้องจ่ายจริง

ข้อหารือ ใบลดหนี้

เลขที่ เรื่อง วันที่
กค 0811/พ.03726 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้ 26 เมษายน 2542
0811/พ.09142 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และการคืนภาษี 2 กันยายน 2542
0811/พ.30188 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้ 4 กุมภาพันธ์ 2543
0706/4612 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบันทึกบัญชีใบลดหนี้ 29 พฤษภาคม 2549
กค 0702(กม.04)/5975 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ 29 กรกฎาคม 2552
0702/3113 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้ 13 มีนาคม 2558
ตัวอย่าง ข้อหารือ ที่เกี่ยวข้อกับใบลดหนี้

ตัวอย่างใบลดหนี้ เต็มจำนวน

ตัวอย่างใบลดหนี้เต็มจำนวน

ตัวอย่างใบลดหนี้เต็มจำนวน

ใบกำกับภาษี

ตัวอย่างใบลดหนี้ ส่วนลดการค้า

ตัวอย่าง ใบลดหนี้เต็มจำนวน

ตัวอย่าง ใบลดหนี้เต็มจำนวน

ดาวน์โหลดใบลดหนี้

ใบลดหนี้

ใบลดหนี้