เพลงชาติไทย

2475 พลงชาติไทย เนื้อไทก่อนความหมายของเพลงที่คุณไม่รู้?

Click to rate this post!
[Total: 223 Average: 5]

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทยมีขึ้นนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ.2475 ขณะนั้นประเทศไทยใช้ชื่อว่า ประเทศสยาม เพลงชาติไทยครั้งแรก
จึง มีเนื้อร้องใช้ชื่อประเทศสยาม ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง คือ ขุนวิจิตรมาตรา ( รองอำมาตย์โทสง่า กาญจนาคพันธุ์ ) และ พระเจนดุริยางค์ ( ปิติ วาทยากร )
ประพันธ์ทำนอง เนื้อร้องเพลงชาติครั้งแรกมีดังนี้

“แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทิดไทย ไชโยฯ “

ประวัติเนื้อเพลงชาติไทย พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” มาเป็นประเทศไทย
ทำให้เกิดการแก้ไขบทร้องเพลงชาติใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติเดิม
การประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งบทเนื้อร้องเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ในที่สุดคณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์
เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลจึงได้ประกาศ “รัฐนิยมฉบับที่ ๖” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของพระเจนดุริยางค์
ตามแบบที่มีอยู่ในกรมศิลปกรส่วนเนื้อร้องเพลงชาติให้ใช้บทเพลงของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในนามของกองทัพบก
ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในทุกวัน

เนื้อเพลง

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

ความหมายของเนื้อร้องเพลงชาติไทย (ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา อธิบาย)

ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดหเนื้อเชื้อชาติไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทย
ย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกัน
และรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่อย่างสุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตครูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย
ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือดทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืน
จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอดไป.

ที่มาของทำนองเพลงชาติในปัจจุบัน ตามคำกล่าวของพระเจนดุริยางค์

พระเจนดุริยางค์

พระเจนดุริยางค์ หรือ ปิติ วาทยะกร (ชื่อเดิม: ปีเตอร์ ไฟท์)

พระเจนดุริยางค์ได้กล่าวไว้ว่า ราวปลายปี 2474 หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งเป็นเพื่อนทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นหนึ่งเพลง ในลักษณะเพลงลามาร์แซแยส ซึ่ง พระเจนดุริยางค์ ได้ปฏิเสธไป เพราะเห็นว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว และการแต่งเพลงนี้ก็ไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย ถึงแม้ว่าในภายหลัง หลวงนิเทศกลกิจ จะมาติดต่อให้เเต่งเพลงนี้อยู่อีกหลายครั้ง แต่พระเจนดุริยางค์ ก็บ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะสงสัยว่าการให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นมีข่าวลืออย่างหนาหูเกี่ยวกับเรื่องการปฏิวัติ

 

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475

คณะราษฎรได้ประกาศให้ใช้เพลงชาติมหาชัย ประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นเพลงชาติใช้ชั่วคราวระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่ เเต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากประชาชนเท่าไหร่นัก และต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเเทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

 

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปประมาณ 5 วันแล้ว พระเจนดุริยางค์ รู้ภายหลังว่า หลวงนิเทศกลกิจ เป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎร และหลวงนิเทศกลกิจ ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดหนทางจะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้นอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และเเต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ท่านได้กำหนดนัดหมายไว้ ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน ได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงและมอบโน๊ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงดนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้เเต่งเพลงนี้เอาไว้ด้วย ต่อมาหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้เเจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ30ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นเงินบำนาญ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยได้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาปีเดียวกันนั้นเอง

ผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยคนแรกสุด คือ ขุนวิจิตรมาตรา

เนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้ประพันธ์โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการค้นพบโน๊ตเพลงพร้อมด้วยเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ และมีการจดจำต่อๆกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาที่ชัดเจน และมีปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในปี พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการและเป็นฉบับต้องห้าม การจะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในพ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ.2475 และ พ.ศ.  2477)

 

เพลงชาติสยาม พ.ศ. 2477

ในปีพ.ศ. 2477รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธานและมีกรรมการท่านอื่นๆ คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย และเพลงชาติแบบสากล
 

เพลงชาติสยาม พ.ศ. 2478

ในปีพ.ศ. 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 และ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ .2478 ระเบียบการดังกล่าวนี้ได้มีกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิศดารหรือการบรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้นได้กำหนดให้บรรเลงเพลงฉบับสังเขปในพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สันนิบาต สโมสร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงให้ใช้ในพิธีใหญ่เท่านั้น

 

เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482

ในปีพ.ศ. 2482 ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย รัฐบาลจึงได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อประเทศ โดยยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่ และกำหนดให้มีเนื้อร้องเพียง8วรรคเท่านั้น และต้องปรากฏคำว่า ไทย อยู่ในเนื้อเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องของเพลงชาติไทย และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ได้มีการแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย แล้วใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

คำค้น : เนื้อเพลง เนื้อเพลง doc เนื้อเพลง เวอร์ชั่น ปัจจุบัน เนื้อเพลง พร้อม แปล 4sh ผู้ประพันธ์ ใครเป็นผู้แต่งทำนอง ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง ในปัจจุบัน smf profile เนื้อ เพลงชาติ ไทย ประวัติ ย่อ ประวัติ คีตลักษณ์ของ เป็นการขับร้องเพลงประเภทใด พร้อม เนื้อร้อง เนื้อ ้ ในเนื้อเพลงนั้นมีคำเขียนว่าไทย ทั้งหมดกี่คำ ฉบับปัจจุบันใช้บทประพัน์ของท่านใด ร 10 พยางค์ เนื้อ ร้องเพลง ใหม่ 2562 มีคำว่า ไทย กี่คำ ถอดคําประพันธ์ ดนตรี มีความยาวในการบรรเลงเท่าไร คอร์ด ผู้ประพันธ์ บทคำร้อง และทำนอง ที่ใช้เป็นฉบับปัจจุบัน คือข้อใด mp3 download โน๊ตเมโลเดียน ใครเป็นผู้ประพันธ์ทํานอง ใครเป็นผู้ประพันธ์ mp3 4sh แปล ความหมาย เนื้อร้อง คีตกวีท่านใดที่ประพันธ์ทำนอง ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ร.10 คัดลายมือ คนประพันธ์ มีคําว่าไทยกี่คํา ผู้แต่ง โน๊ต ผู้ประพันธ์ เกิดขึ้นในสมัยใด

ที่มา:http://sbtc.ac.th,ร้องเพลงชาติไทย.blogspot.com

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com