เช็คสิทธิ์ประกันสังคม

7 เช็คสิทธิประกันสังคม ม 33 39 40 ตรวจบัตรประชาชน?

Click to rate this post!
[Total: 172 Average: 5]
ในหน้านี้

SSO เช็คสิทธิประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

เช็คประกันสังคม
เช็คประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง

  • ผู้ประกันตนจะมี สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง สำหรับคนที่มี “เงินเดือน” ทำงานบริษัทหรือห้างร้านต่าง ๆ ทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน ส่วนคนที่ทำงานอิสระ (ผู้ที่ไม่ทำงานบริษัท/ไม่ได้รับข้าราชการ) ที่อยากจ่ายสมทบก็สามารถทำการ เช็คเงินสมทบประกันสังคม ได้เช่นกัน 
  • โดยเงินส่วนนี้เป็นเงินกองทุน สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายรวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน 
ประกันสังคม-มาตรา-33
ประกันสังคม-มาตรา-33

ประกันสังคม มาตรา 33 มีอะไรบ้าง

ผู้ประกันตน (มาตรา 33) คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้  

  1. กรณีเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีตาย
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ
  7. กรณีว่างงาน

เช็คสิทธิประกันสังคม ด้วยเลขบัตรประชาชน

  1. เช็คผ่านเว็บไซต์
  2. ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
  3. โทรสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม ได้ที่เบอร์ 1506

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับการเยียวยาดังนี้

  1. ได้รับการลดเงินสมทบที่หักไปในแต่ละเดือน เหลือให้เราจ่ายไม่กิน 450 บาท(ม.ค.64) และไม่เกิน 75 บาท (ก.พ.-มี.ค. 64)
  2. รัฐบาลให้เงินเยียวยา 3,500 – 4,000 บาท สำหรับแรงงานที่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 300,000 บาท และเงินฝากไม่เกิน 5แสนบาท

วิธีเช็คเงินว่างงานประกันสังคม

เช็คเงินว่างงานประกันสังคม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

แอปพลิเคชัน SSO Connect 

  1. เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน 
  2. เลือกหัวข้อ “การเบิกสิทธิประโยชน์”
  3. ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ

เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

  1. ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน 
  2. เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย”
  3. จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ

นอกจากนี้ ยังสามารถสอบถามผ่านสายด่วนสำนักงานประกันสังคม 1506 ที่ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมตรวจสอบเช็คเงิน ประกันสังคม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ควรได้รับไม่ว่าจะเป็นกรณีว่างงาน หรือกรณีอื่น ๆ ที่สามารถสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไข 

วิธีเช็คประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน มาตรา 33,39,40

ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 www sso go th มาตรา 40 เช็ค สถานะ

เช็คยังไงว่าจ่ายประกันสังคมแล้ว

  1. เข้าไปที่เว็บ https://www.sso.go.th/wpr/main/login แล้วทำการ สมัครสมาชิก 
  2. กรอกข้อมูลส่วนตัว และรหัสผ่านเพื่อลงทะเบียน แล้วกดยืนยัน เมื่อกดแล้วระบบจะส่งรหัส OTP มาให้ยืนยัน เป็นอันจบขั้นตอนการสมัคร
  3. เมื่อLogin เข้าระบบแล้ว จะสามารถเช็คสถานะผู้ประกันตนต่างๆ เช่น สถานพยาบาลที่ไปใช้สิทธิ์ ยอดเงินประกันสังคม เงินชดเชยได้
  4. หน้าที่จะแสดงสถานะของผู้ประกันตน และสามารถเช็คข้อมูลอื่นๆที่ผู้ประกันตนต้องการได้ด้วยการคลิกหัวข้อด้านล่าง 

1.เช็คในเว็บไซต์ของประกันสังคม

    • เข้าไปที่เว็บ https://www.sso.go.th/wpr/main/login แล้วทำการ สมัครสมาชิก 

ประกันสังคมออนไลน์

    • กรอกข้อมูลส่วนตัว และรหัสผ่านเพื่อลงทะเบียน แล้วกดยืนยัน เมื่อกดแล้วระบบจะส่งรหัส OTP มาให้ยืนยัน เป็นอันจบขั้นตอนการสมัคร 

เช็คสิทธิประกันสังคม

    • เมื่อLogin เข้าระบบแล้ว จะสามารถเช็คสถานะผู้ประกันตนต่างๆ เช่น สถานพยาบาลที่ไปใช้สิทธิ์ ยอดเงินประกันสังคม เงินชดเชยได้ 

ตรวจสอบประกันสังคม

  • หน้าที่จะแสดงสถานะของผู้ประกันตน และสามารถเช็คข้อมูลอื่นๆที่ผู้ประกันตนต้องการได้ด้วยการคลิกหัวข้อด้านล่าง 

เช็คสิทธิ์

2.การเช็คในแอปพลิเคชั่นSSO Connect

สำนักงานประกันสังคม
ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
    • ทำการล็อคอินเข้าระบบ 

33

    • เมื่อทำการlogin  เราจะเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชั่นซึ่งจะแสดงข้อมูลต่างๆ เช่น ยอดเงินสมทบชราภาพ และสิทธิทันตกรรม ซึ่งเราสามารถเลือกเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ ได้เลย 

เช็คสถานะ

    • หน้าต่างนี้จะแสดงข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกันตน เช่น ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน โรงพยาบาลที่เลือก และสถานะของผู้ประกันตน 

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม

วิธีเช็คเงินชราภาพประกันสังคม

ขั้นตอน เช็คเงินประกันสังคม อายุ 55 ดังนี้

  1. สามารถเช็คได้โดยการเช็คผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม 
  2. สามารถเช็คได้โดยการเช็คผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
  3. เช็ตโดยการโทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ
  4. เช็คได้โดยการไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้
     

เช็คสิทธิ์

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ยัง ไง

สิทธิประโยชน์ประกันสังคม ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ลูกจ้าง
เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ลูกจ้าง

ผู้ประกันตนมาตรา 33 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม ดังต่อไปนี้ 

  1. กรณีประสบภัยอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน จะได้รับ บริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บําบัดโรค การบําบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร และการปลูกถ่ายไตการ ปลูกถ่ายไขกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา แนะนำอ่านเพิ่มเติม  สิทธิประกันสังคม เจ็บป่วยฉุกเฉิน
  2. กรณีคลอดบุตร จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 
  3. กรณีทุพพลภาพ จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ ค่า อวัยวะเทียม และอุปกรณ์บำบัดรักษาโรค ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ 
  4. กรณีตาย จะได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย 
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุ ไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน 
  6. กรณีชราภาพ  จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการนําส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน 
  7. กรณีว่างงาน หากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 180 วัน หากลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน 

เงื่อนไขการใช้ สิทธิประกันสังคม

  • กรณีเจ็บป่วยฯ และกรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ 
  • กรณีคลอดบุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด 
  • กรณีตาย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย 
  • กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 
  • กรณีชราภาพ มีอายุครบ55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเมื่อเป็นผู้ ทุพพลภาพ หรือเมื่อเสียชีวิต 
  • กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน 
ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน
ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 39

ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ประกันตนที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และนําส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากบ้านไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน 

เงินสมทบที่ต้องนําส่ง สำนักงานประกันสังคม เดือนละ 432 บาทต่อเดือน เงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตน จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 

    • อัตราการนำส่งเงินสมทบ

  1. ต้องทำการส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท 
  2. เงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% X 4,800 = 432) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรและชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 
ประกันสังคม-มาตรา-40
ประกันสังคม-มาตรา-40

ผู้ประกันตนมาตรา 40 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 

คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ประกันตมมาตรา 40

  • มีสัญชาติไทย 
  • เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัย อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการ ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจําตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ 7 
  • เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับที่มีบัตรประจําตัว คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจําตัวหลักแรกเป็นเลข0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ยกเว้นผู้ที่มี เลขประจําตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็น 0) 
  • อายุไม่ต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ 
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 
  • ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่น 
  • หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของ ผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจ รับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 ไม่สามารถ สมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้) 

ความคุ้มครอง ผู้ประกันตนมาตรา 40

  1. กรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทน การขาดรายได้  
    • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป 
    • ไม่นอนโรงพยาบาล แต่มีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
    • ภายใน 1 ปี นอนและไม่นอนโรงพยาบาล 
    • ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว ไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ต่อสำนักงาน) 
  2. กรณีทุพพลภาพ 
    • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน 
    • ได้รับเงินทดแทนเป็นระยะเวลา 
    • เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนฯ ได้รับเงินค่าทำศพ 
  3. กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 
    • ผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 
    • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ได้รับเงินสงเคราะห์ กรณีตาย 
  4. กรณีชราภาพ ได้รับ เงินก้อนพร้อมผลตอบแทน 
    • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จากเงินสมทบ/เดือน (ตามระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบพร้อมผลตอบแทนคืนทั้งหมด) 
    • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป ได้รับเงินเพิ่มเติม 
    • สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (เงินออม) ได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท 
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน 
    • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน รับเงินทดแทน การขาดรายได้ 

เงื่อนไขการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี

  1. ผู้ประกันตนสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงระหว่างวันที่ 1มกราคม – 31มีนาคมของทุกปี 
  2. ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 
  3. เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน 
  4. กรณีหมดความเป็นผู้ประกันตนไปแล้ว สามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน 

วิธีเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคม ดังนี้

  1. สามารถไปเปลี่ยนได้ที่สำนักงงานประกันสังคมในเขตพื้นที่หรือจังหวัด 
  2. สามารถขอเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม https://www.sso.go.th/wpr/main 
  3. สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ที่แอปพลิเคชั่น SSO Connect 

เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก

ลาออกจากงาน ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชย ดังนี้

  • กรณีลาออกจากงานเองโดยสมัครใจ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนว่างงาน ไม่เกินปีละ 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย (คิดจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาท/เดือน และฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท/เดือน) เช่น
    • เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 3,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
    • เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 4,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
  • แต่ถ้าเป็นกรณีถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ไม่เกินปีละ 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น 
    • เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
    • เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 7,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม 

  • ถูกเลิกจ้าง 

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 7,500 บาท 

  • ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา  

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท 

เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต) 

ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ดังนี้

เงินสงเคราะห์บุตรคือหนึ่งในสวัสดิการที่รัฐบาลให้เงินช่วยเหลือกับผู้ปกครอง 800บาทต่อเดือน (เพิ่มจาก600 เป็น800บาท ตั้งแต่ มกราคม 2564) ผู้ที่สามารถขอรับสิทธิ์ได้คือ 

  1. มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึว 6 ปีบริบูรณ์ ที่ชอบตามกฎหมาย 
  2. มีประกันสังคมมาตรา 33 หรือ 39 
  3. มีการนำส่งประกันสังคมมา 12 เดือน หรือ12เดือนขึ้นไปในรอบ 3 ปี 

เช็คเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของประกันสังคม https://www.sso.go.th/wpr/
  2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วย
  3. คลิกที่ขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต 
  4. ตรวจเช็คสิทธิต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
    sso-เช็คสิทธิ์

www.sso.go.th-ประกันสังคมมาตรา-33

สปส 6-09ยื่นประกันสังคม

สปสช.ออนไลน์ 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ซึ่งจะมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 

ซึ่งจะมีเว็บไซต์ให้บริการแก่ประชาชนคือ https://www.nhso.go.th/FrontEnd/index.aspx 

ใบรับรองยอดเงินสะสม ที่สมาชิกส่งเข้าประกันสังคม คือ หนังสือรับรองที่สำนักงานประกันสังคมจะออกให้ผู้ที่ไปติดต่อขอรับเอกสารนี้ว่า เป็นผู้ที่จ่ายเงินประกันสังคมจริง สามารถนำไปใช้ในการยืนยันการเสียภาษีได้ 

วิธีขอใบรับรองยอดเงินสะสมที่สามชิกส่งเข้าประกันสังคม

  1. นำบัตรประจำตัวประชาชน ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่ท่านสะดวก 
  2. แจ้งกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ว่าต้องการ ใบแจ้งยอดเงินสมทบสมาชิก กองทุนประกันสังคม

จะรู้ได้ยังไงว่าประกันสังคมมาตราอะไร

ตรวจสอบผู้ประกันตน

  1. เช็คได้โดยการเช็คผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม เช็คได้โดยการเช็คผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
  2. เช็คโดยการโทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506
  3. เช็คได้โดยการไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้

โทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม

  1. เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน 
  2. เลือกหัวข้อ “การเบิกสิทธิประโยชน์”
  3. ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ
  1. ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน 
  2. เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย”
  3. จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ

เช็คสิทธิประกันสังคม โรงพยาบาล