เงินปันผล

2 การจ่าย เงินปันผลหุ้นลงบัญชีไม่ผิดพลาด?

Click to rate this post!
[Total: 173 Average: 5]

เงินปันผล

หุ้นปันผล
หุ้นปันผล

เรื่องน่ารู้ “เงินปันผล” การลงทุนที่คุ้มค่า สร้างกำไรได้ในอนาคต

หุ้นปันผล             เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินเรื่องเงินปันผลกันมาไม่มากก็น้อย ซึ่งเงินปันผลนี้เป็นความหมายเชิงบวก เพราะเป็นเรื่องกำไรเพื่อเป็นการชี้ชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนกับธุรกิจ หรือแหล่งลงทุนนั้น ๆ นั้นเอง แล้วอย่างนี้ หุ้นปันผล กับ เงินปันผล เหมือนกันหรือไม่ เราจะได้กำไรจากเงินปันผลส่วนนั้นได้อย่างไรบ้าง และนอกจากการถือหุ้นบริษัทแล้ว เราจะสามารถถือหุ้นหรือได้รับเงินปันผลจากกำไรส่วนอื่นได้หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนต้องอยากรู้และเกิดคำถามมากมาย ทั้งนี้ต้องบอกก่อนว่าเงินปันผลอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมาจากรูปแบบการลงทุนกับบริษัทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การลงทุนส่วนอื่นก็อาจสร้างเงินปันผลได้เช่นกัน เช่น เงินจากประกันชีวิตบางกรมธรรม์ก็อาจจะมีเงินปันผล หรือเงินฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์ก็อาจจะสร้างเงินปันผลได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นหนึ่งในนักลงทุนหน้าใหม่ ควรจะรีบอ่านและศึกษาเรื่องเงินปันผลไว้ให้ดีเชียวล่ะ เพราะไม่แน่ว่ามันอาจจะสร้างกำไรให้คุณได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว

ความหมายของ “เงินปันผล”

เงินปันผล หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dividend คือ จำนวนเงินซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่บริษัทได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้น ๆ  เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกินจากผลประกอบการ บริษัทจะแบ่งกำไรออกมากให้ผู้ที่ถือหุ้นให้ได้รับกำไรด้วย เสมือนเป็นการกระจายกำไรนั่นเอง

ที่มาของ “กำไรสะสม”

บริษัทสามารถนำเงินปันผลที่ไปลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องได้เลยแบบนี้จะเรียกว่า “กำไรสะสม” หรือสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นแทนก็ได้ ซึ่งก็จะเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น

การจ่ายเงินปันผล คืออะไร

การจ่ายเงินปันผลรูปแบบผู้ถือหุ้นปกติทั่วไป

บริษัทอาจสงวนกำไรที่ได้ หรือสงวนกำไรเพียงบางส่วนไว้เองและจ่ายกำไรส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นแทนได้ การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามารถจ่ายได้หลายแบบ เช่น รูปแบบเงินสดที่นิยมใช้ โดยบริษัทจะฝากเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือหุ้นให้ หรือกรณีที่บริษัทต้องการนำเงินปันผลไปลงทุนต่อนั้น การจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอาจจ่ายเป็นรูปแบบของหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เงินปันผลได้ถูกจัดสรรในตามปริมาณต่อหน่วยต่อหุ้นตายตัวแน่นอน หากผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นไว้สัดส่วนเท่าไรก็จะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้นจำนวนเท่านั้น

การจ่ายเงินปันผลรูปแบบบริษัท

กรณีสำหรับบริษัทร่วมทุน วิธีการการจ่ายเงินปันผลไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย จะเสมือนเป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ซึ่งก็จะมีกำไรสะสมแสดงให้เห็นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ที่อยู่ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่ายแก่นักลงทุนทั่วไป

การจ่ายเงินปันผลของบริษัทมหาชนโดยมากแล้วจะกำหนดเวลาการจ่ายเงินปันผลไว้แน่นอน แต่บริษัทมหาชนสามารถประกาศเงินปันผลของตนเองตอนไหนเมื่อไรก็ได้ การประกาศจ่ายเงินปันผลที่จะจ่ายแค่บางครั้งนี้จะเรียกว่าเงินปันผลพิเศษ เพื่อให้แยกกันกับเงินปันผลปกติที่จะมีการจ่ายเงินปันผลตายตัวตามเวลา ฃ

ส่วนการจ่ายเงินปันผลรูปแบบสหกรณ์ จะเป็นการจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ลักษณะของเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษีนั่นเอง

หุ้นปันผล

ทำความรู้จักกับ “หุ้นปันผล”

หุ้นปันผล หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Stock Dividend คือ บริษัทในการจ่ายผลตอบแทนที่ไม่ใช้เงินสด ซึ่งเป็นผลกำไรที่ได้รับจากธุรกิจให้แก่ผู้ถือหุ้น การจ่ายเงินปันผลเป็นรูปแบบของหุ้นสามัญออกใหม่ เรียกง่าย ๆ ว่า หุ้นปันผลก็คือวิธีการจ่ายค่าตอบแทนรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการจ่ายปันผลในรูปแบบเงินสด (Cash Dividend) สาเหตุเพราะบริษัทต้องการนำเงินปันผลที่ได้รับนั้นไปลงทุนต่อจึงไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดแต่ให้เป็นหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืน

ทั้งนี้ หุ้นปันผลจะถูกกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นไว้ตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่แล้วตายตัว บริษัทที่ต้องการจ่ายค่าตอบแทนรูปแบบหุ้นปันผลเพิ่มทุนเพื่อนำมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นหุ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลแต่อย่างใด ผลกระทบที่ได้คือจำนวนกำไรสะสมจะลดลง แต่สัดส่วนของหุ้นสามัญและ/หรือส่วนเกินมูลค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากันนั่นเอง

ประโยชน์ของการจ่ายหุ้นปันผล

ปันผล
ปันผล

ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น

การได้รับค่าตอบแทนจากกำไรธุรกิจที่ได้จากการถือหุ้นนั้นเป็นเสมือนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากผู้ถือหุ้นนั้นสามารถนำหุ้นที่ถือไว้ตามสัดส่วนที่มีขายเพื่อแปลงเป็นเงินสดได้ หากธุรกิจหรือบริษัทนั้นทำกำไรได้มาก มูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่ก็จะมีมูลค่ามากตาม สามารถแปลงเป็นเงินได้มากตามสัดส่วนเช่นกัน บางบริษัทหรือเรียกได้ว่า ธุรกิจบางแห่งเหมาะกับการเกร็งกำไรระยะยาว ยิ่งถือไว้นานมูลค่าหุ้นหรือผลตอบแทนนั้นก็จะนิ่งมากตามไปตามเช่นกัน อีกหนึ่งข้อดีของการเป็นผู้ถือหุ้นคือ เรื่องของสภาพคล่องของหุ้นที่เพิ่มขึ้นหรือเรียกได้ว่าจากผู้ถือหุ้นที่เพิ่มมมากขึ้นส่งผลให้จำนวนหุ้นหมุนเวียนก็จะเพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วนเช่นกัน

ประโยชน์แก่บริษัทที่ถือหุ้น

เรียกได้ว่าเป็นผลประโยชน์ที่ส่งผลบวกซึ่งกันและกันก็ว่าได้ในเชิงธุรกิจ เพราะจะเป็นเสมือนการทำกำไรให้กับบริษัทได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับ เช่น

  • บริษัทที่ถือหุ้นสามารถมีแหล่งเก็บเงินสดไว้ลงทุนเพิ่มได้ และเป็นการขยายธุรกิจ โดยไม่ต้องมีการจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งก็อาจจะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าการลงทุนแบบถือหุ้นนั่นเอง
  • บริษัทไม่เสียและไม่ขาดสภาพคล่องทางการเงินแต่อย่างใด
  • สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ่น (D/E Ratio) จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
  • ช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นที่ได้ไปลงทุนให้มากขึ้น ส่งผลให้มีหุ้นหมุนเวียนจำนวนที่มีมากขึ้น และสามารถส่งเสริมให้การระดมทุนเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน
  • อีกประเด็นคือ เมื่อบริษัทตัดสินใจเข้าถือหุ้นจะช่วยสร้างความน่าสนใจทั้งแก่นักลงทุนรายย่อย และบริษัทให้มากขึ้นจากการที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทยังคงมีการจ่ายค่าตอบแทนปันผลให้แกบริษัทที่ถือหุ้นได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล

ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล
ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล

ตามปกติแล้วบริษัทจะมีการจ่ายเงินปันผลเมื่อมีการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้วก็จะทำการจ่ายอัตโนมัติ ซึ่งเงินปันผลจะจ่ายเมื่อเกิดกำไรเท่านั้น หากไม่มีกำไรก็จ่ายไม่ได้นั้นเอง ทั้งนี้งวดไหนที่บริษัทดำเนินงานมีผลกำไรมากกว่าปกติ คณะกรรมการอาจเสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของบริษัทจำกัดได้เช่นกัน

ตัวอย่างประกาศจ่ายเงินปันผลบริษัทจำกัด

  1. 1.มีการจัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น
  2. 2.เรียกจัดประชุมผู้ถือหุ้น (เพื่อให้ที่ประชุมอนุมัติการจ่ายเงินปันผลอย่างเป็นทางการ)
  3. 3.ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล (ตามกฎหมายมาตรา 1204 ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้าให้มารับเงินปันผล)
  4. 4.ทำการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
  5. 5.บันทึกบัญชีจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล

หลักการบันทึกบัญชี ต้องมีการตั้งสํารองตามกฎหมาย

การตั้งสํารองตามกฎหมายเป็นหนึ่งในการจัดสรรกำไรสะสมตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยจะเป็นการแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสมที่ยังมิได้จัดสรรเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1202 การจ่ายเงินปันผลทุกครั้งจะต้องมีการตั้งสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ จนกว่าจะครบร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า

ตัวอย่าง วิธีการบันทึกบัญชีการตั้งสํารองต่าง ๆ

เดบิท กำไรสะสม xxx
เครดิต สำรองตามกฎหมาย xxx
สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ xxx
สำรองเพื่อขยายงาน xxx
การตั้งสำรองต่าง ๆ

การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า VAT) คือเป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้ารวมทั้งให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ หมายความรวมถึงทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้)

รูปแบบการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรรมสรรพากร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

ภาษีขาย (Output Tax) คือ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

ภาษีซื้อ (Input Tax) คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการธุรกิจตนเอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำการจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเข้าถือหุ้น

อย่าลืมว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ก่อนที่จะลงทุนนักลงทุนทั้งหลายทั้งนักลงทุนรายย่อยและบริษัทลงทุนควรคำนึงถือปัจจัยหลัก ๆ เพื่อช่วยประเมินสถานการณ์ได้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • ประเมินจากสภาวะตลาดหุ้นของไทยเป็นหลัก รวมถือสถานการณ์รอบด้านด้วยเช่นกัน แต่ส่วนนี้อาจจะต้องอาศัยการเรียนรู้และประสบการณ์ในการศึกษาสภาวะตลาดหุ้นสักระยะ ไม่ควรรีบร้อนจนเกินไป แล้วจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยรายละเอียดย่อย ๆ อะไรอีกบ้างที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
  • ประเมินอัตราส่วนการจ่ายหุ้นปันผลต่อจำนวนหุ้นเดิม ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นสามารถพิจารณาได้จากผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้นและราคาหุ้นของบริษัท (Price Dilution) ที่ผ่านมาได้ อาจจะเห็นได้ว่ากำไรลดลงจากจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
  • ควรประเมินอัตราการเติบโตของรายได้ รวมทั้งกำไรของบริษัทที่จะเข้าลงทุนในช่วงที่ผ่านมา
  • ควรประเมินจากความสามารถในการจ่ายหุ้นปันผลควบคู่กับความสามารถในการจ่ายเงินสดของบริษัทที่ผ่านมา ว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตามการศึกษาตารางหุ้นปันผลออนไลน์ก็เป็นการประเมินการจ่ายหุ้นปันผลได้เช่นกัน ซึ่งก็จะมีวิธีการดูอัตราสัดส่วนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตารางหุ้นปันผลจะใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนความหมายโดยส่วนใหญ่เพื่อให้ผู้ถือหุ้นรับรู้ได้อย่างสากล

สรุป

เมื่อผู้ถือหุ้นได้ตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว แน่นอนว่ามีความเป็นไปได้ทั้งสองทางว่าจะได้กำไร หรือไม่ก็ขาดทุน การลงทุนจึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีการ แนวทาง รวมทั้งพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ว่าผู้ถือหุ้นสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นไม่ควรหวังรวยจากการถือหุ้น 100% เพราะอย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน และการซื้อหุ้นไม่ใช่โชคช่วย แต่เป็นความสามารถควบคู่กับการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เพราะต้องดูทิศทางปัจจัยอะไรหลายต่อหลายอย่างผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อการตัดสินใจ และหากคุณเป็นมือใหม่ที่สนใจอยากลงทุน หรือมีความรู้ในเรื่องเงินปันผลหรือหุ้นไม่ว่าจะจากที่ไหนก็ควรเข้าไปศึกษาอย่างใจเย็นเสียก่อน อย่างไรก็ตามการแบ่งเงินไว้สำหรับออมเงินฉุกเฉินและแบ่งเพื่อลงทุนสักก้อนสำหรับลงทุนในหุ้นบริษัทเป็นเรื่องการใช้เงินอย่างชาญฉลาดอีกเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ ดังคำกล่าวที่ว่าให้เงินทำงานนั่นเอง