อาการคนท้อง

7 เดือน อาการคนท้องสัปดาห์เริ่มเมื่อไรแรกๆ?

Click to rate this post!
[Total: 216 Average: 5]

อาการคนท้อง

คนท้องมีอาการอย่างไร? เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและไม่แน่ใจว่าจะรู้ได้ไงว่าท้อง? วันนี้เราจึงรวบรวมสัญญาณที่อาจบ่งบอกถึงอาการตั้งครรภ์เพื่อให้ได้เช็คกันว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่

อาการคนท้อง
อาการของคนท้อง

การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่สร้างความเปลี่ยนแปลงกับผู้หญิงทางด้านร่างกาย โดยเมื่อไข่ตกและได้รับการปฏิสนธิแล้วก็จะเกิดเป็นตัวอ่อนและเติบโตขึ้น จึงเรียกว่าการตั้งครรภ์นั่นเอง ทั้งนี้ อาการคนท้องจะแตกต่างออกไปให้แต่ละบุคคลโดยจะไม่สามารถการันตีได้แบบ 100% ว่าจะเกิดสัญญาณเหล่านี้ชัวร์ ฉะนั้นเหล่าว่าที่คุณแม่จะต้องสังเกตอาการของตนเองว่ามีความปกติจากเดิมมากน้อยเพียงใดด้วยเช่นกัน

อาการคนท้องเริ่มแรก

อาการก่อนท้อง อาการก่อนตั้งครรภ์หรืออาการคนท้องระยะแรกจะเป็นช่วงที่สังเกตได้ยากเพราะเป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นใหม่ ๆ หมาด ๆ อาการแพ้ท้องระยะแรกก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกอาจจะมีอาการคนท้อง ดังนี้

ช่วงอาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์ ไปจนอาการคนท้อง1เดือน

  1. ประจำเดือนขาด หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเมนส์ไม่มา โดยจะสังเกตได้ง่าย เพราะหากคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนแต่จู่ ๆ เดือนนี้ขาดหายไปนานเกิน 10 วันก็อาจเกิดการจากตั้งครรภ์ได้ โดยประจำเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาที่มาแต่ละเดือนประมาณ 21-35 วัน และแต่บุคคลไป ซึ่งสาเหตุประจำเดือนเลื่อนหรือไม่มาก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนั้นจะต้องเช็คให้ดีก่อน
  2. ตกขาวมาผิดปกติ โดยจะมามากกว่าที่เคย เพราะฮอร์โมนร่างกายเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงจะมีตกขาวที่มีลักษณะเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นออกมามากจากช่องคลอดแต่ก็ไม่ใช่ภาวะที่อันตรายแต่อย่างใด ซึ่งก็ควรดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อย่าให้เหม็นอับจนเกิดเป็นเชื้อรา ทั้งนี้หากสีตกขาวปิดปกติ เช่น สีเขียว หรือสีเหลือง หรือคันช่องคลอดปกติก็อาจจะมาจากการติดเชื้อควรรับพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการ
  3. เริ่มตั้งครรภ์แต่มีเลือดไหล บางคนอาจจะมีเลือดซึมออกมาจากช่องคลอดแต่เลือกนั้นไม่ใช่ประจำเดือนแต่อย่างใด โบราณกล่าวว่าเป็น “เลือดล้างหน้าเด็ก” โดยจะมีสีคล้ำกว่าประจำเดือนและแห้งกว่า อาจจะมีสีตั้งแต่ชมพูไปจนถึงสีช็อกโกแลต ทำให้คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ถือเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัว โดยเลือดจะหยุดและหายไปเองประมาณ 1-2 วันเท่านั้นทั้งนี้ให้สังเกตอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้องมากกว่าปกติ เลือดไหลไม่หยุดปวดเกร็งเจ็บหน่วง ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
  4. เต้านมจะเปลี่ยนแปลง เป็นผลกระทบจากฮอร์โมน เนื่องจากรังไข่จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวนมมีสีดำ หัวนมดำเกิดจากการตั้งครรภ์ก็เป็นไปได้เช่นกัน หรือลานนมมีสีเข้มขึ้น ฐานเต้านมมีการขยายตัว และเจ็บตึงเต้านม หัวนมเริ่มขยายออกบ้าง อย่างไรก็ตาม ลักษณะของเต้านมมักจะเปลี่ยนแปลงกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกมากกว่า คุณแม่ที่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว
  5. ง่วงนอน เหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติ ทำให้ผู้หญิงหลายคนมักไม่สังเกตและอาจจะคิดว่า สาเหตุที่ง่วงและล้าเกิดขึ้นเพราะทำงานหนักเกินไปก็มี ทั้งนี้มักจะมีอาการเมื่อยตัว ปวดเนื้อตัวร่วมด้วย
  6. ปวดหลัง มักจะปวดหลังช่วงล่าง หรือมีอาการเป็นตะคริวรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นอาการปกติของผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยจะมีการปวดไปได้อีกหลายเดือน โดยสาเหตุมาจากการที่มดลูกขยายตัว ต้องรับน้ำหนักครรภ์ที่ใหญ่มากขึ้น การนอนของคนท้องจึงควรนอนตะแคงและใช้หมอนข้างวางขา ควรเลือกที่นอนให้พอดีไม่นุ่มหรือแข็งมากจนเกินไป แต่หากครรภ์ใหญ่แล้วมีอาการปวดหลังจนเกินไปและไม่สามารถทนได้ ควรไปพบแพทย์
  7. รู้สึกปัสสาวะถี่บ่อย ผู้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์อ่อนในช่วง 3 เดือนแรกอาจจะต้องลุกฉี่บ่อยมากหน่อยเพราะร่างกายมีการสร้างของเหลวในร่างกายมากเกินไปกว่าช่วงปกติ อีกทั้งมดลูกมีการขยายขนาดมากขึ้นจากการตั้งครรภ์ทำให้เลือดต้องไปหล่อเลี้ยงมดลูกเยอะ ส่งผลให้ไตทำงานหนักผิดปกติ ต้องมีการกรองเอาของเหลวที่ดูดซึมมาใช้มากและมีปัสสาวะมากขึ้น ช่วงกลางจะปัสสาวะถี่น้อยลง และไปจนถึงครรภ์แก่ใกล้จะคลอดที่ทารกมีการกลับหัวจะทำให้คุณแม่ก่อนคลอดมีการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นอีกครั้งคนท้อง
  8. อารมณ์หงุดหงิดง่ายและมีอารมณ์แปรปรวน ในช่วงนี้อาจจะต้องให้คุณพ่อมือใหม่เตรียมรีบมือ เนื่องจากอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากฮอร์โมน ซึ่งร่างกายของผู้หญิงจะต้องมีการเร่งปรับตัวอย่างหนัก การปรับสมดุลการทำงานร่างกายช่วงการตั้งครรภ์แรก ๆ นี้จึงมีความอ่อนไหวกว่าปกติ ควรหาอะไรทำเพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด
  9. มีสัมผัสที่ไวต่อกลิ่น อยู่ ๆ ก็เหม็นอาหารหรือเหม็นกลิ่นน้ำหอมที่ใช้หรือเคยได้กลิ่นเป็นประจำ อาการนี้เรียกว่า Super Smell ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีจมูกที่ไวต่อกลิ่นทุกชนิดมากเป็นพิเศษ
  10. อยากกินของเปรี้ยว/ของกินแปลก ๆ หากจู่ ๆ ก็รู้สึกอยากกินอะไรที่ไม่เคยกินมาก่อนก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การรับรู้รสของผู้หญิงตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางคนอยากกินของเปรี้ยวจัด ๆ หรือบางคนไม่อยากอาหารเลยก็มี
  11. ความต้องการทางเพศไม่เหมือนเดิม บางคนอาจจะมีความต้องการมากกว่าปกติหรือบางคนอาจจะไม่ต้องการเลยก็มี ทั้งนี้อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาส 2 ไปแล้ว เพราะฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์หลาย ๆ ทางรวมทั้งทางเรื่องเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ขณะที่ตั้งครรภ์อยู่ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับครรภ์ระยะแรก ไม่ควรใช้ความรุนแรงเป็นอันขาด
  12. ท้องผูกง่าย หรือท้องอืด เป็นผลข้างเคียงจากการที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหรือท้องเสียง่าย อาหารย่อยยากหรือย่อยได้ช้าลง รวมทั้งอาจจะมีอาการที่เกิดจากมดลูกมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นเบียดเข้ากับลำไส้ทำให้ลำไส้บีบตัวลดลงก็ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานอาหารให้เหมะสมด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าอาการคนท้องมีด้วยกันหลายสัญญาณ ในบางรายอาจจะเกิดได้หลายข้อตามที่กล่าวมา หรือบางรายอาจจะไม่พบความปกติได้น้อยเหลือเพียงไม่กี่ข้อ ดังนั้นความแตกต่างของสภาวะทางร่างกายของคุณแม่จะต้องดูแลเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของใครของมันให้ดี หากพบความปกติเกินจากนี้หรือมีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับร่างกายที่ไม่เหมือนเดิมควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ช่วยหาสาเหตุและวินิจฉัยออกมาจะดีที่สุด

อาหารคนท้อง

อาหารที่มีประโยชน์..แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง

ไม่ควรมีการอดอาหารเพราะร่างกายจะต้องเลี้ยงตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ และเนื่องจากคนตั้งครรภ์จะมีอาการท้องผูกและท้องอืดได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นควรเลือกอาการที่มีเส้นใยสูง เพราะอาหารจำพวกไฟเบอร์จะมีกากใยเยอะช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เช่น ผักใบเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้มีความหลากหลายเพื่อเสริมสร้างคุณประโยชน์อย่างครอบคลุม ควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และที่ขาดไม่ได้ คือ ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ให้เพียงพอ หลีกเลี้ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน คาเฟอีน นอกจากนี้จะต้องงดแอลกอฮอร์ เลือกนมสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ

น้ำหนักตั้งครรภ์.. ช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์จะมีเกณฑ์เหมาะสมอยู่ที่เท่าไร

เนื่องจากน้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักตัวของทารกให้ครรภ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงมีค่าแนะนำของ Institute of Medicine (IOM )ล่าสุด ซึ่งได้แนะนำเกณฑ์เหมาะสมของน้ำหนักมารดาที่ตั้งครรภ์เดี่ยวไว้ ดังนี้

  • BMI < 5kg/m2 (underweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 12.5-18 kg
    • (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.5-16 kg
    • (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week)
  • BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 7-11.5 kg
    • (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)
  • BMI ≥30kg/m2(obese) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 5-9 kg
    • (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week)

ทําไมถึงมีลูกยาก

หลายครอบครับที่มีความพร้อม ต้องการอยากท้องทําไงดี บางคนอาจจะเลือกใช้วิธีการนับวันตกไข่ โดยดูว่าอาการไข่ตกของตนเองเป็นอย่างไร แล้วไข่ตกอยู่ได้กี่วัน? แม้ว่ารอบเดือนของเราจะมาไม่ตรงวันเดียวกัน แต่วงจรหลังวันไข่ตกจะไม่เปลี่ยนแปลงไป คืออยู่ระหว่าง 10-16 วันของรอบเดือน และหากรู้วันที่ไข่ตกแน่นอนแล้วก็ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันไข่ตกและวันไข่ตกพอดี จะทำให้โอกาสตั้งครรภ์มีมากที่สุดนั้นเอง จะไม่มีอาการไข่ตกให้สังเกตเห็นแต่จะต้องอาศัยนับวันแทน นอกจากนี้สำหรับคู่รักที่พร้อมตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายให้ดี โดยจะต้องไม่เครียด พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ บำรุงร่างกายด้วยการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์อยู่เสมอ

ท้อง
ท้อง

หากนับวันไข่ตกแล้วไม่ติดสักที และหากต้องการมีบุตรควรไปตรวจร่างกายทั้งฝ่ายให้ดีเสียก่อน เพราะสาเหตุของการมีลูกยากมีได้หลายปัจจัย ซึ่งโดยปกติแล้วสาเหตุเกิดจากฝ่ายชาย 25% หรืออาจจะเกิดจากฝ่ายหญิงได้ 40% หรือมีโอกาสเกิดจากทั้งสองฝ่าย 20% ลักษณะนี้เรียกว่าการบุตรยากซึ่งผู้หญิงบางคนก็อาจจะมีอาการแท้งบุตรง่ายตามธรรมชาติได้อีกด้วย หรือรวมไปถึงสาเหตุที่ผู้ชายเป็นหมันด้วยเช่นกัน ทางแพทย์จะสามารถแบ่งภาวการณ์มีบุตรยากเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ปฐมภูมิ (Primary Infertility) คือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีบุตรยาก และยังไม่เคยผ่ายการมีบุตรมาก่อน
  2. ทุติยภูมิ (Secondary Infertility) คือ ผู้หญิงซึ่งเคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้วและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าและมีความทันสมัยอย่างมาก โอกาสที่จะช่วยให้การตั้งครรภ์ด้านเทคนิคจึงมีมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายควรเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาเรื่องการมีบุตรอย่างจริงจังเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเป็นไปได้สำหรับทั้งคู่