อักษรไทย

44 ตัว อักษรไทย มีกี่ภาษาวิวัฒนาการที่ไม่มีใครรู้?

Click to rate this post!
[Total: 226 Average: 5]

อักษรไทย

อักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ ,รูปสระ และรูปวรรณยุกต์ ซึ่งให้แทนเสียงพยัญชนะ ,เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตามลำดับ หากพูดถึงพยัญชนะไทยนั้นจะมีทั้งหมด 44 รูป 21 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้

อักษรไทย
อักษรไทย

พยัญชนะไทย 44 รูป 21 เสียง ดังนี้

  1. รูป ก ออกเสียง ก
    • ตัวอย่างเช่น กับ ,กา ,ไก่ ,กิน ,กลอง เป็นต้น
  2. รูป ค ออกเสียงคล้ายรูป ข ฃ ค ฅ ฆ
    • ตัวอย่างเช่น ขวด ,ขิง ,คิงคอง ,คิด ,ระฆัง เป็นต้น
  3. รูป ง ออกเสียง ง
    • ตัวอย่างเช่น งก ,งู ,งาน ,เงย เป็นต้น
  4. รูป จ ออกเสียง จ
    • ตัวอย่างเช่น จาน ,ใจ ,จาม ,จันทร์ เป็นต้น
  5. รูป ช ออกเสียงคล้ายรูป ช ฌ ฉ
    • ตัวอย่างเช่น ชาม ,ฌาน ,ฉิ่ง ,ฉาบ เป็นต้น
  6. รูป ซ ออกเสียงคล้ายรูป ซ ศ ษ ส
    • ตัวอย่างเช่น โซ่ ,โซเซ ,เศษ ,เสือ ,สาป ,ทศกัณฐ์ เป็นต้น
  7. รูป ด ออกเสียงคล้ายรูป ด ฎ
    • ตัวอย่างเช่น เด็ก ,ดูด ,กฎ ,ชฎา เป็นต้น
  8. รูป ต ออกเสียงคล้ายรูป ต ฏ
    • ตัวอย่างเช่น ตาม ,ไต ,ปฏิบัติ เป็นต้น
  9. รูป ท ออกเสียงคล้ายรูป ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
    • ตัวอย่างเช่น ทำ ,เธอ ,เฒ่า ,ถุง ,ฐาน เป็นต้น
  10. รูป น ออกเสียงคล้ายรูป น ณ
    • ตัวอย่างเช่น นาน ,นัยน์ตา ,ณรงค์ ,เณร เป็นต้น
  11. รูป บ ออกเสียง บ
    • ตัวอย่างเช่น บาน ,ใบ ,บันได เป็นต้น
  12. รูป ป ออกเสียง ป
    • ตัวอย่างเช่น ไป ,ปีน ,ป้า เป็นต้น
  13. รูป พ ออกเสียงคล้ายรูป พ ภ ผ
    • ตัวอย่างเช่น พบพาน ,ภรรยา ,ภัย ,ผึ้ง ,ไผ่ เป็นต้น
  14. รูป ฟ ออกเสียงคล้ายรูป ฟ ฝ
    • ตัวอย่างเช่น ไฟ ,ฟัน ,ไฝ่ฝัน เป็นต้น
  15. รูป ม ออกเสียง ม
    • ตัวอย่างเช่น ม้า ,มากมาย ,มุก ,เมฆ เป็นต้น
  16. รูป ร ออกเสียง ร
    • ตัวอย่างเช่น รอ, รัก ,เรี่ยไร เป็นต้น
  17. รูป ย ออกเสียงคล้ายรูป ย ญ
    • ตัวอย่างเช่น ยักษ์ ,ยาก ,ใหญ่ เป็นต้น
  18. รูป ล ออกเสียงคล้ายรูป ล ฬ
    • ตัวอย่างเชน เวลา ,ลักษณะ ,นาฬิกา เป็นต้น
  19. รูป ว ออกเสียง ว
    • ตัวอย่างเช่น วันวาน ,ไว ,วิ่ง เป็นต้น
  20. รูป ฮ ออกเสียงคล้ายรูป ฮ ห
    • ตัวอย่างเช่น นกฮูก ,เฮฮา ,หอ ,หัก เป็นต้น
  21. รูป อ ออกเสียง อ
    1. ตัวอย่างเช่น ไอ ,อวบ ,อ้วน เป็นต้น

ส่วนสระมีทั้งหมด 21 รูป 32 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้

21 รูป ประกอบด้วย

  1. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์ ตัวอย่างเช่น อะไร ,ละลาน ,ละลาย เป็นต้น
  2. อั เรียกว่า ไม้หันอากาศ ตัวอย่างเช่น คัน ,ปั่น ,วันจันทร์ เป็นต้น
  3. อ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้ ตัวอย่างเช่น เกร็ง ,เซ็ง ,เสร็จ เป็นต้น
  4. า เรียกว่า ลากข้าง ตัวอย่างเช่น ตา ,ยาย ,อา เป็นต้น
  5. อิ เรียกว่า พินท์ุอิ ตัวอย่างเช่น กิน ,พิง ,ปลิง เป็นต้น
  6. ่ เรียกว่า ฝนทอง ใช้กับชื่อเฉพาะหรือคำที่ต้องการเน้น ตัวอย่างเช่น ประโยคที่ว่า การนำพยัญชนะทางภาษาศาสตร์มารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เราเรียกว่า ‘การผสมคำ’ คำว่าผสมคำเป็นคำที่ต้องการเน้นจึงใส่ ‘ ฝนทองกำกับไว้
  7. อํ เรียกว่า นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง ไม่ค่อยพบเห็นในปัจจุบัน
  8. “ เรียกว่า ฟันหนู ใช้สำหรับต้องการเน้นคำพูด ตัวอย่างเช่น พ่อบอกว่า “แม่ออกไปธุระข้างนอก” ใช้ฟันหนูเพื่อกำกับประโยคที่เป็นคำพูด
  9. อุ เรียกว่า ตีนเหยียด ตัวอย่างเช่น ฟันผุ ,ทะลุ ,จุดพลุ เป็นต้น
  10. อู เรียกว่า ตีนคู้ ตัวอย่างเช่น ปู่ ,พูด ,บริบูรณ์ เป็นต้น
  11. เ เรียกว่า ไม้หน้า ตัวอย่างเช่น เคลม ,เกมส์ ,เปรมปรีดิ์ เป็นต้น
  12. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน ตัวอย่างเช่น ใจ ,ใช้ ,ใหญ่ เป็นต้น
  13. ไ เรียกว่า ไม้มลาย ตัวอย่างเช่น ไป ,ไกล ,กลไก เป็นต้น
  14. โ เรียกว่า ไม้โอ ตัวอย่างเช่น โม้ ,ขโมย ,โต เป็นต้น
  15. อ เรียกว่า ตัวออ ตัวอย่างเช่น รอย ,คอ ,กลอน เป็นต้น
  16. ย เรียกว่า ตัวยอ ตัวอย่างเช่น อยู่ อย่าง อยาก เป็นต้น
  17. ว เรียกว่า ตัววอ ตัวอย่างเช่น กวน ,อ้วน ,ท้วม เป็นต้น
  18. ฤ เรียกว่า ตัวรึ ตัวอย่างเช่น คฤหาสน์ ,พฤหัสบดี ,หฤทัย เป็นต้น
  19. ฤๅ เรียกว่า ตัวรือ ตัวอย่างเช่น ฤาษี เป็นต้น
  20. ฦ เรียกว่า ตัวลึ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  21. ฦๅ เรียกว่า ตัวลือ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

32 เสียง ประกอบด้วย

  1. อะ ตัวอย่างเช่น กะทะ ,ปะทะ ,ฝ้ากระ เป็นต้น
  2. อา ตัวอย่างเช่น การบ้าน ,บานปลาย ,จาม ,พา เป็นต้น
  3. อิ ตัวอย่างเช่น พระอินทร์ ,กิน ,ชิน ,ปิติ เป็นต้น
  4. อี ตัวอย่างเช่น ปีน ,ภาษาจีน ,ชีวิต ,มีดี ,ศรี เป็นต้น
  5. อึ ตัวอย่างเช่น ตึก ,กึ๋น ,บึกบึน เป็นต้น
  6. อือ ตัวอย่างเช่น คือ ,กิ้งกือ ,จือปาก ,กระบือ เป็นต้น
  7. อุ ตัวอย่างเช่น กินจุ ,ขรุขระ ,อุกกาบาต ,ดุดัน เป็นต้น
  8. อู ตัวอย่างเช่น ปู่ ,ประตู ,จูบ ,ชาบู เป็นต้น
  9. เอะ ตัวอย่างเช่น เละเทะ ,เกะกะ ,เอะอะ ,เตะ เป็นต้น
  10. เอ ตัวอย่างเช่น เกเร ,ทะเล ,โลเล ,เวหา เป็นต้น
  11. แอะ ตัวอย่างเช่น แคะ ,แทะ ,แกะ ,และ ,แพะ เป็นต้น
  12. แอ ตัวอย่างเช่น แม่ ,แอร์ ,ตุ๊กแก ,แบ ,แก เป็นต้น
  13. โอะ ตัวอย่างเช่น โป๊ะแตก ,โก๊ะตี๋ ,โละ ,โบะ เป็นต้น
  14. โอ ตัวอย่างเช่น โมโห ,โลเล ,โอ้โห ,โต ,โบว์ เป็นต้น
  15. เอาะ ตัวอย่างเช่น ทะเลาะ ,กะเทาะ ,เบาะ ,เกาะ ,เจาะ เป็นต้น
  16. ออ ตัวอย่างเช่น คลอง ,กลอง ,ฉลอง ,คอ ,ตอ ,งอ เป็นต้น
  17. เออะ ตัวอย่างเช่น เจอะ ,เลอะเทอะ ,เยอะ เป็นต้น
  18. เออ ตัวอย่างเช่น เธอ ,เบลอ ,เบอร์ ,เจอ ,ละเมอ เป็นต้น
  19. อัว ตัวอย่างเช่น กลัว ,มัว ,ผัว ,หัว ,วัว ,บัว ,ตัว เป็นต้น
  20. เอีย ตัวอย่างเช่น เมีย ,เพลีย ,เบียร์ ,เสีย ,เจีย ,เลีย เป็นต้น
  21. เอือ ตัวอย่างเช่น เกลือ ,เบื่อ ,เสือ ,เรือ ,มะเขือ ,จุนเจือเป็นต้น
  22. อัวะ ตัวอย่างเช่น ผัวะ ,ยัวะ ,จัวะ เป็นต้น
  23. เอียะ ตัวอย่างเช่น เกียะ ,เพียะ ,เดียะ เป็นต้น
  24. เอือะ ตัวอย่างเช่น เกือะ ,เขือะ ,เอือะ เป็นต้น
  25. อำ ตัวอย่างเช่น กำ ,ตำ ,ดำ ,รำ เป็นต้น
  26. ใอ ตัวอย่างเช่น ใบ ,ใส ,ใจ ,ใน เป็นต้น
  27. ไอ ตัวอย่างเช่น ไข ,ไป ,ไร ,ไอ เป็นต้น
  28. เอา ตัวอย่างเช่น เกา ,เรา , เสา ,เตา เป็นต้น
  29. ฤ ตัวอย่างเช่น ฤดี
  30. ฤๅ ตัวอย่างเช่น ฤๅษี
  31. ฦ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
  32. ฦๅ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว

และวรรณยุกต์มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง

  • เสียงสามัญ ไม่มีรูปมีแต่เสียง ตัวอย่างเช่นคำว่า อา
  • เสียงเอก เรียกว่า ไม้เอก ตัวอย่างเช่นคำว่า อ่า
  • เสียงโท เรียกว่า ไม้โท ตัวอย่างเช่นคำว่า อ้า
  • เสียงตรี เรียกว่า ไม้ตรี ตัวอย่างเช่นคำว่า อ๊า
  • เสียงจัตวา เรียกว่า ไม้จัตวา ตัวอย่างเช่นคำว่า อ๋า
อักษรไทย 44 ตัว
อักษรไทย 44 ตัว

ซึ่งลำดับการเรียงพยัญชนะจะเริ่มต้นด้วย พยัญชนะ กอไก่ เป็นตัวที่ 1 และพยัญชนะไทยตัวที่ 44 คือ ฮอนกฮูก ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงองค์ประกอบของอักษรไทยว่าจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัย อักษรไทยมีกี่ตัว หรือภาษาไทยมีกี่ตัว คำว่าอักษรไทยมีความหมายเดียวกันกับคำว่าพยัญชนะไทยหรือเปล่า วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันให้กระจ่าง

อักษรไทย
อักษรไทย

พยัญชนะไทยเป็นองค์ประกอบของอักษรไทย เพราะอักษรไทยประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พยัญชนะ ,สระ และวรรณยุกต์ ดังกล่าวข้างต้น โดยทั้ง 3 ส่วนทำหน้าที่ต่างกัน และเมื่อนำ 3 ส่วนนี้มาผสมเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นพยางค์ หลายๆ พยางค์จะเกิดเป็นคำ หลายๆ คำก็จะเกิดเป็นประโยคในที่สุด

หน้าที่ของพยัญชนะ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งวิธีการแยกส่วนนั้นไม่ใช่เป็นการเรียงvพยัญชนะและตัดทอนเป็นส่วนๆ แต่ใช้วิธีดูจากบริบทและหน้าที่ของพยัญชนะนั้นๆ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นพยัญชนะต้น 21 เสียง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

1.1 พยัญชนะต้นประสม หรือที่เรียกว่าพยัญชนะควบกล้ำแท้ เช่นคำว่า คลอง ,กลับ ,กลาง ,ตรัง เป็นต้น

1.2 พยัญชนะต้นเดี่ยว หรือที่เรียกว่าพยัญชนะไม่ควบกล้ำ หรือควบกล้ำไม่แท้ เช่นคำว่า บ้าน ,รัก ,ทราย ,ทราบ เป็นต้น

  1. เป็นพยัญชนะท้าย หรือที่เรียกว่าเป็นตัวสะกด ประกอบด้วย 8 เสียง ดังนี้ กก ,กง ,กด ,กบ ,กน ,กม ,เกย และเกอว ตัวอย่างเช่น ปัก ,แรง ,แปด ,กลับ ,นาน ,แต้ม ,เฉย ,เปรี้ยว ,เปลว เป็นต้น

ซึ่ง 8 ตัวสะกดนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 มาตรา คือ ตัวสะกดตรงมาตรา และตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

– ตัวสะกดตรงมาตรา ได้แก่ กง กม เกย เกอว เช่นคำว่า โรง ,สาม ,สวย ,เปรี้ยว เป็นต้น

– ตัวสะสดไม่ตรงมาตรา ได้แก่ กก กด กบ กน เช่นคำว่า โรค ,พิษ ,ภาพ ,บุญ เป็นต้น

หน้าที่ของสระ ประกอบด้วย 2 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. สระแท้ จะมีทั้งสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว

สระเสียงสั้น เช่น อะ อิ อุ อึ

ยกตัวอย่าง กะทะ ,ปิติ ,ดุ ,บึกบึน เป็นต้น

สระเสียงยาว เช่น อา อี อู อื

ยกตัวอย่าง ตา ,มีดี ,เชิดชู ,มือถือ เป็นต้น

  1. สระประสม เป็นการผสมกันระหว่างสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว เช่น อัวะ อัว ,เอียะ เอีย

ยกตัวอย่าง ผัวะ ,เพียะ ,เสีย ,เพลีย เป็นต้น

หน้าที่ของวรรณยุกต์ จะเสมือนเป็นเสียงในภาษาไทย หรือที่หลายๆ คนเรียกหน้าที่ของวรรณยุกต์ว่าเป็นเสียงดนตรี จะประกอบไปด้วย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง  ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

ตัวอักษรไทย
ตัวอักษรไทย
  • เสียงสามัญ เช่นคำว่า ปา
  • เสียงเอก เช่นคำว่า ป่า
  • เสียงโท เช่นคำว่า ป้า
  • เสียงตรี เช่นคำว่า ป๊า
  • เสียงจัตวา เช่นคำว่า ป๋า

สำหรับเสียงสามัญจะไม่ปรากฎรูป การใช้วรรณยุกต์ที่ต่างกัน ส่งผลให้การอ่านออกเสียงและความหมายของคำเปลี่ยนไป เช่นคำว่า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า แค่เปลี่ยนเครื่องหมายวรรณยุกต์ ทั้งการอ่านออกเสียงและความหมายของคำต่างกันโดยสิ้นเชิง

การเรียงลำดับตัวอักษรไทย จะเรียงตามรูปไม่ใช่เรียงตามเสียง เช่นคำว่า หนา อยู่หมวด ห ไม่ใช่ หมวด น ซึ่งสามารถนำตัวอักษรไปเทียบกับตารางพยัญชนะที่เรียง ก-ฮ เพื่อดูลำดับตัวอักษรไทย และอย่างที่อธิบายถึงอักษรไทยไว้ข้างต้นสามารถตอบคำถามที่ว่า “ตัวอักษรไทยมี่กี่ตัว” คำตอบคือ มีพยัญชนะ 44 ตัว ,สระ 21 ตัว และวรรณยุกต์ 4 ตัว

พยัญชนะไทย 44 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รูปพยัญชนะ และเสียงพยัญชนะ สามารถแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

– อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

ยกตัวอย่างคำเช่น ไข่ ,ฃ(ขวด) ,ฉิ่ง ,ฐาน ,ถุง ,ผึ้ง ,ฝา ,เศรษฐี ,สาป ,หาย เป็นต้น

– อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

ยกตัวอย่างคำเช่น ก่อ ,จำ ,ดุ ,ตาม ,บิน ,ไป ,อาบ เป็นต้น

– อักษรต่ำ มี 24 ตัว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อักษรต่ำคู่ และอักษรต่ำเดี่ยว

อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ

ยกตัวอย่างคำเช่น คัน ,ชัก ,พาน ,ภูมิ ,ธง เป็นต้น

อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว

ยกตัวอย่างคำเช่น งมงาย ,นา ,มา ,รัก ,ยักษ์ ,ลาน ,วันวาน เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของพยัญชนะไทย คืออะไร

๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ  พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้
๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่
แม่กน  มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น  ญ ณ ร ล
แม่กง   มี ง เป็นตัวสะกด
แม่กม   มี ม เป็นตัวสะกด
แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด
แม่กก   มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ
แม่กด   มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ
แม่กบ   มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ  ภ

เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น
/ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ                /ด/ บาท ชาติ  คาด กฎหมาย ปรากฏ
/บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ         /ง/ ทาง องค์
/น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ      /ม/ คำ ธรรม
/ย/ ได ใย ชัย อาย                          /ว/ เสา สาว
๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น
๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว
๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์
๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ
๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู  )
๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)
๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ

วิวัฒนาการของอักษรไทย ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น เพื่ออะไร

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมัน และทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้