อริยสัจ 4
อริยะสัจ 4 เกิดอยู่ในจิตของเราตลอดเวลในชั่วชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ต่างต้องเผชิญกับความทุกข์และความสุขที่ปะปนกันไป ไม่มีใครที่พบเจอแต่เฉพาะเรื่องเลวร้ายหรือมีแต่ความทุกข์แบบนี้ตลอดไป และในขณะเดียวกันก็ไม่มีผู้ใดที่ต้องประสบพบเจอแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา เพราะความทุกข์และความสุขเป็นของที่คู่กันเสมอ ๆ
เปรียบเสมือนสภาวะต่างขั้ว ของขั้วบวกและขั้วลบ ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ทุกคนจะตั้งรับมือกับสภาวะปัญหาที่กำลังเผชิญเกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ซึ่งตามหลักธรรมคำสั่งสอนของทางพระพุทธศาสนา ที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาเอก เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธที่มีอายุยืนยาวนาน จากคำสั่งสอนของหลักธรรม อริยสัจ 4 ที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนามาก่อน ปีพุทธศักราช 2,500 ปี เกี่ยวกับความหมาย เรื่องของหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อริยสัจ 4 สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก แต่ในบางครั้งแล้วสำหรับมนุษย์ปุถุชนทั่ว ๆไป เรื่องของการทำใจให้ยอมรับกับความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทำให้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยแล้ว สำหรับเรื่องของหลักอริยสัจนั้น
หลักอริยสัจ 4
หลักอริยสัจ 4 เป็นหนึ่งในบทพระธรรม “ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ” พระธรรมเทศนาที่มีคำสอนของทางเดินสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง หนทางดับทุกข์ หรือ มรรคมีองค์ 8 และ อริยสัจ4 ประกอบด้วย ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรคแม้ว่าหลักธรรมอริยสัจ 4 จะมีเพียงองค์ประกอบหลัก 4 ประการท่านั้น แต่สาระสำคัญของอริยสัจ 4 คือเป็นหลักธรรมที่ควรละ และหลักธรรมที่ควรรู้สามารถนำมาศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามในแนวทางของมรรคธรรมที่ควรเจริญ
ทั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และนำมาสั่งสอน เทศนา เผยแพร่ให้แก่พระสาวกและพุทธบริษัททั้ง 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา) เป็นหลักธรรมของความจริงอันประเสริฐ “อริยะสัจ 4” คือแนวทางของการดับทุกข์ การปฏิบัติตามหลักธรรมอริยสัจ4 อยู่เป็นประจำเสมอๆนั้น จะช่วยทำให้ รู้เข้าใจ เกิดสภาวะของการไตร่ตรองตามสถานการณ์จริงของหนทางดับทุกข์ได้
อริยสัจ 4 คือ
อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้ 1. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2 สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3.นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4. มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์
ทุกข์ คือ
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน และมีกระบวนการเกิดขึ้นได้อย่างไร
ขันธ์ 5 คือ องค์ประกอบของชีวิตมี 5 ประการ
รูป คือ ชีวิตและร่างกายทั้งหลายทุกส่วนประกอบของชีวติ รวมถึงพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกายด้วย เช่น ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นกายอันหนึ่งในกายทั้งหลาย ( ลมคือกาย กายคือลม ไม่ต้องการการพิจารณา )
สัญญา คือ ความนึกคิดสิ่งต่าง ๆ นอกจากกาย ( สมปฤดี ) ทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เมื่อมีความนึกคิด “ รูป ”จะดับ “ สัญญา “ จะเกิด ความรู้สึกนึกคิดให้เราจำว่ายัง จำอะไรได้ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้สัมผัสกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และนึกคิด
เวทนา คือ ความรู้สึก ที่เป็นทั้ง ความสุข ความทุกข์ หรือ ความรู้สึกที่อาจยังไม่รู้ว่า สุข หรือทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ โดยทั่ว ๆเป็นความรู้สึกทั่ว ๆ ไปที่จะทำให้เป็นเหตุ ต่าง ๆ เช่น นั้น ย่อนมีเพียง 3 ประการ คือ
- ความรู้สึกสุข หรือ ความพอใจอย่างหนึ่ง เรียกว่า สุขเวทนา เช่น การรับรู้ข่าวดี ๆ เกิดความสุข
- ความรู้สึกทุกข์ หรือความไม่พอใจอย่าง เรียกว่า ทุกข์เวทนา เช่น นั่งนาน ๆ เกิดความเมื้อย
- ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ พอใจ และไม่พอใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา เช่น การฟังข่าวที่ไม่เกี่ยวกับตัวเรา
สังขาร คือ ส่วนประกอบส่วนหนึ่งในนามธรรรม คือ ความคิด การคิด มีหลาย ๆ อย่างรวมกัน ทำให้เกิดเป็นผล อันใดอันหนึ่งขึ้น การที่จิตของคนเราคิดปรุงแต่งไปในทางที่ดีและในทางที่ไม่ดี ตัวอย่าง ความคิด คือ การคิดจะทำ คิดจะพูด อาจจะทำให้เกิดการกระทำที่ไม่ได้ หรือ การพูดไม่ได้ ก็ได้ ตามที่คิด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งทางดีและทางชั่ว หรือ เป็นแรงจูงใจหรือกระตุ้นผลักดันให้คนเราทำกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณ คือ สภาวะการรับรู้ทางอารมณ์ ความรู้แจ้ง ความรู้สึกโดยธรรมชาติมากระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ตา หมายถึง การมองเห็น เมื่อมีอะไรมากระทบทาง ตา ก็จะรับรู้ความรู้สึกทาง ตา เรียกว่า ” จักขุวิญญาณ “
- หู หมายถึง การได้ยินเสียง เมื่อมีอะไรมากระทบทาง หู ก็จะรับรู้ความรู้สึกทาง หู เรียกว่า ” โสตวิญญาณ “
- จมูก หมายถึง การรับรู้กลิ่น เมื่อมีอะไรมากระทบทาง จมูก ก็จะรับรู้ความรู้สึกทาง จมูก เรียกว่า ” ฆานวิญญาณ “
- ลิ้น หมายถึง การได้ลิ้มรส เมื่อมีอะไรมากระทบทาง ลิ้น ก็จะรับรู้ความรู้สึกทาง ลิ้น เรียกว่า ” ฆานวิญญาณ “
- กาย หมายถึง การได้สัมผัส เมื่อมีอะไรมากระทบทาง กาย ก็จะรับรู้ความรู้สึกทาง กาย เรียกว่า ” กายวิญญาณ “
- ใจ หมายถึง การนึกคิด เมื่อมีอะไรมากระทบทางใจ ก็จะรับรู้ความรู้สึกทางใจ เรียกว่า ” มโนวิญญาณ “
ตัวอย่าง วิญญาณ เช่น เมื่อหูเสีย เปรียบเสมือนไม่มี หู ( หูหนวก ) ก็จะไม่มีอะไรมากระทบความรู้สึกทางหู ข้อดีคือ ก็จะไม่เกิดทุกข์ทางโสตวิญญาณ เป็นต้น
ตา มองเห็นสิ่งที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจ | ตา มองเห็นสิ่งที่ดี เกิดความสุขทางใจ |
หู ได้ยินเสียงที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจ | หู ได้ยินเสียงที่ดี เกิดความสุขทางใจ |
จมูกได้กลิ่นที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจ | จมูกได้กลิ่นที่ดี เกิดความสุขทางใจ |
ลิ้น ได้ลิ้มรสที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจ | ลิ้น ได้ลิ้มรสที่ดี เกิดความสุขทางใจ |
กายได้สัมผัสสิ่งที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจและทางกาย | กายได้สัมผัสสิ่งที่ดี เกิดความสุขทางใจและทางกาย |
ใจได้นึกคิดถึงสิ่งที่ไม่ดี เกิดความทุกข์ทางใจ | ใจได้นึกคิดถึงสิ่งที่ดี เกิดความสุขทางใจ |
ทุกข์ ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ทุกข์ คือ ” ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, การประสบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นดั่งใจหวัง ” จากสิ่งที่มากระทบต่ออายตนะทั้ง 6 ประการ หรืออินทรีย์ของร่างกายทั้ง 6 อย่าง คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย,ใจ และความทุกข์เป็นผลของสมุทัย เป็น ธรรมที่ควรรู้
ฉะนั้น ความสุขและความทุกข์ของคนเรานั้นเกิดขึ้นที่กายและที่ใจ เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้นหรือมีพฤติกรรมเกิดขึ้น และเมื่อการกระทำนั้นผ่านไปแล้ว บางทีก็ทำให้เกิดความสุขและความทุกข์ได้เช่น จดจำการกระทำนั้นได้ และได้นึกคิดเกี่ยวกับการกระทำนั้น ทำให้เกิดความไม่พอใจ เกิดความแค้นใจ เกิดความโศกเศร้าใจ เป็นต้น นี่เรียกว่า ความทุกข์
สมุทัย
สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ 1. กามตัณหา 2 ภวตัณหา และ 3 วิภวตัณหา
- กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่ สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่า ปรารถนา น่าพอใจ
- ภวตัณหา ความทะยานอยากในความเป็น คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
- วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้ เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป
สมุทัย ตัวอย่าง สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
สมุทัย คือ ” สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้น ทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความทุกข์ จากสภาวะของตัวตัณหา ดังนั้นตัวสมุทัยธรรมที่ควรละ จะทำให้สู่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ-4 เป็นแนวทางเบื้องต้นของวิธีดับทุกข์ คือจะต้องประพฤติปฏิบัติตั้งใจทำปหานะ นั่นคือ การละ การขจัดตัวกิเลส การกำจัดตัณหา จากความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง สมุทัยเป็นเหตุของทุกข์ ต้องละปิดกั้นทางอบายและความอยาก จาก 3 ประการนี้คือ
- มีรสอร่อยๆต่อลิ้น, อยากได้กลิ่นในสิ่งที่มีความหอมละมุนต่อจมูก, อยากได้ฟังเสียงที่มีความไพเราะมากระทบต่อหู เป็นต้น
- ภวตัณหา คือ ความอยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น เช่น การอยากได้ยศได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงๆขึ้น, การอยากมีคู่ชีวิตที่ดีๆไม่เจ้าชู้นอกใจและรักเดียวใจเดียว, การอยากเป็นมหาเศรษฐีที่ได้รับเงินรางวัลพิเศษ เป็นต้น
- วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากได้ ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น เช่น การไม่อยากได้ทำงานวันหยุดเนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทน, การไม่อยากมีคู่ชีวิตที่เกียจคร้านในหน้าที่การทำงาน, การไม่อยากเป็นผู้ที่ถูกนายจ้างเลิกสัญญาจ้างออกจากการทำงาน เป็นต้น
นิโรธ คือ
นิโรธ คือ การดับทุกข์ หมายถึง การดับ หรือการละตัณหา 3 ประการ หลักธรรมที่นำไปสู่การดับทุกข์ นิโรธ 5 ดังนี้
- วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึง ปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
- ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
- สมุจเฉทนิโรธ ดัยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
- ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีกในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
- นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน
พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด แบ่งได้ดังนี้ 2 อย่าง คือ สามิสสุข และ นิรามิสสุข
สามิสสุข คือ ความสุขทางกายที่เกิดจากวัตถุภายนอก เรียกว่า กามสุข คือความสุขที่เกิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ทำให้เกิดความพอใจ เป็นความสุขของคนทั่วไป ที่เกิดจากการกระทำความดีในด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่
- ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ เรียกว่า อัตถิสุข
- ความสุขที่เกิดการใช้จ่ายทรัพย์ เรียกว่า โภคสุข
- ความสุขที่เกิดจากการไม่มีหนี้สิน เรียกว่า อนณสุข
- ความสุขที่เกิดจากการประพฤติในสิ่งที่สุจริต เรียกว่า อนวัชชสุข
นิรามิสสุข คือ ความสุขที่ไม่อิงอาศัยวัตถุภายนอก เรียกว่า ความสุขทางใจ ความสุขประเภทนี้
มีตั้งแต่ขั้นต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด คือ นิพพาน
- นิรามิสสุข ขั้นต่ำ คือ การได้รับอบอุ่นจากพ่อแม่ ความไม่มีศัตรู ไม่มีผู้เกลียดชัง มีผู้ให้ความรักใคร่ นับถือ ยกย่องสรรเสริญ ไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่มีความวิตกกังวล ไม่หวาดระแวง ไม่คิดฟุ้งซ่าน
- นิรามิสสุขขั้นกลาง คือ ความอิ่มใจที่ได้เสียสละ การมีจิตใจที่สงบ
- นิรามิสสุขขั้นสูงสุด คือ นิพพาน
นิโรธ คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
นิโรธ คือ ” การพ้นจากความทุกข์ การดับจากความทุกข์ ” การขจัดซึ่งตัวกิเลส หรือการละจากตัวตัณหาทั้ง 3 ประการที่มีอยู่ในสมุทัยออกไปได้สำเร็จ ซึ่งนิโรธคือผลของมรรค และเป็นหลักธรรมสำหรับการบรรลุนั้นเอง
มรรค คือ
มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ได้แก่ 1.บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา 2.อริยมรรคมีองค์ 8 3.สติปัฏฐาน 4.ดรุณธรรม 6 5. กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 6.กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 7.มงคล 38
บุพพนิมิต แปลว่า สิ่งที่เป็นเครื่องหมายให้รู้ หมายถึง สิ่งที่บ่งบอกล่วงหน้าก่อนที่อริยมรรคมีองค์ 8
จะเกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติ บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา มี 7 ประการ
- การมีกัลยาณมิตร คือ การมีเพื่อนที่ดีที่แนะนำประโยชน์ เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
- ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ การมีวินัย มีระเบียบในชีวิตของตนและการอยู่ร่วมกันในสังคม เรียกว่า สีลสัมปทา
- ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ คือ ความพอใจใฝ่รักในปัญญา ในจริยธรรม ใฝ่รู้ในความจริงและใฝ่ในความดี เรียกว่า ฉันทสัมปทา
- ความถึงพร้อมด้วยการที่จะฝึกฝนพัฒนาตน คือ การรู้จักฝึกฝนพัฒนาตน เรียกว่าอัตตสัมปทา
- ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ การยึดถือ เชื่อถือในหลักการและมีความเห็นความเข้าใจพื้นฐานที่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเหตุผล เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา
- ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท คือ มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เห็นคุณค่าของกาลเวลา เห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้เร่งรัดการค้นหาให้เข้าถึงความจริงหรือในการทำชีวิตที่ดีงามให้สำเร็จ เรียกว่า อัปปมาทสัมปทา
- การรู้จักใช้ความคิดที่ถูกวิธี คิดเป็น คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดพิจารณา เพื่อนำมาใช้พัฒนาตนให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
อริยมรรคมีองค์ 8 แปลว่า ทางอันประเสริฐทางนั้นมีทางเดียวแต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งดังต่อไปนี้
- สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ หมายถึงการรู้การเห็นอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง คือรู้ว่า ทุกข์ได้แก่อะไรบ้าง และเป็นทุกข์อย่างไรรู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์และตัณหานั้นควรละเสียรู้ว่าทุกข์จะดับไปเพราะว่าดับตัณหาและรู้ว่าอริยมรรคเป็นทางให้ดับตัณหาได้
- สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หรืความคิดชอบ คือ มีความคิดออกจากกาม ไม่หลงใหลกับรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส มีความคิดที่ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และมีความคิดที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- สัมมาวาจา การพูดชอบ ได้แก่ การเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ การพูดยุยงให้เขาแตกกัน การเว้นจากการพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ หรือการพูดไร้สาระ
- สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการลักทรัพย์ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการเว้นจากการกิจกรรมทางเพศ
- สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นมิจฉาชีพที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
- สัมมาวายามะ ความพยายามชอบหรือความเพียรชอบ
- สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
- การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
- การตั้ง สติกำหนดพิจาณาเวทนา
- การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
- การตั้งสติพิจารณาธรรม
- (สัมมาสมาธิ) ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย
- ปฐมฌาน
- ทุติยฌาน
- ตติยฌาน
- จตุตถฌาน
สติปัฏฐาน 4 หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆให้รู้เท่าทัน ทำให้มีสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ และทำให้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต แบ่งออกเป็น 4 ประการ
- กายานุปัสสนา หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย เพื่อให้รู้เท่าทันและเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายนี้ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่ใช่ของเรา เราบังคับไม่ได้ ต้องมีแก่ เจ็บ ตาย ไปตามกาลเวลา
- เวทนานุปัสสนา หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ ความสุข ความทุกข์หรือความเฉยๆ ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งอย่างรู้เท่าทันว่ามันเป็นอย่างไร
- จิตตานุปัสสนา หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต เพื่อให้รู้เท่าทันถึงสภาพหรืออาการของจิตว่า จิตใจขณะนั้นเป็นอย่างไร มีความขุ่นมัว หอหู่ ฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือขยัน
- ธัมมานุปัสสนา หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นกับใจ ว่าเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยอะไรบ้าง และจะดับไปด้วยวิธีใด
ดรุณธรรม 6 หมายถึง ธรรมที่เป็นหนทางแห่งความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต มี 6 ประการ
- รักษาสุขภาพดีมิให้มีโรคทั้งจิตและกาย เพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นอุปสรรคที่คอยขัดขวางไม่ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงต้องหมั่นบริหารกายให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และบริหารจิตให้มีสุขภาพจิตที่ดี เรียกว่า อโรคยะ
- มีระเบียบวินัย ไม่ก่อเวรภัยแก่ผู้อื่นและสังคม รู้จักให้อภัย ไม่อาฆาตพยาบาท เรียกว่า ศีล
- ได้คนดีเป็นแบบอย่าง คือ คนมีปัญญา มีคุณธรรม (บัณฑิตหรือสัตบุรุษ)และยึดถือปฏิบัติตามจะช่วยสนับสนุนเกื้อกูลให้การดำเนินชีวิตเจริญก้าวหน้า เรียกว่า พุทธานุมัติ
- ตั้งใจเรียนรู้ให้จริง โดยการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ให้มาก ให้เชี่ยวชาญ เรียกว่า สุตะ
- ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยการดำรงมั่นอยู่ในสุจริต เรียกว่า ธรรมานุวัติ
- มีความขยันหมั่นเพียร การมีกำลังไม่ท้อถอย ไม่ท้อแท้เฉื่อยชา เรียกว่า วิริยะ
กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับรักษาวงศ์ตระกูลให้ดำรงอยู่ได้นาน มี 4 ประการ
- การแสวงหาพัสดุที่หายไป หมายถึง สิ่งของที่จำเป็นในครอบครัว เช่น ปัจจัย 4 เมื่อหายไปหรือหมดไป จะต้องช่วยกันจัดหามาทดแทนสิ่งที่หายหรือหมดไป
- การบูรณะซ่อมแซมพัสดุที่เก่าชำรุด หมายถึง สิ่งของที่จำเป็นเมื่อเกิดชำรุดเสียหายจะต้องรู้จักซ่อมแซมให้ใช้การได้ เช่น ที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆภายในบ้าน เป็นต้น
- การรู้จักประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การรู้จักประหยัด รู้จักกินรู้จักใช้ ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะของตนเอง ไม่ก่อหนี้สินให้กับครอบครัว
- การตั้งคนมีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน หมายถึง การมีหัวหน้าครอบครัวที่เป็นคนดีมีศีลธรรม ประกอบอาชีพสุจริต มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน ก็สามารถสืบทอดต่อวงศ์ตระกูลให้เจริญยั่งยืนต่อไปได้
กุศลกรรมบถ 10 หมายถึง ทางแห่งการทำความดี หรือกรรมดีที่ควรประพฤติปฏิบัติ มี 3 ทาง
- ทางกาย เรียกว่า กายกรรม มี 3 อย่าง
- เว้นจากการฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์โดยวิธีการต่างๆ
- เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้โดยวิธีการต่างๆ
- เว้นจากประพฤติผิดในสามี ภรรยา บุตร ธิดาของผู้อื่น ต้องรู้จักเคารพสิทธิของกันและกัน
- ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม มี 4 ประการ
- เว้นจากการพูดเท็จ คือ การพูดในสิ่งที่เป็นจริง
- เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ การพูดที่ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ให้คนเห็น
- อกเห็นใจกันและกัน
- เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ การพูดที่สุภาพ ไพเราะนุ่มนวลต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ การพูดมีสาระประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม มี 3 ประการ
- ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือ การไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต
- ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ การไม่ผูกใจเจ็บ ไม่จองเวร ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น
- ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือ การมีความเห็นถูกต้องตามเหตุตามผล เช่น เห็นว่ามารเป็นผู้มีพระคุณจริง กฎแห่งกรรมมีจริง เป็นต้น
มงคล 38 มงคล คือ สิ่งที่ทำให้ชีวิตโชคดี หมายถึง ธรรมที่นำความสุขและความเจริญมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ มีดังนี้
การประพฤติธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดีงาม เพื่อความสงบสุขและความเจริญของคนในสังคม ได้แก่
เบญจธรรม 5
- เมตตากรุณา คือ การมีความรักใคร่เพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือเท่าที่ตนทำได้
- สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพที่สุจริต
- กามสังวร คือ การยินดีเฉพาะในคู่ครองของตน
- สัจจะ คือ การพูดแต่ความจริง
- สติสัมปชัญญะ คือ การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
เบญจศีล 5
- เว้นจากการทำลายชีวิตสัตว์
- เว้นจากการลักทรัพย์โดยวิธีการต่างๆ
- เว้นจากการประพฤติผิดในสามี ภรรยา บุตร ธิดาของผู้อื่น
- เว้นจากการพูดเท็จ
- เว้นจากาการน้ำเมาและสิ่งเสพติดทั้งหลาย
การงดเว้นจากความชั่ว หมายถึง การไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองเดือดร้อน มีผลเป็นทุกข์ทั้งทางกาย วาจาและใจ โดยอกุศลกรรมบถ 10 ต้นตอแห่งความชั่ว เรียกว่าอกุศลมูล มี 3 ประการ
- โลภะ คือ ความอยากได้โดยมิชอบ หรือความอยากได้เกินพอดี เรียกว่า ความโลภ
- โทสะ คือ ความโกรธแค้น พยาบาท อิจฉาริษยา คิดแต่อยากให้ผู้อื่นประสบเคราะห์กรรมประสบความหายนะ เรียกว่า ความโกรธ
- โมหะ คือ ความไม่รู้เหตุรู้ผล ขาดปัญญาในการพิจารณา เรียกว่า ความหลง
เว้นจากการดื่มน้ำเมา หมายถึง การไม่เข้าไปข้องแวะหรือไม่หวนกลับไปหาสุราและของมึนเมา สิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม เพราะ
- ทำให้เสียทรัพย์
- ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง
- ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท
- ทำให้ขาดความละอาย
- ทำให้เสียชื่อเสียง
- ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอยลง
การดื่มน้ำเมานั้นทำให้เกิดความสุขได้บ้างสำหรับคนที่ติดแต่เป็นความสุขหลอกๆ บนความทุกข์ น้ำเมาทำให้เพลิดเพลินได้ แต่เป็นการเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า ดังนั้นจึงไม่ควรแก้ปัญหาใดๆด้วยน้ำเมา เพราะเมื่อดื่มน้ำเมาแล้วจะให้ขาดสติ ขาดความยั้งคิด เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การทำความชั่ว
มรรค คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
มรรค คือ ” วิธีพ้นทุกข์ วิธีการดับทุกข์ หนทางของการดับทุกข์ ” มรรคในอริยสัจ4 คือเป็นสาเหตุของนิโรธ เป็นหลักธรรมที่ควรเจริญตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับมรรค มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์แปด เนื่องจากมรรคมีองค์ประกอบด้วยของ มรรค ๘ ประการ ด้วยกัน ที่เป็นเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ มีศีล มีสมาธิ และมีปัญญา
มรรค 8 คือ
มรรคมีองค์8 อยู่ในหลักธรรม “ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ” คือ ทางสายกลาง บนเส้นทางของมนุษย์ทุกชีวิต การเกิดความเสียใจ การสูญเสีย การจากลา การไม่เป็นไปตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ สิ่งเหล่านี้คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งสิ้นการเข้าใจมรรคมีองค์แปด คือ การเข้าใจหนทางสู่การพ้นทุกข์ หรือวิธีดับทุกข์ นั้นเอง
ทางสายกลางที่ปรากฏในข้อคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นคือ “มรรคมีองค์ 8” หรือ “อัฏฐังคิกมรรค” อันประกอบด้วย
- สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง
- สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดถูกต้อง
- สัมมาวาจา คือ มีการใช้วาจา คำพูดอย่างถูกต้อง
- สัมมากัมมันตะ คือ มีการแสดงออกทางกายอย่างถูกต้อง
- สัมมาอาชีวะ คือ มีการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง
- สัมมาวายามะ คือ มีความเพียรพยายามที่ถูกต้อง
- สัมมาสติ คือ มีสติรอบคอบ มีสติที่ถูกต้อง
- สัมมาสมาธิ คือ มีสมาธิ จิตตั้งมั่นอย่างถูกต้อง
อริยสัจ คือ หลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงเป็นอมตะ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์นั้น การที่คนเรามีความทุกข์เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำแบบสม่ำเสมอ ๆ ต้องหาต้นเหตุแห่งความทุกข์ หรือที่มาของความทุกข์นั้นๆที่ได้เข้ามากระทบจิตใจ เพื่อนำไปสู่หนทางหรือแนวทางของการดับทุกข์ ที่เรียกกันว่า มรรคมีองค์ 8
สรุป อริยสัจ 4
สรุป อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นหลักเกี่ยวกับความจริงอันประเสริฐที่นำไปสู่การดับทุกข์ประกอบไปด้วยความจริง 4 ประการตามชื่อของหลักธรรม คือ 1 ทุกข์ 2 สมุทัย 3 นิโรธและ 4มรรค โดย
1.ทุกข์ก็คือความไม่สบายกายไม่สบายใจความโศกเศร้าเป็นภาวะที่จะต้องกำหนดรู้เราจึงต้องรู้ความทุกข์ของเราว่าเราไม่สบายใจเรื่องอะไร
2 สมุทัยคือธรรมที่ควรละมีความหมายว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ได้แก่ปัญหาซึ่งมีอยู่ 3 ประการคือ
- 1กามตัณหา คือ ความอยากได้อยากมี
- 2 ภาวตัณญหา คือ ความอยากเป็น
- 3 วิภาวตัณหา คือ ความไม่อยากเป็นเป็นสภาวะที่ต้องรักเพราะว่ายิ่งทำมันก็ยิ่งทุกข์
3 นิโรธคือการดับทุกข์ คือสภาวะที่ความทุกข์ให้หมดสิ้นไปแล้วเกิดจากการปฏิบัติตามมรรค 8 ประการเป็นสภาวะที่ต้องบรรลุคือธรรมที่ควรบรรลุ
4.มาร์ค คือข้อปฏิบัติหรือแนวทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ซึ่งมีอยู่ 8 ประการเป็นสภาวะที่ต้องเจริญหรือทำให้มีขึ้นมาก็คือเป็นหลักธรรมที่เราควรเจริญ
มีปัญญา หลักธรรมที่สามารถช่วยยุติถอนจากกิเลสและตัณหาได้ คือ
- มิจฉาทิฏฐิ เช่น มีความเชื่อในคติธรรมที่ว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี และผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว”
- สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ” การดำริชอบ การมีความตั้งใจทำในสิ่งที่ดีงาม ” การทำในสิ่งที่ชอบธรรม การคิดไปในทางสุจริต เช่น การตั้งใจทำงาน ทำในสิ่งที่ชอบคือการไม่ไปทำงานสายและไม่เลิกทำงานก่อนเวลา และมีความเลื่อมใสศรัทธาในการทำความดีอยู่เสมอ
มีศีล หลักธรรมที่สามารถช่วยข่มจิตใจจากสภาวะของกิเลสได้ คือ
- มมาวาจา หมายถึง ” การเจรจาในการชอบ การกล่าวคำจริงในทางสุจริต ” หลีกเลี่ยงหรือละเว้นต่อถ้อยคำอันเป็นอกุศลทางวจีทุจริต เช่น คำหยาบคาย, คำส่อเสียด, คำเพ้อเจ้อ, คำโกหก เปลี่ยนเป็นการเลือกใช้วาจาถ้อยคำที่ไม่มีโทษทั้งต่อตัวของผู้พูดและต่อตัวของผู้รับฟัง ควรเป็นวาจาที่อ่อนหวาน, เป็นวาจาที่มีจิตเมตตาเมื่อได้กล่าววาจาถ้อยคำนั้นออกไปแล้ว จะต้องทำให้เกิดเป็นประโยชน์, เป็นวาจาที่กล่าวแล้วถูกกาลเทศะ, และเป็นวาจาที่เป็นความจริงไม่เสริมหรือปรุงแต่งถ้อยคำเรื่องราว จนทำให้ผู้รับฟังเกิดการตีความที่มีในลักษณะเป็นไปในทิศทางที่ผิดเพี้ยนได้
- สัมมากัมมันตะ หมายถึง ” การละเว้นจาก กายกรรมทางกาย 3 ประการ ” คือการไม่ฆ่าสัตว์, การไม่ลักทรัพย์, และการไม่ประพฤติผิดในกาม ซึ่งอยู่ในศีลข้อที่ 1 – ศีลข้อที่ 3
- สัมมาอาชีวะ หมายถึง ” การประกอบสัมมาอาชีพในทางที่ชอบ อาชีพที่เป็นไปในทางสุจริต “และการทำมาหากินเลี้ยงอาชีพในทางที่ชอบธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ประกอบสัมมาอาชีพที่ผิดต่อศีลธรรม แม้ว่าจะเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีก็ตามและการทำงานไม่เหน็ดเหนื่อย เช่น การค้าขายยาเสพติด เป็นต้น
- สัมมาวายามะ หมายถึง ” ความเพียรความพยายามชอบ การตั้งใจในการบำเพ็ญเพียรต่อการสร้างความดี ” การทำจิตใจให้มั่นคง ไม่พยายามมัวเมาลุ่มหลงไปในสิ่งที่ชั่วหรือสิ่งที่ไม่ดี เช่น การคบเพื่อนพากันไปทางผิด, การยกพวกต่างสถาบันตีกัน เป็นต้น
มีสมาธิ หลักธรรมช่วยละกิเลสขจัดตัณหาได้ คือ
- สัมมาสติ หมายถึง ” การมีสติในการระลึกชอบ การกระทำทุกสิ่งด้วยจิตสำนึกเสมอ ” ไม่เผลอพลาดทำ คิดและไตร่ตรองให้รอบครอบก่อนลงมือปฏิบัติ หรือการกระทำตามอารมณ์ด้วยความพึงพอใจของตนเอง เมื่อได้ทำแล้วเกิดความสะใจที่ได้ทำลงไป เป็นสิ่งที่สามารถเกิดความผิดพลาดได้อย่างง่ายๆ เพราะเกิดจากการทำอะไรด้วยอาการขาดสติยับยั้งชั่งใจ ทำตามใจตนเองเพียงแค่อารมณ์เพียงชั่ววูบ สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อครอบครัวและต่อสังคมได้อย่างมากมาย เพราะทุกคนที่ทำทุกอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยสติแล้ว จะทำให้ “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเกิดปัญหา”
- สัมมาสมาธิ หมายถึง ” การควบคุมจิตให้มีความแน่วแน่ มีจิตที่มั่นคง การมีจิตที่ตั้งมั่นชอบ ” ไม่เกิดความฟุ้งซ่านต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้อย่างง่ายๆ จนทำให้แสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจที่ไม่เหมาะสมออกไปได้อย่างง่ายได้ ต้องใช้สมาธิเป็นตัวช่วยในการป้องกัน ต้านทานต่อสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์เพ้อเจ้อ ความมัวเมา และความเผลอฝันในเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือเหตุการณ์ที่ยังคงมาไม่ถึง
- มั่นทำทานก่อนรับประทานอาหาร คือการใส่บาตรหรือการบริจาคในทุกๆวัน สละทรัพย์หรือสิ่งของเพียงเล็กๆน้อยเพื่อการละความตระหนี่ที่มีอยู่ในจิตใจ หรือการให้ความรู้เป็นทาน ด้วยการอธิบาย การบรรยาย ตลอดจนการช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ความสามารถที่จะทำได้และต้องไม่ทำให้ตนเองเป็นผู้ที่มีความเดือนร้อน
- รักษาศีล หลีกเลี่ยงการทำบาปหรือสิ่งที่เป็นอกุศลกรรมทางด้านกายกรรม ทางด้านวจีกรรม และทางด้านมโนกรรม การตั้งใจมั่นในการถือศีลให้ครบทั้ง 5 ข้อ ไม่กระทำความชั่วทั้งเจตนาและไม่เจตนา มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นทางแห่งความเสื่อม ที่จะเข้ามามีผลและมีอิทธิพลต่อการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ
- การฝึกสติและการก่อให้เกิดปัญญา จากการเจริญภาวนา เป็นการสร้างความดี มีจิตใจที่แน่วแน่ในการดำเนินชีวิต และทำให้สามารถเกิดปัญญาในการหาทางออกของปัญหาตามแนวทางอริยสัจ-4 เมื่อพบกับสถานการณ์ที่วิกฤตหรือเลวร้าย เข้าใจในหลักของเหตุและหลักของผลมากยิ่งขึ้น เป็นการป้องการและปิดกันทางอบายมุข อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมของชีวิตได้
อริยสัจ-4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักธรรม ที่ว่าด้วยความจริงมีเหตุและผลเป็นเครื่องรองรับ เป็นธรรมะที่ ช่วยข่มจิตใจ ละกิเลสกำจัดตัณหา และสามารถยุติถอนกิเลสตัณหาได้อย่างแยบคาย หลักธรรมนี้เป็นสัจธรรมที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาตลอด สามารถนำมาใช้ประยุกต์ได้กับทุกๆเหตุการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนหนึ่งเป็นการช่วยทำให้ปุถุชนได้มีความเข้าใจถึงความทุกข์ที่เข้ามากระทบและความสุขที่เดินทางเข้ามาทักทายในชีวิตได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ในหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ธรรมะที่ล้วนเป็นความจริงทั้ง 4 ประการ
การปฏิบัติตามไตรสิกขา 3 ของธรรมะหลักธรรมแห่งการพ้นจากความทุกข์ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ที่จัดประเภทและสรุปจากที่มาตามแนวทางขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือ อริยมรรค 8 ประการ สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่กระทำผิดพลาด และเป็นเครื่องคอยเตือนสติ ปรับแต่งจิตใจไม่ให้ตกล่วงไปในทางที่ไม่ดี
เพราะตามธรรมดาของสรรพสิ่ง ย่อมถูกชักจูงให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ง่ายดายกว่า เนื่องจากไม่ต้องอาศัยความพยายามหรือความมุ่งมั่นในการทำ แต่การทำความดีเป็นเสมือนสิ่งที่ต้องใช้เวลา ใช้ความตั้งใจ ในบ้างครั้งต้องรู้สึกถึงการฝืนในตัวเอง ฝืนความรู้สึก หรือเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะทำไปแล้วอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือยังไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ แต่สำหรับคำสั่งสอนของอริยสัจ-4 คือหลักจริงแท้แน่นอน ไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคหรือกี่สมัยแล้วก็ตาม หลักธรรมที่เป็นดุจดั่งเพชรแท้ก็ยังคงทนถาวรในความเป็นเพชรแท้ตลอดไป
ข้อสรุปอริยสัจ 4 ข้อควร ปฏิบัติ ที่พอดีของทางสายกลาง
คือเป็นข้อควรประพฤติและปฏิบัติที่พอดีของทางสายกลางไม่หย่อนหรือหนักมากจนเกินไป ซึ่งสามารถที่จะเป็นวิธีการนำไปสู่เส้นทางของความหลุดพ้นได้ เป็นการตัดพบตัดชาติของการเกิดในวงจรเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร นั่นคือการที่ไม่มีทางกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ในที่สุด แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนที่นับถือศาสนาพุทธแล้ว เพียงการนำหลักธรรมในกรอบอริยสัจ-4 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของการทำงาน ของการใช้ชีวิตในทุกๆวันที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ และของการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตลอดจนการเร่งสร้างทำความเพียรในการทำความดีไม่กระทำความชั่วตามแนวทางของมรรคแปด สะสมกุศลกรรมธรรมอันดี ด้านทาน ด้านศีล และด้านการเจริญภาวนา
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 18 พฤษภาคม 2022