ห้างหุ้นส่วน

7 ห้างหุ้นส่วนจํากัด | ข้อดีเสียมีตัวอย่างชี้ข้อบกพร่อง?

Click to rate this post!
[Total: 234 Average: 5]

ห้างหุ้นส่วน

กิจการห้างหุ้นส่วน

กิจการห้างหุ้นส่วน คือ (partnership) เป็นกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเพื่อกระทำการร่วมกัน มักเป็นกิจการที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง โดยมีสัญญาตกลงร่วมกันเป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าเพื่อหวังผลกำไร (ขาดทุน) โดยมีการกำหนดอัตราการแบ่งผลประโยชน์ไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้

กิจการห้างหุ้นส่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจํากัด
ห้างหุ้นส่วนจํากัด

หมายเหตุ : ห้างหุ้นส่วน  ตามมาตรา  1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า”อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น”

ประเภทของธุรกิจห้างหุ้นส่วน

1. ห้างหุ้นส่วนจํากัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Partnership Limited ) คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ที่ประประกอบด้วยผู้ที่เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ 1) หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด และ 2) หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว เมื่อกิจการดำเนินงานก้าวหน้าขึ้น ต้องการเงินทุนและการจัดการเพิ่มขึ้น จึงต้องหาบุคคลที่ไว้วางใจได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนร่วมดำเนินงาน ทำให้กิจการมีขนาดใหญ่ขึ้นการบริหารงานมีประสิทธิภาพมีสูงกว่าเดิม

ความรับผิดชอบ
  • หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วน หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่ารับผิดเพียงไม่เกินจำนวนที่ตนรับลงทุนในห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีสิทธิเพียงออกความเห็น รับเป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น จะเป็นแรงงานไม่ได้ หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่ารับผิดเพียงไม่เกินจำนวนที่ตนรับลงทุนในห้างหุ้นส่วน
  • หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เป็นหุ้นส่วนประเภทที่รับผิดรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่ารับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะลงทุนมากหรือน้อย กฎหมายระบุว่าต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนและทุนที่นำมาลงทุนเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ( Ordinary partnership ) คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียน หรือไม่ก็ได้
จึงแบ่งห้างหุ้นส่วนสามัญ ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน 
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

ความรับผิดชอบ
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้คำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ชัดเจน ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และทำนิติกรรมต่าง ๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน กฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้

ข้อดี ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจํากัด มีข้อดี ดังนี้

  1. สามารถจัดตั้งขึ้นโดยง่าย เพียงให้มีสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ่นส่วนเท่าน้้น และจะเลิกเมื่อใดก็ได้
  2. มีเงินทุนมากกว่าการประกอบกิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะห้างหุ้นส่วนมีบุคคลหลายคนนำมาลงทุนร่วมกัน และห้างหุ้นส่วนเพิ่มทุนเท่าไรก็ได้
  3. มีความน่าเชื่อถือทางการเงินดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว  เพราะหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน เว้นแต่พวกจำกัดความรับผิดชอบ เจ้าหนี้จึงยอมให้เครดิตเพราะมีหลักประกันในหนี้สินมั่นคง
  4. มีอิสระในการประกอบธุรกิจในด้านไหนก็ได้ หุ้นส่วนจะเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของห้างหุ้รส่วนก็ได้ เพื่อเหมาะสมกับเหตุการณ์
  5. สามารถชวนคนที่มีความรู้ความสามารถร่วมกิจการในห้างหุ้นส่วนได้
  6. บรรดาหุ้นส่วนส่วนทั้งหมดต่างมีส่วนได้เสียในห้างหุ้นส่วน ย่อมมีความระมัดระวังดูแลรักษาผลประโยชน์ได้ดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
  7. หุ้นส่วนได้รับประโยชน์จากการปรึกษาหรือ และสามารถแบ่งงานกันได้ตามความถนัด เช่น ควบคุมบัญชี ควบคุมการขาย

ข้อเสีย ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจํากัด มีข้อเสีย ดังนี้

  1. หุ้นส่วนแต่ละคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนถึงสินทรัพย์ส่วนตัว เว้นแต่พวกจำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น
  2. การดำเนินงานในห้างหุ้นส่วนอาจล่าช้า เพราะหุ้นส่วนพวกรับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวนต้องมีการปรึกษาหารือกัน
  3. หุ้นส่วนจะถอนเงินทุนออกจากห้างหุ้นส่วนได้ยาก เพราะต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนด้วยกันเสียก่อน
  4. การกระทำของหุ้นส่วนที่มีผลเสียเพียงคนเดียวจะกระทบหุ้นส่วนคนอื่นๆหมดทุกคน
  5. ห้างหุ้นส่วนต้องเลิก เมื่อหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายหรือลาออก อาจทำให้งานที่กำลังดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักลงได้
  6. การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนกับกิจการที่ใช้ทุนปานกลาง เป็นกิจการที่ไม่มีหนี้สินเกี่ยวกับบุคคลภายนอกมากนัก
การบัญชี ห้างหุ้นส่วน
การบัญชี ห้างหุ้นส่วน

ความแตกต่าง หสม กับ หจก  

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ
มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ
ตัวอย่างห้างหุ้นส่วนจํากัด
ตัวอย่างห้างหุ้นส่วนจํากัด

คำถามทั่วไป

  • ห้างหุ้นส่วน มีลักษณะอย่างไร

     
    ลักษณะของห้างหุ้นส่วนจํากัด ดังนี้
    1. มีผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน ซึ่งอาจกระทำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
    2. มีการร่วมกันลงทุน โดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง
    3. มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน 4. มีความประสงค์แบ่งผลกำไรกันตามข้อตกลง
     
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องยื่นงบการเงินหรือไม่

     
    หจก ต้องยื่นงบการเงินหรือไม่ ลักษณะการทำบัญชี การทำบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องจัดทำและยื่นงบการเงินเช่นกัน
     
  • หจก ย่อมาจาก อะไร

     
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด
     
  • ห้างหุ้นส่วน จํากัด ตัวย่อ

     
    – ห้างหุ้นส่วนจํากัด ย่อ Part., Ltd
    – ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาษาอังกฤษ Partnership Limited
    – Part., Ltd. ย่อมาจาก Partnership Limited หมายถึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    หจก ย่อมาจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด
     
  • ห้างหุ้นส่วนต้องจดทะเบียนไหม

     
    ต้องจดทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์