ศิลปะ

6 ศิลปะ ที่มาประเภทงานมีกี่ประเภทอะไรบ้างอย่างเจ๋ง?

Click to rate this post!
[Total: 167 Average: 5]

ศิลปะ

  1. ศิล ปะ คือ การถ่ายทอดความรู้สึกหรือการแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้สัดส่วน รูปทรงความกลมกลืนองค์ประกอบเป็นส่วนช่วยด้านต่างๆ
  2. ศิล ปะ คือ การแสดงออกทางความงาม
  3. ศิล ปะ คือ การแสดงออกทางความเชื่อ
  4. ศิล ปะ คือ ความชำนาญในการถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ ให้เป็นวัตถุที่มีสุนทรียภาพ
  5. ศิล ปะ คือ การรับรู้ทางการเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยใจ
  6. ศิล ปะ เป็นภาษาชนิดหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดให้ความรู้สึกได้อย่างซาบซึ้ง

พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายไว้ว่า “ศิล-ปะเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง งานฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าฟัง น่าชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ” ภาษาบาลี ศิล-ปะ หมายถึง ศิล-ปะสาขาหรือการช่าง คำว่า ศิลป ( Art ) มาจากภาษาละติน แปลว่า ความชำนาญ หรือทักษะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี คำว่า “ art ” นั้น หมายถึง สมาคมช่าง Craft guilds และคำว่า “ อาเต “ ARTE หมายถึง ฝีมือช่าง ทักษะ และการประดิษฐ์ทางการช่าง

ศิล-ปะเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ แสดงออกทางความรู้สึก ความคิด และอารมณ์จากภาพที่ได้จากความจริงหรือจินตนาการที่คิดฝันขึ้น อย่างมีเจตนา โดยใช้ศิล-ปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในเจตนานั้น งานศิล-ปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้ปัญญา มีความเชื่อกันว่ามนุษย์เท่านั้น เป็นผู้มีสติปัญญา จนถึงขั้นที่สามารถแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิล-ปะได้

การแสดงออกของมนุษย์ในการสร้างสรรค์งานศิล-ปะจึงเกิดจากมูลเหตุที่ว่ามนุษย์ได้รับรู้ในความงามของธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ เช่นลักษณะพื้นผิว สีและสัดส่วน มนุษย์จะมีความชื่นชมในความงามที่ตนสร้างขึ้นจนเกิดความพอใจในและประทับใจในสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมา เช่น ศิลปินจะแสดงความรู้สึกพอใจเมื่อสามารถสร้างผลงานได้สำเร็จ จะมีคนชื่นชมต่อผลงานนั้นของตนหรือไม่ เป็นสิ่งที่รองลงมา

ปราชญ์ชาวกรีกได้ให้นิยามความหมายของศิล-ปะว่า ”งานศิล-ปะเป็นการลอกเลียนแบบธรรมชาติ” ( The imitation of nature ) ต่อมาบรรดาพวกนักปรัชญา กวี ศิลปิน และนักการศึกษาหลายท่านได้ให้นิยามตามแนวคิดเห็นของแต่ละท่านซึ่งความคิดเห็นนั้นล้วนถูกต้องด้วยกันทั้งสิ้น

ที่มา:.finearts.cmu.ac.th/wp-content/uploads/2020/04/ศิลปะคืออะไร.pdf

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com