รับทำบัญชีปทุมธานี

สํานักงานบัญชีรับทําบัญชีปทุมธานีรังสิตคลองหลวงธัญบุรี 25ปี?

Click to rate this post!
[Total: 2604 Average: 5]

รับทำบัญชี

ประสบการณ์กว่า 30 ปี

สำนักงานบัญชีที่เข้าใจคุณมากที่สุด พร้อมทีมงานคุณ

ร้านค้าออนไลน์ ขายของออนไลน์

รับทำบัญชีปทุมธานี-1
รับทำบัญชีปทุมธานี-2

รับทําบัญชี ปทุมธานี

บริษัท ปังปอน จำกัด รับทำบัญชี ปทุมธานี เปิดให้บริการมาแล้วมากกว่า 20 ปี รับทำบัญชี บัญชีสรรพากร เป็น ” สำนักงานบัญชีคุณภาพ ” ที่รับรองโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) มาแล้วกว่า 10 ปี และ เป็น ” สำนักงานบัญชีตัวแทนสรรพากร “ สามารถจัดเก็บเงินภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Tax agent) เน้นการให้บริการทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงินรายปี  ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด รับทำบัญชี ปทุมธานี และ นนทบุรี บึงยี่โถ แถวรังสิต ลำลูกกา ตลอดจน เขตพื้นที่ภายในกรุงเทพ

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ

เราเน้นให้บริการผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในการจัดทำบัญชี ไม่มีเวลาจัดเก็บเอกสาร ภาษีซื้อ ภาษีขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ    และ ผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับ การทำบัญชี และภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ เปิดกิจการใหม่ เป็นหลัก รับทำบัญชี ปทุมธานี  ลักษณะที่รับส่วนใหญ่ เป็นงานบริการ งานซื้อมาขายไป ขายของออนไลน์ เป็นต้น

รับทำบัญชีปทุมธานี-3

Services

รับทำบัญชีปทุมธานี-4
  • การยื่นแบบภาษี
  • ทำบัญชีบริษัท
  • ยื่นแบบ ภงด.53
  • ยื่นแบบ ภงด 50
  • ยื่นแบบ ภงด 51
  • ยื่นแบบ ภงด 3, ภงด 1
  • แบบภพ30
  • ภงด90,91
รับทำบัญชีปทุมธานี 6
  • ทําบัญชี บุคคลธรรมดา
  • รับตรวจสอบบัญชี
  • สมุด ราย วัน ขาย
  • ภาษี ครึ่ง ปี
  • การ บันทึก รายการ ค้า ใน สมุด ราย วัน ทั่วไป
  • บริษัทตรวจสอบบัญชี
  • สอบถาม ภาษี ปรึกษาการเสียภาษีที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบเงินสมทบประกันสังคม

ปรึกษา ปัญหาบัญชี สนใจ ใช้บริการ โทรเลย

การบัญชี คือ

รูปแบบองค์กรธุรกิจ

การประกอบธุรกิจอาจดําเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ หรือ อาจดําเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดําเนินธุรกิจการค้าใน รูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดําเนินธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การประกอบ ประสบผลสําเร็จ และนํามาซึ่งผลประโยชน์และกําไรสูงสุด

รูปแบบองค์กรธุรกิจ

ตัวอย่างรูปแบบองค์กรธุรกิจ

  1. เจ้าของคนเดียว (Single proprietorship)
  2. หุ้นส่วน(Partnership)
  3. บริษัทจํากัด (Corporation)
  • เจ้าของคนเดียว (Single proprietorship) ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีเจ้าของลงทุนใน กิจการเพียงคนเดียวแต่อาจดําเนินธุรกิจในลักษณะของครอบครัว หรือญาติพี่น้อง โดยไม่ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคล แต่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
  • ห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ขนาดกลางที่มีเจ้าของตั้งแต่ 2 คน ขึ้น ไป ร่วมทุนในการดําเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกําไรขาดทุนตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้
  • บริษัทจํากัด (Corporation) เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ ที่จัดตั้งขึ้นโดย การ่วมทุนของกลุ่มคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อทําหนังสือบริคณห์สนธิ และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทุนของธุรกิจแบ่งออกเป็นจํานวนหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีมูลค่าจดทะเบียนไม่ต่ํากว่า หุ้นละ 5 บาท ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญ (Common stock) และ 2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock) ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” มีสถานะเป็นเจ้าของธุรกิจ และจะได้รับ ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend)

ลักษณะการดําเนินงานของธุรกิจ

นอกจากนี้การดําเนินงานของธุรกิจยังสามารถแบ่งตามลักษณะรายได้ของธุรกิจ เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. ธุรกิจบริการ (Service Business)
  2. ธุรกิจขายสินค้า ประกอบด้วย
    •  ธุรกิจซื้อสินค้าเพื่อขาย (Merchandising Business)
    • ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย (Manufacturing Business)
      • ธุรกิจบริการ (Service Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการให้บริการลูกค้า และมี ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนการให้บริการและการดําเนินงาน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ สํานักงานรับทําบัญชี สํานักงานกฎหมาย อู่ซ่อมรถ ร้านเสริมสวย ธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นต้น
      • ธุรกิจซื้อสินค้าเพื่อขาย (Merchandising Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการขาย สินค้า และมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนขายสินค้าและการดําเนินงาน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก การขายผ่อนชําระ การฝากขาย และการเป็นตัวแทนจําหน่าย เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้ไม่ สามารถผลิตสินค้าเองได้ ต้องซื้อสินค้าจากผู้ผลิตเพื่อนํามาขายต่อ จึงมีลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลาง ด้วย เหตุนี้ธุรกิจประเภทนี้จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “ธุรกิจซื้อมา-ขายไป”
      • ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย (Manufacturing Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จาการขาย สินค้า และมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนการผลิตสินค้า ต้นทุนการขายสินค้า และการดําเนินงาน ธุรกิจ ประเภทนี้ได้แก่ โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตปลากระป๋อง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น และด้วยธุรกิจ ประเภทนี้มีลักษณะในการผลิตสินค้าเองได้ และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ในการผลิตสินค้า เราจึงเรียก ธุรกิจประเภทนี้ว่า “ธุรกิจการผลิต” หรือ “ธุรกิจอุตสาหกรรม”

การบัญชี

การบัญชี คือ ศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในแต่ละกิจกรรม

จากคำจำกัดความของคำว่า “การบัญชี” สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้

  1. ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวมคือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี
  2. การจดบันทึกและการวัดมูลค่าเป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า “สมุดรายวัน” (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกันv ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)
  3. การใช้หน่วยเงินตราการบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง
  4. การจัดหมวดหมู่เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า “สมุดแยกประเภท” (Ledger)
  5. การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงินเมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ “งบการเงิน” (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
    • กำไรขาดทุน
    • งบดุล
    • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
    • งบกระแสเงินสด
    • นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน

ตกแต่ง1 01 scaled

การบัญชี และ การทำบัญชี

การทำบัญชีและการบัญชี สองคำนี้ยังมีผู้เข้าใจสับสนว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกัน คำตอบคือสองคำนี้มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การทำบัญชี (book keeping) เป็นส่วนหนึ่งของ การบัญชี (Accountimg)

การทำบัญชี กับ การบัญชี

งานของการทำบัญชี เป็นเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชีจนกระทั่งจัดทำงบการเงินผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกบัญชีเรียกว่า “ผู้ทำบัญชี” (Bookkeeper) ส่วนการบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานการเงินและแปลความหมายของรายงานการเงิน นักบัญชี (Accountant) มีหน้าที่จัดวางระบบบัญชีของกิจการ ควบคุมและตรวจตรางานของผู้ทำบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากว่าผู้ทำบัญชี

ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี

  1. ทราบถึงความก้าวหน้าของกิจการ และประสบการณ์ในการดำเนินงานของผู้บริหาร
  2. ทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ
  3. ให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการควบคุม และตัดสินใจ
  4. ให้ฝ่ายบริหารทราบถึงข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต

ผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี

  • ผู้ถือหุ้น (Stockholder) เป็นผู้นำเงินมาลงทุนในกิจการ (ในรูปเงินสดหรือสิ่งของก็ได้) ดังนั้นผู้ถือหุ้นก็ต้องการทราบผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุน มีการจ่ายเงินปันผลมากน้อยเพียงใด
  • เจ้าหนี้ (Creditor) เป็นผู้ที่ให้กิจการกู้เงิน หรืออาจให้เครดิตแก่กิจการในการชำระเงินสด ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องการทราบความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
  • ผู้บริหาร (Management Team) เป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทน ดังนั้นผู้บริหารต้องสนใจในผลประกอบการของกิจการรวมทั้งฐานะของกิจการ หากกิจการมีผลประกอบการที่ดี ฐานะการเงินที่มั่นคง ผู้บริหารก็จะได้รับผลตอบแทนจากกิจการที่ดี
  • คู่แข่งขัน (Competitor) ต้องการทราบเพื่อที่จะได้วางแผนกำหนดนโยบายของกิจการตัวเองเพื่อที่จะได้แข่งขันและอยู่รอดได้ในธุรกิจ
  • พนักงาน (Employee) เพื่อคาดการณ์การได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินเดือน โบนัส รวมทั้งจะได้พิจารณาถึงความมั่นคงของตัวเองในการทำงานที่กิจการ
  • ลูกค้า (Customer) หากลูกค้าต้องการที่จะสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากกิจการก็ต้องพิจารณาถึงความมั่นคงของกิจการเพื่อพิจารณาว่าเมื่อสั่งสินค้าแล้วจะได้รับการจัดส่งตรงตามเวลาหรือไม่

จากผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี จะเห็นได้ว่าสามารถจำแนกประเภทของผู้ใช้งบการเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใช้งบการเงินภายในกิจการ และผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ จากหลักการนี้สามารถแบ่งประเภทของการบัญชีได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหาร หรือการบัญชีเพื่อการจัดการ

  1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) หมายถึง การจัดทำบัญชีและการรายงานทางการเงินของกิจการที่จัดทำภายใต้กฎเกณฑ์หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานบัญชี ให้แก่ผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ เพื่อใช้ประกอบการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ
  2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) หมายถึง การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของส่วนงานต่าง ๆ ในองค์กรให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีที่สำคัญได้แก่

  1. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ.2547
  3. มาตราฐานการบัญชี (Account Standard)

ทำบัญชี

ผู้จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 หมายถึงผู้ที่มีส่วนบริการงานเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีในธุรกิจของตนให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งธุรกิจและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจดังกล่าว ประกอบไปด้วย

ผู้จัดทำบัญชีดังกล่าวมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ดังนี้

    • จัดให้มีเอการประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใด ๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการบัญชี
    • ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี
ประเภทธุรกิจ ผู้รับผิดชอบ
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หุ้นส่วนผู้จัดการ
2. บริษัทจำกัด กรรมการ
3. บริษัทมหาชนจำกัด กรรมการ
4. นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ผู้รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมาลรัษฎากร ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ
6. สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ผู้จัดการ
7. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ ประกอบ ธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทป ซีดี วีดีโอ เจ้าของหรือผู้จัดการ
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

บทกำหนดโทษหากไม่จัดให้มีการทำบัญชี

ภงด 53 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร

สรุป ให้เข้าใจง่ายๆ หลักๆ จะเป็นเงินที่หักจาก ค่าเช่า ค่าอาชีพอสระ ค่าจ้าง ค่าแรง เงินรางวัล ค่าขนส่ง เมื่อหักแล้วต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุก ๆ เดือน แต่จะหัก เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น วิธีการหักคล้ายกับ ภ.ง.ด.3 อ่านเพิ่มเติม

ภาษีซื้อ ภาษีขาย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ้งประกอบไปด้วย

  • ภาษีซื้อ (Output Tax)
  • ภาษีขาย (Input Tax)

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็น ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือ ชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึง ภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7 % และ 0 %

ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่า บริการ ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7 % และ 0 %

ตรวจสอบการยื่นภาษี

วิธีการตรวจสอบการยื่นภาษี ทั้งภาษี หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการคงอยากรู้ว่าเงินภาษีที่ส่งให้ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานบัญชี หรือ บุคคลธรรมดาที่รับยื่นภาษี นำส่งเงินที่เราให้ไปแล้วหรือไม่?

ถ้าเงินภาษีที่เรานำส่งไม่ถึงมือ สรรพากร ปทุมธานี โดยปกติมักไม่ระบุเวลาที่แน่นนอน ในการที่สรรพากรจะแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้ทราบว่า “ไม่ได้มีการนำส่งเงิน”  บางครั้งอาจนาน บางครั้งอาจใช้เวลาไม่นานขึ้นอยู่กับสรรพากรแต่ละหน่วยงาน เช่น

  • ภาษี หัก ณ ที่จ่าย หากสรรพามีการตรวจสอบ ยืนยันยอดกับ บริษัทคู่ค้า ทำให้ตรวจพบเจอเร็ว
  • แต่ถ้าบางครั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้มีการตรวจสอบยืนยันยอดกับบริษัทคู่ค้าเรา ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เงินภาษีที่เราโอนให้ผู้รับยื่นภาษีนั้น ได้นำส่งถึงสรรพากรหรือไม่?
    • ใบ หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53)
    • ใบกำกับภาษี เป็นต้น
วิธีตรวจสอบภาษี scaled

วิธีตรวจสอบภาษี

วิธีการตรวจสอบการยื่นภาษี

  • กรณียื่นผ่านอินเตอร์เน็ต
    • ในการยื่นเน็ตนั้น เป็นสิ่งที่ง่ายเลย ในการตรวจสอบ หากผู้ประกอบการต้องการทราบ ก็ขอเลขจากผู้สมัคร ไว้เช็คในการตรวจสอบ ได้เลย
  • กรณียื่นมือที่เขต
    • หากยื่นด้วยมือ ใบเสร็จที่ได้จะเป็นแบบสีเหลืองหาก ที่นี้!! ก็แล้วแต่ระบบการจัดการของแต่ละที่ว่า จะทำให้ผู้ประกอบการทราบได้อย่างไร เช่น ส่งสำเนาเป็นประจำทุกเดือน ถ่ายรูปส่ง ผ่าน ระบบ Line หรือ บางที่คัดแบบ สแกนและอัพขึ้นระบบ ให้สามารถตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ตให้เหมือนกับการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต

เบอร์หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

  • สำนักงงานขนส่งจ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง     02 985 7543
  • สำนักงานประกันสังคมปทุมธานี                   02 567 0360
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองปทุม        02 581 6457
  • กรมสรรพากรสำนักงานใหญ่                        02 272 9529