รับจ่ายส่งธนาคาร

2 วิธีทำบัญชี รายรับรายจ่ายส่งธนาคารทำเสร็จยื่นกู้ได้เลย?

Click to rate this post!
[Total: 141 Average: 5]

รับจ่ายส่งธนาคาร

วิธีทำ บัญชีรายรับ-รายจ่าย

เคยประสบปัญหาหรือไม่ในการประกอบกิจการแล้วไม่รู้ว่ารายรับรายจ่ายที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีถูกต้องหรือป่าว และไม่อยากจัดทำบัญชี ไม่อยากจ้างสำนักงานบัญชี ไม่ชอบวุ้นวายกับเอกสาร

การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนใหญ่ จะทำเพื่อ

1.รับรู้รายรับของกิจการตัวเอง

2.ยื่นกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ

เหมาะสำหรับ

    • ผู้ประกอบที่เป็นบุคคลธรรมดา และไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ธุรกิจร้านค้า
    • ขายของออนไลน์

หลักๆ สิ่งที่ต้องนำมาบันทึก ในรายรับ-รายจ่าย

    • รายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการ
    • ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อประโยชน์ของกิจการ

เอกสารรับจ่าย จำเป็นต้องเก็บหรือไม่ ?

ความจำเป็นในการจัดเก็บ หากสามารถเก็บไว้ได้ ให้เป็นระเบียบควรจัดเก็บไว้ แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องจัดเก็บ แต่หากท่านคิดจะจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้ว ควร บันทึกรายรับรายจ่าย จัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบ

รับจ่ายส่งธนาคาร

วิธีทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย เพื่อส่งธนาคาร

การจัดทำบัญชีรับจ่ายส่งธนาคาร เพื่อยืนกู้สินเชื่อต่างๆ สิ่งที่จำเป็นต้องมี ( เอกสารที่ใช้ยื่นขอสินเชื่อ )

1.ต้องนำรายรับที่ได้จากการประกอบกิจกาจเข้าบัญชีเพื่อแสดงรายการใน STATEMENT

        • ควรนำเงินสดฝากกับบัญชีธนาคาร
        • ฝากอย่างสม่ำเสมอ หรือหากเป็นไปได้ ทุก หรือทุกสัปดาห์ เพื่อจะแสดงให้สถาบันการเงินของท่านเห็นว่า ท่านมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ
        • ไม่ควรนำเงินเข้า แล้วถอนออกภายในวันเดียวอย่างต่อเนื่อง เพราะธนาคารจะมองว่าเป็นการผ่านบัญชีเฉยๆ
        • ควรฝากในชื่อของผู้ที่ต้องการกู้ เป็นระยะเวลาหนึ่ง

2.ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในที่จ่ายเพื่อประโยชน์ของกิจการเมื่อมีการรับเงินหรือ

        • ใบเสร็จรับเงิน
        • บิลซื้อของที่นำมาใช้เป็นต้นทุน
        • บิลส่งของ
        • ใบเสร็จต่างๆ

ประเภทอาชีพที่ทำบัญชี รายรับ รายจ่าย

ขอแบ่งเป็น 3 ประเภท หลัก

  1. อาชีพค้าขาย ธุรกิจร้านค้า งานบริการ ประเภทต่างๆ
  2. รับจ้าง
  3. เกษตรกร ทำไร ทำนา ทำสวน

ทั้ง 3 ประเภทนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพอิสระ ใช้สูตรการทำบัญชีเหมือนกันหมด คือ นำรายได้-ต้นทุน(ค่าใช้จ่าย) = กำไร/ขาทุน แต่!! ข้อมูลที่จะนำมาใช้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง ต้องศึกษาเพิ่มเติมในธุรกิจของท่าน  เมื่อได้ข้อมูลในแต่ละวันให้นำไปใส่ลงในบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่จัดทำขึ้น

ตัวอย่าง รายรับ-รายจ่ายร้านค้า , รายรับ-รายจ่าย ส่งธนาคาร

0001 1024x625 1

(นำข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ใส่ลงไป ตารางรายรับ-รายจ่าย)

ตารางรายรับรายจ่าย

รูปเงิดสด รับจ่าย 1 1024x724 1

วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

นำมาคำนวณ

รายรับ                          26,450  บาท

รายจ่าย                        28,430  บาท

รายรับ – รายจ่าย =       -1,980  บาท

( จะเห็นได้ว่าบัญชีราย-รายจ่ายในเดือนนี้ ขาดทุน นั้นเอง )

รับจ้างทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การทำบัญชีรายรับ-ร่ายจ่าย โดยปกติทั่วไป หากท่านเป็นผู้ประกอบการคนเดียว ไม่ต้องการจดทะเบียน ไม่ต้องการจัดทำบัญชีเพื่อ นำส่งส่งการเงิน แต่แค่อยากรับรู้ รายได้ ค่าใช้จ่าย ว่าอาชีพที่ทำอยู่ ก่อให้เกิด กำไร หรือขาดทุน

ในกรณีที่ท่านไม่สามารถจัดทำเองได้

    • พอทราบข้อมูลอยู่บ้างแล้ว
    • ไม่มีเวลา ไม่อยากทำเอง
    • อาชีพที่ท่านทำอยู่มีภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาเกี่ยว (เนื่องจากท่านมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาท)
    • กลัวผิดพลาด เสียเวลาในการยื่นอนุมัติ

สิ่งที่ต้องทราบหากรับงาน หรือ จัดทำ บัญชีรายรับ – รายจ่าย คือ

  1. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย หากจัดทำเป็นภาษาต่างชาติให้มีภาษาไทยกำกับ
  2. ต้องลงรายการรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
  3. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย
    • ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน
    • รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานรายรับ-รายจ่าย ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจ ต้องไม่เป็นรายจ่ายส่วนตัว
    • สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้า หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน เพราะผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการนั้นในวันที่ได้รับชำระ หรือจ่ายชำระ โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
    • การลงรายการรายรับและรายจ่ายสามารถลงเป็นยอดรวมของวัน โดยมีเอกสารประกอบรายรับ-รายจ่ายนั้น หรือลงแยกเป็นรายการก็ได้
    • สรุปยอดรายรับ รายจ่ายทุกๆ เดือน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ท่านสามารถจ้างบุคคล หรือ สำนักงานบัญชี  ให้จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายได้ ไม่ถือว่าผิด

ตัวอย่างบัญชี รายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน

การบันทึกรายรับ – รายจ่าย หมายถึง การจดบันทึกรายการข้อมูลด้านการเงินของการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับรายการที่รับเข้ามาและรายการที่ต้องจ่ายออกไป เพื่อให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการเงินตลอดจนผลของการดำเนินงานนั้นไว้ว่าคงเหลือเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไรและ เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการว่าได้กำไรหรือขาดทุน ซึ่งการบันทึกรายการรับ – จ่าย เป็นพื้นฐานขั้นต้นของการจัดการด้านการเงินเพื่อใช้ใน การวางแผน การควบคุมการใช้เงินให้เกิดประโยชน์

ตัวอย่าง

วัน เดือน ปี 2048x1448 1 1024x724 1
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

การบันทึกบัญชี รายรัย-รายจ่าย ทำเอง

การจดบันทึกรายการข้อมูลด้านการเงินทั้งที่เกี่ยวกับรายการที่รับเข้ามาและรายการที่ต้องจ่ายออกไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางด้านการเงิน ตลอดจนผลของการใช้จ่ายไปนั้นว่าคงเหลือเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไร

ประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

    • ทำให้ทราบฐานะทางการเงินว่าในแต่ละวันเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่
    • ใช้ประกอบการวางแผนในการใช้จ่ายเงิน
    • ใช้เป็นข้อมูลรายจ่ายปรับลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้เราเหลือเงินมากขึ้น
วัน เดือน ปี 1 1024x724 1
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

ธนาคารในประเทศไทย :
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารแลนด์แอนด์ เฮ้าส์ ธนาคารไอซีบีซี ธนาคารออมสิน