ภาษีเงินได้นิติบุคคล

7 ภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ที่ต้องเสียอัตรา?

Click to rate this post!
[Total: 154 Average: 5]

ภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดเก็บ

ธุรกิจเมื่อดำเนินกิจการมาในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งจะต้องมีการคำนวณหาผลการดำเนินกิจการว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด โดยการจัดทำงบการเงินซึ่งก็คืองบกำไรขาดทุนและงบดุล เมื่อกิจการได้กำไรสุทธิจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึงภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและได้กำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ

เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย
  3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นการค้าหรือหากำไรระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ บริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
  6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจนุเบกษาให้เป็นบริษัหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
  2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล

ฐานภาษีของภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้หรือฐานภาษีเงินได้นั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด

ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล

วิธีการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล

  1. การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง
  2. การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
  3. การเสียภาษีโดยการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน

รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

ในการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลจะคำนวณจากการนำรายได้หักออกจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิและนำกำไรสุทธิดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้จะให้คำจำกัดความว่า ค่าใช้จ่าย หมายถึงการลดลงของประโยชน์ในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการ และยังหมายรวมถึงผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ เช่น ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์

ค่าใช้จ่ายจำแนกการบริหารได้ดังนี้

  1. รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน เช่นเงินเดือน ค่าแรง โบนัส
  2. ค่าตอบแทนกรรมการ เช่นเบี้ยประชุมกรรมการ โบนัสกรรมการ หรือผลประโยชน์อื่นใดของกรรมการที่คำนวณเป็นเงินได้
  3. ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไปที่เกิดจากการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เพื่อการประกอบกิจการหรือเพื่อหากำไร
  4. ค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก เป็นรายจ่ายที่พนักงานของกิจการจ่าย เช่นค่ารถแท็กซี่ ค่าตั๋วเครื่องบิน
  5. ค่าระวาง ค่าขนส่ง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับเงินค่าระวาง ค่าขนส่ง
  6. ค่าเช่า เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินค่าเช่าทรัพย์สิน ที่กิจการได้เช่ามาจากเจ้าของทรัพย์สิน เช่น เช่าอาคาร เช่ารถยนต์ เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
  7. ค่าซ่อมแซม เป็นรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อเป็นค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน ค่าซ่อมแซมถือเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเพื่อทำให้ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิม
  8. ค่ารับรอง เป็นรายจ่ายเพื่อรับรองบุคคลภายนอกเช่นรับรองลูกหนี้ รับรองเจ้าหนี้
  9. ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ต่อการเพิ่มยอดขาย
  10. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นรายจ่ายที่กิจการดำเนินงานที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่นการขายอสังหาริมทรัพย์
    ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
    ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
  11. ค่าภาษีอากรอื่นๆ เป็นรายจ่ายค่าภาษี เช่นภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  12. ค่าดอกเบี้ยจ่าย เป็นรายจ่ายที่เป็นต้นทุนการกู้ยืมของกิจการ
  13. ค่าสอบบัญชี เป็นรายจ่ายค่าสอบบัญชีของกิจการ ซึ่งโดยมากแล้วมักจะเป็นค่าสอบบัญชีค้างจ่ายที่จะชำระในปีถัดไป
  14. ค่าการกุศลสาธารณะ เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์
  15. รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
  16. ค่าธรรมเนียมในการให้คำแนะนำและปรึกษา
  17. ค่าธรรมเนียมอื่น เช่นค่าธรรมเนียมธนาคาร
  18. หนี้สูญ เป็นรายจ่ายที่ได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแต่ไม่ได้รับชำระเงินจากลูกหนี้
  19. ค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เช่นค่าเสื่อมราคาของเครื่องใช้สำนักงาน ค่าเสื่อมราคายานพาหนะ
  20. รายจ่ายอื่นๆที่นอกเหนือจากทุกข้อที่กล่าวมาในข้างต้น เช่นค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ