ฐานภาษี

7 ฐานภาษี มีกี่ประเภทภาษีอากรที่ดีทางตรงอ้อม?

Click to rate this post!
[Total: 158 Average: 5]

ฐานภาษี คือ

ฐานภาษี คือ (TAX BASE)  สิ่งที่เป็นเงื่อนไขหรือมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้เกิดบุคคลที่จะต้องเสียภาษี หรือ สิ่งที่จะใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร

ฐานภาษีที่สำคัญ ได้แก่

1.เงินได้  (Income)  เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่รายได้ ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเสียภาษี

2.ทรัพย์สิน  (Property) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีทรัพย์สินอันอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี ซึ่งได้แก่ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์  ภาษีกองมรดก

3.สินค้าและบริการ  (Goods and Servies) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุหรี่ สุรา การสั่งสินค้าเข้า การแสดงมหรสพ หรือที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร  อากรมหรสพ

4.สิทธิพิเศษในการประกอบการ  (Licences) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ  ไม่ว่าจะมีลักษณะผูกขาดหรือไม่

กฎหมายภาษีอากร

ประเภทของฐานภาษี มีอยู่กี่ประเภทอะไรบ้าง

ฐานภาษีมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ : เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ของบุลคลธรรมดา
  2. ภาษีเก็บจากฐานบริโภค : เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร
  3. ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน : เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้ 4 กรณีดังนี้

  1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป
  2. ฐานภาษีส่งออก
  3. ฐานภาษีนำเข้า
  4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป

(จากมาตรา 79) ฐานภาษีกรณีทั่วไป คือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง

  1. ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
  2. ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  3. ภาษีขาย
  4. ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

2. ฐานภาษีการส่งออก และนำเข้า

(จากมาตรา 79/1) การส่งออกสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ ภาษีอื่น ๆ และรวม ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B

(จากมาตรา 79/2) การนำเข้าสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F.  รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ อากรขาเข้า 

  • ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย
  • ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย  กับค่าระวางหรือค่าขนส่ง ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด

3. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. (จากมาตรา 79/3) การขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาดทั่วไป

2. การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือตามราคาตลาด

3. สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบสินค้า ถือว่าเป็นวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น

4. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด

5. สินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประเภทของภาษีอากร

ในสังคมที่คนอยู่รวมกันเป็นหมู่มากจนมีขนาดใหญ่และถูกเรียกว่าประเทศ จำเป็นหน่วยงานกลาง เช่น รัฐบาล ทำหน้าที่จัดสรรโอนถ่ายทรัพยากร เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมร่วมกัน ซึ่งทรัพยาการที่ว่านั้นก็คือ “รายได้ ”  ที่ถูกจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายไปสู่สังคม ในรูปแบบการถูกเรียกเก็บ “ภาษีอากร” จากภาครัฐบาล

ดังนั้นในประเทศที่ระบบภาษีมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษี ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขยายตัวต่อเนื่องและมีเสถียรภาพมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้นในเนื้อเรื่องของบทความต่อไปนี้ คือประเภทของภาษีอากรที่ทุกคนต้องรู้

ภาษีอากรจำแนกได้อย่างไร

ในความเป็นจริงแล้วภาษีอากรมีหลักเกณฑ์ในการจำแนกที่หลากหลาย เช่น จำแนกตามระดับที่จัดเก็บ จำแนกตามวิธีการประเมินภาษี จำแนกด้วยหลักการรับภาษีอากรทั้งทางตรงและทางอ้อม ฯลฯ

ซึ่งไม่ว่าจะจำแนกด้วยวิธีไหน ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญในประเทศไทย ก็ประกอบไปด้วย 8 ประเภทหลัก ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ/ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือ ภ.ง.ด 50 สำหรับรอบบัญชี ภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ ภ.ง.ด 51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลัง ปิดรอบบัญชีครึ่งปี

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ วิธีหนึ่งในการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ตั้งแต่ตอนผู้จ่ายหรือคู่ค้า ทำการ “จ่ายเงินได้” ให้กับเราหรือกิจการของเรานั่นเอง (ซึ่งมีอัตราการหักภาษีตั้งแต่ 3%-5% แล้วแต่กรณี) โดยผู้ที่ทำหน้าที่หักภาษีนี้ไว้ ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 7%) ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร จะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ โดยผู้ประกอบจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรทุกๆวันที่ 15 ของเดือน

4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บสำหรับกิจการที่เฉพาะเจาะจง เช่น  การธนาคาร การจำนำ ประกันชีวิต หรือการขายอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินในเชิงการค้าเพื่อทำกำไร

5. อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการทำสัญญาร่วมกัน เช่น สัญญาเช่าที่ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างทำของ เป็นต้น

6. ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นกำแพงภาษีป้องกันราคาสินค้าและคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่ปัจจุบันเริ่มลดความสำคัญลงเนื่องจากหลายประเทศรวมตัวกันเปิดการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น

7. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฏหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม

8. ภาษีสรรพสามิต คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพและสังคม เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น

และนี่คือ 8 ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญซึ่งคนไทยทุกคนควรมีความรู้เบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องศึกษาประเภทภาษีในหัวข้อ 1 – 5 ให้เข้าใจถ่องแท้ เพราะหากยื่นภาษีไม่ครบและไม่ถูกต้อง นอกจากจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมแล้วอาจจะโดนเบี้ยปรับ จนส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกิจการก็เป็นได้

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

++++ ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ++++

ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้

(1) กำไรสุทธิ

(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ความหมายของภาษีอากร

  1. ความหมายของภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากรอาจแบ่งเป็น 2 แนว

แนวที่หนึ่ง อธิบายว่า ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร

แนวที่สอง อธิบายว่า ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล  แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล 

  1. วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีอากร

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้  ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า  รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน  หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล  (เช่น  การศึกษา  การสวัสดิการสังคม  นโยบายประชากร)  ด้วย

  1.    ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น  มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง  เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากรและให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้

        3.1   มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคนประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล 

        3.2    มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

        3.3   มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร

        3.4    มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด

        3.5   มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

        3.6   มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 

  1.  โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร

กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้อสำคัญอันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  6 หัวข้อด้วยกัน  คือ

        4.1   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร หรือผู้อยู่ในข่ายเสียภาษีอากร จะเป็นใครบ้างย่อมแล้วแต่กฎหมายนั้นๆ จะกำหนด แต่โดยทั่วไปมักได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

        4.2  ฐานภาษีอากร  ในความหมายอย่างกว้าง  หมายถึงสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้ต้องเสียภาษีอากร  เช่น การมีรายได้  การมีทรัพย์สิน  หรือการใช้จ่าย  เป็นต้น  ในความหมายอย่างแคบ   หมายถึง  สิ่งที่รองรับอัตราภาษีอากร  (ภาษีอากรที่ต้องเสีย =  ฐานภาษีอากร  ×  อัตราภาษีอากร)

        4.3  อัตราภาษีอากร  แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ  คือ  แบบคงที่  แบบก้าวหน้า แบบถดถอย  ทั้งนี้โดยการพิจารณาว่าอัตราภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงไป  กล่าวคือ  ถ้าจำนวนของฐานภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง  แต่อัตราภาษีอากรยังคงเท่าเดิม เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้เรียกว่าอัตราภาษีอากรแบบคงที่ เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบันและ  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  แต่ถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นและอัตราภาษีอากรก็เพิ่มขึ้นด้วย  เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบก้าวหน้า  เช่น  อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่อัตราภาษีอากรกลับลดลง เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบถดถอย  เช่น  อัตราภาษีบำรุงท้องที่

        4.4  การประเมินจัดเก็บภาษีอากร ภาษีอากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง โดยประเมินหรือคำนวณตามวิธีการและตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากรตามจำนวนที่พึงต้องชำระ  ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรไม่ดำเนินการประเมินตนเองหรือประเมินตนเองอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่สมบรูณ์ก็จะมีการประเมินโดยเจ้าพนักงานซึ่งในกรณีหลังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม

และหรือเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก ภาษีอากรที่ต้องเสียในบางกรณีแม้ไม่ถึงกำหนดเวลาชำระภาษีอากร  เจ้าพนักงานประเมินก็อาจดำเนินการประเมินล่วงหน้าให้ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระภาษีอากรก่อนถึงกำหนดเวลาได้  นอกจากนี้ในหลายๆ กรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ภาษีเป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่ายแล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนดเวลา  

ดังที่เรียกว่าการหักภาษี  ณ  ที่จ่าย ภาษีที่ถูกหักไว้นี้มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษี  ซึ่งสามารถนำไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียเมื่อถึงกำหนดเวลาหรืออาจได้รับคืนถ้าถูกหักไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสีย  อนึ่งเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนประเมินภาษีอากรและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร กฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้ที่กฎหมายกำหนดต้องปฏิบัติหน้าที่บางประการ เช่น  การจดทะเบียน  การมีและการใช้เลขประจำตัว  การจัดทำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานบางอย่าง  รวมทั้งให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจค้น  ยืด  หรืออายัดหลักฐานต่างๆ ในบางกรณีด้วย

         4.5  การอุทธรณ์ภาษีอากร  ในกรณีเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร  เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียหรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่  กฎหมายมักกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วนเสียก่อน  มิฉะนั้นผู้เสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้  ตัวอย่าง เช่น  การประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  หรืออากรแสตมป์นั้น  ถ้าผู้เสียภาษีอากรไม่เห็นด้วยกับ การประเมินเรียกเก็บ  ก็จะต้องอุทธรณ์  การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เสียก่อนภายใน  30  วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  จะนำคดีขึ้นสู่ศาลทันทีไม่ได้

        4.6   เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากรจะต้องรับผิดชอบในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระพร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นต่างหาก ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างโดยไม่ต้องฟ้องคดีศาล นอกจากนี้ยังอาจต้องรับโทษทางอาญาอีกโสดหนึ่ง เช่น เสียค่าปรับและหรือต้องระวางโทษจำคุกอีกด้วย

  1.  การจำแนกประเภทภาษีอากร

ภาษีอากรซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลนั้น  จำแนกได้หลายประเภท  กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรก็มีหลายฉบับ  และมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการจัดการเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ  เหล่านี้ 

การจำแนกเยอะแยะ  ภาษีอากรประเภทต่างๆ เพื่อจัดให้เป็นหมวดหมู่นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ จากลักษณะการรับภาษีอากร

การจำแนกประเภทภาษีอากร  โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

        ประเภทที่หนึ่ง  ภาษีทางตรง  ได้แก่  ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก  เช่น  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล 

        ประเภทที่สอง  ภาษีทางอ้อม  ได้แก่  ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย  เช่น  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต

  1.  ประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากร เป็นชื่อของกฎหมายภาษีอากรฉบับหนึ่ง มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร  พ.ศ. 2481กฎหมายฉบับนี้เดิมเป็นที่รวมกฎหมายภาษีอากรสำคัญหลายประเภท แต่ปัจจุบันเป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรเพียง  4 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทที่ หนึ่ง ภาษีเงินได้ แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีนั้นจัดเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง

ประเภทที่สอง  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเภทที่สาม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่นำมาบังคับใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  พ.ศ. 2535 ภาษีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานการใช้จ่ายบริโภคอุปโภคทั่วไปทั้งสิ้น

ประเภทที่สี่ อากรแสตมป์  จัดเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง

        ภาษีอากรทั้ง 4 ประเภทซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่และ การควบคุมของกรมสรรพากร  อนึ่งการอ้างถึงเลขมาตราต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้  ล้วนหมายถึงเลขมาตราในประมวลรัษฎากร  ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

และปัจจุบัน กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com