โรงงานอุตสหกรรม

ประเภทอาชีพด้าน อุตสาหกรรมมีอะไรบ้างของโรงงานในไทย 9 บริษัท?

Click to rate this post!
[Total: 235 Average: 5]

อุตสาหกรรม คือ

อุตสาหกรรม ( Industry ) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย

อุตสาหกรรมคือ

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุด

โรงงานผลิตสินค้า
โรงงานผลิตสินค้า

ประเภท อุตสาหกรรม

  1. ประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะการใช้
  2. ประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะของการผลิต
  3. ประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะและขนาดของกิจการ
ประเภทของโรงงานอุตสหกรรม
ประเภท อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

การแยกประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะการใช้ เป็นเกณฑ์ แยกได้ 2 ประเภท คือ

  1. อุตสาหกรรมสินค้าทุน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นการทำเครื่องจักร เครื่องมือ การถลุงโลหะ อุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น
  2. อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป และของใช้ในครัวเรือน

การแยกประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะของการผลิต เป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  1. อุตสาหกรรมเบื้องต้น หรืออุตสาหกรรมที่ 1 เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการอย่างอื่น เช่น การกสิกรรม การประมง การทำเหมืองแร่
  2. อุตสาหกรรมที่ 2 เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป เช่น การทำอาหารกระป๋อง  การสีข้าว
  3. อุตสาหกรรมที่ 3 เป็นกิจการด้านบริการ เช่น การขนส่ง การโรงแรม

การแยกประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะและขนาดของกิจการ เป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ และเงินลงทุนสูงมาก เช่นอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า
  2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจนเงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตา
  3. อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัว ในบ้านที่อยู่อาศัยเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ