ส่วนประกอบหุ้นทุน

5 ประเภทของหุ้นทุนวิธีนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณ?

Click to rate this post!
[Total: 147 Average: 5]

ส่วนประกอบหุ้นทุน

ส่วนประกอบในส่วนของผู้ถือหุ้นและประเภทของหุ้นทุน

ส่วนของเจ้าของในกิจการบริษัทจำกัดซึ่งทางการบัญชีเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” (Stockholder’s Equity) ส่วนของผู้ถือหุ้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ

ประเภทของหุ้นทุน

  1. ทุนเรือนหุ้น (Capital Stock) หมายถึงทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้นต อาจเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นปุริมสิทธิบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนนั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าบริษัทจะต้องมีทุนอย่างต่ำหรืออย่างสูงเท่าใด กฎหมายไทยเพียงแต่กำหนดให้แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากับ มูลค่าหุ้นและเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท เงินทุนจำนวนนี้เรียกว่า ทุนตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ลงทุนจะคอยทุนคืนไม่ได้ ทุนตามกฎหมายนี้จะเท่ากับจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนคูณด้วยราคาหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) ทุนเรือนหุ้น ประกอบด้วย
    • ทุนจดทะเบียน หมายถึง ทุนที่จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายโดยแสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนแต่ละชนิด
    • ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หมายถึง หุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกชำระมูลค่าแล้วโดยให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิดและในกรณีที่มีการให้สิทธิพิเศษใดแก่หุ้นบุริมสิทธิก็ให้แสดงไว้ด้วย
  2. ส่วนเกินทุน (Capital Surplus หรือ Paid-In Surplus) หมายถึงส่วนที่เกินกว่าทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วที่แสดงภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล ซึ่งไม่อาจนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลได้ ทั้งนี้ไม่รวมถึงกำไรสะสม ส่วนเกินทุนนี้อาจเกิดจากผู้ถือหุ้นเองหรือบุคคลภายนอกก็ได้ โดยทั่วไปส่วนเกินทุนประกอบด้วย
    • ส่วนเกินมูลค่าหุ้น หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจ่ายเพื่อซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ บริษัทจึงไม่สามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลได้
    • ส่วนเกินทุนอันเนื่องจากการตีราคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เพิ่ม ตามปกติบริษัทจะแสดงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในงบดุลด้วยราคาทุนที่ซื้อมาหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม แต่บางครั้งราคาตลาดสูงกว่า ราคาทุนมาก จึงจำเป็นต้องตีราคาเพิ่มเพื่อให้สินทรัพย์แสดงราคาปัจจุบัน เนื่องจากสินทรัพย์ของบริษัทยังไม่ได้จำหน่ายออกไป ดังนั้นกำไรที่เกิดจากการตีราคาเพิ่มเป็นกำไรที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริว จึงไม่สามารนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลได้
    • ส่วนเกินทุนที่ได้จากการบริจาค หมายถึง ส่วนเกินทุนที่เกิดจากผู้ถือหุ้นหรือบุคคลภายนอกบริจาคสินทรัพย์ให้บริษัท ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้น จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้
  3. กำไรสะสม (Retained Earning) หมายถึงกำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานหักด้วยเงินปันผลของปีก่อนๆ สะสมไว้หรือบางครั้งเกิดการขาดทุนก็นำมาหักออกจากกำไรสะสม กำไรสะสมแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
    • กำไรสะสมที่จัดสรรแล้ว (Appropriated Retained Earnings) หมายถึงกำไรสะสมที่สำรองไว้ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆได้แก่
  • สำรองตามกฎหมาย หมายถึง เงินสำรองที่กันไว้จากกำไรสุทธิก่อนจ่ายเงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • สำรองอื่น หมายถึง เงินสำรองที่จัดสรรจากกำไรสุทธิเพื่อการใดๆ ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่นเพื่อรักษาระดับเงินปันผล เพื่อขยายกิจการ
    • กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated Retained Earnings) หมายถึง กำไรสะสมและกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันคงเหลือหลังจากจัดสรร

ประเภทของหุ้นทุน

หุ้นทุนของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นสามัญ และ หุ้นบุริมสิทธิ

บัญชีประเภทของหุ้นทุน

  1. หุ้นสามัญ (Common Stock) ถ้าบริษัทออกหุ้นเพียงชนิดเดียว หุ้นที่บริษัทออกจำหน่ายเรียกว่าหุ้นสามัญซึ่งถือได้ว่าเป็นหุ้นหลักของกิจการ เป็นหุ้นที่อาจได้รับผลตอบแทนมากที่สุดถ้าบริษัทมีกำไรมาก แต่เป็นหุ้นที่รับการเสี่ยงภัยมากที่สุดถ้าผลการดำเนินงานขาดทุน เป็นหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานเพราะมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

  • สิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียง (Voting) ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม
  • สิทธิในเงินปันผล (Dividend) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผลเมื่อคณะกรรมการบริษัทได้ตกลงประกาศจ่าย
  • สิทธิในส่วนแบ่งสินทรัพย์ (Liquidation) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในส่วนแบ่งสินทรัพย์ของบริษัท เมื่อเลิกกิจการบริษัทจะนำสินทรัพย์ไปขายเพื่อชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ของบริษัทก่อน
  • สิทธิในการซื้อหุ้นใหม่ (Preemption) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิซื้อหุ้นที่บริษัทเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ผู้ถือหุ้นเดิมมีสิทธิซื้อหุ้นที่ออกใหม่ตามส่วนและชนิดของหุ้นที่ตนถืออยู่ก่อนบุคคลภายนอก
  • สิทธิในการรับรู้ข้อมูล (Information) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิที่จะรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของบริษัทและการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ

หุ้นสามัญ

  1. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นชนิดที่มีบุริมสิทธิเหนือหุ้นสามัญตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท โดยปกติแล้วเป็นหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการบริหารงานของบริษัท แต่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้ การที่บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิเนื่องจากนักลงทุนบางคนเห็นว่าการซื้อหุ้นสามัญเป็นการเสี่ยงมาก คือ อาจไม่ได้รับเงินปันผลถ้าผลการดำเนินงานของบริษัทขาดทุนและเมื่อมีการชำระบัญชีเลิกบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญอาจได้รับส่วนแบ่งการคืนทุนโดยการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นประเภทนี้

สิทธิพิเศษที่ให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์

  • สิทธิในเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ
  • สิทธิในสินทรัพย์ก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัทชำระบัญชีเลิกกิจการหลังจากชำระหนี้สินต่างๆแล้ว

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com