เช็คสิทธิคลอดบุตร

33 ม.เช็คสิทธิคลอดบุตรประกันสังคมที่ไม่มีใครรู้?

Click to rate this post!
[Total: 134 Average: 5]

ประกันสังคมคลอดบุตร มาตรา 33

มาตรา 33 คือ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตนลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป เป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

ประกันสังคมคลอดบุตร
ประกันสังคมคลอดบุตร

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี จากกองทุนประกันสังคม เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3  เดือนภายในระยะเวลา 15 เตือนก่อนเดือนที่รับบริการทางการแพทย์ และเลือกโรงพยาบาลแล้วผู้ประกันตนจะได้รับ “บัตรรับรองสิทธิการรักษา” ซึ่งบัตรจะมีชื่อของผู้ประกันตน และชื่อสถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่ไม่มีภาพถ่ายติดจึงต้องใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนการเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็น

  • ผู้ป่วยนอก ( คือ ป่วยแบบไม่พบแพทย์ฯ ตรวจรักษาจัดยาให้แล้วกับบ้าน )
  • ผู้ป่วยใน ที่ต้องนอนรักษา ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่ารักษา (ยกเว้นขออยู่ห้องพิเศษหรือขอแพทย์พิเศษเอง )

สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกถือเป็น สถานพยาบาลหลัก (MAINCONTRACTOR) ซึ่งสถานพยาบาลหลักนั้นอาจมี สถานพยาบาลเครือข่าย (SUBCONTRACTOR) เช่นโรงพยาบาลเล็ก ๆ หรือคลินิกเพื่ออำนวยความสะตวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่สียค่าใช้จ่าย

กรณีคลอดบุตร

การคลอดบุตร หมายถึง การที่ทารกออกจากครรภ์มารดาซึ่งมีระยะเวลาตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่ายี่สิบแปดสัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่

ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร

ตามมาตรา 65  ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือภริยา ต่อเมื่อภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน

ผู้ประกันตนไม่มีภริยาหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงใดโดยเปิดเผย

ผู้ประกันตนตามมาตา 33 39 หรือ 40 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับหญิงนั้นด้วย

ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ได้แก่

  1. ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
  2. ค่าบำบัดทางการแพทย์
  3. ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
  4. ค่าทำคลอด
  5. ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
  6. ค่าบริบาลและค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด
  7. ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย
  8. ค่าบริการอื่นที่จำเป็น

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ประกันตนซึ่งต้องหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้

ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นการเหมาจ่ายในอัตราครั้งละ 50 % ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน

คลอดนอกโรงพยาบาลที่เลือกประกันสังคม

ผู้ประกันตนยังได้รับประโยชน์ทดแทนการคลอดบุตรตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ให้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำมาเบิกภายหลัง ดังนั้นจะขอค่าคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้

สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

เงินคลอดบุตร
เงินคลอดบุตร

สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ได้คลอดบุตร (หรือคลอดบุตรไปแล้วจะยื่นฝากครรภ์พร้อมกับคลอดบุตรก็ได้) สามารถใช้สิทธิเบิกค่าตรวจครรภ์ฝากครรภ์ได้ด้วย สูงสุดจำนวน 1,500 บาท แบ่งการจ่ายเงินเป็น 5 ครั้ง ดังนี้ (เพิ่มจากเดิม 1,000 บาท ที่จ่าย 3

ครั้ง)

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายสูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 12-20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายสูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายสูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายสูงสุด 200 บาท (ใหม่)
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายสูงสุด 200 บาท (ใหม่)

เบิกค่าคลอดบุตร

เบิกค่าคลอดบุตร
เบิกค่าคลอดบุตร
  • เดิมผู้ใช้สิทธิสามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้ คนละ 13,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง (หากคลอดลูกแฝดก็ให้นับเป็นการคลอดเพียง 1 ครั้ง แต่เงินสงเคราะห์บุตรกรณีลูกแฝดจะได้เป็น 2 เท่า) ซึ่งเงินในส่วนนี้จะสามารถไปเบิกได้หลังจากที่คลอดบุตรไปแล้ว
  • การเบิกเงินค่าคลอดบุตรนั้น ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่จะเบิกได้ 1 ครั้ง / การคลอด เท่านั้น โดยการจำเป็นที่จะต้องไปใช้บริการที่โรงพยาบาลตามที่ได้ลงทะเบียนรับรองสิทธิไว้
  • สำหรับฝ่ายชายนั้นก็สามารถเบิกเงินในส่วนนี้ได้ แต่ ไม่สามารถเบิกร่วมกันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้ โดยสามารถเลือกใช้สิทธิได้เพียง 1 คนเท่านั้น

สิทธิการลาคลอด ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิลาคลอได้ 90 วัน โดยได้รับเงินในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุด 15,000บาท) โดยสามารถใช้สิทธินี้ได้พียง 2 ครั้ง และผู้ประกันตนยังได้ค่าสงเคราะห์ เดือนละ 600 บาท / บุตร 1คนอีกด้วย ซึ่งเงินสงเคราะห์บุตรนี้จะได้รับตั้งแต่ อายุแรกเกิด ถึง อายุ 6 ปีบริบูรณ์

ค่าคลอดประกันสังคมแต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจให้ผู้คนจำนวนมากตกงานขาดรายได้ ทางคณะกรรมการประกันสังคมจึงเห็นชอบให้ปรับเพิ่มเงินค่าคลอดบุตรจากเดิม 13,000 บาท เป็น 15,000 บาท และยังมีการเพิ่มค่าฝากครรภ์เป็น 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท อีกด้วยนะคะ ทั้งหมดก็เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ที่ประกันตนจากประกันสังคม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

กรณีแท้งบุตร

หากมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือประมาณ 7 เดือน ผู้ประกันตนยังได้รับสิทธิทุกอย่างตามเดิมที่กล่าวไปข้างต้น ยกเว้นเฉพาะค่าสงเคราะห์บุตรเท่านั้น

ค่าชดเชยกรณีแท้งบุตร

  • ได้สิทธิค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย
  • ได้สิทธิหยุดงานลาคลอด

โดยมีข้อกำหนด ดังนี้

  • จ่ายเงินค่าประกันสังคมแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนแท้งบุตร
  • จะต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือ 7 เดือนขึ้นไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารที่ใช้

สิทธิคลอดบุตร เอกสารที่ใช้
สิทธิคลอดบุตร เอกสารที่ใช้

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)