บัญชีเบื้องต้น

7 หลักการบัญชีเบื้องต้น ระบบพื้นฐานนักบัญชีต้องรู้ก่อน?

Click to rate this post!
[Total: 269 Average: 5]

หลักการบัญชีเบื้องต้น

หลักการบัญชีเบื้องต้น เรียกได้ว่า เป็นหัวใจหลักของผู้ประกอบอาชีพนักบัญชี เพราะหลักการบัญชีเบื้องต้นคือพื้นฐานข้อมูล และความรู้ทางการบัญชีที่ผู้ประกอบอาชีพนักบัญชีจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้ตนสามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานบัญชีในองค์กร หลักการและวิธีการทางบัญชีตามวงจรการบัญชีที่ถูกต้อง

บัญชีเบื้องต้น

อีกทั้ง สามารถจัดทำงบการเงินและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากงบการเงินได้ และไม่เพียงแต่พนักงานทำบัญชีเท่านั้นที่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชี เบื้องต้น ผู้บริหาร เจ้าของกิจการรวมถึงนักลงทุน ก็ต้องมีความรู้เบื้องต้นของหลักการบัญชีดังต่อไปนี้เพื่อใช้ในการสอบทานความถูกต้องของงบการเงิน

คำนิยามเบื้องต้น

ที่ต้องรู้หากต้องการศึกษาหลักการบัญทึกบัญชี ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี

สมการบัญชี

สมการบัญชี คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น(ทุนส่วนเจ้าของกิจการ)
โดยสินทรัพย์ หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่บริษัทฯ อาจขาย หรือเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด หรือใช้หมดไปภายในระยะเวลา 1 ปี ในขณะที่หนี้สิน หมายความถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระเงินเกินกว่า 1 ปี หรือ. เกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และส่วนของผู้ถือหุ้น คือ แหล่งที่มาของเงินทุน จาก เจ้าของธุรกิจ หรือก็คือเงินลงทุน

กำไร-ขาดทุน เบ็ดเสร็จ

กำไร-ขาดทุน เบ็ดเสร็จ หมายถึง รายงานทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อแสดงผลกรดำเนินงานของกิจการในงวดเวลาหนึ่ง เพื่อแสดงผลกำไร เสมอตัว หรือขาดทุนของกิจการ โดยมีสมการทางบัญชี คือ รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี
* รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้ง ผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ เช่น การขายเครื่องจักร ดอกเบี้ย เป็นต้น
* ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ ซึ่งเป็นรายการที่หักออกจากรายได้ โดยทั่วไป คือ ต้นทุนขาย ค่าแรงงาน ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

รายการบัญชี

รายการบัญชี

รายการบัญชี คือ เหตุการณ์ทางการเงินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น “การซื้อทรัพย์สิน , การถอนทุน , การชำระหนี้ ,การขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า”
โดยรายการบัญชีจะส่งผลกระทบต่อสมการบัญชีเสมอ  ซึ่งรายการบัญชีหนึ่งที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดคู่กับการเปลี่ยนแปลงของอีกรายการหนึ่งหรือหลายรายการและทำให้สมการดุล (ค่าของทั้งสองข้างสมการเท่ากัน) ซึ่งเรียกการบันทึกบัญชีแบบนี้ว่า “ระบบบัญชีคู่” ที่จะถูกบันทึกทั้ง 2 ด้านในรูปแบบของด้านเดบิตและด้านเครดิต

  • ด้านเดบิต

    คือด้านบัญชีฝั่งซ้าย ใช้บันทึกรายการบัญชีการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สิน การลดลงของส่วนผู้ถือหุ้นและการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่าย

  • ด้านเครดิต

    คือด้านบัญชีฝั่งขวา ใช้บันทึกรายการบัญชีการลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน การเพิ่มขึ้นของส่วนผู้ถือหุ้นและการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่าย

ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีคู่ นอกจากจะต้องทำความรู้จักกับคำว่าเดบิต เครดิตแล้ว ยังต้องทำการแยกหมวดบัญชีออกมาเป็น 5 ประเภท

หมวดบัญชี

หมวดบัญชีออกมาเป็น 5 ประเภท

  1. หมวดบัญชีสินทรัพย์หากมีค่าเพิ่มขึ้นบันทึกด้านเดบิต แต่หากวิเคราะห์แล้วลดลงจะบันทึกไว้ด้านเครดิต
  2. หมวดบัญชีหนี้สินหากมีค่าเพิ่มขึ้นบันทึกด้านเครดิต แต่หากวิเคราะห์แล้วลดลงจะบันทึกไว้ด้านเดบิต
  3. ส่วนบัญชีของผู้ถือหุ้นหากมีค่าเพิ่มขึ้นบันทึกด้านเครดิต แต่หากวิเคราห์แล้วลดลงจะบันทึกไว้ด้านเดบิต
  4. ส่วนบัญชีของรายได้หากมีค่าเพิ่มขึ้นบันทึกด้านเครดิต แต่หากวิเคราห์แล้วลดลงจะบันทึกไว้ด้านเดบิต
  5. ส่วนบัญชีของรายจ่ายหากมีค่าเพิ่มขึ้นบันทึกด้านเดบิต แต่หากวิเคราะห์แล้วลดลงจะบันทึกไว้ด้านเครดิต

และเมื่อวิเคราะห์รายการบัญชี จำแนกการขึ้นลงของเดบิตเครดิตได้แล้ว ให้ทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีรูปตัวที ซึ่งด้านซ้ายจะเป็นเดบิตและด้านขวาเป็นเครดิต ซึ่งผลการบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิตจำนวนเงินจะต้องเท่ากันตามหลักการบัญชีคู่ทุกครั้ง
จากนั้นทำการรวมยอดในแต่ละหมวดบัญชี โดยสมการบัญชีต้องดุลทุกครั้งตามหลัก :  สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น การบันทึกบัญชีนั้น ๆ จึงจะถือว่าถูกต้อง ซึ่งการลงบันทึกรายการบัญชีแบบนี้จะทำให้เราวิเคราะห์ภาพรวมของบัญชีทั้งหมดได้และสร้างเป็นงบการเงินฉบับทดลอง
จากนั้นนำมาปรับปรุงให้ถูกต้อง จนกลายเป็นงบการเงินฉบับที่ถูกต้อง มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ สามารถนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ทำให้วงจรบัญชีของกิจการนั้นๆสมบรูณ์
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หลักการบัญชี เบื้องต้น เป็นความรู้เกี่ยวกับการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่าเสมอ โดยหากนักบัญชีมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะสามารถจัดแยกประเภทได้เป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com