ทำบัญชีออนไลน์

2 ภาษี ทําบัญชีขายของออนไลน์รู้ก่อนไม่พลาด?

Click to rate this post!
[Total: 170 Average: 5]

ทําบัญชีขายของออนไลน์

ทําบัญชีขายของออนไลน์

ทําบัญชีขายของออนไลน์

ทําบัญชีขายของออนไลน์ การเริ่มต้นขายของออนไลน์ เมื่อเริ่มต้นขายของออนไลน์ในวันแรก ที่ยังไม่มีรายได้ พ่อค้า แม่ค้า ก็ยังไม่คำนึงถึงหรอกว่าว่าจะต้องเสียภาษีขาย หรือต้องทำบัญชีหรือไม่ เพราะการการขายของออนไลน์ในปัจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Social Media แอพพลิเคชั่น หรือแม้กระทั้ง ขายเองโดนตรงโดนการโอนเงิน ทั้งหมดที่พูดมา หากสร้างรายได้ให้กับผู้ขาย ผู้ขายก็ต้องคิดแล้วว่าเมื่อมีรายได้เยอะขึ้น จะต้องทำอย่างไร ทำบัญชีขายของออนไลน์หรือไม่ ภาษีออนไลน์ต้องเสียไหม หากเสีย มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และต้องเสียอย่างไร

ภาษีขายของออนไลน์

ภาษีขายของออนไลน์

จริง ๆ แล้วคำว่า “ภาษีออนไลน์” หรือ “ภาษีขายของออนไลน์” เป็นสิ่งที่ไม่มีคำนิยาม หรือความหมาย ที่กำหมด โดยตรง และเป็นสิ่งใหม่ ที่พูดกันช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ปัจจุบันมีแอพพิเคชั่นที่ช่วยในการขายของออนไลน์ ให้พ่อค้าแม่ค้า ขายของได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่ได้เป็นการขายของออนไลน์แบบ สมัยเก่า ที่ต้องมานั่งขายเอง รับเงินสดบ้าง โอนเงินบ้าง แพ็คของเอง ทำสต็อกเอง ส่งสินค้าเอง ลงบัญชีเอง เป็นต้น

ปัจจุบันมีแอพิเคชั่น ที่ครบวงจร เพียงแค่ผู้ขาย สมัครแอพ ลงแอพ แล้วนำของที่ต้องการขายถ่ายรูป เมื่อมีคนมาเลือกซื้อ ไม่ว่าทำการตลาดจากช่องทางการโฆษณาแบบไหน ผู้ซื้อก็เพียงแค่คลิก ชำระเงิน สินค้าที่ต้องการ ก็มีจะบริการ นำส่งให้ ถึงมือ ผู้ขายเพียงแค่นับเงินที่รับอย่าง และจ่ายแค่ค่าบริการแอพิเคชั่น ทำให้รายได้เข้าโดยตรงกับบัญชีธนาคารเกือบทั้งหมด

ทำให้สรรพากร หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการปรับตัวในการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากรายได้ของพ่อค้า แม่ค้ากลุ่มนี้ โดยออกกฎกระทรวง ฉบับบที่ 355 (พ.ศ.2562) เรื่อง ให้ธนาคารต้องส่งรายงานทางเงิน ของพ่อค้า แม่ค้ากลุ่มนี้ ให้กับกรมสรรพากร

เสียภาษีออนไลน

ภาษีร้านค้าออนไลน์ขายของออนไลน์ทําอย่างไร ก่อนอื่นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อให้ทราบถึงรายได้ ค่าใช้จ่ายที่แท้จริง จะได้นำมาคำนวนเพื่อเสียภาษีได้ และเป็นการทำบัญชีขายของออนไลน์ ไปในตัว แล้วภาษีที่ได้จากการขายของออนไลน์มีอะไรบ้าง

ภาษีขายของออนไลน์ ที่เกี่ยวข้อง  ขายการของออนไลน์ ขอแบ่ง เป็น 2 แบบ คือ

  • 1 ขายในรูปแบบบุคคลธรรมดา
    • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ภาษีนำเข้า
  • 2 ขายในรูปแบบนิติบุคคล
    • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ภาษีนำเข้า

ภาษีขายของออนไลน์ ที่เกี่ยวข้อง

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ง่าย ๆคือ เมื่อผู้ซื้อโอนเงินเข้าบัญชี ที่มีชื่อ เป็นบุคคลธรรมดา ให้ถือว่าเป็นขายขายของโดยบุคคลธรรมดานั้นเอง และกฎหมายยังได้กำหนดไว้ว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา เมื่อเริ่มมีรายได้จากการขาย ผู้ขายจะต้อง เสียภาษีบุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภงด 94 (ครึ่งปี) และ ภงด.90 (ปลายปี)  (กรณีขายของออนไลน์เข้ามาตรา 40(8) )

สรุป ขายของออนไลน์ในรูปแบบ บุคคลธรรมดา

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ยื่นแสดงรายได้ครึ่งปีแรก
  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ยื่นแสดงรายทั้งปี

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเสียภาษีนิติบุคคล ข้อนี้ผู้ขายน่าจะพอทราบอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก การโอนเงินเข้าบัญชี ที่ไม่ใช่ชื่อบุคคลธรรมดา แต่ให้โอนไปที่ชื่อ นิติบุคคล แทน ก็แสดงว่าผู้ขาย ได้ทำการจดจัดตั้งบริษัทขึ้นมา สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้เงินจากการขายของออนไลน์แล้ว  หลัก ๆ คือ จัดให้มีผู้ทำบัญชี จัดทำบัญชี มีคนลงชื่อผู้ทำ ปิดงบการเงิน และยื่นงบการเงิน เป็นต้น

สรุป ขายของออนไลน์ในรูปแบบ นิติบุคคล

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 รายได้ครึ่งปีแรก
  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รายทั้งปี

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แน่นอนข้อนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาย แล้วรายได้เกิน1,800,000 บาท ทำให้ต้องเสียภาษีขายของออนไลน์ต้องเสียแน่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล จะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยการเข้าสู่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ มีวิธีการดังนี้

  • กรณี นิติบุคคล ต้องจดแจ้งภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร ในเขตพื้นที่ ที่จดจัดตั้งบริษัท
  • กรณี บุคคลธรรมดา ต้องจดแจ้งภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร ในเขตพื้นที่ตามบัตรประชาชนผู้แจ้งจด

แบบที่ใช้ยื่น คือ

  • ภงด 51 ภาษีครึ่งปี ช่วงเวลาที่ยื่น
  • ภงด 50 ภาษีทั้งปี ช่วงเวลาที่ยื่น

4.ภาษีนำเข้า

หากสินค้าที่ขายมีการนำเข้า และถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีนำเข้า ก็เลี่ยงไม่ได้ที่ ที่จะต้องจ่ายเพื่อใหได้สินค้ามาขาย ส่วนการเสียภาษีนำเข้านั้น จะกระทำการผ่านกรมศุลกากร ด้วยตัวเอง หรือใช้บริการ จากบริษัทที่รับทำก็ได้ หากใช้บริษัทพวกนี้ก็จะเกิดความสะดวก เพราะเอกสารที่ต้องจัดทำในการนำเข้ามีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อย

วิธีคำนวนภาษีนำเข้า

  1. (ค่าสินค้า + ประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) = ราคา CIF
  2. ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า = ภาษี
  3. (ภาษี + ราคา CIF) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ

**ถ้าสินค้ามีหลายตัวให้เฉลี่ย ค่าประกัน ค่าขนส่งระหว่างประเทศ แล้วค่อยใส่ลงไปในสินค้าแต่ละตัวนะครับ ง่ายมากเลยใช่มั้ยละครับ 🙂

ให้เราเอาทั้ง 3 ตัวมารวมกันก็จะได้ราคา CIF  COST + INSURANCE + FREIGH

5.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อกิจการที่ค้าขายอยู่ อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็เลี่ยงไม่ได้  กับ ภาษี หัก ณที่จ่าย ที่พวงเข้ามาด้วย แต่จะเกี่ยวข้องกับเฉพาะนิติบุคเท่านั้น เนื่องจาก บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิหัก ณ ที่จ่าย

อะไรบ้างที่ต้องเสีย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่น จ่ายค่าโฆษณา จ่ายค่าบริการ ค่าขนส่ง เป็นต้น

แบบที่ต้องนำส่ง

  • ภงด 1 กรณี มีการจ้างพนักประจำก็จำเป็นจะต้องยื่น
  • ภงด 3 กรณี มีการจ่ายค่าบริการ ค่าจ้าง ค่าโฆษณา ให้กับบุคคลธรรมดา เป็นต้น
  • ภงด 53 กรณี มีการจ่ายค่าบริการ ค่าจ้าง ค่าโฆษณา ให้กับนิติบุคคลธรรมดา เป็นต้น

การขายของออนไลน์ เป็นอาชีพที่มาแรงในปัจจุบันเนื่องจากสะดวกต่อผู้ขายเนื่องจากไม่ต้องมีการเสียค่าเช่าหน้าร้าน หรือสินค้าบางประเภทก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสต้อคสินค้าเอาไว้ทีละเยอะๆ  และมีสินค้ามากมายหลายประเภทเนื่องจากเมื่อมีเวลาว่างมนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็สามรถเอาเวลาที่ว่างมาขายของทางเน็ตได้ ส่วนใครที่ยังคิดไม่ออกว่าจะการขายของออนไลน์ต้องทำอย่างไร  การเริ่มต้นขายของออนไลน์ต้องเริ่มจากจากตรงไหน ก็ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการขายของออนไลน์หรือการขายของทางเน็ตนั้นมีกี่ประเภท ซึ่งการขายของออนไลน์นั้นก็จะสามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆดังนี้

เมื่อมีเงินได้มาตรา401-8 รายได้ที่นั้นได้จากการขายของออนไลน์ กรณีบุคคลธรรมดามีให้เลือกเสียภาษีอยู่ 2 วิธี คือ

1.การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60 % จากรายได้

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ๆ คือ นำรายได้ที่ได้ขายทั้งหมดนำมา คูณ 60% เพื่อให้ได้ยอดค่าใช่จ่ายแบบเหมา แล้วค่อยนำ ยอดค่าใช้จ่ายแบบเหมา มาลบกับ รายได้ที่ขายได้ทั้ง ส่วนต่างที่ได้ให้นำไปคำนวณ เพื่อเสียภาษี

ตัวอย่างการคำนวณหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา

นาย ธนากร ขายของออนไลน์มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ทำการคำนวนภาษีเพื่อไปยื่นกรมสรรพากรโดยการเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%  จะมีวิธีการคำนวณดังนี้

= 2,000,000 × 60% = 1,200,000

   (เงินได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่ายแบบเหมา60%)

= 2,000,000 – 1,200,000

   (เงินได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่ายแบบเหมาที่คำนวณได้)

เงินได้สุทธิ = 800,000

นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามขั้นบันได ซึ่งในที่นี้อยู่ในขั้นที่5

= 800,000 – 750,000 = 50,000

= 50,000 × 20 % = 10,000

รวมภาษีที่ต้องชำระ = 10,000 + 65000 =  75000

2.หักตามค่าใช้จ่ายจริง

ยื่นภาษีขายเกิน

แล้วถ้าหากเรา ยื่นภาษีขายเกิน ต้องทำอย่างไร

หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ กรอกแบบในการยื่นภาษีผิดพลาด หรือยื่นภาษีขายเกินไปนั้น เราสามารถขอคืนภาษีได้ด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.30เพิ่มเติม โดยทำการปรับปรุงยอดขายให้ถูกต้อง แล้วเลือกข้อ ยอดขายแจ้งไว้เกิน กันภาษีแจ้งไว้เกิน และต้องคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่มเข้าไปด้วย

โดยอัตราในการคิดเบี้ยปรับมีดังนี้

1.กรณียื่นเพิ่มเติม (เคยยื่นแบบปกติไปแล้ว)

  • ถ้าชำระภายใน 1 – 15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 2 %
  • ถ้าชำระภายใน 16 – 30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 5 %
  • ถ้าชำระภายใน 31 – 60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 10 %
  • ถ้าชำระภายใน 60 วันขึ้นไป คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 20 %

2.กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน

  • ถ้าชำระภายใน 1 – 15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 2 % × 2เท่า
  • ถ้าชำระภายใน 16 – 30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 5 % × 2เท่า
  • ถ้าชำระภายใน 31 – 60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 10 % × 2เท่า
  • ถ้าชำระภายใน 60 วันขึ้นไป คิดค่าเบี้ยปรับในอัตตรา 20 % × 2เท่า

การคิดเงินเพิ่ม

คำนวณโดยการ (ภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น × 1.5%) × จำนวนเดือนที่ผ่านมาแล้ว(เศษของเดือนให้นำมาปัดขึ้น)

*กรณีที่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ทำการยื่นแค่เบี้ยปรับแบบเท่านั้น

ตัวอย่าง นาย A ยื่นยอดขายในเดือนมกราคม 2564 ไว้เกิน 1,000 บาท จึงยื่นแบบเพิ่มเติมในเดือนมีนาคม 2564จะมีวิธีกรอกแบบดังนี้ ใส่ยอดขายที่ช่องยอดขายแจ้งไว้เกิน 1,000 บาท  ภาษีเดือนนี้  70บาท ภาษีที่ชำระเกินเดือนนี้ 70 บาท ชำระภาษีเกิน 70 บาท

วิธีคิดเบี้ยปรับ = 70 × 10% = 7 บาท

วิธีคิดเงินเพิ่ม = (70 × 1.5%) × 2 (เดือน)  = 2.10 บาท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทําบัญชีขายของออนไลน์

ทําบัญชีขายของออนไลน์

เงินได้จากการขายสินค้าออนไลน์นั้นส่วนใหญ่จะจัดอยู่ใน เงินได้มาตรา40(8) โดยจะมีวิธีการคำนวณ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย -ลดหย่อน) × อัตราภาษีตามขั้นบันได

ซึ่งการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้มาตรา40(8)นี้สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  • 1.1 การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60 % จากรายได้
  • 1.2 หักตามที่จ่ายจริง ซึ่งวิธีนี้จำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานของค่าใช้จ่ายนั้นๆอย่างครบถ้วน

วิธีที่ 2 เงินได้ × 0.5 % หากเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับวิธีที่ แล้วนำส่งภาษีตามจำนวนภาษีที่คำนวนได้มากกว่า

ขั้นเงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด อัตราภาษี ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้น ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0-150,000 150,000 5 ยกเว้น* 0
150,001-300,000 150,000 5 7,500 7,500
300,001-500,000 200,000 10 20,000 27,000
500,001-750,000 250,000 15 37,000 65,000
750,001-1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
1,000,001-2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
2,000,001-5,000,000 3,000,000 30 900,000 1,265,000
5,000,001 ขึ้นไป 35
อัตราภาษีบุคคลธรรมดา ตามขั้น 

ขั้นตอนการเสียภาษีออนไลน์

1.เข้าไปที่เว็บของกรมสรรพากร https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php  แล้วเลือก ยื่นแบบออนไลน์1

2.เลือกแบบภงด 90/91

1.1

3.คลิกที่ปุ่ม “ยื่นภ.ง.ด.90/91”1.2

4.ทำการล้อคอินเข้าระบบ

1.3

5.ทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ยื่นภาษี1.5

6.ระบบจะให้ผู้เสียภาษีระบุสถานภาพ เมื่อระบุครบถ้วนแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป1.6

7.ให้ผู้ยื่นภาษีระบุประเภทเงินได้มาตรา40(8) และค่าลดหย่อนที่ผู้ยื่นภาษีมีให้ครบถ้วน แล้วเลือก ทำรายการต่อไป1.7

8.ทำการบันทึกเงินได้,ระบุประเภทเงินได้,ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ยื่นภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน1.8

9.บันทึกค่าลดหย่อยทั้งหมดที่ผู้ยื่นภาษีมี1.9

10.ตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ยื่นภาษีได้ทำการบันทึกข้อมูลว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ในหน้านี้ระบบจะทำการแสดงภาษีที่ผู้ยื่นภาษีจะต้องเสียหรือได้คืน หากตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป1.10

11.ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้มีเงินได้ และภาษีที่ต้องชำระอีกครั้ง เมื่อเสร็จแล้วเลือก ยืนยันการยื่นแบบ

บัญชีออนไลน์

ในการขายของออนไลน์นั้นการทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ขั้นตอนแรก คือการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะช่วยให้ร้านค้าสามารถคำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และยอดขายในเดือนนั้น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์วางแผนว่าในเดือนหน้าสามารถลดค่าใช้จ่าย และเป็นการทำสต้อคสินค้าไปในตัว หากเราได้มีการทำบัญชีสรุปรายรับรายจ่ายเอาไว้ เราสามารถนำมาคำนวณภาษีที่ร้านค้าออนไลน์จะต้องเสียในแต่ละปีได้เลย

ตัวอย่างบัญชีขายของออนไลน์

วิธีทำบัญชีรับจ่ายร้านค้าออนไลน์มีขั้นตอนการทำบัญชีรับจ่ายง่าย

  • นำสมุดมาแบ่งเป็นช่องรายการ รายรับ รายจ่าย ยอดคงเหลือ
  • ทำการจดบันทึกทุกๆครั้งที่มีการเกิดรายการรับจ่าย
  • สรุปยอดในแต่ละวัน ว่าหลังจากเกิดรายรับ-รายจ่ายแล้วมียอดคงเหลือเท่าไหร่

ตัวอย่างการทำบัญชีขายของออนไลน์Screen Shot 2564 03 19 at 10.58.57

ที่มาข้อมูล ค่าสอบบัญชี ทําบัญชีขายของออนไลน์ เปิด สำนักงาน บัญชี จ้าง ทํา บัญชี ตาราง ค่า สอบ บัญชี