จรรยาบรรณ

7 จรรยาบรรณ ความหมายหมายถึงจันยาบันสำคัญที่ไม่มีใครพูด?

Click to rate this post!
[Total: 148 Average: 5]

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ คือ (Ethics) ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 : 134 หมายถึง ความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ กําหนดขึ้น เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณ ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2542 : 28 ; อ้างอิงมาจาก Boston Ally and Bacon. 1994 : 65) ได้ให้ความหมายคําว่า จรรยาบรรณ ไว้ว่าคือ มาตรฐานของความประพฤติและการใช้ดุลยพินิจทางศีลธรรมที่ว่าการกระทําของบุคคล / องค์กรถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร จากแนวความคิดดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า จรรยา บรรณ เป็นแนวทางที่บุคคลในองค์กรนั้นๆ ใช้เป็นหลักยึดถือปฏิบัติในการทํางานและแนวทางนั้นจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม หลักธรรมที่ดีงามขององค์กร และเกิดประโยชน์ต่อสังคมและความประพฤติ

จรรยา บรรณ จึงมีความสําคัญเพราะเป็นพื้นฐานแนวทาง ต่อการปฏิบัติงานในอาชีพทุกอาชีพ ซึ่งจรรยา บรรณจะช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรในแต่ละบทบาทหน้าที่ ช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่การทํางานเป็นไปโดยถูกต้อง รวมทั้งทําให้องค์กรมีความสามัคคีและปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขทําให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางาน นอกจากนั้นจรรยา บรรณจะช่วยให้การบริหารงานขององค์กรเป็นไปด้วยคุณธรรม ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ้งกันและกัน ความสําคัญของจรรยา บรรณ กรมการศาสนา (2522 : 68) ได้ให้สาระสําคัญดังนี้

1. ช่วยควบคุมมาตรฐาน ประกันคุณภาพ และปริมาณที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน และการดําเนินงานขององค์กร
2. ช่วยควบคุมจริยธรรมของบุคคลในองค์กรให้เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม
3. ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน คุณภาพ และปริมาณของผลการปฏิบัติงานขององค์กร จัดทําขึ้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่เสมอ
4. ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร และดําเนินการให้มีความเมตตา กรุณา เห็นอกเห็นใจต่อผู้ร่วมงานในองค์กร
5. ช่วยลดการเอารัดเอาเปรียบ การฉ้อฉล ความเห็นแก่ตัว ตลอดจนความมักง่าย ใจแคบไม่เคยเสียสละ
6. ช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีขององค์กรที่มีจริยธรรม
7. ช่วยทําหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฎหมายขององค์กร ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามทํานองคลองธรรม

บุคคลหรือสมาชิกในองค์กร มีหน้าที่การทํางานทุกชนิดทุกประเภท จําเป็นที่จะต้องคํานึงถึงจรรยา บรรณที่ถูกต้องกับความต้องการของสังคม ที่ยึดถือเป็นหลักของการทํางานขององค์กร จึงจะทําให้สังคมนัันมีระเบียบ วินัย ศิลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม ในทํานองเดียวกัน หากบุคคลหรือสมาชิกในองค์กร เป็นผู้มีจรรยาบรรณ หรือประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงาม และควรประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมจะทําให้การดําเนินงานขององค์กรเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บุคคลทุกคนในองค์กรมีความสามัคคี ร่วมใจกันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และงานทุกอย่างบรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้ แต่บุคคลหรือสมาชิกในองค์กร หรือประเทศชาติขาดจิตสํานึกของจรรยา บรรณ ก็จะทําให้องค์กร หรือประเทศชาติเกิดวิกฤติในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจในยุค IMF ในปัจจุบัน เป็นเพราะบุคคลในทางสถาบันการเงินและผู้นําประเทศบางคน ขาดจรรยา บรรณของอาชีพอย่างแท้จริง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชาติตกต่ำ และส่งผลให้ประชาชนทุกคนในประเทศ ได้รับความเดือดร้อนทั่วหน้าทุกคน

จรรยา บรรณของบุคคลในองค์กร จึงเป็นสิ่งจําเป็นและมีความสําคัญอย่างมากขององค์กร และประเทศชาติ เพราะจรรยา บรรณเป็นแนวความคิด ความเชื่อ ค่านิยม กฎหมาย ระเบียบประเพณี และวัฒนธรรมของสังคมที่ดีผสมผสานกันไป เพื่อให้บุคคลและสมาชิกในองค์กรได้ยึดเพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานภายในองค์กร โดยจรรยา บรรณของบุคคลในองค์กรใดก็ตาม สามารถสะท้อนไปให้เห็นได้จากคุณลักษณะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ เสถียร วรรณปก. (2537 : 40) ได้ให้คุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ดังนี้

ครูจะต้องเป็นครูทุกขณะจิต
ต้องรู้โลกรู้ชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง
ต้องมีปฏิภาณโวหารแสดง

ต้องเป็นแหล่งก้าวหน้าวิชาการ
ต้องสอนคนมากกว่าสอนหนังสือ
ไม่เพียงถือชอล์กปากกาพาเรียนอ่าน
หวังอุทิศชีวิตจิตวิญญาณ

ให้แก่งานปลูกฝังในทางดี
ครูเป็นที่รัก – เคารพและยกย่อง
ครูจะต้องตระหนักในศักดิ์ศรี
มีหลักการ เหตุผล กลวิธี

ครูต้องมีความอดทนสร้างผลงาน
ครูต้องมีทั้งความดีและความแก่ง
ครูจะต้องเคร่งจริยะมาตรญาน
เป็นประทีปเจิดจรัสชัชวาล
ส่องนําจิตวิญญาณของปวงชน

ที่มา:https://www.rmutk.ac.th/document/janyaban.pdf

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com