พิสูจน์ยอดเงินฝาก

2 งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร กระทบยอดย้อนหลังแบบง่ายๆ?

Click to rate this post!
[Total: 129 Average: 5]

งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร คือ

การทำ งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร หมายถึง งบที่ทำขึ้นเมื่อยอดเงินคงเหลือของใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคารกับยอดคงเหลือของบัญชีธนาคารตามสมุดบัญชีของกิจการไม่เท่ากัน  เพื่อนำมาใช้เป็นข้อพิสูจน์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อแตกต่างของทั้งสองยอด  สาเหตุที่ทำให้ยอดเงินฝากคงเหลือตามสมุดบัญชีของกิจการกับยอดเงินฝากคงเหลือตามใบแจ้งยอดไม่เท่ากัน สามารถเกิดได้จาก

สาเหตุที่ทําให้ยอดเงินฝากธนาคารไม่ตรงกับใบแจ้งยอดธนาคาร

1. กิจการบันทึกรายการเพิ่มยอดเงินฝากธนาคาร หรือลดยอดเงินฝากธนาคารเพียงฝ่ายเดียว
2. ธนาคารบันทึกรายการเพิ่มยอดและลดยอด ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือในใบแจ้งยอดเงินฝากของธนาคารเพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้แจ้งให้กิจการทราบ
2.1 รายการที่ธนาคารบันทึกเพิ่มยอดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพียงฝ่ายเดียวกรณีนี้ทำให้ยอดเงินฝากธนาคารของกิจการต่ำกว่ายอดเงินฝากตามใบแจ้งยอดธนาคาร เช่น

  • ธนาคารเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินให้กิจการได้ และบันทึกเพิ่มยอดในบัญชีกระแสรายวันแล้ว แต่กิจการยังไม่ทราบ เพื่อให้ยอดทั้งสองด้านเท่ากัน ดังนั้นจะต้องเพิ่มยอดทางด้านสมุดบัญชีของกิจการ
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก คือ กิจการมียอดเงินฝากที่ธนาคารเมื่อธนาคารคิดดอกเบี้ยให้แก่กิจการ ธนาคารจะเพิ่มยอดบัญชีเงินฝากของกิจการแล้วแต่กิจการยังไม่ทราบ เพื่อให้ยอดสองด้านเท่ากัน ดังนั้นจะต้องทำการเพิ่มยอดทางด้านสมุดบัญชีของกิจการ

2.2 รายการที่ธนาคารบันทึกลดยอดหรือหักยอดเงินฝากกระแสรายวัน ของธนาคารเพียงฝ่ายเดียว แต่กิจการยังไม่ได้บันทึกลดยอด กรณีนี้ยอดเงินฝากธนาคารในสมุดบัญชีของกิจการสูงกว่ายอดเงินฝากตามใบแจ้งยอดธนาคาร ได้แก่ 1. ค่าธรรมเนียมธนาคาร เช่น ค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงิน ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน เมื่อธนาคารคิดค่าธรรมเนียมก็จะหักบัญชีเงินฝากของกิจการโดยยังไม่ได้แจ้งให้กิจการทราบ เพื่อให้ยอดทั้งสองด้านเท่ากัน ดังนั้นจะต้องทำการลดยอดทางด้านสมุดบัญชีของกิจการ

3. เช็คคืน คือ เช็คที่กิจการได้รับมา และได้นำฝากธนาคารเรียบร้อยแล้ว โดยที่กิจการและธนาคารได้บันทึกเพิ่มยอดในบัญชีทั้งสองฝ่ายแล้ว ต่อมาธนาคารได้เรียกเก็บเงินแต่ปรากฏว่าเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารก็จะลดยอดบัญชีเงินฝากของกิจการและกิจการจะทราบก็ต่อเมื่อได้รับใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร เพื่อให้ยอดสองด้านเท่ากัน ดังนั้นจะต้องทำการลดยอดทางด้านสมุดบัญชีของกิจการ

4. กิจการให้ธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ แทนกิจการ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายดังกล่าวขึ้นธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากของกิจการ กิจการจะทราบก็ต่อเมื่อได้รับใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร เพื่อให้ยอดสองด้านเท่ากัน ดังนั้นจะต้องทำการเพิ่มยอดทางด้านสมุดบัญชีของกิจการ 2.3. รายการที่กิจการหรือธนาคารบันทึกรายการผิดพลาด

 งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเป็นอีกหนึ่งงบที่มีความสำคัญและไม่ควรละเลย ควรเอาใจใส่และตรวจดูอยู่เสมอว่าเงินฝากในธนาคารกับยอดที่บันทึกบัญชีในสมุดเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากันก็ให้ทำการแก้ไขโดยการหาสาเหตุหรือที่มาว่าเหตุใดจึงมียอดไม่เท่ากัน ในการทำบัญชีนั้น หากกิจการมีการนำเงินไปฝากธนาคารหรือถอนเงินจากธนาคาร หรือมีการสั่งจ่ายเจ้าหนี้ด้วยเช็ค ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีและการทำงบกระทบยอดเงินฝากเพื่อพิสูจน์ว่าเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกับจำนวนเงินคงเหลือที่เราบันทึกบัญชีไว้นั้นตรงกันหรือไม่ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารกันก่อน

งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร กิจการหลายแห่งมีมาตรการในควบคุมเงินสด โดยให้นำเงินที่ได้รับในแต่ละวันฝากเข้าธนาคารทุกวัน หากมีการจ่ายเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนดตามระเบียบของกิจการนั้น ๆ ให้จ่ายเป็นเช็ค ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบเงินฝากธนาคารกับเช็คที่สั่งจ่ายว่าตรงกับบัญชีเงินฝากของธนาคารกับสมุดบัญชีของกิจการหรือไม่ หากไม่ตรงกันต้องหาสาเหตุ ด้วยการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ธนาคาร เพื่อปรับปรุงบัญชีเงินฝากธนาคารและยอดบันทึกบัญชีในสมุดให้มียอดเงินที่ถูกต้องตรงกัน สาเหตุของความไม่เท่ากันของยอดเงิน

เมื่อคุณได้รับเอกสารใบแจ้งยอดของธนาคารแล้วพบว่ายอดไม่เท่ากับที่ลงไว้ในสมุด คุณต้องหาสาเหตุซึ่งสาเหตุที่ทำให้ยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารกับสมุดบัญชีของกิจการไม่เท่ากับใบแจ้งยอดของธนาคาร คือหนึ่ง เป็นรายการที่กิจการบันทึกบัญชีแล้ว แต่ธนาคารยังไม่ได้บันทึกบัญชี อาทิ เงินฝากระหว่างทาง เช็คค้างจ่าย เช็คคืน เป็นต้น สองรายการที่ธนาคารบันทึกบัญชีแล้ว แต่กิจการยังไม่บันทึกบัญชี เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน ค่าธรรมเนียมธนาคาร หรือรายการที่มีการบันทึกบัญชีไว้ผิดพลาดทั้งฝั่งธนาคารและฝั่งของกิจการเอง รายการที่กิจการบันทึกไว้ผิดพลาด เช่น บันทึกฝากเงินสูงหรือต่ำไป บันทึกถอนเงินสูงหรือต่ำไป ส่วนรายการที่ธนาคารบันทึกไว้ผิดพลาด เช่น บันทึกฝากเงินสูงหรือต่ำไป บันทึกถอนเงินไว้สูงไป การนำเช็คจ่ายของผู้อื่นมาหักบัญชีของเรา (กิจการ) และการบันทึกถอนเงินไว้ต่ำไป เป็นต้น

งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

ขั้นตอนการพิสูจน์งบเงินฝากธนาคาร

1.ให้เปรียบเทียบยอดดุลต้นงวด ในสมุดเงินสดกับใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคารว่ามีเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากันให้ย้อนไปดูงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ธนาคารงวดที่ผ่านมาว่ามียอดใดที่กระทบแล้วตรงกันและยอดใดที่ไม่ตรงกัน
2.เทียบรายการในสมุดเงินสด กับใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคารทั้งทางด้านเดบิตและเครดิต โดยด้านเดบิตของสมุดเงินสดเทียบกับด้านเครดิตของใบแจ้งยอดธนาคาร และด้านเครดิตของสมุดเงินสดเทียบกับด้านเดบิตของใบแจ้งยอดธนาคาร หากมีรายการใดที่ตรงกันให้ทำเครื่องหมายไว้
3.นำรายการที่แตกต่างกันในข้อ 2 มาหาสาเหตุเพื่อจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ธนาคารต่อไป การหมั่นตรวจดูยอดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารและในสมุดของกิจการให้ตรงกันเสมอย่อมเป็นผลดีและถูกต้องตามหลักในการจัดทำบัญชี

ขั้นตอนการพิสูจน์งบเงินฝากธนาคาร

แนวการตรวจสอบยอดเงินฝากธนาคาร

แนวการตรวจสอบยอดเงินฝากธนาคาร ส่งหนังสือขอข้อมูลจากธนาคาร ไปยังธนาคารทุกแห่งที่กิจการที่ติดต่อธุรกิจด้วย ขอสำเนางบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ณ วันสิ้นงวดบัญชีและตรวจสอบ ดังนี้    

          – ตรวจสอบยอดคงเหลือตามบัญชีแยกประเภททั่วไป หรือสมุดเงินสด ณ วันสิ้นงวดบัญชีกับยอดคงเหลือตามบัญชีของงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ณ วันสิ้นงวดบัญชี -ตรวจสอบการบวกเลขของงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ธนาคาร -เปรียบเทียบยอดคงเหลือตามบัญชีธนาคารกับหนังสือขอข้อมูลจากธนาคาร และยอดคงเหลือในใบแจ้งยอดธนาคาร หรือสมุดเงินฝาก ณ วันสิ้นงวดบัญชี

         – ตรวจสอบรายการกระทบยอดที่ผิดปกติในงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ธนาคารกับเอการประกอบรายการ -ตรวจสอบรายการเงินฝากระหว่างทาง ณ วันสิ้นงวดบัญชีที่นำฝากธนาคารไม่ทัน และรายการถอนเงินกับใบแจ้งยอดธนาคาร ณ วันสิ้นงวด และติดตามรายดารนี้กับใบแจ้งยอดธนาคารของเดือนถัดไป

         – ตรวจสอบรายการเช็คค้างจ่าย ณ วันสิ้นงวดบัญชีกับใบแจ้งยอดธนาคาร สำหรับรายการที่มีสาระสำคัญกรณีที่มีการตรวจสอบกับหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ลายมือชื่อผู้รับเงิน เป็นต้น

        – ตรวจสอบและสอบสวนหาสาเหตุสำหรับเช็คค้างจ่ายที่ผู้รับยังไม่ได้นำไปขึ้นเงิน ภายในเวลาที่เหมาะสม กรณีที่เป็นเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำ ให้ตรวจสอบการคำนวณดอกเบี้ยรับ และดอกเบี้ยค้างรับที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบหนังสือขอข้อมูลจากธนาคาร และสอบทานสัญญาต่างๆอ่านรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาถึงภาระผูกพัน รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้เงินสดหรือเงินฝากธนาคารเพื่อการค้ำประกัน

statementงบเปรียบเทียบยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Reconciliation) หมายถึง เป็นงบที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องระหว่างตัวเลขที่บันทึกของกิจการและตัวเลขในบัญชีของธนาคาร โดยจัดทำขึ้นสำหรับใช้กับบัญชีกระแสรายวันเพื่อบันทึกการฝากเงินและถอนเงินของกิจการและธนาคารเป็นระยะๆ 

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com