ค่าโสหุ้ย

5 Overhead Cost ค่าโสหุ้ย การผลิตตัดออกเลยสิ้นเปลืองเงิน?

Click to rate this post!
[Total: 156 Average: 5]

ค่าโสหุ้ย

ค่าโสหุ้ย ( Overhead Cost ) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ เป็นต้นทุนแฝงที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับให้ค่าโสหุ้ยลดลง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจและลดภาระค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งโสหุ้ยที่ดีจะต้องมีค่าน้อย เพราะถ้าโสหุ้ยมากๆจะทำให้ธุรกิจเสี่ยงต่อการขาดทุน จึงมักนำโสหุ้ยที่เป็นต้นทุนคงที่มาปรับให้เป็นต้นทุนผันแปรนั่นเอง

ค่าโสหุ้ย

โสหุ้ยการผลิต

อันที่จริงถ้าให้พูดกันแบบเข้าใจง่ายๆตามหลักการทำบัญชี ค่า โสหุ้ยก็คือค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ โดยผู้ประกอบอาจจะควบคุมหรือไม่ได้ควบคุมก็ได้ แต่นั่นหมายถึงการบริหารงานที่ไม่เป็นระบบ เพราะค่าใช้จ่ายคือต้นทุนของกิจการผู้ประกอบจึงจะต้องพยายามหาวิธีให้ค่า โสหุ้ยน้อยลดมากที่สุด เพื่อผลกำไรที่คาดหวังไว้ประสบความสำเร็จนั่นเอง ยกตัวอย่างค่า โสหุ้ยในธุรกิจทั่วไปมีดังนี้

  1. ค่าใช่จ่ายที่เกิดจากการขนส่ง เช่น รถส่งของจะมีค่าอะไหล่ ถือเป็นค่า โสหุ้ยเพราะไม่รู้ว่ารถจะเสียเมื่อไหร่
  2. ค่าอุปกรณ์สำนักงาน เช่น กระดาษเอกสาร เพราะไม่อาจคิดได้ว่าจะต้องใช้เดือนละกี่แผ่น
  3. ค่าส่วย ค่าใบสั่ง เกิดจากการขับรถผิดกฎระเบียบจราจร ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมา
  4. ค่าบริการลูกค้าและความสะดวกในการดำเนินกิจการ เช่น ค่าน้ำชา ค่าแป๊ะเจี๊ยะ ค่าใต้โต๊ะ
  5. ค่าโทรศัพท์ติดต่อลูกค้า ค่าเข้าพบลูกค้า ถึงจะประเมินการไว้ได้แต่พอเอาเข้าจริงก็เกินงบที่ตั้งไว้นั่นคือค่า โสหุ้ย
  6. ฯลฯ

อะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่า โสหุ้ย

อย่างที่แนะนำไปข้างต้นว่าค่า โสหุ้ย คือค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนแฝงที่ไม่อยากคาดเดาได้ 100% ทำให้ทุกคนคิดว่างั้นค่าใช้จ่ายทุกอย่างในบริษัทคือค่า โสหุ้ยทั้งหมดนะสิ ใครคิดแบบนี้ก็คิดถูกมาแล้วประมาณ 95% แต่ผมจะพามาเปลี่ยนความคิดเพราะว่าที่จริงแล้วจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เราไม่ได้เรียกว่าค่า โสหุ้ย นั่นก็คือ ต้นทุน มีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. เงินเดือนลูกจ้าง , พนักงานบริษัท , บุคลากรภายในองค์กร
  2. ค่าวัตถุดิบที่นำไปใช้ในการผลิต เรียกว่า ต้นทุนการผลิต
  3. ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ

ต้นทุนการผลิตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) คือ ต้นทุนที่สามารถระบุได้ว่าใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณและต้นทุนเท่าไหร่
  2. ค่าแรงทางตรง (Direct Labor) คือ ค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับพนักงานภายในกิจการที่มีหน้าที่เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูป
  3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing Overhead) หรือค่า โสหุ้ย การผลิต คือ ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนนอกเหนือจากวัตถุดิบและค่าแรงทางตรง เช่น วัตถุดิบทางอ้อมและค่าแรงทางอ้อม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคาจากสินทรัพย์ถาวรในกิจการ

วิธีคำนวณค่า โสหุ้ย

การคิดค่า โสหุ้ยจะต้องใช้ข้อมูลเก่ามาประมาณการว่าควรใช้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณเท่าไหร่ โดยคิดจากค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่างๆมารวมกันภายใน 1 เดือนว่ามีค่าใช้จ่ายไปทั้งหมดกี่บาท แล้วจึงเอาผลผลิตมาหารเพื่อหาค่าใช้จ่ายที่กิจการต้องนำมาคิดต้นทุนในการผลิต ยกตัวอย่างง่ายๆดังนี้

  1. ค่าน้ำมันเดือนละ 2,000 บาท / เดือน
  2. ค่าอะไหล่เดือนละ 3,000 บาท / เดือน
  3. ค่าใบสั่งเดือนละ 1,000 บาท / เดือน
  4. ค่าประกันภัยรถยนต์เดือนละ 2,000 บาท / เดือน

โจทย์ : จงหาโส-หุ้ยว่าค่าขนส่งต่อเดือน/ต่อรถขนส่งสินค้าสามคัน มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
วิธีทำ : นำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมารวมกันเท่ากับ 8,000 บาท ต่อรถขนส่งสินค้า 3 คัน จะได้โส-หุ้ยของรถขนส่งสินค้าเท่ากับ 2,666.67 บาท/คัน

เห็นไหมละครับว่าคำศัพท์ในธุรกิจบัญชีไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ซึ่งบางคนเรียนบัญชีโดยตรงยังไม่เข้าใจคำว่า โส-หุ้ย เลยด้วยซ้ำทำให้การคิดคำนวณต้นทุนการผลิตเกิดความคลาดเคลื่อนยากต่อการวางแผนการผลิตในอนาคต หากจะให้ดีควรหาพนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีไว้ในกิจการสักคน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่มากในการจูงใจให้ทำงานกับกิจการของเรา ซึ่งถ้าให้ดีกว่านี้ควรจะหาสำนักงานบัญชีสักแห่งที่รับทำบัญชีมาจัดการในเรื่องบัญชีของกิจการของเราให้เกิดความคล่องตัวแล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นน่าจะได้ผลดีกว่านะครับ

ค่าโสหุ้ย แปลว่า

ค่าใช้จ่าย ค่าเสียหาย ความสิ้นเปลือง การใช้จ่าย

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com