การบันทึกบัญชีลูกหนี้

2 วิธีตั้ง ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจับมือทำง่ายๆทำอย่างไร?

Click to rate this post!
[Total: 134 Average: 5]

การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ก่อนจะทำรายหรือลงบัญชีลูกหนี้การค้า หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ หรือต้องการปรับปรุงบัญชีเกี่ยวกับ หนี้สงสัยจะสูญ หรือหนี้สูญ ต้องทำความเข้าใจหลักการที่เกี่ยวข้องก่อน ดังนี้

หลักการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้หลักการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้

  1. 1. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
    • จากยอดขาย
    • จากยอดลูกหนี้
  2. 2. ปรับประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  3. 3. ตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
    • เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
    • ไม่เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
  4. 4. หนี้สูญได้รับคืน
    • เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
    • ไม่เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร

การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สามารถคำนวณได้ 2 วิธีดังนี้

1. การคำนวนจากร้อยละของยอดขาย วิธีการนี้จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการในอดีต และประสบการณ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้เทียบเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่กับยอดขาย วิธีการนี้ เหมาะกับกิจการที่มียอดขายเงินสดอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เมื่อเทียนบกับยอดขายทั้งหมด

2. คำนวณจากร้อยละของยอดลูกหนี้ เพราะลูกหนี้เท่านั้นที่ก่อให้เกิดหนี้สูญ สามารถคำนวณได้ 2 วิธี ได้แก่

  1. 2.1 คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้สำหรับลูกหนี้ทั้งหมดแบบคงที่
  2. 2.2 คำนวนโดยจำแนกอายุของหนี้ค้างชำระ หมายความว่า หนี้ที่ค้างชำระนานกว่า ก็ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดหนี้สูญ ในกรณีที่กิจการมีลูกหนี้จำนวนมาก อาจทำให้การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญมีความยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม หากวิธีนี้สามารถใช้สะท้อนการประมาณการที่สมเหตุสมผลมากกว่า

ลูกหนี้ หมายถึง

สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือ ทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึง กําหนดชําระ สิทธิที่จะเรียกร้องอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ในการที่ จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสด หรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายว่าจะได้รับชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือจำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

ลูกหนี้การค้า หมายถึ ลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กิจการได้ส่งแจ้งหนี้หรือได้ตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ซื้อ

การบันทึกบัญชีเมื่อเกิดลูกหนี้

Dr.ลูกหนี้                                                    xx

Cr.รายได้จากการขายสินค้า/บริการ                            xx

การบันทึกบัญชี

บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

1. กิจการประมาณจำนวนลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ เพื่อให้ได้มูลค่าของลูกหนี้เป็นมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับสุทธิ (ลูกหนี้ – ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

Dr. หนี้สงสัยจะสูญ                                   xx.-

Cr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                        xx.-

(ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

2. ปรับปรุงและทบทวนประมาณการลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้เป็นประจำ (หากคำนวณแล้วมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการบรรทุกบัญชี หากเท่าเดิมให้รับรู้ไว้)

กรณีลูกหนี้เข้าเกณฑ์เงื่อนไขประมวลรัษฎากร

1 เมื่อมีกิจการแน่ชัดแล้วว่าไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้แน่นอน และต้องตัดเป็นหนี้สูญ

Dr.หนี้สูญ                                   xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการจตัดจำหน่ายหนี้สูญ)

Dr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                xx.-

Cr.หนี้สงสัยจะสูญ                         xx.-

(บันทึกการลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลงเท่ากับจำนวนลูกหนี้ที่จัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญ)

2. เมื่อกิจการได้รับเงินจากลูกหนี้ที่กิจการเคยตัดเป็นหนี้สูญไปแล้ว (ภายหลังลูกหนี้นำเงินมาชำระ)

Dr.ลูกหนี้                                    xx.-

Cr.หนี้สูญได้รับคืน                         xx.-

(บันทึกหนี้สูญได้รับคืน)

Dr.เงินสด                                   xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดชำระไปแล้ว)

กรณีลูกหนี้ไม่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขประมวลรัษฎากร

1. เมื่อมีกิจการแน่ชัดแล้วว่าไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้แน่นอน และต้องตัดเป็นหนี้สูญ

Dr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการตัดจำหน่ายลูกหนี้หนี้สูญ)

2. เมื่อกิจการได้รับเงินจากลูกหนี้ที่กิจการเคยตัดเป็นหนี้สูญไปแล้ว (ภายหลังลูกหนี้นำเงินมาชำระ)

Dr.ลูกหนี้                                    xx.-

Cr..ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ               xx.-

(ตั้งยอดลูกหนี้เพื่อตัดจำหน่ายลูกหนี้)

Dr.เงินสด                                   xx.-

Cr.เงินสด                                    xx.-

(บันทึกการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดชำระไปแล้ว)

หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ เมื่อเกิดหนี้ก้อนหนึ่งที่บริษัทคาดว่าจะไม่สามารถเก็บเงินได้ หรือเก็บได้เพียงบางส่วน บริษัทจะดำเนินการประมาณการตัวเลข เพื่อบันทึกเป็นค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นการบันทึกบัญชีเพื่อปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ในงบดุลที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้ยอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้ในงบดุลเป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้จริง

วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง (Direct Write- Off Method)

วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง หมายถึง เมื่อถึงวันสิ้นรอบบัญชี หากกิจการมีลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงาน กิจการได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง เช่น ใบเสนอราคา ใบส่งของ สัญญา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้  กิจการจะนำบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวมาตัดเป็นหนี้สูญ

วิธีนี้จะไม่มีการประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้ในปีที่มีการขายแต่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่เรียกเก็บไม่ได้จริง โดยบันทึกบัญชีดังนี้

Dr.หนี้สูญ                                               xxx

Cr. ลูกหนี้                                                     xxx

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ อยู่หมวด สินทรัพย์

Tag : การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สหกรณ์ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บวกกลับ , การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs9 , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ภาษาอังกฤษ , การ คํา น วณ ยอดลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด , การ ตรวจ สอบ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ประโยชน์ , การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มาตรฐานการบัญชี , หนี้สงสัยจะสูญ เกินความต้องการ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs9 , การวิเคราะห์งบอายุลูกหนี้มีประโยชน์อย่างไร , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs 9 , การตัดหนี้สูญ ทางบัญชี ทางภาษี , หนี้สงสัยจะสูญ ภาษาอังกฤษ , มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 , หนี้สงสัยจะสูญ งบกําไรขาดทุน , การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ มีกี่วิธี , การตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ , การโอนกลับรายการบัญชีมีประโยชน์อย่างไร , การปิดบัญชี คืออะไร , การปิดบัญชีคืออะไร

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com