คำสันธาน

3 คำสันธาน ชนิดคำเชื่อมประโยคที่มีรู้ก่อนจะไม่พลาด?

Click to rate this post!
[Total: 315 Average: 5]

คำสันธาน

ความหมายของคำสันธาน

คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมข้อความหรือประโยคให้เป็นเนื้อความอันเดียวกัน หรือให้สอดคล้องกัน     

ชนิดของคำสันธาน

คำสันธาน แบ่งเป็นพวก ๆ ตามลักษณะของเนื้อความที่ใช้เชื่อมกัน ดังนี้                                                                                                                                                       

 ๑.  เชื่อมความคล้อยตามกัน                                                                                                                     

ก.  ถ้าประโยคหลายประโยคที่มีประธานมากกว่าหนึ่ง แต่ภาคแสดงใช้กริยา

และกรรมร่วมกัน  อาจรวมเป็นประโยคเดียวกัน  โดยใช้คำว่า  กับ  และ  เป็นคำสันธานมาเชื่อม  เช่น 

ปิติเป็นฝ่ายค้าน  ดวงแก้วเป็นฝ่ายค้าน                                                              

ปิติกับดวงแก้วเป็นฝ่ายค้าน                                                                                                            

มานีเป็นฝ่ายเสนอ  วุฒิเป็นฝ่ายเสนอ  ชูใจเป็นฝ่ายเสนอ                                         

มานี  วุฒิ  และชูใจเป็นฝ่ายเสนอ                                                                                      

ข.  ถ้าจะเชื่อมประโยคหรือข้อความที่คล้อยตามกันเกี่ยวกับเวลา  ใช้คำสันธาน                  

เมื่อ……….ก็  พอ……….ก็  ทั้ง……….และ  กับ  และ  ก็ดี  ทั้ง……….ก็    เช่น                                    

เมื่อมานีพูดจบ  เพื่อน ๆ ก็ปรบมือให้                                                                                  

พอเขาไปถึงบ้านก็อาบน้ำทันที                                                                                               

ฉันไม่ชอบทั้งหมาและแมว   

๒. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน

ถ้าประโยคหรือข้อความขัดแย้งกัน  เชื่อมด้วยคำสันธาน แต่ว่า แต่ทว่า  ถึง……….ก็  กว่า……….ก็  เช่น                                                                               

ฉันชอบอ่านหนังสือ  แต่น้องชอบวาดรูป                                                                                             

ถึงเขาจะเกเร  เขาก็รักเพื่อนมาก                                                                                                              

กว่าคุณจะเรียนจบ  คุณพ่อก็แก่มากแล้ว                                                                                                       

๓. เชื่อมความที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง  ได้แก่  คำว่า 

หรือ,  ไม่……..ก็ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น  เป็นต้น 

เช่น                                                 

คุณชอบเรียนบัญชี หรือคณิตศาสตร์                                                                             

ไม่วสันต์ก็บวรที่ทำแจกันแตก                                                                                                             

คุณต้องหมั่นอ่านหนังสือ  ไม่เช่นนั้นคุณอาจสอบตก                                                                              

๔.  เชื่อมความที่เป็นเหตุผลกัน  ถ้าข้อความหรือประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน 

จะเชื่อมด้วยสันธาน  ได้แก่  จึง  ฉะนั้น……….จึง  ดังนั้น……….จึง  เพราะ……….จึง  เพราะ        เช่น                     

น้ำท่วมกรุงเทพ  ถนนจึงเสียหายมาก                                                                                                      

เขาเป็นคนมีน้ำใจ  ดังนั้นทุกคนจึงรักเขา                                                                                                          

เขาไม่มาโรงเรียน  เพราะเขาป่วย                                                                                                     

เพราะเราได้ศึกษาและฝึกฝนมามาก  เราจึงเป็นนักเล่านิทานที่ดี        

ข้อสังเกต

        ๑.  คำบางคำเป็นทั้งคำสันธานและคำบุพบท  จะสังเกตเห็นได้ว่าถ้าเป็นคำสันธานจะ

ทำหน้าที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน  แต่ถ้าเป็นคำบุพบทจะทำหน้าที่นำหน้าคำชนิดต่าง ๆ กัน เช่น   

                             ฉันชอบว่ายน้ำ  แต่เขาชอบเล่นเทนนิส  (แต่  ทำหน้าที่เป็นสันธาน)                                                  

                              คุณพ่อไปทำงานแต่เช้าตรู่  (แต่  ทำหน้าที่เป็นบุพบท)                                                                      

                             ฉันกับน้องชอบเล่นฟุตบอล  (กับทำหน้าที่เป็นสันธาน)                                                                     

                             ฉันเห็นกับตาทีเดียวว่าเขาเดินมาด้วยกัน  (กับ  ทำหน้าที่เป็นบุพบท)                                                           

                 ๒.  คำบางคำเป็นได้ทั้งสันธานและลักษณนาม  จะสังเกตได้ว่า  ถ้าเป็นคำสันธานจะทำหน้าที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน  แต่ถ้าเป็นลักษณนามมักจะอยู่หลังจำนวน  เช่น                                

                             คุณพ่อไปทำงาน  ส่วนแม่อยู่บ้าน  (ส่วน  ทำหน้าที่เป็นสันธาน)                                                            

                             คุณแม่แบ่งเงินออกเป็น  ๔  ส่วนเท่า ๆ กัน  (ส่วน  ทำหน้าที่เป็นลักษณนาม)

คำค้น:ใบงานพร้อมเฉลย ข้อใดที่มีเรียงข้อสรุปได้ก่อนเหตุผล ป.5 ppt แผนการสอน แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษ คือ ใบงาน ความหมาย คำเชื่อม ข้อสอบเรื่อง when ประโยคที่มี conjunctions หาก หลักภาษาไทย เฉลยข้อสอบ จีน คำบุพบท ตัวอย่าง และ ป.6 เพลง conjunction() หมายถึง ประกอบด้วย คำบุพบท ภาษาไทย มีอะไรบ้าง การใช้ แบบฝึกหัดเรื่อง conjunction conjunctions() ภาษาจีน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com