ความเสี่ยงในการลงทุน

5 ระดับความเสี่ยงในการลงทุนมีอะไรบ้าง?

Click to rate this post!
[Total: 212 Average: 5]

ความเสี่ยงในการลงทุน

คิดจะลงทุนเราควรต้องดูความเสี่ยงอะไรบ้าง

การลงทุนที่จะเกิดขึ้นนอกจากผลตอบแทนที่จะได้รับเข้ามาสู่ธุรกิจที่จะเกิดขึ้น ก็ต้องมีตัวแปรอื่นเช่นการวิเคราะห์หรือกำหนดต้นทุนและต้องควรกำหนดระดับความเสี่ยงของเงินลงทุนในธุรกิจของเราไว้ด้วยเสมอ ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนนั่นก็คือ การวัดความเสี่ยงของธุรกิจ การวัดผลตอบแทนของธุรกิจ และไม่ว่าการดำเนินธุรกิจโดยตรงหรืออาจมีการลงทุนในหลักทรัพย์แล้วแต่กรณีถือว่าผู้ที่ลงทุนมีความตั้งใจพอใจที่จะใช้เงินที่มีอยู่ลงทุนเพื่อที่จะได้ดอกผลและผลตอบแทนในอนาคต

ความเสี่ยงในการลงทุน

ผลตอบแทนจึงหมายถึง สิ่งที่ผู้ลงทุนได้มาหรือได้รับจากเงินลงทุนซึ่งอาจเป็นทรัพย์สิน ธุรกิจ หลักทรัพย์ หรือกิจกรรมต่างๆแล้วแต่กรณี สิ่งที่ผู้ลงทุนคาดหวังที่จะได้รับนั้นนอกจากดอกผลที่จะงอกเงยหรือได้มาจากการลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์หรือสิ่งที่มีราคาและสามารถถือเอาไว้ได้

ความหมายของความเสี่ยง

ความเสี่ยงหมายถึงโอกาสที่จะได้รับความเสียหายหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรวมถึงผลกระทบด้านจิตใจ ชื่อเสียง ความไม่มั่นคงในการดำรงชีพ อันเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดหรือไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนในอนาคต

ประเภทของความเสี่ยง

ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารกิจการและผู้ลงทุนได้แก่การกำหนดและจำแนกความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่พิจารณาได้ว่าจะเป็นภัยกระทบต่อความสามารถบรรผลแห่งวัตุประสงค์หรือเป้าหมายอันเป็นความคาดหวัง โดยเฉพาะการกำหนดประเภทความเสี่ยงที่มีนัยสัมพันธ์กับลักษณะ ขอบเขต และเป้าประสงค์ของธุรกิจหรือเงินลงทุนที่ดำเนินงานอยู่นั้นจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารกิจการและผู้ลงทุนสามารถกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมเช่นการจำกัด ลด ควบคุม หรือป้องกันความเสี่ยง การแก้ไขบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากความเสี่ยง การถ่ายโอนภาระความเสียหายจากความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสิ่งที่คู่กันกับโอกาสสำเร็จของธุรกิจและหรือการลงทุน ซึ่งในกรณีธุรกิจโดยทั่วไปอาจจำแนกประเภทของความเสี่ยงดังนี้

ความเสี่ยงในการลงทุน มีอะไรบ้าง

  1. ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์หรือแผนงานธุรกิจ ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อกิจการอันเกี่ยวโยงหรือสืบเนื่องจากแผนงานหรือกลยุทธ์ของธุรกิจและภัยจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะของการเมือง เศรษฐกิจ ข้อกำหนดของกฎหมาย สภาวะตลาดโลก รวมถึงภัยหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ตรายี่ห้อการค้า และการเปลี่ยนค่านิยมหรือความต้องการของลูกค้า
  2. ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงาน ได้แก่ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากการดำเนินงานและการบริหารจัดการของธุรกิจนั้น ภัยหรือผลที่เกิดจากระบบงานของกิจการ
  3. ความเสี่ยงทางด้านการเงิน คือความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากปัจจัยและภาวะแวดล้อมที่กระทบต่อฐานะทางการเงินของกิจการเช่นความผันผวนหรือความปรวนแปร ในค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ราคาสินค้า รวมถึงความเสี่ยงกับความเชื่อถือในด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงของสภาพคล่อง
  4. ความเสี่ยงทางด้านภัยพิบัติ ได้แก่ความเสี่ยงหรือภัยที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกิจการ ซึ่งอาจประกันความเสี่ยงภัยกับบริษัทประกันภัยได้ เช่น วิบัติภัยจากเหตุการณ์ธรรมชาติ ไฟไหม้ ความเสียหายต่อทรัพย์สินของกิจการ ภัยจากการก่อการร้ายซึ่งในกรณีการลงทุนความเสี่ยงนั้นจะกระทบต่อการลงทุนดังนี้
  • ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนผลสืบเนื่องเกิดจากความไม่แน่นอนของระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะสภาพคล่องทางการเงินในระบบเศรษฐกิจ
  • ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากอำนาจซื้อหรือค่าของเงิน ได้แก่ความเสี่ยงหรือภัยต่อเงินลงทุนอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในความสามารถของเงินตราที่จะแลกเปลี่ยน กล่าวได้ว่าอำนาจซื้อของเงินจะเพิ่มขึ้น ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้อำนาจซื้อของเงินลดลงคือ ภาวะเงินเฟ้อ อำนาจซื้อของเงินจะลดลงตามเวลา
  • ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากธุรกิจหรือการจัดการ เป็นความเสี่ยงหรือภัยต่อเงินลงทุนอันเป็นผลสืบเนื่องจากความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจของกิจการซึ่งเป็นผู้ออกหลักทรัพย์ หรือผลจากการบริหารจัดการธุรกิจไม่บรรลุผลไม่มีประสิทธิภาพ
  • ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากฐานะทางการเงิน ได้แก่ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการดำเนินงานหรือการบริหารจัดการธุรกิจที่ออกหลักทรัพย์ โดยเฉพาะฐานะทางการเงินอ่อนแอไม่อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าของเงินลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากเงินลงทุน
  • ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากสภาพคล่องของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ลงทุนไม่สามารถจำหน่ายหลักทรัพย์ในเงินลงทุนเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยไม่เกิดผลขาดทุน ซึ่งหลักทรัพย์หากจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าต้นทุน และมีค่าใช้จ่ายในการแปรหลักทรัพย์จะถือว่าหลักทรัพย์นี้มีสภาพคล่อง

ดังนั้น การตัดสินใจเพื่อการดำเนินกิจการ เจ้าของและหรือผู้บริหารกิจการควรนำผลที่คาดว่าจะได้รับไปเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ นอกเหนือไปจากการพิจารณาเปรียบเทียบเพียงเฉพาะต้นทุนกับผลที่ได้ หรือรายได้ส่วนเพิ่มกับต้นทุนส่วนเพิ่ม อันเป็นหลักและเป็นแนวคิดที่นิยมกันทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของและผู้บริหารกิจการสามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างสมเหตุผล และมีความระมัดระวังตามควรมากขึ้น นอกจากความรู้ที่ได้นั้นความเสี่ยง ยังช่วยให้เจ้าของและผู้บริหารสามารถสร้างมาตรการและแนวทางบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างเหมาะสม เพราะจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพได้ตามที่คาดหวังไว้

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com