การวัดมูลค่า

9 การวัดมูลค่า แนวทางวิธีนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณ?

Click to rate this post!
[Total: 320 Average: 5]

การวัดมูลค่า

การวัดมูลค่าและการแสดงรายการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในงบการเงิน

เมื่อเกิดรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม นักบัญชียังคงต้องพิจารณาถึงมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปฏิบัติกับรายการบัญชีในเรื่องของการรับรู้ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและเสนอแนวทางปฏิบัติทางการบัญชีและการรายงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม คณะทำงานดังกล่าวเรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบัญชีและการรายงาน (The Intergovernmental Working Group Of Expert On International Standard Of Accounting And Reporting : ISAR)

การวัดมูลค่า

ซึ่ง ISAR ได้ให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีสิ่งแวดล้อมโดยครอบคลุมถึงการรับรู้ต้นทุนสิ่งแวดล้อม การรับรู้หนี้สินด้านสิ่งแวดล้อม การบันทึกรับรู้ค่าชดเชยที่คาดว่าจะได้รับจากบุคคลที่สาม การวัดมูลค่าหนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมและการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การบัญชีด้านต้นทุนสิ่งแวดล้อม และหนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับนิยามของสินทรัพย์ และหนี้สิน ตามแม่บทการบัญชี กล่าวคือรายการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจะบันทึกและรับรู้เป็นองค์ประกอบของงบการเงิน

การรับรู้ต้นทุน

การรับรู้ต้นทุนสิ่งแวดล้อม

การวัดมูลค่ารับรู้ต้นทุน  ISAR ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติว่ากิจการควรรับรู้ต้นทุนสิ่งแวดล้อมเป็นสินทรัพย์หากรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงบการเงินและรายการนั้นเข้าเกณฑ์ของการรับรู้รายการตามแม่บทการบัญชี ตัวอย่างที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น

ตัวอย่าง กิจการมีการจ่ายค่าปรับปรุงโรงงาน เป็นจำนวนเงิน 6 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมในการพิจารณาวิธีปฏิบัติทางบัญชีนักบัญชีต้องพิจารณาว่ารายการนี้เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์หรือไม่ สินทรัพย์ตามแม่บทการบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากค่าปรับปรุงโรงงาน 6 ล้านบาทอาจได้แก่ความสามารถในการลดกระแสเงินสดจ่าย เช่นการปรับปรุงครั้งนี้ช่วยให้เกิดกระบวนการผลิตใหม่ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย

นอกจากรายการดังกล่าวเป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์แล้ว กิจการต้องพิจารณาต่อไปว่ารายการนั้นเข้าเกณฑ์การรับรู้หรือไม่ แม่บทการบัญชีกำหนดว่ารายการที่เป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบให้รับรู้ในงบการเงินเมื่อเข้าเงื่อนไขดังนี้

  1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ
  2. รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

จากตัวอย่างกิจการสามารถวัดมูลค่าของค่าปรับปรุงโรงงาน 6 ล้านบาท ได้อย่างน่าเชื่อถือและมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการจึงสามารถรับรู้ค่าปรับปรุงโรงงาน 6 ล้านบาทเป็นสินทรัพย์ในงบดุลได้ อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์ดังกล่าวมีการด้อยค่า กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ ในทางตรงกันข้าม กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีที่รายจ่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หรือเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตส่วนนั้นไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบดุลอีกต่อไป กิจการจะรับรู้ค่าขจัดของเสีย ค่าทำความสะอาดโรงงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ค่าตรวจสอบ ค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และค่าชดเชยให้บุคคลที่สามที่ได้รับความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากรายการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต

การรับรู้หนี้สิน

การรับรู้หนี้สินด้านสิ่งแวดล้อม

การวัดมูลค่าหนี้สิน         กิจการควรรับรู้หนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมในงบดุล เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นภาระผู้พันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันที่ฝ่ายบริหารให้สัญญา เช่น กิจการกำหนดนโยบายในการขจัดมลภาวะในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานตามกฎหมาย โดยทั่วไปกิจการจะรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล เมื่อภาระผูกพันนั้นก่อให้เกิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม

ในบางสถานการณ์ กิจการอาจไม่สามารถประมาณการจำนวนหนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมได้ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้สินด้านสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นและเปิดเผยข้อเท็จจริง รวมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถประมาณการจำนวนหนี้สินได้ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

การเปิดเผยข้อมูลและการรายงานต่อบุคคลภายนอก

การเปิดเผยข้อมูลและการรายงานต่อบุคคลภายนอกอาจกระทำได้ในลักษณะของรายงานการเงินหรือรายงานที่มิใช่การเงิน ตัวอย่างเช่น กฎหมายของประเทศนอร์เวย์กำหนดให้กิจการต้องนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวกับการรั่วไหลหรือการปนเปื้อนและข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานเพื่อขจัดสิ่งเหล่านั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกข้อกำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอันอาจกระทบต่อรายจ่ายลงทุน กำไรและฐานะการแข่งขันของกิจการ นอกจากนี้ยังกำหนดให้เปิดเผยประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคตซึ่งรวมถึงหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นคณะกรรมการหลักทรัพย์ของประเทศแคนาดาได้ออกข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวเช่น

การวัดมูลค่าองค์การ

และนอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้ออกข้อเสนอแนะสำหรับการรายงานการเงินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและอุตสาหกรรม
  2. นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถือปฏิบัติ
  3. การปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มใช้
  4. เป้าหมายการปล่อยสิ่งต่างๆ สู่สิ่งแวดล้อมและการดำเนินการ
  5. การสนองตอบข้อกำหนดของรัฐบาล
  6. ปัญหาสำคัญๆทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
  7. ผลกระทบของมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการลงทุนและกำไรของบริษัท
  8. ต้นทุนที่มีสาระสำคัญที่ถือเป็นรายจ่ายในงวดปัจจุบัน
  9. ต้นทุนที่มีสาระสำคัญที่ได้ถือเป็นทุนในงวดปัจจุบัน

ติดต่อสอบถาม

สงสัยติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ WWW.PANGPOND.COM ทางเว็บยินดีตอบคำถามงานบริการสำหรับท่าน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com