นั่งสมาธิ

7 ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ มีประสงค์อะไรที่ไม่มีใครพูด?

Click to rate this post!
[Total: 132 Average: 5]

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ

การทำสมาธิ (Meditation) ซึ่งเป็นวิถีแห่งการประสานกายกับจิตใจให้มีความสมดุลกัน เป็นแนวทางแห่งการมีสุขภาพทางกาย ทางใจ และสุขภาพทางจิตวิญญาณที่ดี การทำสมาธินอกจากจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในแง่การบำบัดรักษาโรคได้โดยตรง พบว่ามีนักวิจั่ยจากหลายสถาบันการศึกษาต่างๆได้นำเอาหลักการของสมาธิ ไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ เช่น การนำหลักวิปัสสนากรรมฐานมาใช้ในการทดลองภาวะความแปรปรวนทางอารมณ์ในสตรีวัยทอง ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดความแปรปรวนด้านร่างกายและจิตใจของสตรีวัยทอง

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการทำสมาธิตามแบบอานาปานสติ ในหนังสือ การใช้อานาปานสติให้เป็นประโยชน์ในบ้านเรือน หน้า122 ไว้ว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยได้หลายประการ เช่น
1. ช่วยให้การพักผ่อนได้ผลดีเต็มที่ คือการทำสมาธิเพียงแค่ 1 ชั่วโมงจะช่วยทำให้ได้รับการพักผ่อนได้ดีกว่าการนอนหลับนานถึง 5 ชั่วโมง
2. ช่วยในการขับไล่ความร้อนภายในร่างกายที่เกิดจากความร้อนของอากาศภายนอก และขับไล่ความร้อนภายในร่างกายที่เกิดจากพิษไข้ให้ลดลงได้
3. ช่วยในการบรรเทาหรือประทังการไหลของโลหิตที่เกิดจากบาดแผลต่างๆทั้งแผลฉกรรจ์และไม่ฉกรรจ์ให้เลือดไหลออกช้าและออกน้อยโดยไม่ต้องใช้ส่วนอื่นประกอบ เป็นต้น

นอกจากนี้การทำสมาธิยังเป็นการดูแลสุขภาพอย่างประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และแก้ปัญหาที่สาเหตุแห่งโรคทั้งหลาย คือความเครียด อันมาจากอารมณ์ที่เป็นพิษ ทั้งนี้ต้นเหตุสำคัญ คือ ขาดการฝึกจิตทีดี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 องค์ประกอบของการดูแลสุขภาพ คือ เรื่องอาหาร เรื่องการออกกำลังกาย ชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม การดูแลความเครียด จิตวิญญาณ คือการทำสมาธิ

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เรื่องอารมณ์เครียด อารมณ์โกรธ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่ร้ายแรง เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มะเร็ง ความดันโลหิตสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ เบาหวาน ภูมิแพ้ หอบหืด และโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากโรคเหล่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ และเรื่องจิตใจเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ โรคเหล่านี้แท้จริงควรจะต้องเน้นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ขจัดปัจจัยเสี่ยง ถ้ารอให้เป็นแล้วมารักษาภายหลังจะไม่ได้ผลดี ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลามาก

อย่างไรก็ตามการแพทย์แผนปัจจุบันได้พยายามหาวิธีใหม่ๆมารักษา ซึ่งได้เน้นการบำบัดโดยให้ความสำคัญกับร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน เน้นวิธีการสร้างความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้โรคต่างๆทุเลาและหายไปได้ การแพทย์แขนงนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันไป เช่น การแพทย์ทางกายและจิต (Mind/Body Medicine) การแพทย์แบบบูรณาการ (Integrative Medicine) การแพทย์แบบองค์รวม (Holistic Medicine)

การรักษาและดูแลสุขภาพแขนงเหล่านี้ เพื่อให้ครอบคลุมมิติทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว ในด้านร่างกาย คือการดูแลเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เช่นการเดิน วิ่ง กีฬาชนิดต่างๆ ไทเก็ก ชี่กง โยคะ เป็นต้น ทางด้านจิตใจ คือการใช้จิตบำบัด (Psychotherapy) การสะกดจิต (Hipnotytherapy) การสั่งจิตใต้สำนึก การโปรแกรมจิต เป็นต้น ทางด้านจิตวิญญาณ ก็ใช้ทำสมาธิรูปแบบต่างๆ เช่น แบบโยคะของฮินดู การทำสมถะและวิปัสสนาแบบพุทธ การฝึกสมาธิแบบสมถะ และวิปัสสนากรรมฐานของชาวพุทธแบบเถรวาท และมหายาน

การใช้สมาธิเพื่อการดูแลสุขภาพอนามัยต่างๆได้อย่างไรนั้น สามารถอธิบายตามหลักวิชาทางพุทธศาสนาในภาพรวมโดยสังเขป ดังนี้
ตามความหมายของคำว่า “สมาธิ (Meditation)” หมายถึง การกำหนดจิตให้แน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ คือ การรับรู้ในปัจจุบันขณะ รักษาสติให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเป็นการทำจิตให้เกิดความสงบ แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวไม่ฟุ่งซ่าน จากความหมายและหลักการนี้ เมื่อทำจิตให้เกิดสมาธิจนจิตรวมเป็นหนึ่งในระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวว่าจะมีผลทำให้จิตใจได้รับความสงบ ประณีต บริสุทธิ์ มีความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ควรแก่การงานทุกชนิด ซึ่งนับว่าเป็นลักษณะของการมีสุขภาพที่ดีนั้นเอง

เมื่อมีสุขภาพจิตดี คือ จิตใจสงบ จิตไม่เครียด จิตไม่มีความวิตกกังวลใดๆแลัว ย่อมส่งผลต่อเนื่องไปสู่ร่างกายให้ได้รับความสงบระงับตามไปด้วย เพราะกายกับใจมีความสัมพันธ์ที่ต่างอิงเอื้อเกื้อกูลกันอยู่ กายที่สงบย่อมส่งผลให้ระบบอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย (Body System) ค่อยๆปรับสภาพสมดุล เช่น มีการหลั่งสารหรือฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) สารสุข ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทต่างๆ กล้ามเนื้อเส้นเอ็น ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตดีตามด้วย และยังช่วยลดอะดรีนารีน (Adrenalin) ที่เป็นตัวกระตุ้นอวัยวะหลายๆอย่างในร่างกาย กระตุ้นหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น สูบฉีดเลือดแรงขึ้น กระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งมากขึ้น เมื่อระบบประสาททำงานดีขึ้น ก็ส่งผลให้การทำงานของร่างกายสามารถเข้าสู่ภาวะปกติดั้งเดิมได้ ดังนั้นโรคภัยต่างๆที่มีอยู่จึงค่อยๆทุเลาเบาบางลงไปและหายไปได้ในที่สุดแน่แท้แล้ว เมื่อสุขภาพจิตดีแล้ว สุขภาพกายที่ดีก็ย่อมจะเกิดขึ้นตามมา

ทางวิทยาศาสตร์มีการวิจัยว่าการฝึกจิตให้ว่าง ผ่อนคลาย สงบประณีตจนเป็นสมาธิระดับต่างๆนั้นจะช่วยให้เพิ่มสิ่งดีๆ รักษาสิ่งที่ควรรักษา และลดสิ่งชั่วร้ายในร่างกาย จิตใจ พฤติกรรมและศักยภาพด้านต่างๆของชีวิต ดังนี้
สิ่งที่เพิ่มเติม
เพิ่มการพักลึก
เพิ่มความเป็นระเบียบในการทำงานของสมอง
เพิ่มปริมาณพลาสมา(ของเหลวในเซลล์
เพิ่มการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงสมอง
เพิ่มการผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใน
เพิ่มความสมดุลของคลื่นสมอง ซ้ายขวา
เพิ่มความสะดวกคล่องตัวในการหายใจ
เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
เพิ่มภูมิต้านทานต่อภาวะเครียด
เพิ่มความตื่นตัว
สิ่งที่รักษา
รักษาระดับน้ำหนัก
รักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
รักษาความสม่ำเสมอของคลื่นอัลฟาในสมอง
รักษาดุลยภาพทางอารมณ์
รักษาความสามารถในการรักษาเวลา
สิ่งที่ลด
ลดอัตราการหายใจ
ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ความเจ็ยป่วยทางร่างกาย
ลดความดันโลหิตผิดปกติ
ลดอาการนอนไม่หลับ
ลดอัตราการสันดาปเผาผลาญในเซลล์
ลดความเครียด
ลดอาการภูมีแพ้

เมื่อฝรั่งเห็นผลการวิจัยและผลดีจากการฝึกจิตกันอย่างนี้จึงเห่อฝึกจิตกันโกลาหล หลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนวิธีการฝึกจิตกันมากมายหลายหลักสูตร ที่ฮาร์วาร์ดเปิดสอนลักสูตรการฝึกจิตเบื้องต้นเป็นเวลา 5 วันเฉพาะค่าเรียน 2,500 เหรียญสหรัฐฯ หลายต่อหลายมหาวิทยาลัยทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลี่ย และยุโรปหลายประเทศ หันมาสนใจการศาสนา และการพัฒนาจิตกันอย่างจริงจัง จนกลายเป็นกระแสแห่งยุคใหม่ที่กำลังมาแรง

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิทางศาสนา

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า การฝึกสมาธิจะมีผลดี 4 ประการคือ
1. เกิดความสุขขณะปัจจุบัน เช่น เป็นการพักผ่อนทางจิตคลายความเครียด คลายความวิตกกังวล เป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกสมาธิในการดำรงชีวิตประจำวัน
2. เป็นญาณทัศนะ เช่น การทราบความคิดของผู้อื่น การทราบเรื่องภาวะที่อยู่ใกล้ตัว การพยากรณ์ หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น
3. เกิดสติสัมปชัญญะ นับว่าเป็นคำสอนที่สำคัญในอริยมรรค ข้อสัมมาสติ และการฝึกสมาธิก็คือ การสร้างเสริมสติสัมปชัญญะ นั่นเอง
4. เกิดความสิ้นอาสวะกิเลส เป็นอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา เพราะการสิ้นสุดอาสวะกิเลสก็คือ ภาวะเข้าสู่การเป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่ต้องเวียนว่ายในวัฏฏะต่อไป

ดังนั้นเมื่อได้เห็นคุณประโยชน์และความสำคัญของสมาธิในแง่มุมต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้ที่มีความสนใจในวิธีการทำสมาธิเพื่อจะนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพอนามัยและการรักษาโรคต่างๆให้ทุเลาเบาบางลง โดยสามารถฝึกปฏิบัติสมาธิได้ด้วยตนเองให้ยิ้งๆพัฒนาขึ้นไป จนกว่าจะได้ผลดีๆของสมาธิปรับดุลชีวิต

วิธีการฝึกสมาธิและการหายใจเพื่อสุขภาพ

1. การสังเกตลมหายใจ
นั่งในท่าที่สบายๆหลังตรง พริ้มตาลงตามสบาาย จัดเสื้อผ้าให้หลวมๆ ผ่อนคลายส่วนที่รัดหรือรุงรีงออก ตั่งสมาธิสังเกตการหายใจ ตั้งแต่สูดอากาศเข้าปอด จนผ่อนลมหายใจ ตามลมหายใจจนครบรอบ นับแต่ลมหายใจเข้าและหายใจคืนออกมา ถ้าทำได้ ให้กำหนดจิตไว้ตรงจังหวะที่จะเปลี่ยนจากการสูดเข้าเป็นผ่อนออก และจากการผ่อนออกเป็นสูดเข้า
ทำเช่นนี้ 5 นาที วันละ 1 ครั้ง เป้าหมายคือการหายใจ ไม่ว่าการหายใจจะเปลี่ยนไปอย่างไร เช่น อาจมีช่วงกระชั้นขึ้นหรือแผ่วลง ก็ให้ตามดู และการสังเกตต่อไปนี้ คือร๔ปแบบเบื้องต้นของการทำสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีผ่อนคลายแบบหนึ่ง และเป็นวิธีปรับร่าางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณให้กลมกลืนกันด้วย

2. การหายใจเพื่อกระตุ้นร่างกาย
การบริหารลมหายใจวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นร่างกายมากกว่าทำให้ผ่อนคลาย ฉะนั้นเมื่อรู้สึกว่าง่วงเหงา หรือเมื่อสมองตื้อตัน และความคิดไม่แล่นให้ใช้วิธีนี้เพื่อปลุกตัวเองให้ตื่นตัวกระฉับกระเฉง นั่งในท่าสบายๆหลังตรง หลับตา ยิ้มน้อยๆ เอาปลายลิ้นแตะเพดานปาก ในตำแหน่ง โยคะ คือจรดปลายลิ้นแตะที่ฟันบนด้านใน แล้วเลียขึ้นไปทางเพดาน พอพ้นฟัน พักปลายลิ้นที่ตำแหน่งนั้น เรียกว่า alveolar ridge ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อนิ่มๆระหว่างฟันและเพดาานปาก ให้วางลิ้น ณ จุดนั้นตลอดการฝึก หายใจเข้าออกถี่ๆทางจมูก หุบปากตามสบาย การหายใจเข้าและออกควรเป็นระยะเท่ากันถี่กระขั้น จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่ฐานต้นคอเหนือกระดูกไหปลาร้า และกระบังลมเกิดการเคลื่อนไหวตาม (ลองเอามือแตะทั้งสองจุดเพื่อสัมผัสการกระเพื่อมตัวขึ้นลงของกล้ามเนื้อ) หน้าอกต้องกระเพื่อมเร็วและเป็นจังหวะคล้ายๆกำลังสูบลมด้วยที่สูบลม ควรมีเสียงทั้งหายใจเข้าและหายใจออก หายใจให้ได้สัก 3 รอบต่อ 1 วินาที ครั้งแรกที่ลองหายใจแบบนี้ ให้ทำสัก 15 วินาทีก็พอ ตามด้วยการหายใจตามปกติ แต่ละครั้งที่จะบริหารให้เพิ่มเวลาขึ้นเป็นครั้งละ 5 วินาที จนกระทั่งทำได้ถึง 1 นาทีเต็ม

3.การหายใจเพื่อผ่อนคลาย
เริ่มต้นด้วยการจรดปลายลิ้นที่ตำแหน่ง โยคะ ต่อไปพ่นลมหายใจออกทางปากจนหมด ให้มีเสียงคล้ายกับผิวปาก ออกแล้วหุบปาก หายใจเข้าทางจมูกนับ 1 ถึง 4 ในใจ แล้วกลั้นหายใจไว้ นับต่อจนถึง 7 แล้วนับ 8 พร้อมกับพ่นลมออกทางปากให้มีเสียงหวิวๆเท่ากับ 1 รอบการหายใจ ทำซ้ำเช่นนี้ 4 รอบ นับเป็นหนึ่งคาบ หลังจากนั้นก็หายใจตามปกติ สิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมระยะการหายใจเข้า:กลั้นหายใจ:และหายใจออก ให้ได้จังหวะ 4:7:8 หรือจะกะเอาเท่าที่สามารถกลั้นหายใจได้พอสบายๆ แล้วนับตามจังหวะก็ได้ ทำเช่นนี้อย่างน้อยวันละ 2 คาบ หรือ 8 รอบ ในยามเช้าก่อนทำสมาธิ และยามกลางคืนก่อนนอน

การทำสมาธิ คือการทำจิตให้ปราศาจากอารมณ์
เมื่อทำได้แล้ว จิตจะเบาสบาย เกิดความสงบสุข

คำค้น : ประโยชน์ของการนั่งสมาธิมีกี่ข้อ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ 12 ข้อ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ pantip ประโยชน์ของการนั่งสมาธิมีกี่ข้อ พลังจิตตานุภาพ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ มีกี่ข้อ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ สวดมนต์

ขอบคุณที่มา:srisangworn.go.th/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=11 วันพฤหัสบดี, 28 เมษายน 2565

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com