กรีฑา

4 ประวัติกรีฑา กีฬาความเป็นมาในประเทศไทยไม่แปลกที่ไม่รู้?

Click to rate this post!
[Total: 206 Average: 5]

ประวัติกรีฑา ย่อ

เชื่อกันว่า ต้นกำเนิดของกรีฑานั้น เริ่มมากจากชาวกรีกโรมัน เมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเจ้าเมืองนั้นอยากให้พลเมืองของกรีกมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เพื่อรับใช้ประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในสมัยก่อนเชื่อว่า มีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสพยายามทำตัวให้เป็นที่โปรดปราน ด้วยการทำพิธีกรรมบวงสรวงต่าง ๆ พร้อมเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอีลิส เพื่อให้เกียรติแก่เทพเจ้า โดยมีกีฬาที่ชาวกรีกเล่นนั้น มี 5 ประเภท คือ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน ขว้างจักร ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า นอกจากกีฬามวยปล้ำแล้ว กีฬาทั้ง 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกีฬากรีฑาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการแข่งขันติดต่อกันมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี เลยทีเดียว

ต่อมากรีกเสื่อมอำนาจลง และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกเลยเสื่อมลงตามลำดับ ใน พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) เนื่องจากจักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมัน มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าประชาชนเล่นกีฬาเพื่อการพนัน ไม่ได้เล่นเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด และนับตั้งแต่นั้นกีฬาโอลิมปิกก็ได้ยุติเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ศตวรรษ

กีฑาสมัยโบราณ

หลังจากนั้น ก็ได้มีบุคคลสำคัญ กลับมารื้อฟื้นให้กีฬาโอลิมปิกกลับมาเริ่มอีกครั้ง โดย บารอน ปีแอร์ เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ชักชวนบุคคลคนสำคัญของชาติต่าง ๆ เข้ามาร่วมประชุม เพื่อแข่งขันกีฬาร่วมกัน โดยให้จัดการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง พร้อมระบุข้อตกลงในการเล่นกีฬากรีฑาเป็นหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่ชาวกรีกในสมัยโบราณ ผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ กีฬาโอลิมปิกได้เริ่มแข่งขันขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ.2439 (ค.ศ. 1896) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก

กรีฑา

กรีฑา คือ ( athletics ) กีฬาประเภทหนึ่งแบ่งเป็นประเภทลู่และลาน ประเภทลู่ ได้แก่ วิ่งระยะทางต่าง ๆ ประเภทลาน ได้แก่ ขว้างจักร กระโดดสูง ทุ่มน้ำหนัก มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 776ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยทำการแข่งขัน ณ ลาน เชิงเขาโอลิมปัส ในแคว้นอีลิส ประเทศกรีซ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณ เมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลง โรมันได้เข้ามาปกครองกรีกและห้ามชาวกรีกแข่งขันกีฬา ทำให้การแข่งขันต้องล้มเลิกไปด้วย

ประวัติ กรีฑา ประเภท ลู่

ประวัติกีฑา

การวิ่งระยะสั้น

วิ่งระยะสั้น คือ (Sprints) การวิ่งในทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่เรียบ ซึ่งระยะทางวิ่งไม่เกิน 400 เมตร จากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัยสำหรับการแข่งขันกรีฑานักเรียนในประเทศไทย อาจมีการเพิ่มรายการวิ่งระยะทาง 60 เมตร และ 80 เมตรเข้าไปด้วย เพื่อให้นักกรี ฑาในรุ่นเล็กได้มีโอกาสร่วมแข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันวิ่งระยะสั้นทุกประเภทมีความสำคัญ และให้ความตื่นเต้นสนุกสนานนอกจากนักกรี ฑาจะต้องมีความเร็วตามธรรมชาติเป็นทุนเดิมแล้ว การปฏิบัติให้ถูกต้องตามเทคนิคก็มีส่วนช่วยให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายยิ่งขึ้น

การวิ่งระยะสั้น
การวิ่งระยะสั้น

เทคนิคในการวิ่งระยะสั้น ความมุ่งหมายของการวิ่งระยะสั้น คือวิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงเส้นชัยก่อนจึงได้มีการศึกษาค้นความว่าทำอย่างไรจึงจะวิ่งได้เร็วที่สุด ดังนั้นทักษะและเทคนิคจึงเป็นกุญแจไขปัญหาให้พบคำตอบที่ถูกต้อง และเชื่อว่ามีส่วนทำให้พบความสำเร็จได้ตามความสามารถของนักกรี ฑาแต่ละคน เทคนิคในการวิ่งระยะสั้นมีดังนี

  • ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง การวิ่งระยะสั้นทุกประเภท การตั้งต้นก่อนออกวิ่งสำคัญที่สุด เพราะการแพ้หรือชนะอยู่ที่การเริ่มออกวิ่งว่าดีหรือไม่ ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งที่ดี คือ ท่าที่สามารถช่วยให้ออกวิ่งได้เร็วที่สุด มีแรงส่งตัวไปข้างหน้ามากที่สุดและเสียเวลาน้อยที่สุด ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งทั้งนักกรี ฑาและผู้เชี่ยวชาญได้คิดค้นทดลองใช้กันมีหลายแบบหลายวิธีปรากฎว่าวิธีตั้งต้นด้วยการย่อตัวลงนั่งให้มือทั้งสองยันพื้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้การออกวิ่งก้าวแรกมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่ถีบตัวออก เท้าไม่เลื่อนถอยหลัง เพราะฉะนั้นควรมีที่ยันเท้า ที่ยันเท้าเริ่มวิ่ง (Starting block) ใช้สำหรับการแข่งขันวิ่งทุกประเภท ในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร ( รวมทั้งวิ่งผลัดไม้แรก 4 x 400 เมตร ) แต่ต้องไม่ใช้กับการแข่งขันวิ่งประเภทอื่น เมื่ออยู่ในลู่วิ่งส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ยันเท้าต้องไม่ล้ำเข้าไปในเส้นเริ่มหรือยื่นเข้าไปใน ช่องวิ่งอื่น ที่ยันเท้าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
    • ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง และไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบนักกีฬาคนอื่น
    • ต้องยึดกับลู่วิ่งด้วยหมุดหรือตะปู ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลู่วิ่งน้อยที่สุด รวมทั้งต้องง่ายในการติดตั้งและรวดเร็วต่อการเคลื่อนย้าย หรือถอดออก

การวิ่งระยะกลาง

การวิ่งระยะกลาง คือ (Middle distance) การวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานรู้ถึงวิธีการวิ่งที่ถูกต้องและมีทักษะในการวิ่งระยะกลางที่เหมาะสมกับสภาพทางด้านร่างกาย เพศ และวัย

การวิ่งระยะกลาง
การวิ่งระยะกลาง

เทคนิคในการวิ่งระยะกลาง มีดังนี้

  1. ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ( สมมติว่าผู้วิ่งถนัดเท้าขวา) โดยทั่วไปนิยมยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม คือ ยืนให้ปลายเท้าซ้ายจรดหลังเส้นเริ่ม เท้าขวาอยู่อยู่ข้างหลัง ห่างจากเท้าหน้าพอถนัด โน้มลำตัวไปข้างหน้า ยกมือขวาขึ้นระดับหน้าผาก มือซ้ายยกขึ้นระดับเอว งอศอกขึ้นข้างหลังเล็กน้อย ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งอีกแบบหนึ่งอาจใช้ท่าตั้งต้นแบบวิ่งระยะสั้นก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ยันเท้า จุดมุ่งหมายของการตั้งต้นก่อนออกวิ่งแบบนี้เพื่อต้องการเร่งฝีเท้าทำสถิติและเพื่อชิงวิ่งชิดขอบใน ขณะวิ่งเข้าลู่ทางโค้งไม่เสียเปรียบเรื่องระยะทาง
  2. ท่าทางในการวิ่ง มีลักษณะดังนี้
    1. มุมของลำตัว ลำตัวจะโน้มไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อยประมาณ 85 องศาหรือเกือบตั้งตรง ศรีษะและคอเป็นเส้นตรงเดียวกับลำตัว ขณะวิ่งไม่ควรเกร็งส่วนใดของร่างกายเพียงแต่ประคองตัวให้นิ่งไหลส่ายเล็กน้อยไปตามแรงเหวี่ยง ของแขน จะสังเกตว่าลำตัวทำมุมกับพื้นมากกว่าการวิ่งระยะสั้น
    2. การก้าวเท้า ขณะก้าวเท้าไปข้างหน้าไม่ต้องยกเข่าสูงมาก ก้าวให้สม่ำเสมอปลายเท้าและเข่าทั้งคู่ขนานกันไปข้างหน้า ก้าวด้วยการเหวี่ยงเท้าในลักษณะสืบเท้าไปข้างหน้า ขาหลังเมื่อยกขึ้นจากพื้นแล้วจะเหวี่ยงขึ้นข้างหลังตามสบาย เพื่อผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อการวิ่งระยะกลางนี้ จังหวะความเร็วของการก้าวเท้าจะช้ากว่าการวิ่งระยะสั้นความยาวของช่วงก้าวก็สั้นกว่าการวิ่งระยะสั้น ความสูงของเข่าที่ยกขึ้นจากพื้นจะน้อยกว่าการวิ่งระยะสั้น การออกแรงถีบเท้าสปริงขึ้นจากพื้นออกแรงน้อยกว่าการวิ่งระยะสั้น การวางเท้าลงสู่พื้นลงด้วยอุ้งเท้าส่วนการวิ่งระยะสั้นจะลงสู้พื้นด้วยปลายเท้า
    3. การแกว่งแขน แขนงอประมาณเกือบมุมฉาก กำมือหลวม ๆ แหว่งขึ้นลงระหว่างระดับลิ้นปี่กับสะโพก ขณะแกว่งแขนขึ้นข้างหน้าให้ตัดเฉียงเข้าหาลำตัวเล็กน้อย ไม่เกร็งส่วนใดของร่างกาย การแกว่งแขนของการวิ่งระยะกลางจะแกว่งเบาและแกว่งต่ำกว่าการวิ่งระยะสั้น
    4. การหายใจ การหายใจเข้าทางจมูกและออกทั้งทางจมูกและปาก ซึ่งแตกต่างกับการวิ่งระยะสั้น ซึ่งอาจกลั้นหายใจตลอดระยะทางที่วิ่งหรือหายใจเป็นช่วง ๆ

การวิ่งระยะไกล

การวิ่งระยะไกล คือ การแข่งขันวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไปคุณสมบัติของนักกีฬาวิ่งระยะไกลคือมีรูปร่างค่อนข้างสูงมีน้ำหนักปานกลางกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีจังหวะในการวิ่งที่ดีดังนั้นการฝึกหัดโดยทั่วไปก็เพื่อจะปรับปรุงในเรื่องจังหวะการก้าวขาและการแกว่งขามีการใช้กำลังให้น้อยที่สุด ทักษะการวิ่งระยะไกล เป็นการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไป ลักษณะของนักกีฬาวิ่งระยะไกล มีรูปร่างค่อนข้างสูง น้ำหนักปานกลางกล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง

สิ่งสำคัญในการวิ่งระยะไกลคือ จังหวะในการวิ่ง จังหวะในการก้าวขาและการแกว่งแขนที่จะใช้กำลังให้น้อยที่สุด การก้าววิ่งเต็มฝีเท้าช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอรักษาช่วงก้าวให้เท้าสัมผัสพื้นในลักษณะลงด้วยปลายเท้าผ่อนลงสู่ส้นเท้าลำตัวตั้งมากกว่าการวิ่งระยะอื่น ไม่ปล่อยให้คู่แข่งวิ่งนำหน้ามากกว่า 25- 30 เมตร ในการวิ่ง 1,500 เมตร และไม่มากกว่า 40-50 เมตรในการวิ่ง 3,000 เมตร

การวิ่งระยะไกล
การวิ่งระยะไกล

ประวัติกรีฑา กติกา

การแข่งขันประเภทลู่ ประกอบไปด้วย

                   การแข่งขันวิ่ง

  1. ประเภทวิ่ง 100 เมตร, 200 เมตร, 400 เมตร, ข้ามรั้ว 100 เมตร, ข้ามรั้ว 110 เมตร
  2. ประเภทวิ่ง 400 เมตร, 800 เมตร, วิ่งผลัด 4×100 เมตร, วิ่งผลัด 4×400 เมตร
  3. ประเภท 1,500 เมตร
  4. ประเภท 3,000 เมตร, วิ่งวิบาก 3,000 เมตร
  5. ประเภท 5,000 เมตร
  6. ประเภท 10,000 เมตร

                     การแข่งขันวิ่งผลัด

  1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 เมตร โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
  2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×200 เมตร นักกีฬาคนที่ 1 และ คนที่ 2จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 เมตร)
  3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×400 เมตร คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตนเอง จนกระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 เมตร ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่งเรียงตามลำดับออกมา
  4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง หรือภายในเขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
  5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
  6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4×100 เมตร, 4×400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว แล้วตัดเข้าช่องในได้

กติกา

                       การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว

          นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 ครั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน

          สิ่งต้องห้าม :  วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม

                       การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 

  1. การแข่งขันประเภทกระโดด ได้แก่ กระโดดสูง, เขย่งก้าวกระโดด, กระโดดสูง, กระโดดค้ำถ่อ
  2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง ได้แก่ ทุ่มน้ำหนัก, ขว้างจัก, ขว้างฆ้อน, พุ่งแหลน

                       การแข่งขันกระโดดไกล

การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอกันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่ทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น

                       การแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด

ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่งขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ

กรีฑามีกี่ประเภท

กีฬาชนิดนี้สามารถแบ่งประเภทขออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทลู่ ( Track Events )
  2. ประเภทลาน ( Field Events )
  3. ประเภทเดิน ( Walking Events )
  4. ประเภทถนน ( Road Races )
  5. ประเภทวิ่งข้ามทุ่ง ( Cross Country Races )

ประวัติ กรีฑา ใน ประเทศไทย

ประวัติ ความ เป็น มา ของ กรีฑา

ประวัติ ความ เป็น มา ของ กรี ฑา ผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันกรี ฑาในประเทศไทยนั้นก็ คือ กระทรวงธรรมการ ( ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ ) ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันในระดับนักเรียน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง โดยมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันในชั้นระดับนักเรียนเป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งให้มีสมาคมสมัครเล่นประเทศไทยขึ้น

ประโยชน์ กรีฑา

1.ด้านร่างกาย

  1. ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมบูรณ์ มีความคล่องแคล่วว่องไว มีความทรหดอดทน
  2. ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เป็นผู้สง่างามสมส่วน สง่าผ่าเผย การทรงตัวดี
  3. ช่วยให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น ระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร
  4. ช่วยให้ร่างกายมีความอดทน ทำงานได้นาน เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว
  5. ช่วยระบายพลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
  6. ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี

2.ทางด้านจิตใจและอารมณ์

  1. ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
  2. ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เร้าใจและตื่นเต้น
  3. ช่วยให้มีอารมณ์และจิตใจแจ่มใส ร่าเริง
  4. ช่วยระบายความตึงเครียด หลังจากที่ตรากตรำจากการทำงาน
  5. ช่วยให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะและรู้อภัย

3.ประโยชน์ทางด้านสังคม

  1. ช่วยให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กติกาอย่างเคร่งครัด
  2. ช่วยแก้ปัญหาของสังคม โดยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
  4. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรี และความสามัคคีระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย
  5. ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศโดยใช้การแข่งขันกรีฑาเป็นสื่อท่าทางการวิ่ง
ขอบคุณที่มาบทความ:sites.google.com/site/jamesukkasem007/home วันอังคาร, 17 พฤษภาคม 2565 th.wikipedia.org/wiki/