2H พลังงาน ไฮโดรเจนคืออะไร เชื้อเพลิง ประโยชน์

พลังงานไฮโดรเจน
Click to rate this post!
[Total: 2714 Average: 5]

พลังงาน ไฮโดรเจน

ไฮโดรเจน : พลังงานแห่งอนาคต?

        เมื่อเอ่ยถึงพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต  ย่อมมี “พลังงานไฮโดรเจน”  (Hydrogen, H2) รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน  ทั้งนี้เพราะ ไฮโดรเจนสามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติหลากหลายประเภท และเมื่อเกิดการเผาไหม้ ก็จะมีเพียงน้ำและออกซิเจนเท่านั้นที่เป็นผลพลอยได้  ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำให้โลกร้อนขึ้น (Global warming) นอกจากนี้  ไฮโดรเจนยังให้ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงกว่าค่าพลังงานชนิดอื่น ไม่ก่อให้เกิดกลุ่มควันฝุ่นละออง  และสามารถประยุกต์ใช้กับงานที่ใช้พลังงานดั้งเดิมได้  รวมทั้งยังสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ได้ด้วย

 

พลังงานไฮโดรเจน
พลังงานไฮโดรเจน

ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและเป็นองค์ประกอบของน้ำ (H2O) ที่มีมากที่สุดบนโลก นอกจากนี้ยังเป็นธาตุที่ รวมอยู่ในโมเลกุลของสารประกอบอื่นๆ เช่น สารประกอบจําพวกไฮโดรคาร์บอน (HC) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของปิโตรเลียมที่มีความสําคัญสําหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ คุณสมบัติทั่วไปของไฮโดรเจน คือไม่มี สี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย มีความสะอาดสูง ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไฮโดรเจนจึงถูกคาดหมายและได้รับยอมรับว่าจะเป็นแหล่งของพลังงานเชื้อเพลิงที่สำคัญอย่างมากในอนาคต โดยประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และ ญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 

 

ล่าสุด นครลอสแองเจลิสได้ประกาศแผนงานปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อหันมาสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในรัฐยูทาห์  โดยเฟสแรกจะใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติซึ่งจะเปิดดำเนินการในปี 2025 และจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฮโดรเจนอย่างสมบูรณ์ในปี 2045  ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้กลายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

 

พลังงานไฮโดรเจน
พลังงานไฮโดรเจน

พลังงานไฮโดรเจน เกิดจากการแยกโมเลกุลของน้ำออกเป็น ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน โดยเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตพลังงานไฮโดรเจนในปัจจุบันมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1.จากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ น้ำมันปิโตรเลียม 2. จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล พลังงานน้ำ และ พลังงานลม และ 3. จากพลังงานนิวเคลียร์

ปัจจุบัน กระบวนการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ การเปลี่ยนรูปสารไฮโครคาร์บอนด้วยไอน้ำ (Steam reforming of hydrocarbons)  แต่กระบวนการผลิตในรูปแบบนี้ก็ยังส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ดังนั้น การผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่เป็นพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง (Green Hydrogen) จึงต้องใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น

อย่างไรก็ดี  การพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนที่ผ่านมายังคงมีข้อจำกัดหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ  นั่นคือ 1. ไฮโดรเจนเป็นสิ่งที่จัดเก็บและขนส่งยาก 2. การผลิตไฮโดรเจนด้วยเชื้อเพลิงสะอาด (Green Hydrogen) ใช้ต้นทุนสูง 3. ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติที่ต่างจากก๊าซธรรมชาติจึงต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ใช้พลังงานดั้งเดิม

หน่วยงานด้านพลังงานของนครลอสแองเจลิสจึงวางแผนที่จะแก้ไขข้อจำกัดเหล่านั้นไว้ดังนี้

ข้อจำกัด 1  : ไฮโดรเจนเป็นสิ่งที่จัดเก็บและขนส่งยาก

เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นธาตุแรกในตารางธาตุ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และยังมีคุณสมบัติในการกัดกร่อน จึงทำให้ยากที่จะเก็บและขนส่ง  โครงการสร้างโรงไฟฟ้าของนครลอสแองเจลีสจึงวางแผนแก้ปัญหาด้วยการใช้ Salt Dome ซึ่งเป็นชั้นหินเกลือใต้ดินที่สามารถสร้างโพรงกันรั่วซึมสำหรับกักเก็บก๊าซไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี  โดยโครงการนี้มีแผนที่จะสร้าง Salt Dome ให้ได้ถึง 100 แห่ง ภายในปี 2045

ข้อจำกัด 2 : การผลิตไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงสะอาดมีต้นทุนสูง

ต้นทุนหลักในการผลิต Green Hydrogen ก็คือ Electrolyzer ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน  อย่างไรก็ดี  ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีราคาลดลงกว่า 40% จากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และคาดว่าราคาจะปรับลดลงอีก 1 ใน 3 ภายในปี 2025 โดยบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านพลังงาน Wood Mackenzie ระบุว่า การผลิต Green Hydrogen จะเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่ต้นทุนการผลิตจะต่ำลง

 

นอกจากนี้ สำนักวิจัย BloombergNEF ยังคาดการณ์ว่า ราคา Green Hydrogen อาจจะลดลงเหลือแค่ 1.4 ดอลลาร์สหรัฐ/กิโลกรัม ในปี 2030 จากระดับ 2.5-6.8  ดอลลาร์สหรัฐ/กิโลกรัม ในปัจจุบัน  ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่พอจะแข่งขันในตลาดได้

พลังงานไฮโดรเจนในอุตสกรรม
พลังงานไฮโดรเจนในอุตสกรรม

แนวโน้มดังกล่าวจะทำให้โครงการโรงไฟฟ้ายูทาห์มีต้นทุนการผลิตที่ลดลง อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) อีกด้วย 

 

ทั้งนี้ บริษัท Mitsubishi Hitachi Power Systems ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการโรงไฟฟ้ายูทาห์ ตั้งเป้าที่จะดำเนินโครงการนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี จากกรอบเวลาที่ตั้งไว้ 25 ปี  และยังวางแผนให้โรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 840 เมกะวัตต์  ซึ่งถือเป็นปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในปัจจุบันซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมกะวัตต์

ข้อจำกัด 3 : ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติที่ต่างจากก๊าซธรรมชาติ

แม้ว่าไฮโดรเจนและก๊าซธรรมชาติจะมีคุณสมบัติในการเผาไหม้แล้วให้ความร้อนที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้เหมือนกัน  แต่การเปลี่ยนจากก๊าซธรรมชาติมาใช้พลังงานไฮโดรเจน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม

 

อย่างไรก็ดี ผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้ายูทาห์มั่นใจว่า จะสามารถหาวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานไฮโดรเจนในสเกลขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อีก ก่อนที่จะเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าตามกำหนด

 

ความมุ่งมั่นพยายามของผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ ได้เปิดประเด็นเรื่องการใช้พลังงานไฮโดรเจนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พลังงานความร้อนสูงและสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก เช่น เหล็ก ปูนซิเมนต์ กระจก และเคมีภัณฑ์  โดยหลายบริษัทในอุตสาหกรรมนี้กำลังเรียกร้องให้มีแหล่งพลังงานทางเลือกพร้อมใช้ในราคาที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

 

รายงานของ BloombergNEF  ระบุว่า Green Hydrogen จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 1 ใน 3 ด้วย “ต้นทุนที่ควบคุมได้”  ขณะที่รายงานวิจัยของ Thomas Koch Blank  นักวิจัยจากสถาบัน Rocky Mountain สรุปว่า Green Hydrogen จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ระบบการผลิตพลังงานของโลกสอดคล้องกับการรักษาอุณหภูมิของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส

และหากตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้ถูกต้อง  ก็คงไม่ผิดอะไรที่จะกล่าวว่า “ไฮโดรเจน” คือพลังงานสำหรับอนาคตอย่างแน่นอน

ขอบคุณที่มาบทความ:energytimeonline.com/content/7597/hydrogen-energy-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95 วันจันทร์, 13 มิถุนายน 2565
strategy

กลยุทธ์ 3 ข้อ ธุรกิจ วางแผน ระดับองค์กร อะไร

กลยุทธ์ กลยุทธ์ คือ แผน กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ ทางการ ตลาด คือ กลยุทธ์ CSR คือ อะไร กลยุทธ์ การ ตลาด คือ กลยุทธ์ seo คือ กลยุทธ์ synergy คือ กลยุทธ์ ป่า ล้อม เมือง คือ กลยุทธ์ 4p คือ กลยุทธ์ imc คือ กลยุทธ์ differentiation คือ กลยุทธ์ ต้นทุน ต่ำ คือ กลยุทธ์ white ocean strategy คือ กลยุทธ์ 7ps คือ กลยุทธ์ 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ 3c คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 3r คือ กลยุทธ์ tows matrix คือ กลยุทธ์ การ ตลาด สมัยใหม่ ยุค 3.0 คือ อะไร กลยุทธ์ CSV คือ กลยุทธ์ blue ocean คือ กลยุทธ์ 5c คือ
ปก การสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า

การสร้าง ส่งเสริมความสัมพันธ์กับ ลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ตัวอย่าง กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 4 ขั้นตอน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า kfc กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ

Leave a Comment

Scroll to Top