โวหารภาพพจน์

9 โวหารภาพพจน์ อย่างกลอนนิราศนรินทร์คำโคลง?

Click to rate this post!
[Total: 202 Average: 5]

โวหารภาพพจน์

โวหารภาพพจน์คือ
โวหารภาพพจน์คือ

โวหารภาพพจน์  คือ การนำเสนอสารทางกลวิธีโดยใช้การพลิกแพลงในภาษาที่ใช้ในการเขียน หรือภาษาที่ใช้ในการพูด ให้มีความแตกต่างและแปลกออกไปจากในภาษาตามตัวอักษรเดิมที่เคยกำหนดใช้เอาไว้ จุดประสงค์สามารถทำให้อารมณ์ผู้รับสารเกิดการคล้อยตามไป

เกิดการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ เกิดความประทับใจ และเกิดความรู้สึกที่สะเทือนใจในสิ่งที่กำลังอ่านหรือฟังนั้น หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าผู้รับสารรู้สึกอินตามบทประพันธ์นั้นๆนั้นเอง เพราะลักษณะนี้ คือการทำให้ผู้ที่รับสารได้เกิดภาพในใจหรือการจินตนาการตามนั้นเอง

โดยการใช้ยุทธวิธีในเชิงของการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจนให้มากที่สุด เรียกว่าโวหารลักษณะนี้ว่า โวหารภาพพจน์  หรือ ภาพพจน์โวหาร

โวหารภาพพจน์มีอะไรบ้าง

โวหารภาพพจน์  มีอะไรบ้าง ประกอบด้วย

  1. อวพจน์โวหาร
  2. ปฏิพากย์โวหาร
  3. นามนัยโวหาร
  4. สัทพจน์โวหาร
  5. สัญลักษณ์โวหาร
  6. บุคคลวัตโวหาร
  7. อุปมาโวหาร
  8. อุปลักษณ์โวหาร
  9. อธิพจน์โวหาร

อวพจน์โวหาร

อวพจน์โวหาร คือ เป็นลักษณะของกวีโวหารที่กล่าวน้อยหรือต่ำจนเกินกว่าความเป็นจริงที่ปรากฏ เช่น ร้อนจนตับจะแตก, เล็กเท่าขามด เป็นต้น

ปฏิพากย์โวหาร

กวีโวหาร ที่มีชื่อเรียกว่า ปฏิพากย์โวหาร, ปฏิทรรศน์โวหาร, ปรพากย์โวหาร และปฏิพจน์โวหาร คือเป็นลักษณะของการใช้ถ้อยคำที่มีความขัดแย้งกัน ที่มองดูผิวเผินแล้วขัดกัน หรือไม่น่าจะไปในทางเดียวกันหรือไม่น่าจะไปในทำนองเดียวกัน

แต่การใช้ภาษาที่ขัดแย้งกันนี่แหละ ทำให้เกิดความหมายที่ลึกซึ้งขึ้น มีลักษณะที่กลมกลืนกัน ทำให้ถ้อยคำทางโวหารเพิ่มความหมายและมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น สวรรค์บนดิน, เลวบริสุทธิ์, น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย, ยิ่งรีบยิ่งช้า, โกหกหน้าตาย

นามนัยโวหาร

นามนัยโวหาร หรือ นามนัย คือ เป็นลักษณะของกวีโวหารการใช้คำหรือวลี เพื่อบ่งบอกลักษณะ หรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง ความหมายมีลักษณะเด่นและมีความสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับสิ่งที่แทน

มักจะนิยมใช้ชื่อของส่วนประกอบที่สำคัญๆของการแทนสิ่งนั้นๆ เช่น น้ำตาและรอยยิ้มจะอยู่คู่กับชีวิตของมนุษย์อย่างเสมอมา (น้ำตาในที่นี้ ก็คือ การแทนซึ่งความทุกข์ ส่วนรอยยิ้มนั้น ก็คือ การแทนซึ่งความสุข)

สัทพจน์โวหาร

สัทพจน์โวหาร เป็นลักษณะของกวีโวหารการใช้เสียงธรรมชาติมาประกอบ หรือ การที่เลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดมโนภาพที่เด่นชัด เข้าใจง่าย และชัดเจนมากที่สุด สัทพจน์ ตัวอย่าง เช่น ลูกแมวมันร้องเหมียว ๆ ๆ ลูกไก่มันร้องกุ๊ก ๆๆ ลูกนกร้องจิ๊บๆๆ สัทพจน์จึงเป็นโวหารเปรียบเทียบเลียนเสียงสัตว์, เสียงดนตรี, เสียงคลื่นทะเล, เสียงน้ำตก, เสียงรถยนต์ และการเลียนเสียงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเสียงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างคืน เช่นจาก บทกลอนตอนหนึ่งจากบทประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ ในเรื่องพระอภัยมณี

“ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย                             จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน

แอ้อีอ่อย สร้อยฟ้าสุมาลัย                                        แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย”

ต้อยตะริดติดตี่ , แอ้อีอ่อย ทั้งสองคำนี้ เป็นการเลียนเสียงของเครื่องดนตรีไทย นั้นก็คือ เสียงของปี่

สัญลักษณ์โวหาร

สัญลักษณ์โวหาร หรือ โวหารสัญลักษณ์ เป็นลักษณะของกวีโวหารการใช้ถ้อยคำอื่นๆ มาแทนภาพพจน์โวหาร ที่ได้นำมาใช้เป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่เน้นการเรียกชื่อตรงๆ เป็นความต้องการที่จะเปรียบเทียบหรือผู้ประพันธ์ต้องการให้เกิดการตีความด้วยคุณสมบัติที่มีร่วมกันบางประการ ยกตัวอย่างเช่น

“เมฆสีดำแต้มฟ้าเวลานี้ มันจะมีวันจางร้างฟ้าไหม เราอยากเห็นรุ้งทองของฟ้าไทย ผ่องอำไพกระจ่างทาบกลางฟ้า”

จากบทกลอน  โวหารภาพพจน์ คือ “เมฆสีดำ” เป็น สัญลักษณ์โวหาร แทนความชั่ว ความทุกข์ และใช้คำว่า “รุ้งทอง” เป็นสัญลักษณ์แทนความดี ความสุข

อนุนามมัย

อนุนามมัยเป็นส่วนหนึ่งในโวหารภาพพจน์  เป็นการกล่าวในส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้นๆแทนการกล่าวถึงทั้งหมด เป็นการเปรียบเทียบในลักษณะเด่นๆที่นำมากล่าวแทน เช่น มือที่เปื้อนชอล์คยังคงมุ่งมั่นที่จะสานฝันให้เป็นจริง (มือที่เปื้อนชอล์ค ความหมายถึง ครู,อาจารย์), สาวฉันทนาเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรง (ฉันทนา หมายถึง สาวโรงงาน)

บุคคลวัตโวหาร

บุคคลวัตโวหาร หรือ โวหารบุคคลวัต, บุคลาธิษฐาน, บุคคลสมมติ  เป็นลักษณะของกวีโวหารการใช้ถ้อยคำการกล่าวถึงภาพพจน์ของการสมมุติสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ ไม่ใช่มนุษย์ เช่น สัตว์ โต๊ะ ท้องฟ้า ที่นอน เพื่อให้สิ่งนั้นๆที่กล่าวถึง มีสติปัญญา มีอารมณ์ สามารถแสดงกิริยาอาการเฉกเช่นดั่งมนุษย์ ยกตัวอย่าง เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้ามายิ้มแฉ่ง  สายลมลูบไล้พฤกษาลดามาลย์

จบบทกวีเรื่องลมหนาว บทประพันธ์ของ ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

“ลมหนาวเริ่มล่องมาจากฟ้าแล้ว                   พรม จูบ แผ่วเจ้าพระยาโรยฝ้าฝัน

คลื่นคลี่เกลียวแก้วม้วนกับนวลจันทร์                      กระซิบสั่น ซ่านกระเซ็นเป็นลำนำ”

การเปรียบเทียบให้ลมหนาว ได้มาทำอาการจูบกับลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อคลื่นมากระซิบและสั่นจนเกิดเป็นเพลงลำนำ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบสิ่งไม่มีชีวิตในธรรมชาติ ให้มีอริยาบทอาการเฉกเช่นดังมนุษย์

อุปมาโวหาร

เป็นลักษณะของกวีโวหารในการใช้ถ้อยคำในเป็นการเปรียบเทียบ 2 สิ่งหรือเป็นการเปรียบเทียบในสิ่งที่มีความเหมือนกันกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยการใช้คำเชื่อม อาทิเช่น เหมือน, เปรียบ, ราว, ราวกับ, ประดุจ, ประหนึ่ง,ละม้าย, ดุจ, ดั่ง, เฉก, เฉกเช่น, ปูน,เช่น, เล่ห์, ปาน, เพียง, เพี้ยง, พ่าง, ปานเล่ห์, เทียบ, เทียม, เสมอ, ถนัด, เสมอเหมือน, กล, อย่าง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น

จบบทกวีเรื่องระเด่นลันได บทประพันธ์ของ ท่านอาจารย์พระมหามนตรี

“สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด                        งาม ละม้ายคล้าย อูฐกะหลาป๋า

พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา                                  ทั้งสองแก้มกัลยา ดัง ลูกยอ

คิ้วก่ง เหมือน กงเขาดีดฝ้าย                                    จมูก ละม้ายคล้าย พร้าขอ

หูกลวงดวงพักตร์หักงอ                                          ลำคอโตตันสั้นกลม”

การนำเอาลักษณะของอวัยวะที่มีรูปร่างของคนมาเปรียบเทียบกับลักษณะของสิ่งที่ดูเหมือนกัน เช่น แก้มเป็นลักษณะปุ่มปมเหมือนกับผิวของลูกยอ, จมูกที่ดูงองุ้มที่ปลายจมูกเหมือนกับตะขอv’

อุปมาโวหาร ไม่ได้มีแต่ในภาษาบทกาพย์กลอนอย่างเดียว ในร้อยแก้วก็มีอุปมาโวหารที่ไพเราะทางถ้อยคำด้วยเช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น ปัญญาประดุจดังอาวุธ, โทสะประดุจดั่งไฟที่เผาไหม้จิตใจของคน, ท่าทางของหล่อนราวกับนางพญา, จมูกโด่งเหมือนลูกชมพู่, เสียงไพเราะดังกังวานปานเสียงพญาเสือโคร่ง

อุปลักษณ์โวหาร

อุปลักษณ์โวหาร เป็นลักษณะของกวีโวหารที่มีลักษณะคล้ายกับอุปมาโวหาร เป็นการเปรียบเทียบ 2 สิ่งหรือเป็นการเปรียบเทียบในสิ่งที่มีความเหมือนกัน คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง หรือการเปรียบเทียบจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งไปเลย เปรียบเทียบทางคุณลักษณะที่มีร่วมกันโดยตรงแต่ไม่ต้องมีคำเชื่อมโยง ตัวอย่างเช่น ทหารคือรั้วของชาติ, ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย

จาก บทกลอนตอนหนึ่งจากบทประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ ในเรื่องขุนช้างขุนแผน

“มันก็ เป็น ช้างงาอันกล้าหาญ                     เราก็ เป็น ช้างสารอันสูงใหญ่

จะอยู่ป่าเดียวกันนั้นฉันใด                                      นานไปก็จะยับอัปมาน”

การเปรียบเทียบระหว่างหมื่นหาญกับขุนแผนโดยเปรียบขุนแผนเป็นช้างที่กล้าหาญ หมื่นหาญก็เป็นช้างที่ดูใหญ่โตจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร

อธิพจน์โวหาร

อธิพจน์โวหาร หรือ อธิพจน์โวหาร เป็นลักษณะของกวีโวหารในการใช้ถ้อยคำของโวหารที่กล่าวเกินความจริงด้วยเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มี น้ำหนักมากยิ่งขึ้น  เพื่อสร้าง เพื่อเน้นความรู้สึกและอารมณ์ จนทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง เกิดความรู้สึกเพิ่มขึ้น เกิดการอินตามในภาพพจน์ชนิดนี้ อธิพจน์โวหาร หรือ อธิพจน์โวหารนิยมใช้กันมากในภาษาพูด เ

นื่องจากทำให้เห็นภาพได้ง่ายและชัดเจน ผู้ประพันธ์จะแสดงความรู้สึกของบทกวีที่แต่งได้อย่างชัดเจนที่สุด แต่อย่างไรก็ตามก็ซึ่งก็มักจะมีเค้าแห่งความเป็นจริงเจือปนอยู่บ้าง ไม่ใช่เรื่องที่กุขึ้น หรือหลอกลวงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

จาก บทกลอนตอนหนึ่งจากบทพระราชนิพนธ์ส่วนหนึ่ง ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในเรื่องรามเกียรติ์

“รถเอยรถที่นั่ง                               บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน

กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาฬ                                 ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน

ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง                                      เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน

สารถีขี่ขับเข้าดงแดน                                             พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ

นทีตีฟองนองระลอก                                             คลื่นกระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น

เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน                              อานนท์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน

ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท                                สุธาวาศไหวหวั่นลั่นเลื่อน

บดบังสุริยันตะวันเดือน                                         คลาดเคลื่อนจตุรงค์ตรงมา”

เป็นการเปรียบเทียบมานี้รถที่ใช้สิงห์เทียมได้ถึง 1 แสนตัว เปรียบเทียบน้ำในมหาสมุทรก็คงจะขุ่นไม่ได้หากไม่มีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นแบบสึนามิดังนั้นบทกลอนที่กล่าวมาจึงอุดมไปด้วยอติพจน์เป็นอย่างยิ่ง

“เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม พาหมู่สัตว์จอมจม ชีพม้วย”

ทั้งหมดนี้เป็นการกล่าวเกินความจริงที่กวีได้ร้องไห้ คร่ำครวญจนน้ำตาท่วมถึงพระพรหม ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องจมน้ำตายกันหมด

อติพจน์ ไม่ได้มีแต่ในภาษาบทกาพย์กลอนอย่างเดียว ในร้อยแก้วก็มีเช่นกัน อติพจน์ ตัวอย่าง ดังนี้

คิดถึงใจจะขาด, คอแห้งเป็นผง, เกลียดเข้ากระดูกดำ

โวหารภาพพจน์ ในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่าง

โวหารภาพพจน์ ตัวอย่าง เป็นความงดงามของถ้อยคำในการใช้ภาษาของไทยที่เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญของภาษาประจำชาติ ที่ทุกวันนี้คนไทยทุกคนเลือกใช้โวหาร ภาพพจน์ ในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลายและจนเคยชิน ในบางครั้งอาจไม่ทราบกันเลยว่าได้ใช้โวหาร ภาพพจน์กันมากเท่าใดในชีวิตประจำวัน

ซึ่งแท้จริงแล้วของสิ่งสำคัญ คือการใช้ให้ถูกต้อง ให้คู่ควร ให้ตรงประเด็น และไม่ทำให้ภาษาไทยหรือถ้อยคำมีความผิดเพี้ยนไป แม้ว่าผู้ส่งสารจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เป็นสัญลักษณ์ ภาพพจน์ ที่ไม่สมควรกระทำมาก

ในฐานะของคนไทย การมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและมีเพียงชาติเดียวในโลก นี่คือความภูมิใจอันสูงสุดของเจ้าของภาษา สำควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาให้เกิดความชำนาญจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถเลือกใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญ

แล้วจะพบว่าเสน่ห์ของความมีเอกลักษณะทางภาษาไทย คือความมหัศจรรย์ของบรรพบุรุษในการประดิษฐ์คิดค้นภาษาไทยได้อย่างไพเราะในถ้อยคำ ในสำเนียง ในการสื่อสาร ทั้งทางวัจนภาษาและทางอวัจนภาษา ล้วนเป็นความงดงามที่ยิ่งใหญ่ ต่อการมีคุณค่า ต่อการอนุรักษ์ ต่อการสืบทอดให้คงอยู่คู่กับชาติไทยไปอีกตราบนานเท่านั้น

ความหมายของโวหารภาพพจน์ ของการใช้ภาพในการสู้รบต่างๆ

อุปมานิทัศน์โวหาร คือ เป็นลักษณะของกวีโวหารภาพพจนในการใช้ถ้อยคำที่เป็นเรื่องราวสอนใจ

นาฏกรโวหาร คือ เป็นลักษณะของกวีโวหาร  เป็นความหมายของโวหาร ภาพพจน์ของการใช้ภาพในการสู้รบต่างๆ หรือ ภาพของการเคลื่อนไหวที่สวยงามมาอธิบายหรือการบรรยาย เป็นบทกวี บทร้อยกรอง และบทร้อยแก้ว