แหล่งโปรตีน

5 แหล่งโปรตีน อาหารอะไรที่มีสูงความลับที่ไม่มีใครรู้?

Click to rate this post!
[Total: 163 Average: 5]

แหล่งโปรตีน

โปรตีนเเห่งอนาคต

ความสำคัญของโปรตีน

              โปรตีนประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” ที่เชื่อมโยงโครงสร้างจากสายสั้นๆ “เพปไทด์” ไปสู่โครงสร้างซับซ้อน “พอลิเพปไทด์” แม้ว่ามนุษย์จะสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เองจำนวนหนึ่ง เเต่ก็มี “Essential Amino Acids” หรือกรดอะมิโนจำเป็น 11 ชนิด ที่ไม่สามารถสร้างเองได้ เเละจะได้รับจากการบริโภค-ย่อยอาหาร ที่มีส่วนประกอบโปรตีนทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ นม พืช เเละธัญพืชต่างๆ เท่านั้น ดังนั้นการบริโภคอาหารเป็นเเหล่งโปรประเภทต่างๆอย่างเพียงพอและสมดุลจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการของร่างกายอย่างยิ่ง

หน้าที่ของโปรตีน

              1.  เป็นองค์ประกอบของเเอนติบอดี : ซึ่งมีส่วนในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

              2. มีส่วนในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ : ซ่อมเเซมเนื้อเยื่อส่วนที่บาดเจ็บ

              3. เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด : ซึ่งสำคัญต่อการดำเนินกระบวนการต่างๆของร่างกาย

              4. เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมน : ซึ่งใช้ควบคุมการทำงานและรักษาสมดุลของร่างกาย

              5. เป็นส่วนประกอบโครงสร้างของร่างกาย ได้เเก่ กระดูก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมไปถึงผิวหนัง ผม ขนเเละเล็บ  

ทำไมต้อง “โปรตีนเเห่งอนาคต”

              จากการขยายตัวของชุมชนเมืองที่ส่งผลให้การผลิตเเบบเกษตรเพื่อการดำรงชีพเริ่มคุ้มค่าต่อการใช้พื้นที่ อุตสาหกรรมเกษตรตั้งเเต่ขั้นปฐมภูมิจนถึงการเเปรรูปขั้นสูง จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มทวีคูณในไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทั้งมาตรการการค้าระหว่างประเทศที่ปัจจุบันกลายเป็นกลไกสำคัญต่อการเปลี่ยนเเปลงตลาดโลก จากเดิมที่พูดเพียง “สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช” แต่ปัจจุบันทั้งมาตรการสิ่งเเวดล้อม เเรงงาน ไปจนถึงมาตรการอุปสรรคอื่นๆ ที่มิใช่ภาษี ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าอย่างเป็นรูปธรรม การผลิตรูปแบบอุตสาหกรรมดั้งเดิมจึงได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น

              1. การเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ ที่ตกเป็นจำเลยต่อสภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ถูกจับตามองในประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ไปพร้อมกับปัญหาโรคติดต่อของสัตว์หรือสัตว์สู่คน

              2. การทำประมง และอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง มีกลไกกฎหมายและมาตรการป้องกันประมงผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ผลิตรายใหญ่และประมงพื้นบ้าน

              3. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่ทำให้เเรงงานภาคเกษตรลดลง เเต่ร่างกายมนุษย์กลับต้องการโปรตีน จนโลกอาจมีเเรงงานมนุษย์ไม่เพียงพอต่อการผลิตเเหล่งโปรตีน

              4. การเพาะปลูกพืชไร่-พืชอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวลายชนิด เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นประเด็นหยิบยกว่าก่อให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่า เเละเป็นการผลิตที่ไม่ยั่งยืน ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งเเวดล้อม อย่างฝุ่น PM 2.5 

              5. สถานการณ์ระบาดของโรค “COVID-19” ที่กระทบกลไกการผลิต ขนส่ง และการตลาดของโลก พลิกโฉมวิถีชีวิตของประชากรกว่า 180 ประเทศ จากหน้ามือเป็นหลังมือ   

              ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเเต่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของ “เเหล่งโปรตีน” ของโลก และการพลิกอุปสรรคข้อจำกัดให้กลายเป็นปัจจัยผลักดัน “โปรตีนเเห่งอนาคต (Future Protein)” จึงกลายเป็นโจทย์วิจัย-ปัญหาสากล เพื่อหาทางออกที่สร้างความยั่งยืนให้ห่วงโซ่อาหารของโลก เเละตอบโจทย์โภชนาการของมนุษย์ในอนาคตอย่างเพียงพอ

กระเเสผู้บริโภคนำตลาด

              นอกเหนือจากข้อจำกัดในการผลิตและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเเล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่อาจไม่พูดถึงคือ “กระเเสผู้บริโภค” ในปัจจุบัน ที่มาพร้อมกับการเผยเเพร่ข้อมูลเครือข่ายสังคมเเละชี้นำการตลาดเเนวใหม่ เเม้ Future Protein ที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวางหลายชนิดอาจไม่เคยได้รับการยอมรับบริโภค หรือเเม้กระทั่งถูกมองอย่างขยะเเขยงในอดีต โดยการชูเเนวคิดจุดเด่นที่น่าสนใจ เช่น

     – โปรตีนที่ผลิตเเบบ “รักษ์โลก” ผลิตได้บนข้อข้อจำกัดทั้งที่ดิน น้ำ อาหาร อัตราแลกเปลี่ยนเนื้อสูงผลิตคืนทุนรวดเร็ว

     – สร้างกระเเสรูปเเบบการผลิตและความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความปลอดภัย สุขอนามัย

     – ใช้กระเเสต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์ เพื่อพลิกเป็นจุดขายของโปรตีนชนิดใหม่

     – กระเเสสุขภาพ ที่มุ่งเเสวงหาแหล่งอาหารเเคลอรี่และคอเรสเตอรอลต่ำ

              ความต้องการทางการตลาดได้กลายเป็นกระเเสผลักดันให้ Future Protein มีที่ยืนบนอุตสาหกรรม เเละสร้าง Startup หรือ ผู้ผลิตรายใหม่ที่เข้าสู่วงการอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมากขึ้น

แหล่งโปรตีนเเห่งอนาคตที่ “น่าจับตา”

องค์ประกอบของสารอาหารจากธัญพืชที่รับประทานได้คิดเป็นกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม

Picture1 1

ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย (2544)

องค์ประกอบของสารอาหารจากแมลงที่รับประทานได้คิดเป็นกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม

Picture2

ข้อมูลจาก : นันทยา และคณะ (2549)

องค์ประกอบของสารอาหารจากเห็ดที่รับประทานได้คิดเป็นกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม

Picture3 1

ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย (2533)

ขอบคุณที่มา:warning.acfs.go.th/th/articles-and-research/view/?page=69

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com