เปลี่ยนชื่อ
ทะเบียนชื่อบุคคล
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
- ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
- ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
- ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล
- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
- ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต ผู้ได้รับหรือเคยได้รับ
- พระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็น ชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้
- ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
- กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน
- กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท
- เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและ หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
การขอจดทะเบียนชื่อสกุล
- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
- ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
- ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
- มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
- ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า ” ณ ” นำหน้าชื่อสกุล
- ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
- ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว
นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบ
- หลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
- เมื่อนายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
- เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และ
หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนขอร่วมใช้ชื่อสกุล
การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
* สำเนาทะเบียนบ้าน
* บัตรประจำตัวประชาชน
* หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)
ขั้นตอนการติดต่อ
* เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือ
สำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
* นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและออก
หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)
* สำเนาทะเบียนบ้าน
* บัตรประจำตัวประชาชน
* หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนการติดต่อ
* ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือ อนุญาต
ให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
* นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ สำคัญ
แสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
* ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตร ประจำตัวประชาชน
ที่มา 4/1/2565:https://bora.dopa.go.th/index.php/th/
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 1 เมษายน 2022