เก้าวิชาสามัญ

9 วิชาสามัญ สอบเนื้อหาวิชาข้อสอบออกอะไรบ้าง?

Click to rate this post!
[Total: 170 Average: 5]

9 วิชาสามัญ

การเข้าเรียนในรั้วอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยยังคงเป็นกระแสที่มีค่านิยมกันในทุกวันนี้ สำหรับการสอบ9วิชาสามัญของระดับนักเรียนในวัยมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยแล้ว จุดมุ่งหมายของการเรียนต่อสายสามัญในระดับชั้นมัธยมศึกษา 4-6 นั้น เพื่อการสอบเข้าคณะที่ใฝ่ฝัน และมหาวิทยาลัยที่พึงปรารถนา เพื่อก้าวสู่การประกอบสายอาชีพทางตลาดสังคมต่อไป

9 วิชาสามัญ
9 วิชาสามัญ

แต่สำหรับในยุคปัจจุบันนี้ต้องยอมรับกันว่าอัตราในเรื่องของการแข่งขันมีค่อนข้างสูง เพราะความเชื่อที่เป็นมาหลายยุคหลายสมัยจากรุ่นสู่รุ่นที่ว่า การได้เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงติดในอันดับต้นๆของประเทศไทยแล้ว เสมือนเป็นใบเบิกทางอย่างหนึ่งในการรับคนเข้าทำงาน การถูกหยิบใบสมัครเข้ามาให้ได้รับการสัมภาษณ์ของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนก่อน

สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่ทำการเข้าสอบแข่งขัน 9 วิชา สามัญ มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาหาข้อมูลเอาไว้แต่เนิ่นๆ ดำเนินการวางแผนและการเตรียมตัวกันดีๆในการอ่านหนังสือหรือการทำแบบทดสอบแบบฝึกหัดให้พร้อมก่อนการลงเข้าสู่สนามสอบวันจริงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การฝึกฝนทุกๆวันจะทำให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญในที่สุด และวันที่สอบจริงอาการตื่นเต้นก็จะลดลงและสามารถมีสติแน่วแน่ในการทำข้อสอบได้ผลดี ผู้เขียนมีความเชื่อเหลือเกินว่าความใฝ่ฝันและความปรารถนาที่น้องต้องการไขว้คว้าจะไปถึงของน้องๆนักเรียนคนเก่งเพียงแค่อยู่เอื้อมมือเท่านั้น

9 วิชาสามัญ คือ การจัดสอบส่วนกลาง จัดสอบโดย หน่วยงาน”สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)” หรือชื่อย่อ “สทศ.” ชื่อภาษาอังกฤษ คือ  “National Institute of Educational Testing Service(Public Organization)” หรือชื่อย่ออักษรภาษาอังกฤษ “NIETS” การออกข้อสอบของหน่วยงาน สทศ. เพื่อใช้สำหรับเป็นเกณฑ์ในการรับตรงเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย  จากที่เคยสอบเพียง 7 วิชาสามัญ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในส่วนของหลักสูตรเนื้อหาสายศิลป์ ทางสทศ. จึงเพิ่มเนื้อหาเข้าไป 2 วิชา รวมเป็น 9วิชา

การสมัครสอบ9วิชาสามัญ

วิชาสามัญ 9 วิชา

  1. รายวิชาภาษาไทย
  2. รายวิชาสังคมศึกษา
  3. รายวิชาภาษาอังกฤษ
  4. รายวิชาคณิตศาสตร์ 1
  5. รายวิชาฟิสิกส์
  6. รายวิชาเคมี
  7. รายวิชาชีววิทยา
  8. รายวิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
  9. รายวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (สายศิลป์)

หมายเหตุ : รายวิชาที่ 8 คณิตศาสตร์ 2 และรายวิชาที่ 9 วิทยาศาสตร์ทั่วไป เพิ่มเข้ามาจาก 7 วิชาสามัญ

วิธีสมัคร gat pat

สำหรับขั้นตอนและวิธีการสมัครสอบ GAT/PAT

  1. เข้าเว็บไต์  www.niets.or.th ของสทศ.
  2. กดเลือกระบบการสอบ GAT/PAT
  3. กดเข้าสู่ระบบ และคลิกเลือกสมัครสอบ GAT/PAT
  4. กด “ยอมรับเงื่อนไขการสมัครสอบ” กด “ถัดไป”
  5. เลือกรายวิชาที่สมัครสอบ กด “สมัครสอบ”
  6. ตรวจสอบข้อมูล และกด “ยืนยันการสมัครสอบ”
  7. เลือกสถานที่สอบ “จังหวัด เขต/อำเภอ” กด “ยืนยันการเลือกสถานที่สอบ”
  8. กด “พิมพ์ใบจ่ายเงิน” ชำระเงินเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย, เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ และ Counter Service ทุกสาขา

วิธีสมัครgatpat

การสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ

           การสมัครสอบในรายวิชา มีความจำเป็นต้องค้นหาข้อมูลว่า แต่ละรายวิชาตรงกับคณะใดบ้างในการเลือกสอบเข้า คณะไหนใช้ 9 วิชาสามัญรายวิชาใด เพราะรายวิชาสามัญ คือ รายวิชาที่ใช้ยืนสอบเพื่อมีสิทธิ์ในการยื่นตรงเข้ามหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกในการสอบตรงสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะเลือกศึกษาต่อในคณะที่ตนเองสนใจ
คณะแพทย์แผนไทย ,คณะแพทย์แผนจีน, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะสหเวชศาสตร์, คณะวิทยาสาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้ 7 วิชาสามัญสายวิทย์ – คณิต ประกอบด้วย คือ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์, คณะทันตแพทย์, คณะสัตวแพทย์, คณะเภสัชศาสตร์ ใช้ 7 วิชาสามัญสายวิทย์ – คณิต ประกอบด้วย คือ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา  จำนวน 70% และ วิชาเฉพาะ กสพท. ออกข้อสอบ คือเชาว์ปัญญา, จริยธรรมแพทย์, เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล จำนวน 30%
คณะนิติศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะบัญชี, คณะบริหาร, คณะโลจิสติกส์, คณะศึกษาสตร์, คณะคุรุศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะมัณฑนศิลป์, คณะจิตวิทยา, คณะมนุษยศาสตร์ ใช้ 7 วิชาสามัญสายวิทย์ – คณิต ประกอบด้วย คือ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
*** อาจมีบางมหาวิทยาลัยและบางคณะที่การสอบ 9 วิชาสามัญ ได้ใช้คะแนนสอบคณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพื่อเป็นการแยกสอบสายการเรียนสายวิทย์ – คณิต,สายศิลป์

Test Blueprint คืออะไร

               ตารางการวิเคราะห์ข้อสอบ สามารถระบุขอบเขตของเนื้อหาด้านในว่าข้อสอบของแต่ละวิชาประกอบด้วยเนื้อหาและเรื่องอะไร มีจำนวนทั้งหมดกี่ข้อ แต่ละหัวข้อออกสอบอะไร มีความสำคัญต่อการอ่านหนังสือ สามารถตรวจหรือเทียบว่าได้อ่านตรงครบทุกหัวข้อเรียบร้อยแล้วหรือยัง จะสามารถช่วยได้มากเลยสำหรับนักเรียนที่มีความปรารถนามุ่งมั่นอ่านสอบ 9 วิชาสามัญ คณะที่ใช้

test blueprint

ยกตัวอย่างสายวิทย์ – คณิตวิชาฟิสิกส์ 9 วิชา สามัญ ออกอะไรบ้างหล่ะ ออกตามเนื้อหาในบทเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – ปีที่ 6 สำหรับวิชานี้การทำแบบฝึกหัดและการจับเวลาคือคำตอบของการฝึกฝนที่ดีที่สุด เช่น เรื่องของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การคำนวณมีความหลากหลายและสูตรค่อนข้างเยอะการฝึกทำแบบฝึกหัดจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับวิชาคำนวณอย่าง คณิตศาสตร์ 1 คือมีลักษณะที่คล้ายกัน เป็นรายวิชาของเด็กวิทย์ – คณิต และเป็นหนึ่งใน 9วิชาสามัญ ที่ต้องใช้ยื่นสอบตรงเข้าคณะต่างๆของมหาวิทยาลัย หากไม่ได้ลงสอบในวิชานี้อาจทำให้ถูกตัดสิทธิ์ในการเลือกคณะ ดังนั้น ขั้นตอนวิธีสมัคร9 วิชา สามัญ จึงจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลและอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนการการลงมือกรอกข้อมูล ส่งกดส่งข้อมูลเพื่อสมัครสอบ

แต่เหนือสิ่งอื่นใดการสอบ 9 วิชา สามัญเป็น การสอบตรงของส่วนกลางเพื่อยื่นคะแนนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและคณะที่ต้องการ แต่การสอบส่วนกลางอย่าง การสอบ Gat Pat ก็ยังคงมีการจัดสอบเพื่อเลือกลำดับคณะและลำดับมหาวิทยาลัย แม้ว่าในสมัยนี้การเรียนในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชนก็เป็นทางเลือกที่มีคุณภาพ สามารถสร้างและผลิตบัณฑิตให้มีความเก่ง ได้มาตรฐานมีคุณภาพออกมารับใช้สู่สังคมได้ไม่แตกต่างจากรั้วมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและติดอันดับต้นๆเช่นกัน เลือกเรียนในสิ่งที่รัก คณะที่ชอบ และมหาวิทยาลัยที่สะดวกต่อการเดินทาง การเลือกในสิ่งที่รักและสิ่งที่ชอบจะทำให้ชีวิตนิสิตนักศึกษามีความสุขในการเรียนพร้อม ๆ กับทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยและไม่ทำให้กระทบต่อวิชาที่เรียน

สำหรับชีวิต 4 – 6 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัยโดยประมาณ มีเรื่องราวให้น่าจดจำและใช้ชีวิตให้มีความสุข เรียนให้จริงทำกิจกรรมให้สนุกแล้วชีวิต Work-Life Balance. คือการที่มีชีวิตในลักษณะที่มีความสมดุล เพื่อเตรียมพร้อมต่อการก้าวสู่การเป็นบัณฑิต และจัดสรรชีวิตสู่การทำงานอย่างมีเป้าหมายมีความสุขได้อย่างง่ายขึ้น