อากรแสตมป์ คือ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลักษณะของอากรแสตมป์จะมีการจัดพิมพ์คล้ายกับตราไปรษณียากร (แสตมป์ไปรษณีย์) มีลวดลาย รอยปรุของฟันแสตมป์ และราคาแสตมป์ แต่ต่างกันที่จะไม่มีตราประทับ จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่จะขีดฆ่าได้ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร
บทความแนะนำ : -------------------------
ความหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับอากรแสตมป์ ที่ควรรู้!! แสตมป์ภาษีอากร
ตราสาร หมายถึง เอกสารที่ต้องเสียภาษีตามหมวดอากรแสตมป์ เอกสารซึ่งตามปกติเป็นกระดาษ ให้หมายความคำว่า กระดาษ ตลอดไปจนถึงแผ่นหนังฟอกหรือสิ่งอื่น ๆ ซึ้งใช้เขียนตราสารนั้น หรือกล่าวอีกในหนึ่ง ก็คือ นอดกจากหมายถึงกระดาตามถ้อยคำแล้ว ยังรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดที่ใช้เขียนตราสารด้วย
- ใบรับ ตามมาตรา 103 หมายถึง บันทึกหรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝากหรือได้รับชำระเงิน หรือตั๋วเงิน เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้รับ บันทึกหรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ
- แสตมป์ หมายถึง แสตมป์ปิดทับหรือแสตมป์ดุนบนกระดาษ และแสตมป์ดุนกระดาษนี้ให้หมายความรวมถึงแสตมป์พิมพ์ทับบนกระดาษด้วย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
- ปิดแสตมป์ หมายถึง การปิดแสตมป์ทักระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุนบนกระดาษ
- ขีดฆ่า หมายถึง การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยในกรณี แสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือจีดเส้นคร่อมฆ่า แสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณี แสตมป์ ดุนได้เขียนตราสารหรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับ แสตมป์ดุลให้แสตมป์ดุลประดฎอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น
หนังสือมอบอํานาจ อากรแสตมป์ การติดอากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจ
กรณีการทำตราสารในลักษณะใบมอบอำนาจ ตามลักษณะแห่งตราสาร 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ ดังนี้
- การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวปิดอากรแสตมป์ จำนวน 10 บาท
- การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวปิดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท
- การมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจ ค่าอากรแสตมป์ คนละ 30 บาท
ยกเว้นใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
หนังสือมอบอำนาจอากรแสตมป์ ดาวน์โหลด
อากรแสตมป์ หนังสือมอบอํานาจ ซื้อที่ไหน
อากรแสตมป์ ซื้อที่ไหน
- ที่ทำการไปรณีย์ทุกพื้นที่
- ร้าน 7-11 มีขายเป็นบางสาขาจะต้องสอบถามพนักงานของสาขา
- ร้านขายเครื่องเขียนใกล้บ้าน
- สรรพากร
- สถานที่ราชการต่าง ๆ
- เว็บไซต์ที่มีขายอากรแสตมป์
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์
ประเภทของอากร | ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ |
---|---|
1.บุคคลที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากร | เช่น ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกัน ฯลฯ |
2.ตราสารที่จัดทำขึ้นนอกประเทศ | ผู้ทรงตราสารคนแรกภายในประเทศเป็นผู้เสียภาษีอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น |
3.ตั๋วเงินที่ได้รับชำระเงิน | ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่ชำระก็ได้ |
วิธีการเสียอากร
การเสียจะเรียกว่า “ปิดแสตมป์บริบูรณ์” แบ่งความหมายไว้ 3 แบบ
- 1. แสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว
- 2. แสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว
- 3. ชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม บทบัญญัติในหมวดอากรแสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
อากรแสตมป์ สัญญาจ้าง
การยกเว้นอากร
- รัฐวิสาหกิจ เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพ เป็นของบริษัท จำกัด หรือบริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
- อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
- สถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (องค์การมหาชน)
- ผู้ที่ต้องเสียอากร เฉพาะตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน เฉพาะในส่วนของหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะการกระทำตราสารในการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
- กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-
ผู้ขาย เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์”ดังต่อไปนี้
- (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
- (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน
- (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้โอนได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้ขายได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับค่าอากรแสตมป์ที่คำนวณได้จากจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 444) พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ 30 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย”
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
- สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
- ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แก่บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ
- ยกเว้นบรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ให้แก่
ก) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญ ขององค์การ หรือทบวงการดังกล่าว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย ในเมื่อประเทศไทย มีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญา หรือความตกลง
(ข) สถานเอกอัคราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยที ถ้อยปฏิบัติต่อกัน
การลดอากร
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 155) ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2515 ลดค่า อากรแสตมป์สำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยถ้าค่าอากรมีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท
ความรับผิดกรณีไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ และการไม่ออกใบรับ
ความรับผิดทางอาญา
ประเภทความผิด | โทษปรับ |
---|---|
มาตรา 124 ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ | ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท |
มาตรา 125 ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี | มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท |
มาตรา 126 ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ | ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ |
มาตรา 127 ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106 หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย | ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท |
มาตรา 127 ทวิ ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา 105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง | ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ |
มาตรา 128 ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา หรือมาตรา 123 ทวิ | มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท |
มาตรา 129 ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้วก็ดี | มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท |
” ศึกษาเรื่องภาษีอากรเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร “