หลักการบัญชีเบื้องต้น 7 บัญชีหมายถึง คืออะไร

หลักการบัญชีเบื้องต้น
Click to rate this post!
[Total: 275 Average: 5]

หลักการบัญชีเบื้องต้น

การบัญชี และการจัดทำบัญชี

บ่อยครั้งเราจะพบว่าภาษาที่ใช้ในธุรกิจส่วนหนึ่งมาจากบัญชี เช่น ทรัพย์สิน หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร หรือขาดทุน เป็นต้น ในแต่ละวันที่มีการดำเนินธุรกิจจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีภาษาบัญชีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นสิ่งแรกเริ่มที่เราควรจะให้ความรู้ความเข้าใจกับบัญชีก็คือ ความหมายของการบัญชี

หลักการบัญชีเบื้องต้น
หลักการบัญชีเบื้องต้น

การบัญชี (Accounting)

หมายถึง การนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมาย อย่างมีหลักเกณฑ์ การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ สรุปความหมายของการบัญชีได้ดังนี้

  1. การจดบันทึกรายการค้าทางการเงิน
  2. การจัดหมวดหมู่แยกประเภทของเหตุการค้า
  3. การสรุปผลและรายงานในการจัดทำข้อมูลทางบัญชี
  4. การวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลทางบัญชี
  5. การเก็บรวบรวมข้อมูลทางบัญชีให้กับผู้เกี่ยวข้อง

การบัญชี (Accounting) นอกจากความหมายที่ว่าเป็นการนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมายอย่างมีหลักเกณฑ์ การรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว งานบัญชียังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการให้ผลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยมากแล้วการจัดการงานด้นบัญชีมักจะประกอบไปด้วย

  1. การวางระบบบัญชี
  2. การวัดผลการดำเนินงาน
  3. การตรวจสอบข้อมูล
  4. การจัดทำรายงาน
  5. การวางระบบและประเมินผลการควบคุมภายใน
  6. การวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลทางบัญชี
  7. การจัดวิธีการบันทึกรายการพิเศษต่างๆ
  8. การจัดทำรายงานพิเศษต่างๆ

งานที่เกี่ยวกับบัญชี

ในการจดบันทีกรายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นหมวดหมู่โดยการแยกประเภทของรายการค้าที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ กระบวนการบัญชีได้แยกงานที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของฝ่ายบัญชีออกเป็น 4 ประเภทคืองานที่เกี่ยวกับบัญชี

  1. การบัญชีสาธารณะ (Public Accounting Profession)

นักบัญชีมีหน้าที่จัดทำบัญชีสาธารณะก็คือ นักบัญชีอิสระที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานประจำของกิจการซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้แก่ สำนักงานบัญชีที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ธุรกิจที่ไม่ได้จัดทำบัญชีด้วยตัวเอง แต่ได้ว่าจ้างให้สำนักงานบัญชีตัวแทนเป็นผู้จัดการให้ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบัญชีได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) ได้รับอนุญาตที่ขึ้นตรงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะทำหน้าที่ให้การตรวจสอบและให้ความเห็นจากงบการเงินและรายงานของกิจการในแต่ละปีที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นอกจากนี้แล้วยังมีงานด้านการตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) ที่ขึ้นตรงกับกรมสรรพากร มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและรายงานการสอบบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน สำนักงานบัญชีบางแห่งก็มีการรับเป็นที่ปรึกษางานด้านบัญชีและภาษีอากร

  1. การบัญชีส่วนบุคคล (Private Accounting) นักบัญชีในส่วนของการบัญชีส่วนบุคคลนั้นจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจการที่มีหน้าที่เป็นพนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชี ซึ่งภายในฝ่ายหรือแผนกบัญชีของแต่ละธุรกิจอาจจะประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการสมุห์บัญชี หัวหน้า และพนักงานบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี ซึ่งจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีก็คือ ผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบสูงสุดในฝ่ายบัญชี ทำหน้าที่ดูแลงานด้านบัญชีให้สำเร็จลุล่วง ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่โดยทั่วไปแล้วมักจะแยกงานเกี่ยวกับบัญชีไว้ดังนี้
  2. บัญชีการเงิน (Financial Accounting)
  3. การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)
  4. การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting)
  5. การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)
  6. การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
  7. การบัญชีบริหาร (Management Accounting)
  8. การบัญชีรัฐบาล (Governmental Accounting) ในส่วนนี้นักบัญชีจะเป็นข้าราชการที่อยู่ในส่วนของหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ซึ่งในการจัดทำบัญชีจะต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบ วิธี และนโยบายของรัฐบาล โดยจะมีหน่วยงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการจัดทำบัญชีในภาครัฐบาลด้วยกันเอง
  9. การบัญชีเพื่อการศึกษา (Accounting Education) นักบัญชีในส่วนนี้ก็คือผู้ที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในด้านบัญชี ไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับงานบัญชี นอกจากนี้ยังช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ หรือตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอีกด้วย

ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชี(Accounting)กับการจัดทำบัญชี(Bookkeeping)

เมื่อได้ทราบถึงความหมายของการบัญชีว่าเป็นการนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึกจัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมายอย่างมีหลักเกณฑ์ การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการแล้ว มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าระหว่างคำว่าการบัญชีกับการจัดทำบัญชีแตกต่างกันอย่างไร โดยมากแล้วมักจะมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนในความหมายเกี่ยวกับการบัญชีและการจัดทำบัญชี

ข้อแตกต่าง

การจัดทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึงการจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับรายรับรายจ่าย หรือเหตุการณ์ค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายการทางการเงิน การจัดทำบัญชีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี สามารถแสดงผลการดำเนินงาน และแสดงฐานะทางการเงินในระยะหนึ่งได้

ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย

Leave a Comment

Scroll to Top