ปกรายงาน

หน้าปกรายงาน รวมตัวอย่างให้โหลดวิธีทำส่วนประกอบมหาลัย 25 ใบ?

Click to rate this post!
[Total: 227 Average: 5]

ปกรายงาน

การทำรายงาน
ตัวอย่างหน้าปกรายงานภาษาอังกฤษ

การทำรายงาน คือ การทำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า มาเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาของผู้เขียนเอง แล้วนำเสนอรายงานตามรูปแบบการเขียนรายงานให้ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด การจัดทำ อาจทำแบบเป็นกลุ่มหรือคนเดียวได้ โดยอาจจะมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้จัดทำรายงานประกอบด้วยก็ได้

รายงานประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1.ส่วนต้น 2.ส่วนกลาง 3.ส่วนท้าย

1.ส่วนต้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้าปกใน
  3. คำนำ คือส่วนที่อยู่ถัดจากปกใน มักจะบ่งบอกหรือเกริ่นนำ เช่น
    • การทำครั้งนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
    • มีแรงบันดาลใจอย่างไรที่ให้งานเล่มนี้น่าสนใจหรือใครมอบหมายให้ทำ
    • มีอุปสรรคแบะปัญหาใรการค้นคว้าอย่างไร
    • มีประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างไร
    • มีใครให้ความช่วยเหลือในการทำงานอย่างไรบ้าง ให้กล่าวทิ้งท้ายขอบคุณ
  4. สารบัญ คือสิ่งที่บอกข้อมุลต่างๆ ภายในเล่นนี้ว่า อยู่หน้าไหนบ้าง สิ่งที่ผู้อ่านสนใจควรจะเริ่มอาจจากหน้าไหน หรือการบอกถึงส่วนอ้างอิง หรือส่วนขยายความของ งานเล่นนี้ สารบัญประกอบไปด้วย
    • เนื้อหาหน้าปก (หน้าปก,หน้าปกใน)
    • รายงาน
    • เรื่องที่จัดทำ
    • จัดทำโดย
    • เสนอใคร
    • ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
    • ภาคเรียนที่เท่าไร
    • โรงเรียนหรือสถานที่นำส่ง

2.ส่วนกลาง หน้าปก ประกอบไปด้วย

  • เนื้อเรื่อง
  • บทนำ บอกความเป็นมาและความสำคัญ
  • วัตถุประสงค์ของการทำ
  • สมมติฐานของการศึกษาและค้นคว้า

3.ส่วนท้าย หน้าปก ประกอบไปด้วย

  • ภาคผนวก
  • อ้างอิง เช่น ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น
  • รองปกหลัง
  • หน้าปกหลัง

ส่วนประกอบรายงาน

ปกรายงานวิชาการ

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง

วิธีทำ 5 ขั้นตอน

การเขียนรายงาน คือ การเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดหัวข้อเรื่อง

การกำหนดหัวข้อ มีความสำคัญอย่างมาก ต่อความสำเร็จของการเขียน ควรเลือกดังนี้

  1. หัวข้อที่ น่าสนใจ และมีความรู้ความสามารถในการหาแหล่งข้อมูล
  2. ควรมีความ เชี่ยวชาญ และ ถนัด
  3. เป็นเรื่องที่ให้ สาระความรู้ เหมาะกับระดับความรู้ของผู้ทำ

2. กำหนดขอบเขตของเรื่อง

ในการทำรายนั้นเมื่อเลือกเรื่องได้แล้วขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นขอบเขตและโครงร่างของเรื่อง ได้อย่างชัดเจน ชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่องไม่ควรกว้างเกินไปเพราะหากกว้างเกินไปแล้วจะทำให้เขียนเนื้อหาได้เพียงผิวเผิน ประเด็นที่นำเสนอจะกระจัดกระจาย ขาดความน่าสนใจในขณะเดียวถ้าหัวข้อแคบเกินไปอาจทำให้มีปัญหาเพราะหาข้อมูลได้ไม่เพียงพอดังนั้นการจำกัดขอบเขตของเรื่องจึงมีความสำคัญซึ่งอาจทำได้ ดังนี้

  1. จำกัดโดยแขนงวิชา คือ ทำขอบเขตของเรื่องให้แคบเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของแขนงวิชานั้นๆเช่น “การพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย” เปลี่ยนเป็น “การพัฒนาด้วยการท่องเที่ยวในประเทศไทย”
  2. จำกัดโดยบุคคล คือ ทำขอบเขตโดยยึดบุคคลเป็นหลัก เช่น “สภาพการทำงานของสตรีและเด็ก”
  3. จำกัดโดยสถานที่ คือ ทำขอบเขตโดยยึดสถานที่เป็นหลัก เช่น “สภาพการทำงานของนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร” เป็นต้น

3. แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ ผู้เขียนต้องสำรวจแหล่งความรู้ที่จะใช้ศึกษาค้นคว้า เช่น จากหนังสือ การสัมภาษณ์ผู้มีความรู้ การทำแบบสอบถาม เช่น

  1. มีการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นเฉพาะสำคัญ
  2. ควรบอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน ( อาจจดบันทึกจากประสบการตรงก็ได้ )
  3. ควรจดบันทึกให้ถูกต้องโดยใช้สำนวนภาษาของตนเอง
  4. อาจใช้บัตรบันทึกหรือบรรณนิทัศน์ที่ขนาดที่แตกเท่าๆ กัน

4. วางโครงเรื่อง

การวางโครงเรื่องนั้นนับว่ามีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะการวางโครงเรื่อง จะช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียนทำให้งานมีเอกภาพไม่ออกนอกเรื่องและทำให้ผู้เขียนไม่ต้องพะวงในขณะที่เขียนว่าจะลืมประเด็นนอกจากนี้การวางโครงเรื่อง ยังช่วยให้งานเขียนมีสัมพันธภาพอีกด้วย

รายงาน

การวางโครงเรื่องนี้สามารถทำได้ทั้งก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลและหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลการวางโครงเรื่องก่อนแล้วจึงเก็บข้อมูลนั้น จะเป็นแนวทางขณะเก็บรวบรวมข้อมูลให้ว่าเรื่องใดมีความเกี่ยวข้อง เรื่องใดไม่เกี่ยวข้องข้อมูลตอนใดที่ควรเก็บและไม่ควรเก็บ ส่วนการวางโครงเรื่องหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นมีผลดีคือการที่ได้เห็นข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะวางโครงเรื่องจะช่วยให้เห็นว่าควรจะวางโครงเรื่องในแนวใดจึงจะเอื้อต่อข้อมูลที่มีอยู่ประเด็นใดควรกล่าวถึง ประเด็นใดไม่ควรกล่าวถึงวิธีนี้จะช่วยให้การลำดับความมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดี

 5.ลงมือเขียนรายละเอียดและตรวจทานเนื้อหา     

  1. เขียนตามโครงเรื่อง และข้อมูลที่ค้นคว้า
  2. คำนึงถึงความถูกต้องในเรื่องภาษา ได้แก่ตัวสะกด สำนวนภาษา การใช้คำและประโยค แหล่งอ้างอิงข้อมูลและรูปแบบของงาน
  3. มีความชัดเจนในเรื่องสำนวนภาษาและการอธิบายเรื่องราวต่างๆ
  4. มีความต่อเนื่อง หรือสัมพันธภาพในด้านเนื้อหาและการเรียงลำดับตามรูปแบบของงาน
  5. มีสัมพันธภาพของเนื้อหาขอบเขต  ขั้นตอน  สาระการอ้างอิง และประโยชน์ที่ได้รับ

เนื้อหาที่ดีประกอบไปด้วย

ลักษณะของรายงานที่ดี
  1. ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  2. ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย ย่อหน้า
  3. รูปแบบอักษรที่พิมพ์เนื้อหาหรือเนื้อเรื่องใช้ ควรใช้แบบอักษรเดียวกันทั้งฉบับ
  4. สีอักษรที่ใช้พิมพ์ควรเป็นสีดำ
  5. ควรมีรูปภาพประกอบเนื้อหาบางส่วน หรือเท่าทีจำเป็น
  6. ใส่เลขกำกับหน้าหรือรูปภาพ เพื่อจัดทำสารบัญ

รูปแบบรายงาน

คำนำรายงาน

การเขียนคำนำ ในส่วนของย่อหน้าแรก เราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่อง หัวข้อที่น่าสนใจ โดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจหรือพูดที่มาที่ไปก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อ  ต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้างหรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์กับใครที่จะได้มาอ่าน บทความนี้ และอาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้ดีขึ้น

ลักษณะการเขียนคำนำรายงานที่ดี

  • เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
  • เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
  • เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
  • เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
  • เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
  • เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
  • เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
  • เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
  • การอ้างอิงเนื้อเรื่อง

การเขียนเชิงวิชาการ

ความหมายของงานเชิงวิชาการ รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง เอกสารซึ่งเป็นผลจากการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางวิชาการ โดยเรียบเรียงจากการเก็บข้อมูล การค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศและประสบการณ์ต่าง ๆ มาเรียบเรียงอย่างมีแบบแผนที่สมบูรณ์และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้ งานเขียนทางวิชาการมักจะเขียนอยู่ในรูปร้อยแก้วที่เป็นความเรียงในลักษณะการบรรยายหรืออธิบายความ มีการใช้ภาพ แผนภูมิ กราฟ ตารางและตัวเลขสถิติต่าง ๆ มาประกอบเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหา ที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น

การทำรายงานเชิงวิชาการ

วัตถุประสงค์ และความสำคัญของทางวิชาการ

ความสำคัญต่อผู้ศึกษา ดังต่อไปนี้

  • ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องที่ สนใจได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง
  • ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลต่างๆ และเกิดทักษะรู้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลนั้นๆ ได้อย่างถูกวิธี
  • ช่วยฝึกทักษะด้านการอ่าน โดยอ่านได้เร็วอ่านแล้วสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ สามารถสรุปได้ วิเคราะห์ได้ และจดบันทึกได้
  • ช่วยฝึกทักษะทางด้านการเขียน สามารถสื่อความหมายโดยการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพรู้ขั้นตอน รู้รูปแบบของการเขียนแล้วนำเอาหลักการและแบบแผนในการเขียนไปปรับใช้ในการเขียนงานทางวิชาการอื่นๆ ได้ เช่น ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตำราเป็นต้น
  • ช่วยฝึกทักษะทางด้านการคิด คือสามารถคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้ โดยใช้วิจารณญาณของตนเองแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลโดยมีหลักฐานอ้างอิงแล้วรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลความคิดที่ได้ให้เป็นเรื่องราวได้อย่างมีขั้นตอน มีระบบ เป็นระเบียบ
  • สามารถเขียนประกอบการเรียนได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนและเป็นพื้นฐานใน การศึกษาขั้นสูงต่อไป
  • ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของแต่ละวิชา

ตัวอย่างการเขียนราย งานเชิงวิชาการ

การเขียนสารบัญ

วิธีการเขียน ให้เขียนหรือพิมพ์คาว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลังคำนำจัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์งานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่หรือ หัวข้อย่อยเรียงตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ

ตัวอย่าง สารบัญ
ตัวอย่าง สารบัญ

การเขียนราย งาน กศน.

ตัวอย่างของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตจตุจักร ส่วนประกอบ ดังนี้

  1. หน้าปก
  2. คำนำ
  3. สารบัญ
  4. เนื้อหาสาระ 15-20 หน้า กระดาษ
  5. สรุป 1หน้ากระดาษง
  6. เอกสาร/แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนน

  1. มีส่วนประกอบครบถ้วน  1 คะแนน
  2. สะอาด และ เป็นระเบียบเรียบร้อย  2 คะแนน
  3. ข้อมูลเนื้อหาสาระตรงตามเรื่อง มีรูปภาพประกอบหรือตารางตามความเหมาะสม 5 คะแนน
  4. เขียนถูกต้องตามอักขระ  2 คะแนน

ตัวอย่าง โหลดฟรี

ทำ ปกรายงาน

ทำ ปก
ทำ ปก

หน้าปกรายงานภาษาอังกฤษ

ดาวโหลด หน้าปกฟรี

 word

ตัวอย่างหน้า

 pdf

 ภาษาไทย

วิทยาศาสตร์

ดาวน์โหลด.pdf สังคมศึกษา

 คณิตศาสตร์

ตัวอย่าง ปก รายงาน