สิ่งแวดล้อมทางการตลาด 4 สภาพปัจจัย ภายนอก ใน

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด
Click to rate this post!
[Total: 3198 Average: 5]

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด (The marketing environment) หมายถึง บุคคลหรือพลังผลักดันที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบริหารการตลาด ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้หรือควบคุมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นบริษัทที่จะสามารถประสบความสำเร็จทางการแข่งขันได้นั้น จะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ และคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ 
  1. สิ่งแวดล้อมภายนอก (external environment)
  2. สิ่งแวดล้อมภายใน (internal environment)

สิ่งแวดล้อมภายนอก

สิ่งแวดล้อมภายนอก (external environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์กร และองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
สิ่งแวดล้อมระดับจุลภาค (microenvironment)
เป็นพลังผลักดันที่อยู่ใกล้บริษัท และส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่จะกระทบเฉพาะกิจการแต่ละแห่งเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

1. ผู้ป้อนปัจจัยการผลิต (suppliers) คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นแก่บริษัท ในการนำไปผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ โดยนักการตลาดจะต้องคอยตรวจสอบแนวโน้มราคาของปัจจัยการผลิตอยู่เสมอ เพราะถ้าหากราคาของปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลต่อราคาขายของสินค้าให้สูงตามไปด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้ยอดขายลดลงได้

ผู้ป้อนปัจจัยการผลิต (suppliers)
ผู้ป้อนปัจจัยการผลิต (suppliers)

2. คนกลางทางการตลาด (marketing intermediaries) หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ช่วยในการสนับสนุน การขาย และการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย

บริษัทกระจายสินค้า (physical-distribution-firms)
บริษัทกระจายสินค้า (physical-distribution-firms)

2.1 ผู้ขายต่อ (resellers) หมายถึง บริษัทในช่องทางการกระจายสินค้าที่ช่วยในการหาลูกค้าและขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง (wholesalers) และผู้ค้าปลีก (retailers)
2.2 บริษัทกระจายสินค้า (physical distribution firms) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริษัทในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง ประกอบด้วยคลังสินค้า และบริษัทขนส่งสินค้า โดยในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้จะต้องคำนึงถึง
– ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าและการขนส่ง (cost)
– รูปแบบของการขนส่ง (delivery)
– ความรวดเร็ว (speed)
– ความปลอดภัย (safety)
2.3 หน่วยงานให้บริการทางการตลาด (marketing services agencies) หมายถึง บริษัทหรือหน่วยงานที่ให้บริการทางการตลาดแก่บริษัท เช่น บริษัทรับทำวิจัย บริษัทตัวแทนโฆษณา บริษัทผลิตสื่อ หรือบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาด เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้ ได้แก่
– ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
– คุณภาพ (quality)
การให้บริการ (service)
– ราคา (price)
2.4 คนกลางทางการเงิน (financial intermediaries) หมายถึง บริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยทำธุรกรรมทางการเงิน หรือประกันความเสี่ยงในการซื้อขายสินค้า เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนบริษัทประกัน เป็นต้น

 

3. ลูกค้า (customers) หมายถึง ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท โดยนักการตลาดจะต้องทำการศึกษาตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตลาดแต่ละประเภทก็จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ตลาดลูกค้า (Customer market) สามารถแบ่งออก เป็น 5 ประเภท คือ
3.1 ตลาดผู้บริโภค (consumer markets) หมายถึง บุคคลหรือครัวเรือนที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อไปบริโภคในครอบครัว เป็นต้น
3.2 ตลาดธุรกิจ (business markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปผลิตต่อ หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อทำข้าวผัดขายที่ตลาดนัดเป็นต้น
3.3 ตลาดผู้ขายต่อ (reseller markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อขายต่อ ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อนำไปขายต่อที่ร้านค้าหน้าบ้าน เป็นต้น
3.4 ตลาดรัฐบาล (government markets) หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปให้บริการแก่สาธารณชน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสั่งซื้อข้าวสารจำนวน 20 กระสอบ เพื่อนำไปบริจาคแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ เป็นต้น

ลูกค้า (customers)
ลูกค้า (customers)

4. กลุ่มสาธารณชน (publics) หมายถึง กลุ่มที่มีความสนใจหรือมีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงาน และการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น สื่อมวลชน รัฐบาล ชุมชนในท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

กลุ่มสาธารณชน (publics)
กลุ่มสาธารณชน (publics)

5. คู่แข่งขัน (competitors) ตามหลักแนวความคิดทางการตลาด (The marketing concept) ที่ว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องทำมากกว่าการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมาย แต่ต้องสามารถวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในจิตใจของลูกค้าได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาถึงคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และมีขนาดที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ประเภทของคู่แข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
5.1 คู่แข่งขันทางตรง เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางตรงของเนสกาแฟคือ มอคโคนา เขาช่อง
5.2 คู่แข่งขันทางอ้อม เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางอ้อมของเนสกาแฟ คือ เครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชา น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น
5.3 ทุกบริษัทเป็นคู่แข่งขัน เพราะถือว่ามาแย่งอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่มีอยู่จำกัด

คู่แข่งขัน (competitors)
คู่แข่งขัน (competitors)

สิ่งแวดล้อมภายใน

สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในองค์กร และองค์กรสามารถทำการออกแบบหรือควบคุมได้ ประกอบด้วย 
บริษัท (The company) หมายถึง ฝ่ายต่างๆภายในบริษัท เนื่องจากการทำงานของฝ่ายการตลาดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้น ฝ่ายการตลาดไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ แต่ต้องอาศัย การทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆภายในองค์กรดังนี้ 

  1. ผู้บริหารระดับสูง (Top management)
  2. ฝ่ายการเงิน (Financing) 
  3. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (Research and development) 
  4. ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing)
  5. ฝ่ายผลิต (Manufacturing)
  6. ฝ่ายบัญชี (Accounting) 
สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal-environment)
สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal-environment)

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix : 4 P’s
หมายถึง กลุ่มของเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของตลาดเป้าหมาย ประกอบด้วย

  1. Product (ผลิตภัณฑ์) 
  2. Price (ราคา)
  3. Place (สถานที่)
  4. Promotion (การส่งเสริมการตลาด )

สิ่งแวดภายในที่เป็นปัจจัยอื่น สิ่งแวดล้อมประเภทนี้ คือ ปัจจัยภายในของบริษัทตัวอื่นๆ ที่กิจการสามารถคบคุมเปลี่ยนเแปลง ให้เป็นไปตามความต้องการได้เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่กิจการ ถือเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุม (Controllable Factors) ได้อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย

  • สถานะทางการเงิน หรือ เงินทุน (Financial Status)
  • ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย (R&D Capability)
  • ทำเลที่ตั้ง (Company Location)
  • คุณภาพของบุคลากร (Human Resources)
  • ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กร (Company Image)
  • ความสามารถและประสบการณ์ในการผลิต (Production Skill and Experience)

คำค้น : การ ตลาด เพื่อ สิ่งแวดล้อม การ ตลาด เพื่อ สังคม และ สิ่งแวดล้อม การ วิเคราะห์ และ swot คือ การ วิเคราะห์ วิเคราะห์ แนว ความ คิด และ ระบบ การ ตลาด และ หมาย ถึง

 

ที่มา:sites.google.com/site/groupmarketingsites

Gantt Chart

Gantt Chart คือ ตัวอย่าง 7 วิธีทำ ดีเสีย โครงการ

gantt chart วิธีทํา Gantt Chart ตัวอย่าง gantt chart excel วิธีทํา การเขียน gantt chart โครงการ gantt chart ตัวอย่างโครงการ gantt chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร gantt chart ข้อดี ข้อเสีย Gantt chart
เลิกจ้างลาออก

หนังสือเลิกจ้าง 3 พ้นสภาพ เตือนพนักงาน บกพร่อง

หนังสือเลิกจ้าง หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่ การเลิกจ้าง คือ การเลิกจ้างหรือลาออก ไม่เหมือนกัน ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือองค์กร เงินชดเชยแรงงานถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ดาวโหลดหนังสือเลิกจ้าง
สัปรด

สับปะรด 3 ประโยชน์สรรพคุณ รูป น้ำ ช่วยย่อย

สับปะรด ฤดูกาลของสับปะรด แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย ประโยชน์และสรรพคุณ แนะนำสับปะรด 3 สายพันธุ์ พันธุสัปะรดที่ควรรู้จัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่กล่าวมาคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสับ ปะ รด แค่บางส่วน หากจะสรุปสั้นๆ สับ ปะ รด ให้คุณมากกว่าโทษก็คงพูดได้
ลาออก

ใบลาออก ล่าสุด 3 แบบฟอร์ม อสม ฟอร์ม ใบลาบริษัท

ใบลาออก ลาออกโดยไม่เขียนใบลาออก การเขียนจดหมายลาออก สิทธิต่าง ๆ ที่จะได้รับหลังลาออก ใบลาออกภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบลาออก
คำคมชีวิต

คำคมชีวิต สู้ชีวิต คิดบวก 7 สั้นๆ กินใจ พลังชีวิต

คําคมสู้ชีวิต คิดบวก คํา-คม-สั้น-ๆ-กินใจ แคปชั่นพลังชีวิต คําคมสั้นๆ ความหมายดีๆ ชีวิตคิดบวก ยิ้มได้ทุกวัน คําคมสู้ชีวิต ฮาๆ คํา คมชีวิต ต้องสู้ คําคมชีวิต สั้นๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ 7 ประโยชน์ สำคัญ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร สารสนเทศ องค์ประกอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง คือ องค์ประกอบ กระบวนการทำงาน สารสนเทศ ความสำคัญของเทคโนโลยี มีอะไร
เงินปันผล

การจ่าย เงินปันผล 2 หุ้น หลักการ ขั้นตอน

เงินปันผล เรื่องน่ารู้ “เงินปันผล” การลงทุนที่คุ้มค่า สร้างกำไรได้ในอนาคต ความหมายของ “เงินปันผล” ที่มาของ “กำไรสะสม” การจ่ายเงินปันผล คืออะไร หุ้นปันผล ประโยชน์ของการจ่ายหุ้นปันผล ประโยชน์แก่บริษัทที่ถือหุ้น ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล ตัวอย่างประกาศจ่ายเงินปันผลบริษัทจำกัด หลักการบันทึกบัญชี ต้องมีการตั้งสํารองตามกฎหมาย การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม รูปแบบการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรรมสรรพากร ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเข้าถือหุ้น
บทบาทคอมพิวเตอร์

บทบาทคอมพิวเตอร์ 5 อธิบาย ด้าน งานธุรกิจ สื่อสาร

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในชีวิต ประ จํา วัน บทบาทคอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ด้านธุรกิจ บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านราชการ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน 5 ข้อ คอมพิวเตอร์มีบทบาทด้านความบันเทิง

Leave a Comment

Scroll to Top