รับจดทะเบียน

4 รับจดทะเบียนบริษัท เอกสารมีตัวอย่างแบบง่ายๆ?

Click to rate this post!
[Total: 171 Average: 5]

รับจดทะเบียนบริษัท

วิธีจดทะเบียนบริษัท

วิธีจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท มีกี่แบบ

ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท

ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัทสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ( Ordinary partnership )
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ( Limited partnership )
  • บริษัทจำกัด ( Company Limited )
  • บริษัทมหาชนจำกัด ( Public Company Limited )

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
  • จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ

    • หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
    • หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
    • มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
    • ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
      • หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นใน
    • ห้างหุ้นส่วน
      • หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
    • ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
    • ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

3. บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งกัน บริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนถือหุ้น เมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกกับผู้ถือหุ้น ลักษณะของบริษัทจำกัด

ลักษณะของบริษัทจํากัดมีลักษณะที่สําคัญ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

    • มีผู้ลงทุนอย่างน้อย 3 คน
    • แบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน
    • มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า 5 บาท ซึ่งชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น
    • ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
    • ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

4. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  • จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  • ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  • มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  • จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
รับจดทะเบียนบริษัทราคาถูก

รับจดทะเบียนบริษัทราคาถูก

จดทะเบียนบริษัท กี่คน

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  • บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้น
  • บริษัทมหาชนจำกัด จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป

เอกสารจดทะเบียนบริษัท

รายการจดทะเบียนจัดตั้ง

รายการจดทะเบียนจัดตั้ง

บริษัทจำกัด ( Company Limited ) เอกสารการจดทะเบียนบริษัท ดังนี้

  • แบบจองชื่อนิติบุคคล
  • สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  • สําเนาหลักฐานการรับชําระคาหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการจากเจ้าบ้าน,หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์(ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน) หรือสัญญาเช่า (กรณีเช่า) ที่ตั้งสถานประกอบการ
  • ถ้าเป็นสัญญาเช่าต้องเช่าในนาม “บริษัทกับเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเจ้าบ้าน”และ ต้องติดอากรให้เรียบร้อย (พันละ 1 บาท/เดือน/ปี) เช่น เช่าเดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ติดอากร 36 บาท เป็นต้น
  • หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าบ้านของสถานประกอบการ ของผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ประกอบการ
  • หรือเอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ (กรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน) เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน หรือในกรณีให้เช่า ต้องให้เจ้าบ้านหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นผู้ให้เช่ากับบริษัทฯ
  • สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมหรือผู้ให้เช่า
  • ถ่ายรูปแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงานและตัวอาคาร
  • รูปถ่ายห้องทำงาน Office อาจจะมีโต๊ะทำงาน โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซัก 2-3 รูป
  • กรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ถ่ายสำเนาทะเบียนสถานประกอบการ (หน้าแรก+หน้าที่ไม่มีผู้อาศัย) 2 ชุด

หมายเหตุ: เอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นสำเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน เจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด . เอกสารจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจํากัด ดังนี้

  • ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น
  • คำแนะนำในการจองชื่อนิติบุคคล
    – การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
    – แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต
  • กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ที่กิจการจะทำ สถานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้ แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียน

เพิ่มเติม เอกสารที่ใช้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • คำขอ : แบบ หส.1 , หน้าหนังสือรับรอง
  • รายการ : หส.2
  • เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว.
  • เอกสารประกอบ แบบจองชื่อนิติบุคคล,สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน,สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ,หนังสือมอบอำนาจ
  • แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)

บริษัทมหาชนจำกัด ( Public Company Limited ) . เอกสารจดทะเบียนบริษัทมาหาชนจำกัด ดังนี้

คำขอจดทะเบียนให้ใช้แบบพิมพ์ตามที่นายทะเบียนจัดพิมพ์ขึ้นตามที่รัฐมนตรีกำหนด และต้องมีข้อความถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ในแบบพิมพ์ ซึ่งข้อความดังกล่าวต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์เป็นภาษาไทย และหากมีสำเนาเอกสารประกอบการจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกหน้า ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ใช้เอกสารดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (แบบ บมจ. 101)
  • รายการข้อมูลของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ. 005)
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ.006)
  • ข้อบังคับของบริษัท
  • สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
  • หนังสือของสถาบันการเงินแสดงว่าได้รับชำระค่าหุ้นโดยระบุจำนวนเงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น
  • ประเภท และเลขที่บัญชีเงินฝาก
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

แบบคํารับรองการจดทะเบียน

แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด

แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด

แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด รายละเอียดดังนี้

  • ชื่อบริษัท
  • ทะเบียนเลขที่
  • ประกอบคำขอเลขที่ ลงวันที่
  • คำรับรองการขอจะทะเบียน ว่าได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและประพาณิชย์ และรายละเอียด ดังนี้
    • ได้จัดให้มีการประชุมจัดตั้งตามคำขอนี้ ครั้งที่เท่าไร เมื่อวันที่ ณ สถานที่ มีกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เข้าประชุมจำนวนกี่คน และใครเป็นประธานการประชุม
    • ได้มีการบอกกล่าวนัดประชุม ครั้งที่เท่าไร เมื่อวันที่ และลงหนังสือพิมพ์โฆษณาและส่งมอบให้แก้ผู้ถือหุ้นหรือไม่
    • ได้มีการแปลงสภาพกิจการจาก ห้างหุ้นส่วน หรือไม่ หากเปลี่ยนแปลงได้รับความยินยอมจาก เจ้าหนี้หรือไม่
    • มีการรับมอบ สินทรัพย์ บัญชี หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากหุ้นส่วนหรือไม่ และได้รับวันที่ใด
  • มีการรับรองว่าเอกสารหลักฐานนี้ เก็บไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทนี้ และพร้อมส่งมอบให้นายทะเบียนหรือไม่
  • รายมือชื่อกรรมการ และ ตรายางที่ใช้ประทับตรา

แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด

คําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด

ตัวอย่างคําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด

แบบคํารับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน รายละเอียดดังนี้

  • ชื่อห้างหุ้นส่วน
  • ทะเบียนเลขที่
  • ประกอบคำขอเลขที่ ลงวันที่
  • คำรับรองการขอจะทะเบียน ว่าได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและประพาณิชย์ และรายละเอียด ดังนี้
    • ได้จัดทำสัญญา / ข้อตกลง ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่เท่าไร ณ สถานที่ใด
    • ได้จัดให้มีการประชุมและลงมติวันที่เท่าไร และมีผลบังคับใช้เมื่อได้ ณ สถานที่ใด
    • ได้มีคำพิพากษา / คำสั่งศาล ตามคดีหมายเลขใด และลงวันที่เท่าไร
    • ได้มีการลงพิมพ์โฆษณา เรื่องการควบห้างในหนังสือพิมพ์หรือไม่ และฉบับที่เท่าใด
    • ได้มีการทำหนังสือบิกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ เรื่องการควบห้าง หรือไม่ และลงวันที่เท่าใด
  • มีการรับรองว่าเอกสารหลักฐานนี้ เก็บไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทนี้ และพร้อมส่งมอบให้นายทะเบียนหรือไม่
  • รายมือชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการและ ตรายางที่ใช้ประทับตรา

การจดทะเบียนนิติบุคคลต้องทำอย่างไร

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

วิธีการจดทะเบียนบริษัท และ ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทจํากัด

  1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน
  2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
  3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น
  4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท
  5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ
  6. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท
  7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

วิธีจดทะเบียนบริษัท แต่ละที่อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า คุณใช้บริการในการ จดทะเบียนนิติบุคคล กับใคร บางที่อาจมีขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทจำกัด หลักเกณฑ์การทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับข้อตกลงก่อนการใช้บริการ

ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท

แบบจดทะเบียนบริษัท

แบบจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัทค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท
  2. ค่าบริการเมื่อจ้างบุคคลอื่นใน การจดทะเบียนบริษัท
  3. ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัท

1.ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท ตามกฎกระทรวง อัตราค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

  • การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน 1,000 บาท –
  • การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัทจํากัด 500 บาท
  • การจดทะเบียนบริษัทจํากัด 5,000 บาท
  • การจดทะเบียนควบ
  • ห้างหุ้นส่วน 1,000 บาท
  • บริษัทจํากัด 5,๐๐๐ บาท
  • การจดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจํากัดเป็นบริษัทจํากัด 5,000 บา
  • การจดทะเบียนดังต่อไปนี้ รายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ได้แก่
    • การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือเปลี่ยนแปลงการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
    • การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ก่อนหรือหลังจดทะเบียนบริษัทจํากัด
    • การจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจํากัด
    • การจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการ
    • การจดทะเบียนเพิ่มทุน หรือลดทุนบริษัทจํากัด
    • การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจํากัด หรือการจดทะเบียนเรื่องอื่น ๆ ครั้งละ 5๐๐ บาท
  • ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัด ฉบับละ 100 บาท
  • การตรวจเอกสาร
    • คําขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัด 50 บาท
    • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ของบริษัทจํากัด 50 บาท
    • การขอสําเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคํารับรอง รวมทั้งสําเนาเอกสารพร้อมทั้งคํารับรองที่ออกตาม หมายเรียกของศาล หน้าละ 50 บาท
  • การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน รวมทั้งหนังสือรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล 40 บาท
  • การถ่ายข้อมูลที่ได้จัดทำจากระบบคอมพิวเตอร์ ค่าบริการ 800 บาท
  • ค่าบันทึกข้อมูลซึ่งมีความยาวของระเบียน ไม่เกินสองร้อยอักขระ ระเบียนละ 0.๓๐ บาท

2.ค่าบริการเมื่อจ้างบุคคลอื่นใน การจดทะเบียนบริษัท

การจ้างให้บุคคลอื่นจดทะเบียนบริษัทราคาให้จำเป็นต้องลงรายมือชื่อได้ไม่ใช้ว่าจะให้ใครจดก็ได้ตัวอย่างที่สามารถจ้างให้จดจดทะเบียนบริษัทได้ส่วนใหญ่ เช่น สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ หรือจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลง และสิ่งที่ได้รับ กับผู้ว่าจ้าง เรทราคาก็ตั้งแต่ราคา 1000 -15,000 บาท บางครั้งอาจมีการเรียกเก็บค่าบริการ อื่น ๆเพิ่มเติม เช่น ขอคัดหนังสือรับรอง ขอบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือการขอ สำเนาต่าง ๆ ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่เราว่าจ้างจะมีการคิดราคาแบบไหน เราก็ควรสอบถามให้แน่ชัดก่อน เผื่อทำความเข้าใจกันก่อนใช้บริการ หากมีการเรียกเก็บหลังตกลงใช้บริการกันแล้ว จะได้เข้าใจตรงกัน

3.ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท

  1. ทุนที่ใช้จดทะเบียนที่ใช้จด
  2. ค่าเช่าสำนักงานเพื่อดำเนินกิจการ
  3. ค่าทำบัญชี และภาษี ไม่ว่าจะเป็นการคิดรายเดือน หรือ แบบเหมา ส่วนใหญ่จะคิดตามปริมาณเอกสาร หรือรายได้ของกิจการ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละสำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีนั้น ๆ โดยปกติกแล้ว
  4. ค่าสอบบัญชี อาจแบ่งเก็บ เป็นงวด หรือ ทั้งปี ก็ได้ ราคาก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้ หรือ ความเสี่ยงในการเซ็นรับรอง ของผู้สอบแต่ละคนจะเรียกเก็บ หากเป็นุรกิจขนาดเล็ก อาจเริ่มต้นอยู่ที่หลัก 1,000 บาท จนไปถึง หลัก 10,000 บาท ขนาดกลางส่วนมากจะเริ่มต้นที่ หลัก 10,000 ขึ้นไป จนไปถึง หลัก 100,000 บาท
  5. ค่าจ้างเงินเดือนพนักงานแต่ละเดือน และถ้าขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้พนักงานจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมให้พนักงานด้วย ตัวอย่างค่าจ้างพนักงานมารับโทรศัพท์ ทำงานเอกสาร เงินเดือนประมาณเดือนละ 12,000 -15,000 บาทต่อเดือน
  6. ค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่ต้องใช้ในสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา หมึกพิมพ์ และอื่นๆ

ทั้งนี้เป็นการยกตัวอย่างค่าใช้ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัทที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัทอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของกิจการที่ท่านต้องการประกอบอาชีพ เช่น หากเป็นการจดทบริษัททัวร์ ก็จะมีค่าใช่จ่ายในการขอเป็นบริษัทนำเที่ยว หรือ จะเป็นกิจการ นำเข้า-ส่งออก ที่ต้องจ่ายให้กับ กรมศุลกากร เป็นต้น

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล คือ เอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคล เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ กับบุคคลภายนอก

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอที่ไหน

ปัจจุบันการของหนังสือรับหรือ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สามารถรับได้ตามช่องทางนี้คือ

  1. ขอตัวตนเอง (walk in)
  2. ขอผ่านทาง e-Service สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ dbd.go.th ในหัวข้อ “บริการออนไลน์ / หนังสือรับรองคัดสำเนา ”และสามารถรับได้ 3 ช่องทาง
  3. ขอผ่านทาง e-Certificate

1.ขอตัวตนเอง (walk in) ไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานใดๆ เพียงแค่กรอกแบบคำขอรับบริการข้อมูลุรกิต (บธ.1) ที่กรมพัฒฯ จัดเตรียมไว้ ณ จุดบริการ เช่น

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง 11000
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-6 ค้นหาได้ที่ dbd.go.th เลือก “ติดต่อ/สำนักงานพัฒนาธุนกิจการค้า”
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท  รายการละ 40 บาท (สามาถเลือกรายการได้ไม่มีบริการเพิ่มเติม) ชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน  สถานที่ไปรับ

2.ขอผ่านทาง e-Service สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th ในหัวข้อ “บริการออนไลน์ / หนังสือรับรองคัดสำเนา ”และสามารถรับได้ 3 ช่องทาง คือ

  1. รับด้วยตนเอง (Walk in)
  2. ไปรษณีย์ด่วน (EMS)
  3. พนักงานส่งเอกสาร

ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท  รายการละ 40 บาท (สามาถเลือกรายการได้ไม่มีบริการเพิ่มเติม) ชำระเงินโดย Internet Banking / ตู้ ATM / เค้าเตอร์ธนาคาร

3.ขอผ่านทาง e-Certificate ปัจจุบันสามารถ ขอผ่าน ได้ 9 ธนาคาร โดยการกรอกแบบฟอร์มที่ธนาคารกำหนดและไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐาน  คือ

  1. ธนาคาร กรุงไทย
  2. ธนาคาร บัวหลวง
  3. ธนาคาร ธนาชาต
  4. ธนาคาร กสิกรไทย
  5. ธนาคาร ไทยพาณิชย์
  6. ธนาคาร ออมสิน
  7. ธนาคาร เกียรนาคิน
  8. ธนาคาร กรุงศรี
  9. ธนาคาร มิซูโฮ

ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท ฉบับละ 200 บาท (จำนวน 5 รายการ) ค่าบริการฉบับละ 150 บาท ถือเป็นค่าบริการของธนาคาร

หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุดังนี้

  1. หนังสือรับรอง *รายการจดทะเบียนนิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัด* ปกติจะเป็นการรับรอง รายการจดทะเบียนปัจจุบัน ณ วัน เดือน ปี ที่นายทะเบียน ออกหนังสือรับรองให้ *จะไม่มีอายุของหนังสือรับรอง* เพราะถ้ารายการที่จดทะเบียนไว้ ตามหนังสือรับรองที่ออกให้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ใช้ยืนยันได้ตลอดไป
  2. การกำหนดอายุของหนังสือรับรอง ต้องเป็นฉบับที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 1 เดือนบ้าง ไม่เกิน 3 เดือนบ้าง หรือไม่เกิน 6 เดือน บ้างนั้น เป็นการกำหนดอายุของหนังสือรับรอง **จากบุคคล หรือองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้กำหนด มิใช่ นายทะเบียน ผู้ออกหนังสือรับรองเป็นผู้กำหนด **แต่ก็มิได้หมายความว่า **หนังสือรับรอง* ที่กำหนดไว้ตามอายุของหน่วยงานนั้น ๆ *รายการจดทะเบียนที่ปรากฏในหนังสือรับรองฉบับนั้น ๆ จะเป็นรายการจดทะเบียนปัจจุบันเสมอไป* เพราะรายการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ข้อที่
  3. ดังนั้น *รายการจดทะเบียน* ที่นายทะเบียน ออกหนังสือรับรอง ให้ ณ วัน เดือน ปี ที่ออกให้นั้น **ยังเป็นรายการจดทะเบียนปัจจุบันอยู่หรือไม่ **จึงต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงโดยผู้ใช้หนังสือรับรองฉบับนั้น ๆ **มิใช่อายุของหนังสือรับรอง ที่องค์กรต่าง ๆ ทางสังคมเรา เป็นผู้กำหนดขึ้น.

สถานที่จดทะเบียนบริษัท

ปัจจุบันจดทะเบียนนิติบุคคลที่ไหนก็สะดวกมากขึ้น ท่านสามารถยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรองเป็นที่เรียบร้อย ก็แสดงว่าบริษัทของเราได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ โดยสมบูรณ์ทุกประการ ทั้งนี้ยังสามารถขอแบบจดทะเบียนบริษัท หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้อีกด้วย หรือท่านจะจ้างบุคคลภายนอกที่ รับจดทะเบียนบริษัท ก็ได้

ทรัพย์บัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจดทะเบียน

แบบคํารับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

คําขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

ตัวอย่างคําขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

ตัวอย่าง ภาษาอังกฤษ
แบบคําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด Form for requesting the company limited’s registration
แบบจองชื่อนิติบุคคล Form for reserving juristic person’s name
แบบคําขอหนังสือรับรอง Form for requesting the certificate
หนังสือยินยอมการใช้สถานที่ Approval letter of the use of place
แบบรับรองลายมือชื่อ Form for certifying the signature
รายงานการประชุม Meeting report
สําเนาทะเบียนบ้าน Copy of registered address
การลงประกาศโฆษณาใน หนังสือพิมพ์ Advertising on the newspaper
แบบรายการจดทะเบียนเลิก Form for the liquidation
หนังสือรับรอง Certificate
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน Partnership Registration
ห้างหุ้นส่วนสามัญ Ordinary Partnership
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล Juristic Ordinary Partnership
ห้างหุ้นส่วนจํากัด Limited partnership
หุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด Limited partnership
หุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด Partner without limit
นิติบุคคล Juristic person
บุคคลธรรมดา Ordinary person
หุ้นส่วนผู้จัดการ Managing partner
ใบจดทะเบียนบริษัท Company registration

คำถามส่วนใหญ่ 

  • จดทะเบียนภาษาอังกฤษ สามารถทำได้หรือไม่
    • ตอบ สามารถทำได้ เพียงท่านเตรียมเอกสารทีต้องใช้ เป็นภาษาอังกฤษ
  • ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัทสามารถนำมาลงบันทึกบัญชีได้หรือไม่
    • ตอบ ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจาก ระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนบริษัทใหม่ท่านยังเป็นบุคคลเพียงธรรมดาอยู่

ตัวอย่างคําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด

ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท (ทำรูป)