สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอีกด้วย เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีก
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ
-
- ระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน เป็นจำพวกที่ใช้รับประทานเป็นส่วนใหญ่
- ระบบอาศัยอากาศ เรียกว่าไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่
- จำพวกเจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
- สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ 23.9-29.4℃ และ ปริมาณน้ำฝน อยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี
- ดินที่ใช้เพาะปลูก ในดินร่วน,ดินร่วนปนทราย,ดินปนลูกรัง,ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท
ฤดูกาลของสับปะรด
ปัจจุบันการเพาะปลูกพืชผักผลไม้อาจไม่ตรงตามฤดูกาลมากนัก เพราะเทคโนโลยี หรือการพัฒนาของมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสารถในการเพาะปลูกมากขึ้น แต่ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม และกลางเดือนเมษายน – กรกฎาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก
แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย
- จังหวัดอุตรดิตถ์
- จังหวัดลำปาง
- จังหวัดพิษณุโลก
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดเพชรบุรี
- จังหวัดจันทบุรี
- จังหวัดตราด เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณ
สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจหลายอย่าง สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่สรรพคุณจริงๆ ของสัปปะรดนั้น ที่มีตามเว็บไซต์ต่างๆ จะบอกว่าไม่ถูกก็ไม่ใช่ซะทีเดียว แต่หากรับทานอย่างเพียงพอก็อาจจะให้คุณมากกว่าโทษ แต่จะใช้เป็นสรรพคุณหลัก คงไม่เหมาะมากนัก
สรรพคุณที่มีในสับปะรดบ้างนั้น คือ
- ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ
- แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก
- บรรเทาอาการโรคบิด
- ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
- แก้ท้องผูก เป็นต้น
ข้อควรระวังหากทานมากไป
- อาจเกิดอาการแพ้ได้ในคนที่รับประทานเยอะ อากาศ อาจแสบลิ้น เนื่องบางครั้งสับปะรด จะมีบลอมีเลน (Bromelains) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่อยู่ ในน้ำสับปะรด ช่วยย่อยโปรตีน และยังมีเอนไซมือย่างน้อย 3 ชนิดสามารถย่อยโปรตีนได้
- หากรับประทานมากๆกากใยจะเข้าไปพันในกระเพราะอาหารจนเป็นนิ่วได้ เพราะกากใยสูงช่วยให้ขับถ่ายปัสวะได้ดี
- รับประทานสับปะรดในขณะท้องว่าง จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรด และ มีเอนไซม์บรอมมีเลน
แนะนำสับปะรด 3 สายพันธุ์
- พันธุ์ศรีราชา หรือ พันธุ์ปัตตาเวีย มีราคาถูก ไม่แพงมากนัก เนื่องจากมีการเพาะปลูกหลายจังหวัด ที่ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นมา เรียกได้ว่า มาจากจังหวัด ศรีราชา นั้นเอง ส่วนมากนิยมนำส่งโรงงาน หรือ ขายส่งได้ เถือเป็นพืชเศรษฐกิจได้เลย ความพิเศษของ พันนี้ คือ 3ลักษณะ ที่มีความ สุก ดิบไม่เท่ากัน ก็สามารถนำมาประรับประทานได้ แบบหลากหลายแบบ คือ
- หากผลไม้ขนาดสุก จะมีรชชาติ หวาน หอม นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ได้เลย นำไปทำน้ำปั่น
- ห่าม จะมีรชชาติ เปรี่ยว อมหวาน สำหรับคนที่ไม่ชอบทานมา นิยมทานหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว
- หากมีลักษณะ ดิบหน่อย นิยมนำมาใช้ประกอบ ทำอาหารแกงส้ม
- พันธุภูเก็ต เป็นพันธ์ที่หาได้ทั่วไป ลูกเล็กหน่อย สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือ กินเป็นผลไม้ มีสีออกเหลืองทองเป็นหลัก นิยมปลูกทางภาคใต้ แหล่งปลูกสำคัญ คือ ภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และ ตราด ลักษณะเด่น มีกลิ่นหอม เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย เหมาะสำหรับบริโภคสด
- ภูแล เป็นของขึ้นชื่อ จังหวัดเชียงราย มีราคาแพง ลูกขนาดเล็ก เนื่องจาก ไม่ได้ปลูกได้ทุกที่ จึงทำให้มีราคาแพง แต่มีรสชาติที่หอมหวาน อร่อย เรียกว่าเป็นผลไม้ตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี
พันธุสัปะรดที่ควรรู้จัก
- พันธุ์ปัตตาเวีย
- พันธุ์อินทรชิตแดง
- พันธุ์อินทรชิตขาว
- พันธุ์ภูเก็ต
- พันธุ์นางแล
- สับปะรดตราดสีทอง
- สับปะรดห้วยมุ่น
- สับปะรดภูแลเชียงราย
- พันธุ์สวี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยหน่วยงานต่าง ๆ
มีการนำสับปะรดไปหมักทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ขณะเดียวกันสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ผลักดันให้สับปะรดออกจำหน่ายสู่ สถานประกอบการท่องเที่ยว โรงแรม สถานศึกษา สถานพยาบาล และนำส่งเรือนจำ นำผลผลิตสับปะรดมาใช้ในการประกอบอาหาร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การแปรรูปสับปะรด การพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านอุตสาหกรรม ศึกษาวิจัยและส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสับปะรด มีการควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์สับปะรดให้ได้มาตรฐานและยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างสับปะรดแปรรูป ดังนี้
- สับปะรดอบกรอบ
- สับปะรดกระป๋อง
- น้ำผลไม้สับปะรดแต่จะมีส่วนผสมอื่นร่วมด้วย
- ไอศกรีมสับปะรด
- สับปะรดกวน
- แยมสับปะรด เป็นต้น