สัตว์เศรษฐกิจ

2 สัตว์เศรษฐกิจ เลี้ยงความสำคัญพันธุ์นิยมที่ไม่มีใครบอก?

Click to rate this post!
[Total: 204 Average: 5]

สัตว์เศรษฐกิจ

สัตว์เศรษฐกิจ คือ สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน

สัตว์เศรษฐกิจ

ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้

สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจ นำเข้าจากต่างประเทศ

สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจไก่

อาชีพเลี้ยงสัตว์ จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำกันอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ทั้งเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ โดยการเลี้ยงสัตว์สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพและใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับนานาประเทศ เนื่องจากผลผลิตที่ผลิตได้จากประเทศไทยสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภคและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพตามมาตรฐานทั้งจากยุโรปหรืออเมริกา

ซึ่งในระยะหลังจากที่เกิดภาวะโลกร้อนหรือ “Global Warming” มีการสูญพันธ์ของสัตว์นานาชนิดมากขึ้นมีการก่อกำเนิดของโรคใหม่ๆ ระบาดสู่คนมากขึ้น เช่น ซาร์สหรือไข้หวัดนก ทำให้มีการฆ่าทำลายสัตว์ปีก และไก่ จำนวนมากมหาศาลตามที่เห็นอยู่ในข่าวที่ผ่านมา เราจึงต้องมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้น ทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสมารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการจำหน่ายตามความต้องการของผู้บริโภค เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว สามารถประกอบอาชีพได้

โรคไข้หวัดนก

สัตว์เศรษฐกิจตามความต้องการของผู้บริโภค

  1. หลักการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย
    ความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณและกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมด รวมทั้งแหล่งการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการดำเนินการความรู้และทักษะของผู้ผลิตเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องมีทักษะ และเทคนิคชั้นสูงรวมทั้งเทคโนโลยีจึงจะไปได้รอดเปิดโลกทัศน์การเลี้ยงสัตว์ใหม่ ถ้าเป็นผู้ริเริ่มเป็นคนแรก และตลาดรองรับ โอกาสที่ประสบผลสำเร็จเป็นไปได้สูงมากสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนายต่อการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ด้วย
  2. สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่น
    สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นมีหลายประเภทแตกต่างไปตามลักษณะของภูมิประเทศ ของท้องถิ่นนั้นๆ
    2.1 ชายทะเลเป็นดินเลนน้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม มีกุ้ง ปู ปลา และสัตว์ทะเลอื่นๆ
    2.2 ที่ลุ่มหรือเขตดินเหนีย เหมาะแก่การทำบ่อปลา บ่อกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาน้ำจืดต่างๆ
    2.3 ทุ่งหญ้าหรือแหล่งปลูกพืชผักที่มีเศษผักและหญ้าที่หาง่าย เป็นแหล่งเลี้ยงโคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ แกะ
    2.4 แหล่งที่หาซื้อพืชไร่ได้ง่ายเป็นแหล่งเลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ สุกร เป็ด ห่าน
    2.5 แนวโน้มในอนาคตคือสัตว์ชนิดใหม่ เช่น หมูป่า เนื้อกวาง นกกระจอกเทศ จระเข้ และผึ้งเพื่อการบริโภค เป็นต้น
  3. ประเภทของสัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่าย
    สัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่ายมีหลายประเภทดังนี้
    สัตว์ทั่วไปที่เป็นความต้องการของตลาด เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหารพื้นฐานที่มีคนนิยมบริโภคโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมสัตว์เป็นที่นิยมเฉพาะบางกลุ่ม แต่อาจมีปริมาณคนบริโภคสูงมาก เช่น แพะ แกะ เป็นต้น

เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีผู้นิยมบริโภคสูง สามารถจำหน่ายได้ง่ายและสม่ำเสมอ เช่น ผึ้งและผลิตภัณฑ์ ตั๊กแตน เป็นต้น ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคอยู่จำนวนมากพอสมควร และมีการลงทุนต่ำ ปัจจุบันมีสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ออกจำหน่ายและส่งเสริมการผลิตด้วยจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สดใส

สัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้

สัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกชนิดที่นำมาฝากสมาชิกวิชาชีพปริทัศน์ เพื่อเป็นทางเลือกในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจก็คือ ปูม้า โดยธรรมชาติแล้วปูม้าจะมีกระดองกว้าง ระหว่างขอบตามีหยักประมาณสีหยัก ขาสั้นกว่าก้าม ขาคู่ท้ายแบนเป็นรูปใบพาย ตัวผู้มีก้ามยาวกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีฟ้าอ่อน มีจุดสีขาวทั่วไปบนกระดอง พื้นท้องเป็นสีขาว ก้ามสั้นกว่าตัวผู้ กระดองสีน้ำตาลอ่อน มีตุ่มขรุขระไม่มีจุดสีขาวเหมือนตัวผู้ ปลายขามีสีม่วง

สัตว์เลี้ยงศรษฐกิจปูม้า

สัตว์เลี้ยงศรษฐกิจปูม้า

สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ที่ทำรายได้ให้คนไทยมาช้านาน

          ด้วยความที่สังคมไทยมีวิถีชีวิตอยู่คู่กับการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ในปัจจุบันจะมีความทันสมัยใด ๆ เข้ามาแต่บรรดาสัตว์เศรษฐกิจทั้งหลายก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง รวมถึงสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งด้วย ซึ่งหากว่ากันตามตรงสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจของบ้านเราก็มีตัวเลือกอยู่เยอะพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศก็ตาม ลองมาไล่เรียงทำความรู้จักกับสัตว์เหล่านี้ไปพร้อมกันเพื่อโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สัตว์เลี้ยงศรษฐกิจไทย

สัตว์เลี้ยงศรษฐกิจไทย

ความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจ

อย่างที่กล่าวเอาไว้ในเบื้องต้นว่าความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจหลัก ๆ แล้วคือการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงรวมถึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตขึ้นได้ ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจัดว่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงสามารถเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ได้อย่างสบาย แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันจึงขอแบ่งความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจเอาไว้ 5 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. แรงงานที่ได้จากสัตว์

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสัตว์เศรษฐกิจ ไม่ได้หมายถึงการนำเอาเนื้อ หรืออวัยวะต่าง ๆ ของพวกมันมาใช้สร้างรายได้เพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรจำนวนมากยังใช้แรงงานจากสัตว์เหล่านี้ในการสร้างผลผลิตเพื่อให้ตนเองเกิดรายได้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เช่น การใช้ควายหรือกระบือในการทำนา แม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องมืออันแสนทันสมัยเอาไว้ช่วยประหยัดต้นทุนและแรงงานมากขึ้น แต่แรงงานจากสัตว์ก็ยังเป็นตัวช่วยให้เกิดการสร้างรายได้ที่ดีไม่เปลี่ยน

  1. รายได้โดยตรงจากสัตว์

ความสำคัญในด้านนี้ถือว่าชัดเจนและตรงประเด็นมากที่สุด นั่นคือเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงสามารถสร้างรายได้จากสัตว์เศรษฐกิจได้แบบตรง ๆ ตัว อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือ สามารถนำสัตว์เหล่านั้นมาทำเงินให้กับตนเองได้ทันทีเมื่อเติบโตเต็มที่ เช่น เนื้อสัตว์, ขนสัตว์, กระดูกสัตว์ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ตัวของผู้เลี้ยงเองอาจไม่ได้เป็นคนนำไปแปรรูป เพียงแค่ส่งต่อให้กับโรงงานหรือบริษัทที่จะรับช่วงต่อ เป็นการสร้างรายได้และเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

  1. ช่วยให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล

จริง ๆ แล้วสัตว์ทุกชนิดล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้โลกใบนี้เกิดความสมบูรณ์ทั้งสิ้น ดังนั้นความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจอีกอย่างก็คือ ช่วยให้ธรรมชาติยังคงอยู่ได้อย่างเป็นปกติ ตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ๆ ในการช่วยให้ความสมดุลของธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืชผัก เป็นต้น ตรงนี้เองจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ได้จากสัตว์เหล่านี้ไม่ใช่แค่ตัวพวกมันเพียงอย่างเดียว แต่ของเสียต่าง ๆ ยังสร้างประโยชน์เพื่อให้ธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้โลกใบนี้ยังคงอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย

สัตว์เศรษฐกิจ หมายถึงอะไร

เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจกันแล้ว คราวนี้อยากอธิบายในส่วนของความหมายเพื่อให้รู้จักกันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น สัตว์เศรษฐกิจ หมายถึง บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งตามธรรมชาติและถูกมนุษย์เลี้ยงดู ซึ่งปริมาณของสัตว์เหล่านี้มีจำนวนเยอะจนมีการนำเอามาสร้างรายได้ให้กับตนเองและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ปกติแล้วในทุก ๆ ประเทศเองก็จะมีสัตว์เศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

          สำหรับประเทศไทยของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเองก็มีการใช้งานสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้เพื่อสร้างรายได้รวมถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ มาอย่างยาวนานมาก ๆ ซึ่งถ้าพูดถึงสัตว์เหล่านี้มักนึกถึงสัตว์ทั่ว ๆ ไปที่พบเห็นว่าถูกนำเอาอวัยวะต่าง ๆ มาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น เนื้อหมู, เนื้อไก่, เนื้อปลา แต่ในความเป็นจริงเมื่อโลกพัฒนามากขึ้นจะสังเกตว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็พยายามที่จะสร้างประเภทของสัตว์เศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อเป็นการกระจายรายได้ รวมถึงการใช้สัตว์ป่ามาแปรสภาพให้เกิดรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ใช้สัตว์ป่าเองจะมีการกำหนดปริมาณและความเหมาะสมในการล่าเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นสูญพันธุ์

          ดังนั้นด้วยความที่หลายฝ่ายเป็นกังวลใจว่าสัตว์ป่าที่อดีตเคยอาศัยอยู่ในป่าจะโดนไล่ล่าจนไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ทัน จึงมีนโยบายให้สามารถนำสัตว์บางชนิดมาเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจโดยตรงได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดเอาไว้เช่นกัน ไม่ใช่ว่าจะเลือกเลี้ยงอย่างไรก็ได้

สัตว์เศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง

จากการกล่าวถึง 2 หัวข้อใหญ่ ๆ ทั้งเรื่องความสำคัญ และสัตว์เศรษฐกิจ หมายถึงอะไร คราวนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องของประเภทสัตว์เหล่านี้ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน รวมถึงคนไทยเองก็ได้อิ่มท้องจากการบริโภคสัตว์เหล่านี้ด้วย โดยสัตว์เศรษฐกิจ มีอะไรบ้างนั้น ลองตามมาดูกันเลย

สัตว์กลุ่มแรกเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีที่สุดหากพูดถึงสัตว์เศรษฐกิจ เพราะลักษณะที่เด่นชัดของพวกมันคือจะเน้นการกินหญ้าและทำปากเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องนี้มีหลายชนิด เช่น

  1. กลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • โค หรือ วัว มีทั้งโคเนื้อและโคนม ซึ่งการนำไปสร้างรายได้ก็ย่อมต่างกันออกไป โดยโคนมจะใช้น้ำนมในการทำรายได้ ส่วนโคเนื้อแน่นอนว่าต้องใช้เนื้อของพวกมันเป็นรายได้หลักให้กับเกษตรกร
  • กระบือ หรือ ควาย ซึ่งปกติสายพันธุ์ในบ้านเราจะเรียกว่า ควายปลัก ซึ่งเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก จนกว่าจะใช้แรงไม่ไหวจึงนำไปแปรรูปต่อ กับอีกสายพันธุ์ที่ไทยนำเข้ามาอย่าง ควายนมหรือควายน้ำ ผลผลิตที่ได้จากพวกมันคือ น้ำนมเป็นหลักในการสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ
  • แพะ หลายคนอาจไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดที่คนไทยเลี้ยงกันคือ แพะ ซึ่งปกติจะเลี้ยงทางแถบภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยพันธุ์พื้นเมืองของเราให้น้ำนมน้อย ภาครัฐจึงมีการนำเข้าแพะสายพันธุ์ต่างประเทศเพื่อให้ได้น้ำนมเยอะขึ้น
  • แกะ จะคล้ายกันกับแกะคือ เลี้ยงกันเยอะในแถบภาคใต้ ทว่าก็ยังไม่ค่อยให้ผลผลิตอย่างที่ควรเป็นมากนัก แม้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศในบางสายพันธุ์ จึงอาจนับว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่เมืองไทยยังต้องพัฒนาต่อไป
  1. กลุ่มสัตว์กระเพาะเดียว

ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากนำส่วนต่าง ๆ ของพวกมันมาใช้งานเพื่อสร้างรายได้ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องแยกประเภทให้เสียเวลา เพราะจริง ๆ แล้วก็คือ สุกร หรือ หมู ที่ทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในอดีตถ้าเป็นหมูพันธุ์พื้นเมืองของไทยจริง ๆ แล้วจะมีขนาดเล็ก แม้ว่าแต่ละครั้งจะออกลูกได้เยอะ และทนต่อสภาพอากาศแต่เวลานำไปขายจริง ๆ กลับไม่ค่อยได้ราคามากนัก จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์ต่างประเทศมาผสม

  1. กลุ่มสัตว์ปีก

ส่วนใหญ่แล้วสัตว์เศรษฐกิจก็ถือเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงและยกระดับเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับความนิยมในการนำไปบริโภค ทั้งนี้ในเมืองไทยสามารถแบ่งประเภทสัตว์ปีกยอดนิยมในการเลี้ยงได้ดังนี้

  • ไก่ สัตว์ปีกยอดนิยมที่มีต้นทุนไม่สูงมากนัก อีกทั้งยังสามารถทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา จึงทำให้ไก่กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจเบอร์ต้น ๆ ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็มีการแบ่งประเภทของไก่ออกมา เช่น ไก่เนื้อ จะให้เนื้อเป็นหลัก ไม่ค่อยออกไข่, ไก่ไข่ จะออกไข่ตลอดเป็นรายได้หลักให้กับผู้เลี้ยง
  • เป็ด สัตว์ท้องถิ่นที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน แต่จริง ๆ แล้วเป็ดสายพันธุ์ของไทยโตช้าและให้เนื้อไม่ค่อยดีนัก จึงมีการนำเข้าเป็ด 2 ประเภท เข้ามาเป็นสัตว์สำหรับสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงแทน หลัก ๆ คือ เป็ดเนื้อที่จะให้เนื้อสำหรับบริโภค เติบโตในสภาพอากาศบ้านเราได้เป็นอย่างดี ขณะที่อีกกลุ่มเป็นเป็ดไข่ ที่ให้ผลผลิตเป็นไข่ ออกเป็นประจำ มีความมันและเปลือกหนากว่าไข่ไก่ จึงทำให้มีราคาสูงกว่า
  • ห่าน แม้ในเมืองไทยอาจยังไม่ค่อยนิยมบริโภคมากนักแต่ก็ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจกลุ่มเล็ก ๆ ที่ยังพอสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงในระดับหนึ่ง
  • นกกระทา สัตว์อีกชนิดที่อาจไม่ได้นิยมมากนัก แต่ก็ถือว่าสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรได้พอสมควร ปกติแล้วมักจะเลี้ยงเพื่อเอาไข่เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเองก็มีบ้างที่จะนำเนื้อมาบริโภค
  • ไก่งวง ไก่ประเภทหนึ่งที่จะมีเนื้อหา จริง ๆ แล้วทางฝั่งตุรกีหรือยุโรปจะนิยมทาน ทว่าเมืองไทยเราเองก็ยังพอมีเลี้ยงและนำไปบริโภคหรือขายกันบ้าง แม้ไม่แพร่หลายนักแต่ก็ยังพอทำรายได้ในระดับหนึ่ง
  1. กลุ่มสัตว์น้ำ

ปิดท้ายกันด้วยสัตว์เศรษฐกิจที่ต้องอาศัยน้ำในการเลี้ยงดู นั่นคือกลุ่มสัตว์น้ำที่มีความหลากหลายมาก ๆ ไม่ใช่แค่ปลาเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นน้ำจืดกับน้ำเค็มอีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มสัตว์น้ำจืดจะนิยมเลี้ยงกันทางภาคกลาง แต่ถ้าเป็นน้ำเค็มจะมีทั้งการจับจากทะเลและการเลี้ยงริมทะเลตามแถบจังหวัดชายฝั่งนั่นเอง โดยขอแยกให้เห็นภาพดังนี้

  • สัตว์น้ำเค็ม อย่างที่กล่าวไปว่ามีทั้งการเลี้ยงและการออกไปจับในท้องทะเล ซึ่งสัตว์ที่ได้รับความนิยม เช่น กุ้งทะเล, หมึกทะเลสายพันธุ์ต่าง ๆ, ปลาทู, ปลาเก๋า, ปลากะพง, หอยแครง หอยแมลงภู่ และอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับการเลือกทำประมงของแต่ละท้องถิ่น
  • สัตว์น้ำจืด มีหลายชนิดที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ปลานิล, ปลาดุก, ปลาสลิด, กุ้งกุลาดำ, ปลาสวาย, ปลาช่อน, ปลาตะเพียนขาว, ปลาแรด รวมถึงกบ ก็จัดเป็นกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้กันพอสมควร

สัวต์เศรษฐกิจกลุ่มสัตว์น้ำ

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเมืองไทยของเรายังจำเป็นต้องพึ่งพาสัตว์ต่าง ๆ ในการหาเลี้ยงชีพ สร้างรายได้ รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงสรุปได้ว่าถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่พื้นที่จุดต่าง ๆ ในเมืองไทยมีความเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจหลากหลายชนิด ไม่ต้องนำเข้าให้เสียเงินแพง ๆ ในทางกลับกันยังสามารถสร้างเงินให้กับผู้คนและสร้างเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต มีเงินเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายใจ อาชีพที่ยังคงเป็นเสาหลักให้เมืองไทยเรื่อยมาแม้เวลาจะผ่านมานานแค่ไหนก็ตาม

ขอบคุณที่มาบทความ:sites.google.com/site/naeanataw22512016/ วันศุกร์, 13 พฤษภาคม 2565 ,arda.or.th/ วันศุกร์, 13 พฤษภาคม 2565